1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 143.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 2.6 ส่วน
ภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ของกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษคราฟท์ และกระดาษลูกฟูก มีค่าดัชนีผลผลิต 131.4 139.7
และ 197.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 6.6 และ 2.4 ตามลำดับ แต่การผลิตกระดาษแข็งในไตรมาสนี้มีค่าดัชนีผลผลิต
133.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 4.4 สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตกระดาษส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน
คือ การเตรียมรองรับความต้องการภายในประเทศจากการระบุวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ส่งผลให้มีการ
สั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการเลือกตั้งทั้งในส่วนของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจะเข้าสู่ช่วงเทศกาล
คริสมาสต์และปีใหม่ ทำให้ร้านค้าและหน่วยงานต่าง ๆ สั่งพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ และการ์ดต่าง ๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบ
ห่อ เพื่อเตรียมรับเทศกาลดังกล่าว อีกทั้งอุตสาหกรรมหลายกลุ่มของประเทศขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วน
ประกอบ ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการใช้กระดาษ สิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาบรรจุ ห่อหุ้ม และขนส่งสินค้า รวมถึงการจัดพิมพ์คู่มือการใช้
งาน และฉลากสินค้า เป็นต้น
สำหรับภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนภาวะการผลิตกระดาษประเภทต่าง ๆ
ได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง กระดาษคราฟท์ และกระดาษลูกฟูก ปี 2550 เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับเยื่อกระดาษร้อยละ
1.1 22.3 6.0 และ 5.8 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับใหม่ รวมทั้งงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา เอกสาร หนังสือ การ์ด
ปฏิทิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานดังกล่าว ประกอบกับประเทศจีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 142.0
287.7 และ 84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 0.5 2.5 และ 48.5 ตามลำดับ และ
เมื่อเทียบปี 2550 กับ ปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับไตรมาส 4 ปี 2550 ร้อยละ 26.4 12.4 และ 46.0 ตามลำดับ เนื่องจากมีความจำเป็นต้อง
นำเข้าเยื่อใยยาว และเศษกระดาษที่ผลิตจากเยื่อใยยาวซึ่งในประเทศไม่สามารถผลิตได้ อีกทั้งเศษกระดาษในประเทศยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ ซึ่ง
การนำเข้าดังกล่าวเพื่อรองรับความต้องการในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 การจัดเตรียมพิมพ์
ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ และการ์ดต่าง ๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ โดยแหล่งนำเข้าเยื่อ
กระดาษสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอัฟริกาใต้ ส่วนแหล่งนำเข้าเศษกระดาษสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ
สิงคโปร์
ส่วนมูลค่าการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ซึ่งส่วน
ใหญ่นำเข้ากระดาษประเภทเซลลูโลสแวดดิ้ง เนื่องจากการขยายตัวของกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า และกระดาษอนามัย เพื่อนำมาใช้เป็นส่วน
ผสมของกระดาษดังกล่าว โดยจะนำมาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู แหล่งนำเข้าสำคัญของไทย คือ
สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
สำหรับมูลค่าการนำเข้าสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยประเภทสิ่งพิมพ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย และสิ่งพิมพ์
โฆษณาการค้า มีแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน รองลงมา คือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม โบรชัว แผ่นปลิว แหล่งนำเข้าสำคัญ
คือ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 48.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 28.2 และเมื่อเทียบปี 2550 กับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เนื่องจากประเทศจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปประเทศจีนว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษทั้งหมด
ในส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 308.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.6 เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษภายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบปี 2550 กับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
12.3 มาจากความต้องการใช้กระดาษในอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจุบันประเทศแถบอาเซียนให้
ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร โดยการอ่านหนังสือ/สิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการใช้กระดาษเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตหนังสือ/สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง
ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาส 4 ปี 2550 มีมูลค่า 350.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.1 และเมื่อเทียบปี 2550 กับปีก่อนเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 715.1 เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์
กลางการพิมพ์ ในภูมิภาคอาเซียน การมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร ประกอบกับในปัจจุบันคุณภาพงานพิมพ์ของไทยอยู่ใน
ระดับสากล ทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย ตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสก่อน เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุนจากภายในประเทศ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับใหม่ และงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประกอบกับอุตสาหกรรมหลายกลุ่มของประเทศไทยมีการขยาย
ตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่งผลให้มีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยัง
คงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุน
การผลิตและระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็น
ผลจากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ของตลาดภายในประเทศ จากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ความมั่นคงในสถานการณ์การ
เมือง ประกอบกับแผนการขยายการผลิตของบางโรงงานและผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต่างชาติรายใหญ่เริ่มเข้ามาใช้บริการการพิมพ์ ในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะผู้
ผลิตหนังสือ/ตำราเรียน ในส่วนตลาดต่างประเทศ คาดว่า จะมีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอาเซียน แต่
อย่างไรก็ตามในไตรมาสหน้ายังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทไม่เสถียรภาพ ภาวะดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน
ปรับตัวสูงขึ้นต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนทุกด้านโดยเฉพาะการขนส่ง
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต
ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
เยื่อกระดาษ 140.8 147 143.2 137 142
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -2.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 4.1
กระดาษพิมพ์เขียน 122.5 128.5 131.4 124 126
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3 1.1
กระดาษแข็ง 96.4 139.6 133.4 99.9 122
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -4.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 38.4 22.3
กระดาษคราฟท์ 133.7 130.9 139.7 128 136
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 6.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.4 6
กระดาษลูกฟูก 184.1 192.5 197 182 193
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7 5.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์
ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 113.3 141.3 142 428 540.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 0.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.3 26.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 254.4 280.5 287.7 976 1,096.60
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.1 12.4
สิ่งพิมพ์ 36.3 43.5 84.5 141 206.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 48.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 132.8 46
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์
ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
เยื่อกระดาษ 21.7 37.9 48.6 118.3 173
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 28.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 124 46.2
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 291.7 313.9 308.8 1,066.00 1,196.80
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9 12.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 20.1 307.1 350.5 103.1 840.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 14.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,643.80 715.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 143.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 2.6 ส่วน
ภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ของกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษคราฟท์ และกระดาษลูกฟูก มีค่าดัชนีผลผลิต 131.4 139.7
และ 197.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 6.6 และ 2.4 ตามลำดับ แต่การผลิตกระดาษแข็งในไตรมาสนี้มีค่าดัชนีผลผลิต
133.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 4.4 สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การผลิตกระดาษส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน
คือ การเตรียมรองรับความต้องการภายในประเทศจากการระบุวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ส่งผลให้มีการ
สั่งพิมพ์สื่อโฆษณา และเอกสารประกอบการเลือกตั้งทั้งในส่วนของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจะเข้าสู่ช่วงเทศกาล
คริสมาสต์และปีใหม่ ทำให้ร้านค้าและหน่วยงานต่าง ๆ สั่งพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ และการ์ดต่าง ๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบ
ห่อ เพื่อเตรียมรับเทศกาลดังกล่าว อีกทั้งอุตสาหกรรมหลายกลุ่มของประเทศขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วน
ประกอบ ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการใช้กระดาษ สิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำมาบรรจุ ห่อหุ้ม และขนส่งสินค้า รวมถึงการจัดพิมพ์คู่มือการใช้
งาน และฉลากสินค้า เป็นต้น
สำหรับภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนภาวะการผลิตกระดาษประเภทต่าง ๆ
ได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง กระดาษคราฟท์ และกระดาษลูกฟูก ปี 2550 เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับเยื่อกระดาษร้อยละ
1.1 22.3 6.0 และ 5.8 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับใหม่ รวมทั้งงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทำให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณา เอกสาร หนังสือ การ์ด
ปฏิทิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานดังกล่าว ประกอบกับประเทศจีนยังคงมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 142.0
287.7 และ 84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 0.5 2.5 และ 48.5 ตามลำดับ และ
เมื่อเทียบปี 2550 กับ ปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับไตรมาส 4 ปี 2550 ร้อยละ 26.4 12.4 และ 46.0 ตามลำดับ เนื่องจากมีความจำเป็นต้อง
นำเข้าเยื่อใยยาว และเศษกระดาษที่ผลิตจากเยื่อใยยาวซึ่งในประเทศไม่สามารถผลิตได้ อีกทั้งเศษกระดาษในประเทศยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ ซึ่ง
การนำเข้าดังกล่าวเพื่อรองรับความต้องการในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 การจัดเตรียมพิมพ์
ปฏิทิน สมุดบันทึก กระดาษห่อของขวัญ และการ์ดต่าง ๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ โดยแหล่งนำเข้าเยื่อ
กระดาษสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอัฟริกาใต้ ส่วนแหล่งนำเข้าเศษกระดาษสำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ
สิงคโปร์
ส่วนมูลค่าการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ซึ่งส่วน
ใหญ่นำเข้ากระดาษประเภทเซลลูโลสแวดดิ้ง เนื่องจากการขยายตัวของกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า และกระดาษอนามัย เพื่อนำมาใช้เป็นส่วน
ผสมของกระดาษดังกล่าว โดยจะนำมาผ่านกระบวนการทำให้ย่น เป็นลอนหรือเป็นจีบ ทำลายดุน และปรุรู แหล่งนำเข้าสำคัญของไทย คือ
สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
สำหรับมูลค่าการนำเข้าสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยประเภทสิ่งพิมพ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย และสิ่งพิมพ์
โฆษณาการค้า มีแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน รองลงมา คือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่ม โบรชัว แผ่นปลิว แหล่งนำเข้าสำคัญ
คือ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 48.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 28.2 และเมื่อเทียบปี 2550 กับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เนื่องจากประเทศจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปประเทศจีนว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษทั้งหมด
ในส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่า 308.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.6 เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษภายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบปี 2550 กับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
12.3 มาจากความต้องการใช้กระดาษในอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจุบันประเทศแถบอาเซียนให้
ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร โดยการอ่านหนังสือ/สิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการใช้กระดาษเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตหนังสือ/สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง
ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาส 4 ปี 2550 มีมูลค่า 350.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 14.1 และเมื่อเทียบปี 2550 กับปีก่อนเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 715.1 เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์
กลางการพิมพ์ ในภูมิภาคอาเซียน การมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร ประกอบกับในปัจจุบันคุณภาพงานพิมพ์ของไทยอยู่ใน
ระดับสากล ทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย ตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสก่อน เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุนจากภายในประเทศ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับใหม่ และงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประกอบกับอุตสาหกรรมหลายกลุ่มของประเทศไทยมีการขยาย
ตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่งผลให้มีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยัง
คงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุน
การผลิตและระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็น
ผลจากความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ของตลาดภายในประเทศ จากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ความมั่นคงในสถานการณ์การ
เมือง ประกอบกับแผนการขยายการผลิตของบางโรงงานและผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต่างชาติรายใหญ่เริ่มเข้ามาใช้บริการการพิมพ์ ในไทยมากขึ้นโดยเฉพาะผู้
ผลิตหนังสือ/ตำราเรียน ในส่วนตลาดต่างประเทศ คาดว่า จะมีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอาเซียน แต่
อย่างไรก็ตามในไตรมาสหน้ายังคงมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทไม่เสถียรภาพ ภาวะดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน
ปรับตัวสูงขึ้นต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนทุกด้านโดยเฉพาะการขนส่ง
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต
ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
เยื่อกระดาษ 140.8 147 143.2 137 142
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -2.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 4.1
กระดาษพิมพ์เขียน 122.5 128.5 131.4 124 126
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3 1.1
กระดาษแข็ง 96.4 139.6 133.4 99.9 122
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -4.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 38.4 22.3
กระดาษคราฟท์ 133.7 130.9 139.7 128 136
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 6.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.4 6
กระดาษลูกฟูก 184.1 192.5 197 182 193
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7 5.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์
ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 113.3 141.3 142 428 540.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 0.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.3 26.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 254.4 280.5 287.7 976 1,096.60
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.1 12.4
สิ่งพิมพ์ 36.3 43.5 84.5 141 206.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 48.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 132.8 46
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์
ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
เยื่อกระดาษ 21.7 37.9 48.6 118.3 173
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 28.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 124 46.2
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 291.7 313.9 308.8 1,066.00 1,196.80
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9 12.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 20.1 307.1 350.5 103.1 840.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 14.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,643.80 715.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-