1. การผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 10.01 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 5.57
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตปูนเม็ดยังอยู่ในระดับที่ทรงตัว คือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.50 ส่วนการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูน
เม็ด) มีจำนวน 8.51 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.59 และ 9.47 ตามลำดับ
สำหรับในปี 2550 มีการผลิตปูนเม็ด 40.53 ล้านตัน ส่วนการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 36.93 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.00 และ 12.43 ตามลำดับ
การผลิตที่ลดลงนี้เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน
ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบ
หน้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 6.69 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด
0.03 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 6.66 ล้านตัน
โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายในประเทศรวม ลดลง ร้อยละ 4.43 และ 11.62
ตามลำดับ
สำหรับในปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ 28.32 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.13 ล้านตัน และ
ซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 28.19 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการจำหน่ายในประเทศรวม ลดลงร้อยละ 11.14
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความ
ชัดเจน ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะในโครงการที่อยู่อาศัย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณรวม 4.55 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,435.94 ล้านบาท แบ่งออกเป็นการส่งออกปูน
เม็ด จำนวน 3.56 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,697.05 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 0.99 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,738.89 ล้าน
บาท โดยเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 17.27 และ 9.82 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ
อเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักชะลอตัวลงจากผลกระทบของปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub — prime Loans) อีกทั้งปัญหาการ
แข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้รายได้ในส่วนการส่งออกลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 28.17 และ 24.95 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรวม 18.64 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 21,229.50 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.43 และ 7.79 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาภาพรวมของการส่งออกทั้งปีพบว่า แม้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในสหรัฐอเมริกาจะลดลง จากผลกระทบของปัญหาตลาดสิน
เชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub — prime Loans) แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน และแถบเอเชียใต้ยังคงเพิ่มสูงขึ้น
ตามแผนการลงทุนก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก รวมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป ละตินอเมริกา
และแอฟริกา ก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทดแทนการส่งออกที่ลดลงในสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้
รายได้ในส่วนการส่งออกไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์อันดับ 1 ในปีนี้ ได้แก่ บังคลาเทศ ตามด้วย เวียดนาม กัมพูชา และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณรวม 3,581.86 ตัน คิดเป็นมูลค่า 35.45 ล้านบาท แบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด
จำนวน 28.63 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.39 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 3,553.23 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34.06 ล้านบาท โดยเมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.93
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ปี 2550 มีปริมาณการนำเข้ารวม 6,031.46 ตัน คิดเป็นมูลค่า 97.17 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูน
เม็ด จำนวน 172.10 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4.64 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 5,859.36 ตัน คิดเป็นมูลค่า 92.53 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับปีก่อนปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.87 และ16.93 ตามลำดับ ซึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถ
ผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้าง
พื้นฐาน ของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2551 คาดว่า มีโอกาสปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากการเข้ามาของ
รัฐบาลชุดใหม่ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างทันที แต่คาดว่าความต้องการใช้
จะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในภาคครัวเรือน โครงการลงทุนขนาดเล็ก และโครงการต่อเนื่องของภาครัฐเป็นหลัก แต่ในส่วน
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2551แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
ก็เป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
สำหรับตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ชะลอตัวลงจากผลกระทบของปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub — prime Loans)
ประกอบกับปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้รายได้ในส่วนการส่งออกลดลง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของการส่งออกทั้งปีพบว่า แม้ความ
ต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในสหรัฐอเมริกาจะลดลง
แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน และแถบเอเชียใต้ รวมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป ละตินอเม
ริกา และแอฟริกายังคงเพิ่มสูงขึ้น ทดแทนการส่งออกที่ลดลงในสหรัฐอเมริกาได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้ราย
ได้ในส่วนการส่งออกไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร
แนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน และ
แถบเอเชียใต้ รวมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป ละตินอเมริกา และแอฟริกาที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 9.96 10.6 10.01 40.94 40.53
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.57
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.5 -1
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9.4 9.31 8.51 42.17 36.93
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.59
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -9.47 -12.43
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 : ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 0.02 0.01 0.03 0.24 0.13
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 200
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 50 -45.83
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 7.55 6.99 6.66 31.63 28.19
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.72
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -11.79 -10.88
รวม 7.57 7 6.69 31.87 28.32
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.43
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -11.62 -11.14
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 : ปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 2.37 4.29 3.56 7.86 13.99
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -17.02
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 50.21 77.99
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1.18 1.21 0.99 7.12 4.65
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -18.18
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -16.1 -34.69
รวม 3.55 5.5 4.55 14.98 18.64
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -17.27
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 28.17 24.43
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 : มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 2,617.73 4,446.46 3,697.05 8,951.86 14,502.67
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.85
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 41.23 62.01
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,732.83 1,581.11 1,738.89 10,742.58 6,726.83
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.98
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.35 -37.38
รวม 4,350.56 6,027.57 5,435.94 19,694.44 21,229.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.82
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 24.95 7.79
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 : ปริมาณการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-51
ปูนเม็ด 5.13 13.53 28.63 22.54 172.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 111.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 458.09 663.53
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,355.42 1,296.72 3,553.23 5,517.33 5,859.36
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 174.02
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 162.15 6.2
รวม 1,360.55 1,310.25 3,581.86 5,539.87 6,031.46
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 173.37
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 163.27 8.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 : มูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 0.08 0.35 1.39 0.48 4.64
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 297.14
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1637.5 866.67
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 22.24 20.39 34.06 82.62 92.53
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 67.04
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 53.15 11.99
รวม 22.32 20.74 35.45 83.1 97.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 70.93
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 58.83 16.93
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 10.01 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 5.57
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตปูนเม็ดยังอยู่ในระดับที่ทรงตัว คือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.50 ส่วนการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูน
เม็ด) มีจำนวน 8.51 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.59 และ 9.47 ตามลำดับ
สำหรับในปี 2550 มีการผลิตปูนเม็ด 40.53 ล้านตัน ส่วนการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 36.93 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.00 และ 12.43 ตามลำดับ
การผลิตที่ลดลงนี้เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน
ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบ
หน้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 6.69 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด
0.03 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 6.66 ล้านตัน
โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายในประเทศรวม ลดลง ร้อยละ 4.43 และ 11.62
ตามลำดับ
สำหรับในปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ 28.32 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.13 ล้านตัน และ
ซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 28.19 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการจำหน่ายในประเทศรวม ลดลงร้อยละ 11.14
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความ
ชัดเจน ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะในโครงการที่อยู่อาศัย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณรวม 4.55 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,435.94 ล้านบาท แบ่งออกเป็นการส่งออกปูน
เม็ด จำนวน 3.56 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,697.05 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 0.99 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,738.89 ล้าน
บาท โดยเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 17.27 และ 9.82 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ
อเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักชะลอตัวลงจากผลกระทบของปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub — prime Loans) อีกทั้งปัญหาการ
แข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้รายได้ในส่วนการส่งออกลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 28.17 และ 24.95 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรวม 18.64 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 21,229.50 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.43 และ 7.79 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาภาพรวมของการส่งออกทั้งปีพบว่า แม้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในสหรัฐอเมริกาจะลดลง จากผลกระทบของปัญหาตลาดสิน
เชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub — prime Loans) แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน และแถบเอเชียใต้ยังคงเพิ่มสูงขึ้น
ตามแผนการลงทุนก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก รวมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป ละตินอเมริกา
และแอฟริกา ก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทดแทนการส่งออกที่ลดลงในสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้
รายได้ในส่วนการส่งออกไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์อันดับ 1 ในปีนี้ ได้แก่ บังคลาเทศ ตามด้วย เวียดนาม กัมพูชา และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณรวม 3,581.86 ตัน คิดเป็นมูลค่า 35.45 ล้านบาท แบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด
จำนวน 28.63 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.39 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 3,553.23 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34.06 ล้านบาท โดยเมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.93
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ปี 2550 มีปริมาณการนำเข้ารวม 6,031.46 ตัน คิดเป็นมูลค่า 97.17 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูน
เม็ด จำนวน 172.10 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4.64 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 5,859.36 ตัน คิดเป็นมูลค่า 92.53 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับปีก่อนปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.87 และ16.93 ตามลำดับ ซึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถ
ผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้าง
พื้นฐาน ของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2551 คาดว่า มีโอกาสปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากการเข้ามาของ
รัฐบาลชุดใหม่ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างทันที แต่คาดว่าความต้องการใช้
จะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในภาคครัวเรือน โครงการลงทุนขนาดเล็ก และโครงการต่อเนื่องของภาครัฐเป็นหลัก แต่ในส่วน
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจจะเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2551แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
ก็เป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
สำหรับตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ชะลอตัวลงจากผลกระทบของปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (Sub — prime Loans)
ประกอบกับปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้รายได้ในส่วนการส่งออกลดลง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของการส่งออกทั้งปีพบว่า แม้ความ
ต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในสหรัฐอเมริกาจะลดลง
แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน และแถบเอเชียใต้ รวมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป ละตินอเม
ริกา และแอฟริกายังคงเพิ่มสูงขึ้น ทดแทนการส่งออกที่ลดลงในสหรัฐอเมริกาได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทก็ส่งผลกระทบทำให้ราย
ได้ในส่วนการส่งออกไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร
แนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน และ
แถบเอเชียใต้ รวมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป ละตินอเมริกา และแอฟริกาที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 9.96 10.6 10.01 40.94 40.53
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.57
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.5 -1
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9.4 9.31 8.51 42.17 36.93
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.59
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -9.47 -12.43
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 : ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 0.02 0.01 0.03 0.24 0.13
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 200
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 50 -45.83
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 7.55 6.99 6.66 31.63 28.19
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.72
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -11.79 -10.88
รวม 7.57 7 6.69 31.87 28.32
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.43
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -11.62 -11.14
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 : ปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 2.37 4.29 3.56 7.86 13.99
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -17.02
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 50.21 77.99
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1.18 1.21 0.99 7.12 4.65
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -18.18
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -16.1 -34.69
รวม 3.55 5.5 4.55 14.98 18.64
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -17.27
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 28.17 24.43
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 : มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 2,617.73 4,446.46 3,697.05 8,951.86 14,502.67
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.85
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 41.23 62.01
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,732.83 1,581.11 1,738.89 10,742.58 6,726.83
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.98
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.35 -37.38
รวม 4,350.56 6,027.57 5,435.94 19,694.44 21,229.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.82
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 24.95 7.79
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 : ปริมาณการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-51
ปูนเม็ด 5.13 13.53 28.63 22.54 172.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 111.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 458.09 663.53
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,355.42 1,296.72 3,553.23 5,517.33 5,859.36
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 174.02
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 162.15 6.2
รวม 1,360.55 1,310.25 3,581.86 5,539.87 6,031.46
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 173.37
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 163.27 8.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 : มูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ปูนเม็ด 0.08 0.35 1.39 0.48 4.64
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 297.14
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1637.5 866.67
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 22.24 20.39 34.06 82.62 92.53
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 67.04
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 53.15 11.99
รวม 22.32 20.74 35.45 83.1 97.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 70.93
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 58.83 16.93
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-