การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 12,586 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่
แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 23,312 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.82
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,798 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
39.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,900 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 10,188 10,480 11,189 12,592 12,586 -0.04 23.53
1.2 อินทรีย์ * 29 21,848 23,120 22,269 22,029 23,312 5.82 6.7
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 13,396 14,834 16,314 14,372 18,345 27.64 36.94
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 4,889 9,734 15,415 12,959 7,798 -39.82 59.5
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 7,826 7,955 9,353 8,743 8,662 -0.92 10.68
2.3 เครื่องสำอาง 33 3,750 4,575 4,776 4,676 4,900 4.79 30.66
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,598 3,759 3,725 4,295 3,600 -16.18 0.05
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,898 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 29.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
8,262 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ย
มีมูลค่าการส่งออก 370 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 38.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q4/2549 Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q4/50 Q4/50
กับQ3/50 กับQ4/49
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,598 2,491 2,438 3,158 3,283 3.95 26.36
1.2 อินทรีย์ * 29 4,568 4,735 6,109 5,077 5,898 16.17 29.11
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,434 3,678 3,919 4,295 3,665 -14.7 6.72
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 597 339 530 657 370 -43.7 -38
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,186 2,206 2,320 2,387 2,231 -6.53 2.05
2.3 เครื่องสำอาง 33 6,991 7,820 8,027 7,987 8,262 3.44 18.18
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,861 2,610 2,948 3,279 3,361 2.5 17.47
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ : จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควร
ถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และ
ตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ผู้ประกอบการบางรายมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่า
เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อใช้แข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงส่งผลต่อ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใน
ประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทยควรที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต
เพื่อลดต้นทุน แข่งขันกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาจากต่างประเทศได้
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี: ปัจจุบันการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของค่าเงินบาทส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาราคาปุ๋ย
เคมีนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน แต่การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลช่วยให้ราคานำเข้าปุ๋ยเคมีสำคัญบางสูตรมี
แนวโน้มลดลง ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าในปี 2551 ธุรกิจปุ๋ยเคมีจะยังคงสดใส และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เพราะราคาผล
ผลิตสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เช่น ปุ๋ยเคมีสารกำจัดวัชพืช และสาร
ป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร: ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการชะลอตัวลงของ ภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่า
ของประเทศคู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าในตลาดสี อาจทำให้มีการนำเข้าสีอุตสาหกรรม
สำเร็จรูปจากต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการภายในประเทศจึงต้องมีการจัดกิจกรรมตลาดออกมา
กระตุ้นกำลังซื้อ ทั้งรายการส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม ล่าสุด มีการนำนวัตกรรมเกี่ยวกับสีทาอาคารใหม่ๆ ออกมากระตุ้นให้มีการใช้สีกันเพิ่ม
มากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 12,586 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่
แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 23,312 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.82
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,798 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
39.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,900 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 10,188 10,480 11,189 12,592 12,586 -0.04 23.53
1.2 อินทรีย์ * 29 21,848 23,120 22,269 22,029 23,312 5.82 6.7
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 13,396 14,834 16,314 14,372 18,345 27.64 36.94
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 4,889 9,734 15,415 12,959 7,798 -39.82 59.5
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 7,826 7,955 9,353 8,743 8,662 -0.92 10.68
2.3 เครื่องสำอาง 33 3,750 4,575 4,776 4,676 4,900 4.79 30.66
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,598 3,759 3,725 4,295 3,600 -16.18 0.05
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,898 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 29.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
8,262 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ย
มีมูลค่าการส่งออก 370 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 38.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q4/2549 Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q4/50 Q4/50
กับQ3/50 กับQ4/49
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,598 2,491 2,438 3,158 3,283 3.95 26.36
1.2 อินทรีย์ * 29 4,568 4,735 6,109 5,077 5,898 16.17 29.11
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,434 3,678 3,919 4,295 3,665 -14.7 6.72
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 597 339 530 657 370 -43.7 -38
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,186 2,206 2,320 2,387 2,231 -6.53 2.05
2.3 เครื่องสำอาง 33 6,991 7,820 8,027 7,987 8,262 3.44 18.18
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,861 2,610 2,948 3,279 3,361 2.5 17.47
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ : จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัตถุดิบลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควร
ถือโอกาสนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และ
ตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ผู้ประกอบการบางรายมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่ค่า
เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อใช้แข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ด้วยเหตุผลนี้ จึงส่งผลต่อ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใน
ประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทยควรที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต
เพื่อลดต้นทุน แข่งขันกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาจากต่างประเทศได้
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี: ปัจจุบันการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของค่าเงินบาทส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาราคาปุ๋ย
เคมีนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน แต่การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลช่วยให้ราคานำเข้าปุ๋ยเคมีสำคัญบางสูตรมี
แนวโน้มลดลง ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าในปี 2551 ธุรกิจปุ๋ยเคมีจะยังคงสดใส และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เพราะราคาผล
ผลิตสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เช่น ปุ๋ยเคมีสารกำจัดวัชพืช และสาร
ป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร: ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการชะลอตัวลงของ ภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่า
ของประเทศคู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าในตลาดสี อาจทำให้มีการนำเข้าสีอุตสาหกรรม
สำเร็จรูปจากต่างประเทศที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาจำหน่ายในประเทศมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการภายในประเทศจึงต้องมีการจัดกิจกรรมตลาดออกมา
กระตุ้นกำลังซื้อ ทั้งรายการส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม ล่าสุด มีการนำนวัตกรรมเกี่ยวกับสีทาอาคารใหม่ๆ ออกมากระตุ้นให้มีการใช้สีกันเพิ่ม
มากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-