1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 31.95 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.83 และ 3.06 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลด
ลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.33 และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.85 (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนผู้ผลิตในประเทศหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกจากจีนแทนการผลิตเอง ทำให้การผลิตเซรามิกลดลง โดยในปี
2550 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 136.69 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.20 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2549 ใน
อัตราร้อยละ 5.46 และ 0.98 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.69 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.46 และ 0.64 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.19 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 และ 1.72 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การจำหน่ายเซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้ง
จากสินค้าที่ผลิตในประเทศ และสินค้านำเข้าที่มีราคา ถูกจากจีน นอกจากนี้ ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอด ทำให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคา
ตาม ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง การจำหน่ายเซรามิกในประเทศจึงลดลงอย่างเห็น ได้ชัด โดยในปี 2550 การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 148.08 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 4.48 ล้านชิ้น ลดลงจาก ปี 2549 ในอัตราร้อย
ละ 6.18 และ 4.94 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 257.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ
3.67 โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าวัสดุก่อสร้างลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผลกระทบ
ปัญหาสินเชื่ออสังหา ริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub-prime Loans) ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 53.64 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลักที่สำคัญ ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ และประเทศ
ในกลุ่มอาเซียน ในปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีมูลค่ารวม 908.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.56 ซึ่งทุก
ผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลักที่สำคัญเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกาที่การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บน
โต๊ะอาหาร มีมูลค่าการส่งออกลดลง
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 46.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 18.07 และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30 (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2550 มีมูลค่ารวม 190.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี
2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ15.38 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย และการ
นำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่นำเข้า อิฐทนไฟจากประเทศญี่ปุ่น และนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน และเวียดนาม
3. สรุป
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนผู้ผลิตในประเทศหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกจากจีนแทนการผลิตเอง แม้ว่าการ
จำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จะเพิ่มขึ้นแต่ก็มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้า และการเพิ่มขึ้นเป็นไปตามตลาดที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาล
ขายเท่านั้น เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งปีจะพบว่าการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2550 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากการซบเซาของธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ และปัญหาภาวะ ทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตร
มาสที่ 1 ปี 2551 จะเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย แต่ในภาพรวมแล้วการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 ยังคงขึ้นอยู่กับภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่จะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นกลับคืนมาได้หรือไม่
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์เซรามิก ทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะ
อาหาร มีมูลค่าการส่งออกลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในตลาดสหรัฐอเมริกา แม้ว่าในปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบทุก
ผลิตภัณฑ์ โดยสามารถขยายตัวได้ดีในตลาดญี่ปุ่น แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกาการส่งออกกลับลดลงจากผลกระทบปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ
(Sub-prime Loans) สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2551 อาจมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากภาระต้นทุนการ
ผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาค่า เงินบาทที่ยังคงแข็งค่า และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควร
เร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 *
Apr-49 Mar-50 4/2550 *
การผลิต 32,955,100 35,827,328 31,947,405 144,583,964 136,691,757
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.83
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.06 -5.46
การจำหน่ายในประเทศ 35,466,220 34,835,560 35,692,838 157,822,811 148,075,419
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.46
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.64 -6.18
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
2. ไตรมาส 4/2550 และ ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
การผลิต 1,943,939 2,064,379 2,057,648 8,278,734 8,197,938
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.33
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.85 -0.98
การจำหน่ายในประเทศ 1,165,087 1,132,676 1,185,116 4,712,974 4,480,043
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.63
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.72 -4.94
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Apr-49 Mar-50 Apr-50
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 22.2 32.8 29.8 102.1 108.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 34.23 6.56
เครื่องสุขภัณฑ์ 29.8 46.8 42.1 121.2 149.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.04
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 41.28 23.68
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 41.6 59.6 45.8 172 188.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.1 9.77
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.4 9.2 8.7 28.4 34.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.43
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.57 22.18
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.6 6.3 7.1 23.3 23.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.79 0.86
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 61 112.6 124 222.8 402.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 10.12
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 103.28 80.57
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 167.6 267.3 257.5 669.8 908
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.67
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 53.64 35.56
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Apr-49 Mar-50 Apr-50
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 17 18.3 18 57.6 66.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.64
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.88 15.1
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 29.1 38.7 28.7 107.5 124.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -25.84
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.37 15.53
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 46.1 57 46.7 165.1 190.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -18.07
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.3 15.38
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 31.95 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.83 และ 3.06 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลด
ลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.33 และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.85 (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การผลิตเซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนผู้ผลิตในประเทศหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกจากจีนแทนการผลิตเอง ทำให้การผลิตเซรามิกลดลง โดยในปี
2550 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 136.69 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.20 ล้านชิ้น ลดลงจากปี 2549 ใน
อัตราร้อยละ 5.46 และ 0.98 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.69 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.46 และ 0.64 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.19 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 และ 1.72 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
การจำหน่ายเซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้ง
จากสินค้าที่ผลิตในประเทศ และสินค้านำเข้าที่มีราคา ถูกจากจีน นอกจากนี้ ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอด ทำให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคา
ตาม ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง การจำหน่ายเซรามิกในประเทศจึงลดลงอย่างเห็น ได้ชัด โดยในปี 2550 การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 148.08 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 4.48 ล้านชิ้น ลดลงจาก ปี 2549 ในอัตราร้อย
ละ 6.18 และ 4.94 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 257.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ
3.67 โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าวัสดุก่อสร้างลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผลกระทบ
ปัญหาสินเชื่ออสังหา ริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub-prime Loans) ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 53.64 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลักที่สำคัญ ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน (ดังตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ และประเทศ
ในกลุ่มอาเซียน ในปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีมูลค่ารวม 908.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.56 ซึ่งทุก
ผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลักที่สำคัญเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกาที่การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บน
โต๊ะอาหาร มีมูลค่าการส่งออกลดลง
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2550
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 46.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 18.07 และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30 (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2550 มีมูลค่ารวม 190.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี
2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ15.38 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย และการ
นำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่นำเข้า อิฐทนไฟจากประเทศญี่ปุ่น และนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน และเวียดนาม
3. สรุป
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และปัญหาราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนผู้ผลิตในประเทศหันมานำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกจากจีนแทนการผลิตเอง แม้ว่าการ
จำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จะเพิ่มขึ้นแต่ก็มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้า และการเพิ่มขึ้นเป็นไปตามตลาดที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาล
ขายเท่านั้น เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งปีจะพบว่าการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2550 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากการซบเซาของธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ และปัญหาภาวะ ทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตร
มาสที่ 1 ปี 2551 จะเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย แต่ในภาพรวมแล้วการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 ยังคงขึ้นอยู่กับภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่จะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นกลับคืนมาได้หรือไม่
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์เซรามิก ทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะ
อาหาร มีมูลค่าการส่งออกลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในตลาดสหรัฐอเมริกา แม้ว่าในปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบทุก
ผลิตภัณฑ์ โดยสามารถขยายตัวได้ดีในตลาดญี่ปุ่น แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกาการส่งออกกลับลดลงจากผลกระทบปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ
(Sub-prime Loans) สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2551 อาจมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงจากภาระต้นทุนการ
ผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาค่า เงินบาทที่ยังคงแข็งค่า และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควร
เร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 *
Apr-49 Mar-50 4/2550 *
การผลิต 32,955,100 35,827,328 31,947,405 144,583,964 136,691,757
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.83
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.06 -5.46
การจำหน่ายในประเทศ 35,466,220 34,835,560 35,692,838 157,822,811 148,075,419
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.46
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.64 -6.18
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
2. ไตรมาส 4/2550 และ ปี 2550 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
การผลิต 1,943,939 2,064,379 2,057,648 8,278,734 8,197,938
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.33
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.85 -0.98
การจำหน่ายในประเทศ 1,165,087 1,132,676 1,185,116 4,712,974 4,480,043
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.63
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.72 -4.94
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Apr-49 Mar-50 Apr-50
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 22.2 32.8 29.8 102.1 108.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 34.23 6.56
เครื่องสุขภัณฑ์ 29.8 46.8 42.1 121.2 149.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.04
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 41.28 23.68
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 41.6 59.6 45.8 172 188.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.1 9.77
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.4 9.2 8.7 28.4 34.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.43
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.57 22.18
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.6 6.3 7.1 23.3 23.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.79 0.86
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 61 112.6 124 222.8 402.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 10.12
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 103.28 80.57
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 167.6 267.3 257.5 669.8 908
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.67
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 53.64 35.56
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
ผลิตภัณฑ์ Apr-49 Mar-50 Apr-50
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 17 18.3 18 57.6 66.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.64
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.88 15.1
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 29.1 38.7 28.7 107.5 124.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -25.84
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.37 15.53
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 46.1 57 46.7 165.1 190.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -18.07
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.3 15.38
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-