อุตสาหกรรมยานยนต์
- งานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 24 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน -10 ธันวาคม 2550 ณ อิมแพคเมืองทองธานี ภายในงานมีการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายรถยนต์จากหลากหลายยี่ห้อ มียอดการจองรถยนต์ทั้งสิ้น 17,605 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่มียอดจองรถยนต์
17,106 คัน ร้อยละ 2.92
- วันที่ 21 ธันวาคม 2550 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องคุณสมบัติรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล โดยมีผลบังคับ
ใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)
- พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 102 ก วันที่ 30
ธันวาคม 2550 เพื่อจัดเก็บภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งทางบก การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วน
บุคคล มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.dlt.go.th)
- พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 เมื่อ ตอนที่ 102 ก วันที่ 30 ธันวาคม
2550 เพื่อจัดเก็บภาษีประจำปี สำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานอื่นโดยมิได้ใช้เครื่องยนต์, รถที่ขับเคลื่อนด้วย
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพลังงานอย่างประหยัด และรถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซ
ไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ราย
ละเอียดเพิ่มเติมที่ www.dlt.go.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 26 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 66,593.10 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2549 ร้อยละ 616.05 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 8,669 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 21
โครงการ โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล 3 โครงการ โครงการผลิตรถยนต์ 1 โครงการ และโครงการผลิตรถยนต์นั่งส่วน
บุคคล(Passenger Car) 1 โครงการ สำหรับไตรมาสนี้ การลงทุนมีการขยายตัวสูง เนื่องจากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า
1,000 ล้านบาท จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)
- โครงการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล(Passenger Car) ของบริษัท ออโตอัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 20,893 ล้าน
บาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 140,000 คัน/ปี ชิ้นส่วนสำเร็จรูป 42,000 ชุด/ปี และชิ้นส่วนปั๊มขึ้นรูป 105,000 ชิ้น/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายใน
ประเทศร้อยละ 22 และส่งออกร้อยละ 78
- โครงการผลิตรถยนต์ เช่น ซีวิค แอคคอร์ด และซีอาร์วี ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 7,588
ล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 210,000 คัน/ปี และผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ 2,160,000 ชิ้น/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ
ร้อยละ 40 และส่งออกร้อยละ 60
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เงินลงทุน 9,500 ล้าน
บาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 138,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 19 และส่งออกร้อยละ 81
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 6,700 ล้าน
บาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 120,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด เงินลงทุน 5,550 ล้านบาท ซึ่งมี
กำลังการผลิตรถยนต์ 120,000 คัน/ปี โดยจะส่งออกเป็นส่วนใหญ่ในตลาดเอเชีย และออสเตรเลีย
- โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล 2,500-2,800 ซีซี ซึ่งใช้กับรถปิกอัพ ของ Mr. Stephen Small เงินลงทุน 6,450
ล้าบาท ซึ่งมีกำลังการผลิตเครื่องยนต์ 106,000 เครื่อง/ปี โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อใช้กับรถปิกอัพภายในประเทศร้อยละ 40 และส่งออกร้อยละ 60
- โครงการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ ของบริษัท ซีเมนท์ วีดีโอ โอโตโมทีฟ จำกัด เงินลงทุน 4,540 ล้านบาท ซึ่งมี
กำลังการผลิตหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง 2,300,000 ชิ้น/ปี และปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูง 575,000 ชิ้น/ปี
- โครงการผลิต compressor สำหรับยานพาหนะ ของบริษัท คาลโซนิค คันเซ(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,600 ล้านบาท
- โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ของ บริษัท American Axle & Manufacturing เงินลงทุน 1,304 ล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิต
เฟืองหน้า 25,000 ชิ้น/ปี เฟืองหลัง 75,000 ชิ้น/ปี และเพลาขับหลัง 75,000 ชิ้น/ปี
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,287,346 คัน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตรถยนต์
ประมาณร้อยละ 78 ของกำลังการผลิตรถยนต์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.36 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1
ตัน, รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.42, 5.56 และ 4.71 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการ
ผลิตเพื่อการส่งออก 689,092 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.00 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพื่อการส่งออก
ร้อยละ 79.00 และรถยนต์นั่งร้อยละ 21.00 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 353,940 คัน เปรียบเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.78 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.25, 26.17 และ 12.71 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ
6.01 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.37 และ 6.29 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์นั่ง ลดลง
ร้อยละ 5.91
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 631,251 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 ลดลงร้อย
ละ 7.46 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 11.29 และ 9.63 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV
และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.21 และ 15.48 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน
179,925 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 7.12 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ
1 ตัน ลดลงร้อยละ 22.39 และ 5.45 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ลดลงส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอการปรับลดภาษี
สำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก (E 20) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2551 แต่การจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV
รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.34 และ 12.87 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 13.29 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.36, 21.64
และ 9.25 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 10.49
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) โดยรวมจำนวน 690,100 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.04 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 306,595.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ
27.34 โดยมีปริมาณการส่งออกรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.60 และ 28.30 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์ PPV ลด
ลงร้อยละ 19.80 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวม จำนวน 196,586 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก
89,587.25 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 39.66 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.09 หากเปรียบ
เทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.55 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.65
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ารถยนต์นั่งเป็นประเภทรถยนต์ที่มีมูลค่าการ
ส่งออกสูงที่สุด โดยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 123,268.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.72 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง
ออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 35.31, 11.48 และ 7.07 ตามลำดับ
โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.15 และ 22.01 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปฟิลิปปินส์
มีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.88 เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่มีความสำคัญของไทย จะเป็นประเทศที่ทำ FTA กับไทย ซึ่งสามารถใช้สิทธิพิเศษ
ทางภาษีศุลกากรตามกรอบนั้นๆ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 119,233.99 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่
แล้วร้อยละ 8.75 ซึ่งมูลค่าที่ลดลงเป็นมูลค่าการส่งออกรถแวน ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระ
เบีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.34, 6.48 และ 5.10 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปสหราช
อาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย และออสเตรเลีย และ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 63.51, 16.41 และ 12.74 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยัง
ตลาดใหม่ๆ มีแนวโน้มดี ได้แก่ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ และรัสเซีย มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 164.88 และ 138.52 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออก
รถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 26,583.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 23.95 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก
สำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 36.04, 20.48 และ 12.02 ตาม
ลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย ลิเบีย และออสเตรเลีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.12, 67.82 และ 6.22 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า
8,578.32 และ 14,162.56 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 9.34 แต่การนำเข้ารถ
ยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.23 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการที่ภาครัฐมีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรถตู้
โดยสารปรับอากาศ ส่งผลให้มีการนำเข้ารถตู้ประเภทนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
ยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,239.51 และ 4,522.88 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถ
ยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04 และ 52.18 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี 2550 มูลค่า
การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 และ 25.44 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2550 ได้แก่
ญี่ปุ่น เยอรมนี และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.87, 19.09 และ 16.16 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและ
เยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 และ 5.33 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 55.85 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและ
รถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 76.55 และ 3.41 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถ
บรรทุกจากเยอรมนี และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 195.53 และ 40.95 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเนื่องจากการส่งออกรถยนต์นั่ง รถบัสและรถ
บรรทุก มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในตลาดสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย อีกทั้งตลาดใหม่ก็มีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวเนื่อง
จากผู้บริโภคและนักลงทุนยังชะลอการบริโภคและการลงทุน ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีความผันผวนตามราคาในตลาดโลก อย่างไรก็ตามคาด
ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2551 จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกับของปี 2549 โดยพิจารณาจากการอุปโภคบริโภคของภาค
เอกชนที่ฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2550 และการส่งออกที่ยังสามารถขยายตัวได้ จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณการว่า จะมีการ
ผลิตรถยนต์ประมาณ 1.43 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 46 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 54
สำหรับโครงการรถยนต์ประหยัดพลังานมาตรฐานสากล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแล้วนั้น คาดว่าจะเริ่มมี
การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลประมาณ ปี 2552 เป็นต้นไป
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,653,139 คัน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตรถ
จักรยานยนต์ประมาณร้อยละ 59 ของกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2549 ลดลงร้อยละ 20.67 โดยมีการ
ผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,563,788 คัน ลดลงร้อยละ 22.04 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 89,351 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ
14.50 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 411,606 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลด
ลงร้อยละ 9.81 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 11.94 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.96 ส่วน
หนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบรถจักรยานยนต์รายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตจากหน่วยงานราชการ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับ
ไตรมาสที่สามปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และ แบบครอบครัว เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 29.38 และ 2.89 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,598,876 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการ
จำหน่ายปี 2549 ลดลงร้อยละ 22.45 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 856,028 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 14,979 คัน และ
รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 727,869 คัน ลดลงร้อยละ 31.55, 27.58 และ 7.90 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ
สกูตเตอร์มีอัตราการชะลอตัวน้อยกว่ารถจักรยานยนต์ประเภทอื่นๆ เนื่องจากผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายโดยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
อย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตามสมัยนิยม เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน
351,801 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 23.32 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ แบบครอบครัว และ
แบบสปอร์ต และ ลดลงร้อยละ 25.47, 21.36 และ 20.03 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการ
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 8.47 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 12.70,
3.67 และ 3.35 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,789,485 คัน (เป็นการส่งออก
CBU จำนวน 101,560 คัน และ CKD จำนวน 1,687,925 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.57 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก
26,400.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.60 โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน
200 cc แต่ไม่เกิน 250 cc เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก 487,277 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 7,390.05 ล้าน
บาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 หาก
เปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.93 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.52 จาก
ข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในปี
2550 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 40.47, 10.33 และ 9.74 ตามลำดับ โดยการส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ไปเนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,830.43 และ 139.36 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐ
อเมริกา ลดลงร้อยละ 10.94
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 2,266.57 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.16 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 524.86 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.11 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 มูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 91.45,
2.91 และ 1.59 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 440.19 และ 5.05 ตามลำดับ แต่การนำ
เข้ารถจักรยานยนต์จากจีน ลดลงร้อยละ 10.18
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2550 ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมลดลง และกลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญ
ซึ่งเป็นภาคการเกษตรมีรายได้ชะลอลง ประกอบกับในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายที่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถ
จักรยานยนต์ได้ง่าย (เช่น ผู้จำหน่ายปล่อยให้ผู้ซื้อนำรถจักรยานยนต์ออกไปได้ ด้วยเงินดาวน์เพียง 0 บาท) มีความเสี่ยงสูงจึงไม่นิยมนำกลยุทธ์ลักษณะ
นี้มาใช้ จึงเชื่อได้ว่ายอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปีนี้น่าจะสะท้อนปริมาณความต้องการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน
ตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป(CBU) ที่สำคัญของไทยสามารถประกอบรถจักรยานยนต์บางรุ่นได้เองในประเทศ จึงลดการนำเข้า CBU แต่ไป
เพิ่มการนำเข้ารถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) แทน สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ของปี 2551 คาดว่าจะขยาย
ตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบกับความชัดเจนทางการ
เมือง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ในปี 2550 มีมูลค่า 112,341.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับปี 2549 ร้อยละ 28.88 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 10,504.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.68 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่
รถยนต์ 7,630.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.92 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี
มูลค่า 33,239.01 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 2,896.36 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 2,221.85 ล้าน
บาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.49, 58.99 และ 43.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่
สามของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 และ 9.84 ตามลำดับ แต่
มูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 3.75 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่า
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 146,202.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 27.69
ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.52, 10.44
และ 9.76 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.05 ,6.15 และ 5.94
ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยปี 2550 มีมูลค่า 116,104.46 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับปี 2549 ลดลงร้อยละ 1.54 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 32,019.96 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.35 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาส
ที่สามของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.23 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี
2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 62.45, 6.92 และ 5.81 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.92 และ 7.87 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากอินโดนีเซีย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.93
จากสถิติข้อมูลการส่งออก-นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ พบว่าในปี 2550 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไปตลาดส่งออกสำคัญเพิ่ม
สูงขึ้น แสดงให้เห็นแนวโน้มการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เปรียบเทียบกับจำนวน
รถยนต์ที่ผลิต ในปี 2550 ปรากฎว่า สัดส่วนดังกล่าวในปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งแสดงว่า การผลิตรถยนต์ในประเทศมีการพึ่งพาชิ้นส่วน
นำเข้าน้อยลง
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของ
ประเทศไทยในปี 2550 มีมูลค่า 14,220.13 และ 1,033.67 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.75 และ
47.83 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถ
จักรยานยนต์มีมูลค่า 3,819.36 และ 300.64 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 และ 34.26
ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถ
จักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.91 และ 48.96 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 22,077.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ
35.20 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.65,
13.21 และ 12.65 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซียและกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.00 และ 22.53 ตามลำดับ
แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 9.44
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2550 มีมูลค่า
10,039.47 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.25 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ มีมูลค่านำเข้า 2,629.17 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 8.01 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า
ร้อยละ 26.23, 22.13 และ 9.12 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ
18.57 และ 10.44 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 25.25
ตารางกำลังการผลิตรถยนต์(1) (หน่วย : คัน)
ลำดับ บริษัท รถยนต์นั่ง ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รวม
1 บ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 200,000 300,000 50,000 550,000
2 บ. มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) 50,000 150,000 - 200,000
3 บ. อีซูซุมอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด - 200,000 20,000 220,000
4 บ. ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 120,000 - - 120,000
5 บ. สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด 36,000 96,000 2,400 134,400
6 บ. เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด 40,000 120,000 - 160,000
7 บ. ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด - 150,000 5,000 155,000
8 บ. ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด - - 28,800 28,800
9 บ. บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) 10,000 - - 10,000
10 บ. มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ทรัค (ประเทศไทย) จำกัด - - 6,000 6,000
11 บ. นิสสันดีเซล(ประเทศไทย) จำกัด - - 5,000 5,000
12 บ. ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด 16,300 - - 16,300
13 บ. วาย.เอ็ม.ซี.แอสเซ็มบลี้ จำกัด 12,000 - - 12,000
14 บ. สแกนเนีย (ไทยแลนด์) จำกัด - - 210 210
15 บ. ไทย-สวีดิช แอสเซมบลีย์ จำกัด 10,000 - - 10,000
16 บ. ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) 20,000 - - 20,000
ยอดรวม 514,300 1,016,000 117,410 1,647,710
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) กำลังการผลิตรถยนต์ ปี 2550
ตารางกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์(1)
หน่วย : คัน
ลำดับ บริษัท รวม
1 บ. ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 1,400,000
2 บ. ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด 550,000
3 บ. ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด 450,000
4 บ. คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด 200,000
5 บ. อินเตอร์เนชั่นแนล วีฮิเคิลส์ จำกัด 144,000
6 บ. ไทเกอร์ มอเตอร์ จำกัด 60,000
ยอดรวม 2,804,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : 1 กำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ ปี 2549
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 1,125,316 1,188,044 1,287,346 8.36
รถยนต์นั่ง 277,555 298,819 315,444 5.56
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 822,867 866,769 948,388 9.42
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 24,894 22,456 23,514 4.71
รถจักรยานยนต์ 2,358,511 2,084,001 1,653,139 -20.67
ครอบครัว 2,265,889 2,005,968 1,563,788 -22.04
สปอร์ต 92,622 78,033 89,351 14.5
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน ไตรมาส 4 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 333,870 353,940 6.01 288,273 353,940 22.78
รถยนต์นั่ง 87,851 82,657 -5.91 73,337 82,657 12.71
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและ อนุพันธ์(1) 240,201 265,099 10.37 210,114 265,099 26.17
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,818 6,184 6.29 4,822 6,184 28.25
รถจักรยานยนต์ 395,061 411,606 4.19 456,355 411,606 -9.81
ครอบครัว 375,631 386,468 2.89 438,893 386,468 -11.94
สปอร์ต 19,430 25,138 29.38 17,462 25,138 43.96
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : 1 เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 703,410 682,161 631,251 -7.46
รถยนต์นั่ง 188,211 191,763 170,118 -11.29
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 426,635 423,395 382,636 -9.63
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 40,136 36,907 42,619 15.48
รถยนต์ PPV (รวม SUV) 48,428 30,096 35,878 19.21
รถจักรยานยนต์ 2,108,078 2,061,610 1,598,876 -22.45
ครอบครัว 2,088,360 1,250,608 856,028 -31.55
สปอร์ต 19,718 20,683 14,979 -27.58
สกูตเตอร์ *** 790,319 727,869 -7.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : *** ปี 2548 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์รวมในการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
(1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน ไตรมาส 4 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 158,812 179,925 13.29 193,771 179,925 -7.12
รถยนต์นั่ง 45,765 40,963 -10.5 52,778 40,963 -22.4
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 93,757 116,593 24.36 123,315 116,593 -5.45
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 10,410 12,663 21.64 9,023 12,663 40.34
รถยนต์ PPV ( รวม SUV) 8,880 9,701 9.25 8,595 9,701 12.87
รถจักรยานยนต์ 392,020 358,801 -8.47 467,934 358,801 -23.3
ครอบครัว 241,694 187,420 -12.7 238,325 187,420 -21.4
สปอร์ต 3,847 3,706 -3.67 4,634 3,706 -20
สกูตเตอร์ 173,479 167,675 -3.35 224,975 167,675 -25.5
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 440,715 538,966 690,100 28.04
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 203,025.09 240,764.09 306,595.20 27.34
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 76,790.69 87,170.92 112,341.89 28.88
เครื่องยนต์ 7,903.79 8,357.93 10,504.23 25.68
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 4,100.47 5,453.40 7,630.59 39.92
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,337,586 1,575,666 1,789,485 13.57
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 22,768.99 24,535.24 26,400.00 7.6
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 11,428.22 13,076.26 14,220.13 8.75
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 729.56 699.26 1,033.67 47.83
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 186,241 196,586 5.55 140,757 196,586 39.66
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 81,700.33 89,587.25 9.65 63,051.02 89,587.25 42.09
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) 30,800.27 33,239.01 7.92 22,087.48 33,239.01 50.49
เครื่องยนต์ 3,009.10 2,896.36 -3.75 1,821.77 2,896.36 58.99
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,022.89 2,221.85 9.84 1,544.57 2,221.85 43.85
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 427,696 487,277 13.93 451,505 487,277 7.92
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 5,983.05 7,390.05 23.52 6,633.27 7,390.05 11.41
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 3,474.98 3,819.36 9.91 3,765.51 3,819.36 1.7
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 201.83 300.64 48.96 223.92 300.64 34.26
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย: ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 13,466.52 9,462.01 8,578.32 -9.34
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,991.98 10,099.52 14,162.56 40.23
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 129,305.67 117,916.77 116,104.46 -1.54
รถจักรยานยนต์ 1,806.27 2,135.08 2,266.57 6.16
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 6,035.60 8,654.61 10,039.47 13.25
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 2,172.94 2,239.51 3.06 1,963.78 2,239.51 14.04
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,605.73 4,522.88 25.44 2,972.13 4,522.88 52.18
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 29,584.61 32,019.96 8.23 29,280.87 32,019.96 9.35
รถจักรยานยนต์ 512.53 524.86 2.41 536.2 524.86 -2.11
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน 2,434.28 2,629.17 8.01 2,532.00 2,629.17 3.84
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 335.22 245.1 246.95 0.75
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 275.71 264.25 407.63 54.3
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,214.67 3,070.80 3,336.89 8.67
รถจักรยานยนต์ 44.85 55.59 64.88 16.7
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 150.1 232.07 288.15 24.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 4 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 63.26 65.49 3.53 52.73 65.49 24.2
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 105.05 132.22 25.86 79.88 132.22 65.52
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 861.55 935.65 8.6 787.31 935.65 18.84
รถจักรยานยนต์ 14.95 15.32 2.47 14.4 15.32 6.39
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 70.91 76.9 8.45 68.1 76.9 12.92
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- งานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 24 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน -10 ธันวาคม 2550 ณ อิมแพคเมืองทองธานี ภายในงานมีการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายรถยนต์จากหลากหลายยี่ห้อ มียอดการจองรถยนต์ทั้งสิ้น 17,605 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่มียอดจองรถยนต์
17,106 คัน ร้อยละ 2.92
- วันที่ 21 ธันวาคม 2550 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องคุณสมบัติรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล โดยมีผลบังคับ
ใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2550 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)
- พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 102 ก วันที่ 30
ธันวาคม 2550 เพื่อจัดเก็บภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งทางบก การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งส่วน
บุคคล มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.dlt.go.th)
- พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 เมื่อ ตอนที่ 102 ก วันที่ 30 ธันวาคม
2550 เพื่อจัดเก็บภาษีประจำปี สำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานอื่นโดยมิได้ใช้เครื่องยนต์, รถที่ขับเคลื่อนด้วย
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน พลังงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพลังงานอย่างประหยัด และรถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นก๊าซ
ไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิง มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ราย
ละเอียดเพิ่มเติมที่ www.dlt.go.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 26 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 66,593.10 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2549 ร้อยละ 616.05 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 8,669 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 21
โครงการ โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล 3 โครงการ โครงการผลิตรถยนต์ 1 โครงการ และโครงการผลิตรถยนต์นั่งส่วน
บุคคล(Passenger Car) 1 โครงการ สำหรับไตรมาสนี้ การลงทุนมีการขยายตัวสูง เนื่องจากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า
1,000 ล้านบาท จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)
- โครงการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล(Passenger Car) ของบริษัท ออโตอัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 20,893 ล้าน
บาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 140,000 คัน/ปี ชิ้นส่วนสำเร็จรูป 42,000 ชุด/ปี และชิ้นส่วนปั๊มขึ้นรูป 105,000 ชิ้น/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายใน
ประเทศร้อยละ 22 และส่งออกร้อยละ 78
- โครงการผลิตรถยนต์ เช่น ซีวิค แอคคอร์ด และซีอาร์วี ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 7,588
ล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 210,000 คัน/ปี และผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ 2,160,000 ชิ้น/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ
ร้อยละ 40 และส่งออกร้อยละ 60
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เงินลงทุน 9,500 ล้าน
บาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 138,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 19 และส่งออกร้อยละ 81
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 6,700 ล้าน
บาท ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 120,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด เงินลงทุน 5,550 ล้านบาท ซึ่งมี
กำลังการผลิตรถยนต์ 120,000 คัน/ปี โดยจะส่งออกเป็นส่วนใหญ่ในตลาดเอเชีย และออสเตรเลีย
- โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล 2,500-2,800 ซีซี ซึ่งใช้กับรถปิกอัพ ของ Mr. Stephen Small เงินลงทุน 6,450
ล้าบาท ซึ่งมีกำลังการผลิตเครื่องยนต์ 106,000 เครื่อง/ปี โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อใช้กับรถปิกอัพภายในประเทศร้อยละ 40 และส่งออกร้อยละ 60
- โครงการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ ของบริษัท ซีเมนท์ วีดีโอ โอโตโมทีฟ จำกัด เงินลงทุน 4,540 ล้านบาท ซึ่งมี
กำลังการผลิตหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง 2,300,000 ชิ้น/ปี และปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูง 575,000 ชิ้น/ปี
- โครงการผลิต compressor สำหรับยานพาหนะ ของบริษัท คาลโซนิค คันเซ(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,600 ล้านบาท
- โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ของ บริษัท American Axle & Manufacturing เงินลงทุน 1,304 ล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิต
เฟืองหน้า 25,000 ชิ้น/ปี เฟืองหลัง 75,000 ชิ้น/ปี และเพลาขับหลัง 75,000 ชิ้น/ปี
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,287,346 คัน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตรถยนต์
ประมาณร้อยละ 78 ของกำลังการผลิตรถยนต์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.36 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1
ตัน, รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.42, 5.56 และ 4.71 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการ
ผลิตเพื่อการส่งออก 689,092 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.00 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพื่อการส่งออก
ร้อยละ 79.00 และรถยนต์นั่งร้อยละ 21.00 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 353,940 คัน เปรียบเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.78 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.25, 26.17 และ 12.71 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ
6.01 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.37 และ 6.29 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์นั่ง ลดลง
ร้อยละ 5.91
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 631,251 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 ลดลงร้อย
ละ 7.46 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 11.29 และ 9.63 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV
และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.21 และ 15.48 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน
179,925 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 7.12 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ
1 ตัน ลดลงร้อยละ 22.39 และ 5.45 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ลดลงส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอการปรับลดภาษี
สำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก (E 20) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2551 แต่การจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV
รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.34 และ 12.87 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 13.29 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.36, 21.64
และ 9.25 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 10.49
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) โดยรวมจำนวน 690,100 คัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.04 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 306,595.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ
27.34 โดยมีปริมาณการส่งออกรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.60 และ 28.30 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์ PPV ลด
ลงร้อยละ 19.80 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวม จำนวน 196,586 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก
89,587.25 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 39.66 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.09 หากเปรียบ
เทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.55 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.65
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ารถยนต์นั่งเป็นประเภทรถยนต์ที่มีมูลค่าการ
ส่งออกสูงที่สุด โดยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 123,268.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.72 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง
ออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 35.31, 11.48 และ 7.07 ตามลำดับ
โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.15 และ 22.01 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปฟิลิปปินส์
มีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.88 เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่มีความสำคัญของไทย จะเป็นประเทศที่ทำ FTA กับไทย ซึ่งสามารถใช้สิทธิพิเศษ
ทางภาษีศุลกากรตามกรอบนั้นๆ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 119,233.99 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่
แล้วร้อยละ 8.75 ซึ่งมูลค่าที่ลดลงเป็นมูลค่าการส่งออกรถแวน ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระ
เบีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.34, 6.48 และ 5.10 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปสหราช
อาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย และออสเตรเลีย และ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 63.51, 16.41 และ 12.74 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยัง
ตลาดใหม่ๆ มีแนวโน้มดี ได้แก่ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ และรัสเซีย มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 164.88 และ 138.52 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออก
รถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 26,583.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 23.95 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก
สำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 36.04, 20.48 และ 12.02 ตาม
ลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย ลิเบีย และออสเตรเลีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.12, 67.82 และ 6.22 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า
8,578.32 และ 14,162.56 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 9.34 แต่การนำเข้ารถ
ยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.23 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการที่ภาครัฐมีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรถตู้
โดยสารปรับอากาศ ส่งผลให้มีการนำเข้ารถตู้ประเภทนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
ยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,239.51 และ 4,522.88 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถ
ยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04 และ 52.18 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี 2550 มูลค่า
การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 และ 25.44 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2550 ได้แก่
ญี่ปุ่น เยอรมนี และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.87, 19.09 และ 16.16 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและ
เยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 และ 5.33 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 55.85 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและ
รถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 76.55 และ 3.41 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถ
บรรทุกจากเยอรมนี และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 195.53 และ 40.95 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเนื่องจากการส่งออกรถยนต์นั่ง รถบัสและรถ
บรรทุก มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในตลาดสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย อีกทั้งตลาดใหม่ก็มีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวเนื่อง
จากผู้บริโภคและนักลงทุนยังชะลอการบริโภคและการลงทุน ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีความผันผวนตามราคาในตลาดโลก อย่างไรก็ตามคาด
ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2551 จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกับของปี 2549 โดยพิจารณาจากการอุปโภคบริโภคของภาค
เอกชนที่ฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2550 และการส่งออกที่ยังสามารถขยายตัวได้ จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณการว่า จะมีการ
ผลิตรถยนต์ประมาณ 1.43 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 46 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 54
สำหรับโครงการรถยนต์ประหยัดพลังานมาตรฐานสากล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแล้วนั้น คาดว่าจะเริ่มมี
การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลประมาณ ปี 2552 เป็นต้นไป
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,653,139 คัน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตรถ
จักรยานยนต์ประมาณร้อยละ 59 ของกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2549 ลดลงร้อยละ 20.67 โดยมีการ
ผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,563,788 คัน ลดลงร้อยละ 22.04 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 89,351 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ
14.50 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 411,606 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลด
ลงร้อยละ 9.81 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 11.94 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.96 ส่วน
หนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบรถจักรยานยนต์รายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตจากหน่วยงานราชการ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับ
ไตรมาสที่สามปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และ แบบครอบครัว เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 29.38 และ 2.89 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,598,876 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการ
จำหน่ายปี 2549 ลดลงร้อยละ 22.45 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 856,028 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 14,979 คัน และ
รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 727,869 คัน ลดลงร้อยละ 31.55, 27.58 และ 7.90 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ
สกูตเตอร์มีอัตราการชะลอตัวน้อยกว่ารถจักรยานยนต์ประเภทอื่นๆ เนื่องจากผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายโดยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
อย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตามสมัยนิยม เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน
351,801 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 23.32 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ แบบครอบครัว และ
แบบสปอร์ต และ ลดลงร้อยละ 25.47, 21.36 และ 20.03 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 มีปริมาณการ
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 8.47 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 12.70,
3.67 และ 3.35 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2550 มีจำนวน 1,789,485 คัน (เป็นการส่งออก
CBU จำนวน 101,560 คัน และ CKD จำนวน 1,687,925 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.57 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก
26,400.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.60 โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน
200 cc แต่ไม่เกิน 250 cc เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออก 487,277 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 7,390.05 ล้าน
บาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41 หาก
เปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.93 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.52 จาก
ข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในปี
2550 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 40.47, 10.33 และ 9.74 ตามลำดับ โดยการส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ไปเนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,830.43 และ 139.36 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐ
อเมริกา ลดลงร้อยละ 10.94
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2550 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 2,266.57 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.16 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 524.86 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.11 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 มูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 91.45,
2.91 และ 1.59 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 440.19 และ 5.05 ตามลำดับ แต่การนำ
เข้ารถจักรยานยนต์จากจีน ลดลงร้อยละ 10.18
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2550 ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมลดลง และกลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญ
ซึ่งเป็นภาคการเกษตรมีรายได้ชะลอลง ประกอบกับในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายที่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของรถ
จักรยานยนต์ได้ง่าย (เช่น ผู้จำหน่ายปล่อยให้ผู้ซื้อนำรถจักรยานยนต์ออกไปได้ ด้วยเงินดาวน์เพียง 0 บาท) มีความเสี่ยงสูงจึงไม่นิยมนำกลยุทธ์ลักษณะ
นี้มาใช้ จึงเชื่อได้ว่ายอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปีนี้น่าจะสะท้อนปริมาณความต้องการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน
ตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป(CBU) ที่สำคัญของไทยสามารถประกอบรถจักรยานยนต์บางรุ่นได้เองในประเทศ จึงลดการนำเข้า CBU แต่ไป
เพิ่มการนำเข้ารถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) แทน สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ของปี 2551 คาดว่าจะขยาย
ตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบกับความชัดเจนทางการ
เมือง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ในปี 2550 มีมูลค่า 112,341.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับปี 2549 ร้อยละ 28.88 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 10,504.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.68 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่
รถยนต์ 7,630.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.92 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี
มูลค่า 33,239.01 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 2,896.36 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 2,221.85 ล้าน
บาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.49, 58.99 และ 43.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่
สามของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 และ 9.84 ตามลำดับ แต่
มูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 3.75 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่า
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 146,202.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 27.69
ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.52, 10.44
และ 9.76 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.05 ,6.15 และ 5.94
ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยปี 2550 มีมูลค่า 116,104.46 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับปี 2549 ลดลงร้อยละ 1.54 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 32,019.96 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.35 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาส
ที่สามของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.23 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี
2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 62.45, 6.92 และ 5.81 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.92 และ 7.87 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากอินโดนีเซีย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.93
จากสถิติข้อมูลการส่งออก-นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ พบว่าในปี 2550 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไปตลาดส่งออกสำคัญเพิ่ม
สูงขึ้น แสดงให้เห็นแนวโน้มการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เปรียบเทียบกับจำนวน
รถยนต์ที่ผลิต ในปี 2550 ปรากฎว่า สัดส่วนดังกล่าวในปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งแสดงว่า การผลิตรถยนต์ในประเทศมีการพึ่งพาชิ้นส่วน
นำเข้าน้อยลง
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของ
ประเทศไทยในปี 2550 มีมูลค่า 14,220.13 และ 1,033.67 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.75 และ
47.83 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2550 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถ
จักรยานยนต์มีมูลค่า 3,819.36 และ 300.64 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 และ 34.26
ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถ
จักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.91 และ 48.96 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2550 มีมูลค่า 22,077.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ
35.20 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.65,
13.21 และ 12.65 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซียและกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.00 และ 22.53 ตามลำดับ
แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 9.44
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2550 มีมูลค่า
10,039.47 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.25 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2550 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ มีมูลค่านำเข้า 2,629.17 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 8.01 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงปี 2550 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า
ร้อยละ 26.23, 22.13 และ 9.12 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ
18.57 และ 10.44 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 25.25
ตารางกำลังการผลิตรถยนต์(1) (หน่วย : คัน)
ลำดับ บริษัท รถยนต์นั่ง ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รวม
1 บ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 200,000 300,000 50,000 550,000
2 บ. มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) 50,000 150,000 - 200,000
3 บ. อีซูซุมอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด - 200,000 20,000 220,000
4 บ. ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 120,000 - - 120,000
5 บ. สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด 36,000 96,000 2,400 134,400
6 บ. เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด 40,000 120,000 - 160,000
7 บ. ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด - 150,000 5,000 155,000
8 บ. ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด - - 28,800 28,800
9 บ. บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) 10,000 - - 10,000
10 บ. มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ทรัค (ประเทศไทย) จำกัด - - 6,000 6,000
11 บ. นิสสันดีเซล(ประเทศไทย) จำกัด - - 5,000 5,000
12 บ. ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด 16,300 - - 16,300
13 บ. วาย.เอ็ม.ซี.แอสเซ็มบลี้ จำกัด 12,000 - - 12,000
14 บ. สแกนเนีย (ไทยแลนด์) จำกัด - - 210 210
15 บ. ไทย-สวีดิช แอสเซมบลีย์ จำกัด 10,000 - - 10,000
16 บ. ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) 20,000 - - 20,000
ยอดรวม 514,300 1,016,000 117,410 1,647,710
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) กำลังการผลิตรถยนต์ ปี 2550
ตารางกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์(1)
หน่วย : คัน
ลำดับ บริษัท รวม
1 บ. ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 1,400,000
2 บ. ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด 550,000
3 บ. ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด 450,000
4 บ. คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด 200,000
5 บ. อินเตอร์เนชั่นแนล วีฮิเคิลส์ จำกัด 144,000
6 บ. ไทเกอร์ มอเตอร์ จำกัด 60,000
ยอดรวม 2,804,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : 1 กำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ ปี 2549
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 1,125,316 1,188,044 1,287,346 8.36
รถยนต์นั่ง 277,555 298,819 315,444 5.56
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 822,867 866,769 948,388 9.42
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 24,894 22,456 23,514 4.71
รถจักรยานยนต์ 2,358,511 2,084,001 1,653,139 -20.67
ครอบครัว 2,265,889 2,005,968 1,563,788 -22.04
สปอร์ต 92,622 78,033 89,351 14.5
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน ไตรมาส 4 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 333,870 353,940 6.01 288,273 353,940 22.78
รถยนต์นั่ง 87,851 82,657 -5.91 73,337 82,657 12.71
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและ อนุพันธ์(1) 240,201 265,099 10.37 210,114 265,099 26.17
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,818 6,184 6.29 4,822 6,184 28.25
รถจักรยานยนต์ 395,061 411,606 4.19 456,355 411,606 -9.81
ครอบครัว 375,631 386,468 2.89 438,893 386,468 -11.94
สปอร์ต 19,430 25,138 29.38 17,462 25,138 43.96
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : 1 เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 703,410 682,161 631,251 -7.46
รถยนต์นั่ง 188,211 191,763 170,118 -11.29
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 426,635 423,395 382,636 -9.63
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 40,136 36,907 42,619 15.48
รถยนต์ PPV (รวม SUV) 48,428 30,096 35,878 19.21
รถจักรยานยนต์ 2,108,078 2,061,610 1,598,876 -22.45
ครอบครัว 2,088,360 1,250,608 856,028 -31.55
สปอร์ต 19,718 20,683 14,979 -27.58
สกูตเตอร์ *** 790,319 727,869 -7.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : *** ปี 2548 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์รวมในการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
(1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน ไตรมาส 4 ไตรมาส 4 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 158,812 179,925 13.29 193,771 179,925 -7.12
รถยนต์นั่ง 45,765 40,963 -10.5 52,778 40,963 -22.4
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (1) 93,757 116,593 24.36 123,315 116,593 -5.45
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (2) 10,410 12,663 21.64 9,023 12,663 40.34
รถยนต์ PPV ( รวม SUV) 8,880 9,701 9.25 8,595 9,701 12.87
รถจักรยานยนต์ 392,020 358,801 -8.47 467,934 358,801 -23.3
ครอบครัว 241,694 187,420 -12.7 238,325 187,420 -21.4
สปอร์ต 3,847 3,706 -3.67 4,634 3,706 -20
สกูตเตอร์ 173,479 167,675 -3.35 224,975 167,675 -25.5
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 440,715 538,966 690,100 28.04
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 203,025.09 240,764.09 306,595.20 27.34
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 76,790.69 87,170.92 112,341.89 28.88
เครื่องยนต์ 7,903.79 8,357.93 10,504.23 25.68
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 4,100.47 5,453.40 7,630.59 39.92
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,337,586 1,575,666 1,789,485 13.57
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 22,768.99 24,535.24 26,400.00 7.6
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 11,428.22 13,076.26 14,220.13 8.75
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 729.56 699.26 1,033.67 47.83
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 186,241 196,586 5.55 140,757 196,586 39.66
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 81,700.33 89,587.25 9.65 63,051.02 89,587.25 42.09
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) 30,800.27 33,239.01 7.92 22,087.48 33,239.01 50.49
เครื่องยนต์ 3,009.10 2,896.36 -3.75 1,821.77 2,896.36 58.99
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,022.89 2,221.85 9.84 1,544.57 2,221.85 43.85
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 427,696 487,277 13.93 451,505 487,277 7.92
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 5,983.05 7,390.05 23.52 6,633.27 7,390.05 11.41
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 3,474.98 3,819.36 9.91 3,765.51 3,819.36 1.7
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 201.83 300.64 48.96 223.92 300.64 34.26
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย: ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 13,466.52 9,462.01 8,578.32 -9.34
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,991.98 10,099.52 14,162.56 40.23
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 129,305.67 117,916.77 116,104.46 -1.54
รถจักรยานยนต์ 1,806.27 2,135.08 2,266.57 6.16
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 6,035.60 8,654.61 10,039.47 13.25
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 2,172.94 2,239.51 3.06 1,963.78 2,239.51 14.04
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,605.73 4,522.88 25.44 2,972.13 4,522.88 52.18
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 29,584.61 32,019.96 8.23 29,280.87 32,019.96 9.35
รถจักรยานยนต์ 512.53 524.86 2.41 536.2 524.86 -2.11
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน 2,434.28 2,629.17 8.01 2,532.00 2,629.17 3.84
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 335.22 245.1 246.95 0.75
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 275.71 264.25 407.63 54.3
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,214.67 3,070.80 3,336.89 8.67
รถจักรยานยนต์ 44.85 55.59 64.88 16.7
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 150.1 232.07 288.15 24.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 3 ปี 2550 ไตรมาส 4 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 4 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 63.26 65.49 3.53 52.73 65.49 24.2
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 105.05 132.22 25.86 79.88 132.22 65.52
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 861.55 935.65 8.6 787.31 935.65 18.84
รถจักรยานยนต์ 14.95 15.32 2.47 14.4 15.32 6.39
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 70.91 76.9 8.45 68.1 76.9 12.92
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-