1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 118.24 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 7.00สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลด
ลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.58 16.60
และ 10.80 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทรงตัว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.92 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน- คอนเดนซิ่งยูนิต สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.58
43.57 และ 38.86 ตามลำดับ
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 36.42 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 40.20 และ 34.68 ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 4,201.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 12.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 570.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้เนื่องมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอียู อาเซียน
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.75 และ 61.43 จากภาวะอากาศร้อนมากผิดปกติในหลายประเทศ
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 8,159.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 เมื่อ
เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.28 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,609 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 57.31 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 20.35% ของมูลค่า
ส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.01 ทั้ง
นี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่
เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.56 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ส่วนตู้เย็น ประมาณการ
ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.62
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 34.85
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.60 และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี
2551 ร้อยละ 15.84
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 118.24 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 7.00สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม โทรทัศน์สี (ขนาดจอ
21 นิ้ว หรือมากกว่า) และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.58 16.60 และ 10.80 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทรงตัว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.92 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.58
43.57 และ 38.86 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สำหรับสินค้าบางรายการที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว และ
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง มีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพสูงกว่าและ
ความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาด
หลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่ เทคโนโลยีเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงแต่ปรับปรุงคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ให้มีความบางลง
จากเดิมสนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการผลิตที่สำคัญของเครื่องรับโทรทัศน์เทคโนโลยีใหม่ คือ LCD panel
ซึ่งยังคงประสบปัญหาที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก ซึ่งบางบริษัทมี Supply Chain ที่เข้มแข็งในลักษณะบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนผลิตในไทยก็สามารถจัดหา
LCD panel ได้ง่ายกว่า และสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบที่สำคัญได้
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศที่ได้รับอานิสงค์จากกการผลิตเพื่อการส่ง
ออก และมีการลงทุนขยายการผลิตเพิ่มเติมของหลายบริษัท นอกจากนี้ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องในผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่น และเกาหลี โดย
เน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน และการทำงานที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของสถานที่มากยิ่งขึ้น ส่วนผู้ผลิตจีนยังคงเน้นราคาเป็นหลักเพื่อรักษายอดผลิต
และขาย นอกจากนี้ มีการวางแผนการขยายการผลิตเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับงานโครงการที่อยู่อาศัยอีกด้วย
ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันโดยได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย
หน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมนึ่ง หลังจากเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่
ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
- คอนเดนซิ่งยูนิต 215.1 -5.8 46.58
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 221.36 -9.76 38.86
คอมเพรสเซอร์ 144.47 0.69 9.67
พัดลม 19 -21.58 -25.14
ตู้เย็น 212.72 -10.8 9.59
กระติกน้ำร้อน 197.38 18.04 13.35
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 114.22 1.07 21.87
สายไฟฟ้า 163.63 14.08 43.57
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 32.97 7.34 -33.16
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 258.81 -16.6 -12.19
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 71.2 9.04 -8.83
-เครื่องปรับอากาศ 91.6 13.51 -8.22
-ไมโครเวฟ 15.5 -24.02 -16.67
-หม้อหุงข้าว 82.9 -0.84 1.59
-ตู้เย็น 61.4 17.85 -14.13
-พัดลม 64.8 -7.3 -17.24
-เครื่องซักผ้า 62.1 8.76 -11.66
-เครื่องรับโทรทัศน์สี - - -
-LCD 1,154.20 30.24 27.78
-เครื่องเล่น DVD 27.3 60.59 -25.41
-กล้องวีดีโอ Digital 93.7 0.75 -10.85
-กล้องถ่ายรูป Digital 501.2 -5.22 28.48
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 4 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 8.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD LCD และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.59 30.24
และ 17.85 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องเล่น DVD และ ตู้เย็นกลับปรับตัวลดลง ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสก่อนเป็นเพียงการปรับตัวตามฤดูกาล โดยที่ภาวะอุตสาหกรรมของสินค้าทั้งสองชนิดในไตรมาสที่ 4 ค่อนข้างชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยังคงมีสินค้าที่ปรับตัวลดลงนอกจากสินค้าทั้งสองชนิดดังกล่าว ได้แก่ พัดลม
ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เป็นต้น ทั้งนี้ การผลิตเพื่อการส่งออกในปัจจุบันของสินค้าเตาไมโครเวฟ และเครื่องซักผ้ามีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอา
เซียนโดยเฉพาะไทย ในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกของทั้งสองผลิตภัณฑ์ 1,056 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณ 7% ของมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้ง
หมด ดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่มภาพและเสียงค่อนข้างผันผวน โดยมีบางผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ LCD และ กล้อง
ถ่ายรูป Digital ขณะที่เครื่องเล่น DVD และ กล้องวีดีโอ Digital ปรับตัวลดลง
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.37 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ลดลงร้อยละ
22.50 18.94 และ 15.21 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ สายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.52 34.74 และ 27.93 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดโดยรวมของ
เครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอานิสงค์ของการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดอียู ในช่วงปี 2550 มีมูลค่าส่ง
ออกตลาดนี้ทั้งสิ้น 1,068.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 74.77 ซึ่งปีนี้เผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ เช่น สเปน อิตาลี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างทรงตัวถึงแม้มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้ออยู่บ้างแต่ก็เพิ่มได้เพียงเล็กน้อย โดยที่ผู้ประกอบ
การมีช่องทางการจัดจำหน่ายพร้อมติดตั้งไปกับงานโครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัย เพื่อเพิ่มยอดขายได้ โดยที่ตลาดรวมของเครื่องปรับอากาศที่ขาย
ในประเทศ โดยประมาณ 650,000 เครื่อง (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, 24 ม.ค.51)
ส่วนตู้เย็นที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน ถึงแม้ตลาดญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงก็ตาม โดย
อัตราการขยายตัวใน 2 ตลาดนี้ ร้อยละ 11.11 และ 32.23 ตามลำดับ ขณะที่ ตลาดรวมในประเทศ ประมาณ 1,200,000 เครื่อง (หนังสือพิมพ์
ฐานเศรษฐกิจ, 24 ม.ค.51) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ ร้อยละ 7 จากกำลังซื้อที่มีการปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ถูกตัดจีเอสพี ปรับตัวลดลงในตลาดนี้
ช่วงปี 2550 ร้อยละ 50.93 นอกจากนี้ การผลิตอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การผลิตเทคโนโลยีเดิมลดลงบ้าง และเริ่มสู่การผลิต
เทคโนโลยีใหม่
ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงในส่วนของสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีเดิม ถึงแม้ราคาจะถูกลงมาก
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29 นิ้ว มีราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 6,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย ขณะที่
ตลาดรวมของ LCD และ plasma TV มีปริมาณขายในประเทศประมาณ 515,500 เครื่อง ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ในปี 2550 (หนังสือพิมพ์กรุง
เทพธุกิจ, 14 ม.ค.51) ความนิยมใช้จอที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงประมาณ 20% ต่อปี ส่วนใหญ่วางจำหน่ายผ่าน
dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 129.29 -7.37 8.73
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 199.17 -14.12 37.52
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 207.9 -18.94 34.74
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 148.59 -6.46 2.46
พัดลม 22 -22.5 -10.41
ตู้เย็น 222.5 -9.73 18.28
กระติกน้ำร้อน 207.51 28.85 13.39
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 123.4 19.66 26.25
สายไฟฟ้า 148.26 14.54 27.93
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 33.03 10.97 -36.87
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 262.15 -15.21 -12.48
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 95.7 2.13 -0.42
-เครื่องปรับอากาศ 103.5 -1.8 12.01
-ไมโครเวฟ 106.6 4.82 5.96
-หม้อหุงข้าว 101 0.7 -1.37
-ตู้เย็น 80.3 1.13 -12.14
-พัดลม 78.1 -5.9 -11.85
-เครื่องซักผ้า 110.3 6.47 2.13
-เครื่องรับโทรทัศน์ 16.4 -5.2 -29.91
-LCD 972 21.97 26.56
-เครื่องเล่น DVD 214.5 4.84 4.08
-กล้องวีดีโอ Digital 121.1 4.67 -1.78
-กล้องถ่ายรูป Digital 614 -2.15 25.41
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 2.13 และยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ LCD เครื่องซักผ้า และ เครื่องเล่น DVD เพิ่มขึ้นร้อยละ
21.97 6.47 และ 4.84 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับ
โทรทัศน์ ตู้เย็น และ พัดลม ลดลงร้อยละ 29.91 12.14 และ 11.85
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 4,201.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 12.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 570.61 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้เนื่องมาจากการ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอียู อาเซียน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.75 และ 61.43 จากภาวะอากาศร้อนมากผิดปกติในหลาย
ประเทศ และเนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ในช่วงของการเริ่มต้นการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ยอดส่งออกในช่วงดังกล่าวของปีที่แล้ว
มีฐานนตัวเลขที่ต่ำกว่าปกติ
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงรองจากเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผง
ควบคุม เช่น ฟิวส์/สวิตช์/ปลั๊ก/socket มีมูลค่าส่งออก 405.42 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.33 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักที่มีอัตราการขยายตัวมากได้แก่ ตลาดจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.64 แต่มูลค่าไม่สูงมากนัก ขณะที่ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสูง
ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 103.68 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ถึงร้อยละ 51.99 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง 212.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการถูกตัดจีเอสพีในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้
ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุด ประมาณ 68% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ ไทยยังคงอยู่ในช่วงของการปรับ
เปลี่ยนการผลิตจากเทคโนโลยีเก่ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และยังคงต้องการส่วนประกอบสำคัญ เช่น LCD Panel ในประเทศ เพื่อผลิตสำหรับส่งออก
ในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วย
ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่4 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,201.65 4.13 12.75
เครื่องปรับอากาศ 570.61 -15.94 35.25
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า 405.42 5.24 13.33
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 287.45 39.28 53.37
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 229.81 -2.16 30.06
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 212.97 13.31 32.97
เครื่องรับโทรทัศน์สี 212.72 15.13 -51.99
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 195.49 16.7 13.59
สายไฟ ชุดสายไฟ 180.45 -6.73 -8.11
เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง/ภาพ 177.06 88.17 27.25
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 160.41 5.25 8.83
ที่มา กรมศุลกากร
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 36.42 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 40.20 และ 34.68 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะHDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อัตราการขยายตัวการส่ง
ออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 52.91 ในช่วงปี 2550 มีมูลค่าที่ไทยส่งออก 3,723.47 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซ
มิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 33.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.76% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของ
มูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้
ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้
กับ Hardware หลายประเภท
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 484.93 16.48 36.42
Semiconductor Devices Transisters 137.95 -2.7 20.92
Monolithic IC 165.51 5.13 17.49
Other IC 235.55 2.17 34.68
Hard Disk Drive 874.65 20.07 40.2
Printer 23.64 -2.37 -15.48
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.64 และเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.69 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 40.46
และ 32.98 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากการรายงานของ Semiconductor
Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 68.43 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยาย
ตัวร้อยละ 3.27 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดไอทีหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.60 เนื่องมาจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศนี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ในไตรมาสที่ 4 GDP เติบโตเพียง 2.5 % เท่านั้น(1)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ในปี 2550 นี้ พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ โทรศัพท์มือถือ ยังคงมีแนว
โน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.8 และ คอมพิวเตอร์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ
32.2 ส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนประเภทเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (
Personal Computers) ที่มีสัดส่วนการใช้เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Consumption) มากที่สุดถึง 40%ของการใช้เซมิคอนดักเตอร์
รวม(2)
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 478.91 15.64 36.69
Semiconductor devices Transisters 142.05 -0.66 27.99
Monolithic IC 159.7 4.05 16.08
Other IC 206.85 2.71 32.98
Hard Disk Drive 872.13 18.73 40.46
Printer 24.08 -4.97 -20.3
(1) “Table 8: Real Gross Domestic Product: Percent Change From Quarter One Year Ago”, U.S. Economic
Accounts, Bureau of Economic Analysis, U.S. Department of Commerce
(2) “Global Chip Sales Rise Hit $255.6 Billion in 2007”,www.sia-online.org, February 1, 2008
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาสที่ 4 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี49
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 68.43 5.7 3.27
US 11.34 4.33 -3.6
EU 10.83 6.23 0.94
Japan 13.06 5.97 8.14
Asia Pacific 33.21 5.89 4.76
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA), February 2008
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 8,159.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 เมื่อ
เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.28 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,609 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 57.31 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 20.35% ของมูลค่าส่งออก
อิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.16 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และญี่ปุ่นร้อยละ 68.10 และ 24.04 ตามลำดับ
ตารางที่ 8 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่4 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 8,159.47 7.05 13.28
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,691.16 8.83 14.16
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) 2,055.11 -3.34 11.06
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 364.53 16.32 44.34
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ 265.96 14.9 10.39
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 242.5 12.49 3
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ 153.92 68.13 -15.22
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 119.63 7.23 18.86
เครื่องโทรศัพท์ 96.31 15.18 3.09
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 49.15 -13.08 -24.76
เครื่องโทรสาร 36.51 5.59 -22.4
ที่มา กรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.01
ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่
เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.56 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ส่วนตู้เย็น ประมาณการ
ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.62
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 34.85
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.60 และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี
2551 ร้อยละ 15.84
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 118.24 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 7.00สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลด
ลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.58 16.60
และ 10.80 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทรงตัว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.92 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน- คอนเดนซิ่งยูนิต สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.58
43.57 และ 38.86 ตามลำดับ
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 36.42 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 40.20 และ 34.68 ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 4,201.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 12.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 570.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้เนื่องมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอียู อาเซียน
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.75 และ 61.43 จากภาวะอากาศร้อนมากผิดปกติในหลายประเทศ
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 8,159.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 เมื่อ
เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.28 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,609 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 57.31 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 20.35% ของมูลค่า
ส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.01 ทั้ง
นี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่
เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.56 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ส่วนตู้เย็น ประมาณการ
ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.62
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 34.85
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.60 และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี
2551 ร้อยละ 15.84
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 118.24 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 7.00สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม โทรทัศน์สี (ขนาดจอ
21 นิ้ว หรือมากกว่า) และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.58 16.60 และ 10.80 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทรงตัว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.92 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.58
43.57 และ 38.86 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สำหรับสินค้าบางรายการที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว และ
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง มีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพสูงกว่าและ
ความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาด
หลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่ เทคโนโลยีเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงแต่ปรับปรุงคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ให้มีความบางลง
จากเดิมสนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการผลิตที่สำคัญของเครื่องรับโทรทัศน์เทคโนโลยีใหม่ คือ LCD panel
ซึ่งยังคงประสบปัญหาที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก ซึ่งบางบริษัทมี Supply Chain ที่เข้มแข็งในลักษณะบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนผลิตในไทยก็สามารถจัดหา
LCD panel ได้ง่ายกว่า และสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบที่สำคัญได้
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศที่ได้รับอานิสงค์จากกการผลิตเพื่อการส่ง
ออก และมีการลงทุนขยายการผลิตเพิ่มเติมของหลายบริษัท นอกจากนี้ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องในผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่น และเกาหลี โดย
เน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน และการทำงานที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของสถานที่มากยิ่งขึ้น ส่วนผู้ผลิตจีนยังคงเน้นราคาเป็นหลักเพื่อรักษายอดผลิต
และขาย นอกจากนี้ มีการวางแผนการขยายการผลิตเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับงานโครงการที่อยู่อาศัยอีกด้วย
ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันโดยได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย
หน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมนึ่ง หลังจากเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่
ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
- คอนเดนซิ่งยูนิต 215.1 -5.8 46.58
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 221.36 -9.76 38.86
คอมเพรสเซอร์ 144.47 0.69 9.67
พัดลม 19 -21.58 -25.14
ตู้เย็น 212.72 -10.8 9.59
กระติกน้ำร้อน 197.38 18.04 13.35
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 114.22 1.07 21.87
สายไฟฟ้า 163.63 14.08 43.57
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 32.97 7.34 -33.16
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 258.81 -16.6 -12.19
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 71.2 9.04 -8.83
-เครื่องปรับอากาศ 91.6 13.51 -8.22
-ไมโครเวฟ 15.5 -24.02 -16.67
-หม้อหุงข้าว 82.9 -0.84 1.59
-ตู้เย็น 61.4 17.85 -14.13
-พัดลม 64.8 -7.3 -17.24
-เครื่องซักผ้า 62.1 8.76 -11.66
-เครื่องรับโทรทัศน์สี - - -
-LCD 1,154.20 30.24 27.78
-เครื่องเล่น DVD 27.3 60.59 -25.41
-กล้องวีดีโอ Digital 93.7 0.75 -10.85
-กล้องถ่ายรูป Digital 501.2 -5.22 28.48
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 4 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 8.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD LCD และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.59 30.24
และ 17.85 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องเล่น DVD และ ตู้เย็นกลับปรับตัวลดลง ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสก่อนเป็นเพียงการปรับตัวตามฤดูกาล โดยที่ภาวะอุตสาหกรรมของสินค้าทั้งสองชนิดในไตรมาสที่ 4 ค่อนข้างชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยังคงมีสินค้าที่ปรับตัวลดลงนอกจากสินค้าทั้งสองชนิดดังกล่าว ได้แก่ พัดลม
ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เป็นต้น ทั้งนี้ การผลิตเพื่อการส่งออกในปัจจุบันของสินค้าเตาไมโครเวฟ และเครื่องซักผ้ามีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอา
เซียนโดยเฉพาะไทย ในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกของทั้งสองผลิตภัณฑ์ 1,056 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณ 7% ของมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้ง
หมด ดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่มภาพและเสียงค่อนข้างผันผวน โดยมีบางผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ LCD และ กล้อง
ถ่ายรูป Digital ขณะที่เครื่องเล่น DVD และ กล้องวีดีโอ Digital ปรับตัวลดลง
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.37 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ลดลงร้อยละ
22.50 18.94 และ 15.21 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ สายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.52 34.74 และ 27.93 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดโดยรวมของ
เครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอานิสงค์ของการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดอียู ในช่วงปี 2550 มีมูลค่าส่ง
ออกตลาดนี้ทั้งสิ้น 1,068.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 74.77 ซึ่งปีนี้เผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ เช่น สเปน อิตาลี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างทรงตัวถึงแม้มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้ออยู่บ้างแต่ก็เพิ่มได้เพียงเล็กน้อย โดยที่ผู้ประกอบ
การมีช่องทางการจัดจำหน่ายพร้อมติดตั้งไปกับงานโครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัย เพื่อเพิ่มยอดขายได้ โดยที่ตลาดรวมของเครื่องปรับอากาศที่ขาย
ในประเทศ โดยประมาณ 650,000 เครื่อง (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, 24 ม.ค.51)
ส่วนตู้เย็นที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน ถึงแม้ตลาดญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงก็ตาม โดย
อัตราการขยายตัวใน 2 ตลาดนี้ ร้อยละ 11.11 และ 32.23 ตามลำดับ ขณะที่ ตลาดรวมในประเทศ ประมาณ 1,200,000 เครื่อง (หนังสือพิมพ์
ฐานเศรษฐกิจ, 24 ม.ค.51) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ ร้อยละ 7 จากกำลังซื้อที่มีการปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ถูกตัดจีเอสพี ปรับตัวลดลงในตลาดนี้
ช่วงปี 2550 ร้อยละ 50.93 นอกจากนี้ การผลิตอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การผลิตเทคโนโลยีเดิมลดลงบ้าง และเริ่มสู่การผลิต
เทคโนโลยีใหม่
ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงในส่วนของสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีเดิม ถึงแม้ราคาจะถูกลงมาก
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29 นิ้ว มีราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 6,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย ขณะที่
ตลาดรวมของ LCD และ plasma TV มีปริมาณขายในประเทศประมาณ 515,500 เครื่อง ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ในปี 2550 (หนังสือพิมพ์กรุง
เทพธุกิจ, 14 ม.ค.51) ความนิยมใช้จอที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงประมาณ 20% ต่อปี ส่วนใหญ่วางจำหน่ายผ่าน
dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 129.29 -7.37 8.73
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 199.17 -14.12 37.52
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 207.9 -18.94 34.74
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 148.59 -6.46 2.46
พัดลม 22 -22.5 -10.41
ตู้เย็น 222.5 -9.73 18.28
กระติกน้ำร้อน 207.51 28.85 13.39
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 123.4 19.66 26.25
สายไฟฟ้า 148.26 14.54 27.93
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 33.03 10.97 -36.87
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 262.15 -15.21 -12.48
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 95.7 2.13 -0.42
-เครื่องปรับอากาศ 103.5 -1.8 12.01
-ไมโครเวฟ 106.6 4.82 5.96
-หม้อหุงข้าว 101 0.7 -1.37
-ตู้เย็น 80.3 1.13 -12.14
-พัดลม 78.1 -5.9 -11.85
-เครื่องซักผ้า 110.3 6.47 2.13
-เครื่องรับโทรทัศน์ 16.4 -5.2 -29.91
-LCD 972 21.97 26.56
-เครื่องเล่น DVD 214.5 4.84 4.08
-กล้องวีดีโอ Digital 121.1 4.67 -1.78
-กล้องถ่ายรูป Digital 614 -2.15 25.41
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 2.13 และยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ LCD เครื่องซักผ้า และ เครื่องเล่น DVD เพิ่มขึ้นร้อยละ
21.97 6.47 และ 4.84 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรับ
โทรทัศน์ ตู้เย็น และ พัดลม ลดลงร้อยละ 29.91 12.14 และ 11.85
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 4,201.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 12.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 570.61 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้เนื่องมาจากการ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอียู อาเซียน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.75 และ 61.43 จากภาวะอากาศร้อนมากผิดปกติในหลาย
ประเทศ และเนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ในช่วงของการเริ่มต้นการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ยอดส่งออกในช่วงดังกล่าวของปีที่แล้ว
มีฐานนตัวเลขที่ต่ำกว่าปกติ
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงรองจากเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผง
ควบคุม เช่น ฟิวส์/สวิตช์/ปลั๊ก/socket มีมูลค่าส่งออก 405.42 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.33 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักที่มีอัตราการขยายตัวมากได้แก่ ตลาดจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.64 แต่มูลค่าไม่สูงมากนัก ขณะที่ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสูง
ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 103.68 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ถึงร้อยละ 51.99 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง 212.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการถูกตัดจีเอสพีในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้
ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุด ประมาณ 68% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ ไทยยังคงอยู่ในช่วงของการปรับ
เปลี่ยนการผลิตจากเทคโนโลยีเก่ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และยังคงต้องการส่วนประกอบสำคัญ เช่น LCD Panel ในประเทศ เพื่อผลิตสำหรับส่งออก
ในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วย
ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่4 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,201.65 4.13 12.75
เครื่องปรับอากาศ 570.61 -15.94 35.25
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า 405.42 5.24 13.33
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 287.45 39.28 53.37
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 229.81 -2.16 30.06
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 212.97 13.31 32.97
เครื่องรับโทรทัศน์สี 212.72 15.13 -51.99
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 195.49 16.7 13.59
สายไฟ ชุดสายไฟ 180.45 -6.73 -8.11
เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง/ภาพ 177.06 88.17 27.25
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 160.41 5.25 8.83
ที่มา กรมศุลกากร
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 36.42 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 40.20 และ 34.68 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะHDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อัตราการขยายตัวการส่ง
ออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 52.91 ในช่วงปี 2550 มีมูลค่าที่ไทยส่งออก 3,723.47 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซ
มิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 33.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.76% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของ
มูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้
ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้
กับ Hardware หลายประเภท
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 484.93 16.48 36.42
Semiconductor Devices Transisters 137.95 -2.7 20.92
Monolithic IC 165.51 5.13 17.49
Other IC 235.55 2.17 34.68
Hard Disk Drive 874.65 20.07 40.2
Printer 23.64 -2.37 -15.48
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.64 และเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.69 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 40.46
และ 32.98 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จากการรายงานของ Semiconductor
Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 68.43 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยาย
ตัวร้อยละ 3.27 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดไอทีหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.60 เนื่องมาจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศนี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ในไตรมาสที่ 4 GDP เติบโตเพียง 2.5 % เท่านั้น(1)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ในปี 2550 นี้ พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ โทรศัพท์มือถือ ยังคงมีแนว
โน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.8 และ คอมพิวเตอร์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ
32.2 ส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนประเภทเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (
Personal Computers) ที่มีสัดส่วนการใช้เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Consumption) มากที่สุดถึง 40%ของการใช้เซมิคอนดักเตอร์
รวม(2)
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 478.91 15.64 36.69
Semiconductor devices Transisters 142.05 -0.66 27.99
Monolithic IC 159.7 4.05 16.08
Other IC 206.85 2.71 32.98
Hard Disk Drive 872.13 18.73 40.46
Printer 24.08 -4.97 -20.3
(1) “Table 8: Real Gross Domestic Product: Percent Change From Quarter One Year Ago”, U.S. Economic
Accounts, Bureau of Economic Analysis, U.S. Department of Commerce
(2) “Global Chip Sales Rise Hit $255.6 Billion in 2007”,www.sia-online.org, February 1, 2008
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาสที่ 4 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี49
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 68.43 5.7 3.27
US 11.34 4.33 -3.6
EU 10.83 6.23 0.94
Japan 13.06 5.97 8.14
Asia Pacific 33.21 5.89 4.76
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA), February 2008
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 8,159.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 เมื่อ
เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.28 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,609 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 57.31 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 20.35% ของมูลค่าส่งออก
อิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.16 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และญี่ปุ่นร้อยละ 68.10 และ 24.04 ตามลำดับ
ตารางที่ 8 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่4 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี49
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 8,159.47 7.05 13.28
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,691.16 8.83 14.16
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) 2,055.11 -3.34 11.06
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 364.53 16.32 44.34
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ 265.96 14.9 10.39
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 242.5 12.49 3
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ 153.92 68.13 -15.22
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 119.63 7.23 18.86
เครื่องโทรศัพท์ 96.31 15.18 3.09
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 49.15 -13.08 -24.76
เครื่องโทรสาร 36.51 5.59 -22.4
ที่มา กรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.01
ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่
เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.56 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ส่วนตู้เย็น ประมาณการ
ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.62
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 34.85
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.60 และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี
2551 ร้อยละ 15.84
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-