อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัจจัยหลายประการใน ช่วงที่ผ่านมา ทั้งเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความกังวลต่อการชะลอตัวของตลาด สหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อยอดการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
มีมูลค่าการส่งออก 1,771.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ด้ายฝ้าย และด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกยังปรับตัวสูงขึ้น
การผลิต
การผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอร้อย
ละ 29.2 และ 1.7เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อ
สินค้าล่วงหน้า ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา และหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียนแทน ประกอบกับผู้ประกอบการมีแผนที่
จะเพิ่มการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,771.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,816.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจำแนก
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 734.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 791.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงใน
ตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก เนื่องจากปัจจัยลบของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้ายมีสัดส่วน
การส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 44.2 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืน ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 298.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3. ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 215.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 179.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 138.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และร้อยละ 22.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 113.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มี
มูลค่า 486.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัด
ส่วนการส่งออกสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่ง
ออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
กลุ่มสหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 346.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.6 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อ
ผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 248.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อย
ละ 13.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.0 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้าผืน
เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 102.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ
15.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ
ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 91.9) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 8.1)
1. สิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 830.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าสูงถึงร้อยละ
91.9 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามี ดังนี้
1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
156.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ
บราซิล มีสัดส่วนนำ เข้าร้อยละ 30.4, 18.5 และ 6.1 ตามลำดับ
1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 115.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 129.6
ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย มี
สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 19.0, 15.8 และ 12.5 ตามลำดับ
1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 391.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 353.0 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว กันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้า
ร้อยละ 42.3,14.7 และ 8.7 ตามลำดับ
1.4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 55.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
44.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สัด
ส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.9, 14.4 และ 5.1 ตามลำดับ
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 66.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
65.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.1 ของการนำเข้าสิ่งทอและ
เครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง และสเปน สัดส่วนร้อยละ 56.0, 11.4 และ 5.7 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น
ตลาดส่งออกหลัก ซึ่งปัจจุบันสิ่งทอไทยส่งออกไปสหรัฐ อเมริการ้อยละ 27.5 โดยลดลงจากไตรมาสก่อน แต่ไม่ถึงกับเลวร้ายจนเกินไป อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียนแทน เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีระหว่างกลุ่มประเทศอา
เซียนด้วยกัน และการขนย้ายวัตถุดิบทำได้ง่ายกว่า ประกอบกับการทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics
Partnership Agreement : JTEPA)
ก็ช่วยให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้รอดพ้นวิกฤติได้ในระดับหนึ่ง และผู้ประกอบการต้องพยายามหันมาสร้างตราสินค้าของตัวเอง จำหน่ายเอง แทน
การรับจ้างผลิตและหาตลาดใหม่แทนตลาดเดิม
สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวร้อยละ 10 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนคือจีนได้ออกประกาศกฎหมาย
แรงงานฉบับใหม่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 สาระสำคัญคือนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแรงงานในกรณีลาออกหรือไล่ออก จากเดิมจะชด
เชยเฉพาะกรณีการให้ออก/ไล่ออก ขณะที่ประเทศไทยต้องจ่ายค่าชดเชยเฉพาะกรณีไล่ออกเท่านั้น นอกจากนี้จีนยังประกาศขึ้นค่าแรงงานในเขต
เศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดร้อยละ 10-15 ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ซึ่งจะส่งผลดีต่อไทยที่กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หันมาสั่งซื้อเสื้อผ้า
สำเร็จรูปและเครื่องนุ่งห่มจากประเทศไทยแทน ซึ่งไทยก็มีโอกาสที่จะขยายการส่งออก แต่ต้องผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดด้วย
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
ผลผลิต 82.6 84.2 79.2 73.5 75.9 72.9 -3.9 -8
การส่งสินค้า 86.4 85.6 78.4 76.8 76.9 77.4 0.7 -1.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 143.3 145 154.9 170.3 175.3 170.3 -2.9 9.9
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
ผลผลิต 120.4 123.1 143.6 125.2 123.3 159.3 29.2 10.9
การส่งสินค้า 96.1 99.5 99 105.4 93.5 104.9 12.3 6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 126.8 127.6 119.4 107.9 118 132.9 12.7 11.3
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
ผลผลิต 141.1 146.7 154.6 148.7 159.1 161.9 1.7 4.7
การส่งสินค้า 127.9 136.2 137.8 140.3 142.1 138.2 -2.8 0.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 240.2 246.6 235.8 245.2 245.4 276.8 12.8 17.4
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2549-2550
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว(%)
2549 2550 Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
สิ่งทอ 1,639.90 1,808.60 1,726.40 1,739.80 1,816.50 1,771.70 -2.5 2.6
1 เครื่องนุ่งห่ม 840.5 970.7 873.6 844.2 890.4 836.2 -6.1 -4.3
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 757.8 877.9 787.2 752.4 791.6 734.4 -7.2 -6.7
2 ผ้าผืนและด้าย 436.7 463.3 476.1 502 510.9 513.9 0.6 7.9
(1) ผ้าผืน 262.3 282 296.3 291.5 287.3 298.8 4 0.9
(2) ด้ายและเส้นใย ฯ 174.5 181.3 179.9 210.6 223.6 215.1 -3.8 19.6
3 เคหะสิ่งทอ 59.1 85.4 75.4 80.2 88.5 90.4 2.2 19.9
4 เส้นใยประดิษฐ์ 117.2 103.9 113.5 129.8 135.4 138.9 2.6 22.4
5 ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 29.5 37.3 42.2 31.8 36.3 36.5 0.6 -13.5
6 ตาข่ายจับปลา 21.4 19.8 21.1 21.4 22 19.7 -10.2 -6.4
7 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 2.3 2.2 1.9 2 2 2.4 16.3 24.2
8 ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อ ฯ 19.2 16.4 16.7 12.3 9.8 12.2 24.7 -27.2
9 สิ่งทออื่นๆ 114 109.5 105.9 116.1 121.3 121.4 0.1 14.7
10 เครื่องจักรสิ่งทอ 33.4 43.7 41.5 27.4 34.3 30.7 -10.6 -26
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
มูลค่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2549-2550
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว (%)
2549 2550 Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
1. เครื่องจักรสิ่งทอ 93 111 110 98.7 68.6 81.1 18.3 -26.5
2. ด้ายและเส้นใย 334 335 304 312 314 316 0.5 4
- เส้นใยใช้ในการทอ 187 185 168 163 157 173 10.6 2.9
- ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 119 127 109 122 130 115 -11.1 5.5
- วัตถุทออื่น ๆ 28.6 24.2 26.4 26.1 28 27.5 -1.6 4.2
3. ผ้าผืน 361 343 352 384 353 391 10.8 11.1
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 45.9 54.4 52 58.9 65.1 66.9 2.8 28.6
5. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 34.7 38.3 40.6 44.8 44.7 55.8 25 37.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความกังวลต่อการชะลอตัวของตลาด สหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อยอดการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
มีมูลค่าการส่งออก 1,771.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ด้ายฝ้าย และด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกยังปรับตัวสูงขึ้น
การผลิต
การผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอร้อย
ละ 29.2 และ 1.7เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อ
สินค้าล่วงหน้า ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา และหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียนแทน ประกอบกับผู้ประกอบการมีแผนที่
จะเพิ่มการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,771.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,816.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจำแนก
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 734.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 791.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงใน
ตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก เนื่องจากปัจจัยลบของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้ายมีสัดส่วน
การส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 44.2 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืน ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 298.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3. ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 215.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 179.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 138.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และร้อยละ 22.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 113.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มี
มูลค่า 486.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัด
ส่วนการส่งออกสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่ง
ออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
กลุ่มสหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 346.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.6 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อ
ผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 248.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อย
ละ 13.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.0 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้าผืน
เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 102.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ
15.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ
ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 91.9) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 8.1)
1. สิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 830.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าสูงถึงร้อยละ
91.9 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามี ดังนี้
1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
156.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ
บราซิล มีสัดส่วนนำ เข้าร้อยละ 30.4, 18.5 และ 6.1 ตามลำดับ
1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 115.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 129.6
ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย มี
สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 19.0, 15.8 และ 12.5 ตามลำดับ
1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 391.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 353.0 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว กันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้า
ร้อยละ 42.3,14.7 และ 8.7 ตามลำดับ
1.4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 55.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
44.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สัด
ส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.9, 14.4 และ 5.1 ตามลำดับ
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 66.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
65.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.1 ของการนำเข้าสิ่งทอและ
เครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง และสเปน สัดส่วนร้อยละ 56.0, 11.4 และ 5.7 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น
ตลาดส่งออกหลัก ซึ่งปัจจุบันสิ่งทอไทยส่งออกไปสหรัฐ อเมริการ้อยละ 27.5 โดยลดลงจากไตรมาสก่อน แต่ไม่ถึงกับเลวร้ายจนเกินไป อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียนแทน เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีระหว่างกลุ่มประเทศอา
เซียนด้วยกัน และการขนย้ายวัตถุดิบทำได้ง่ายกว่า ประกอบกับการทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics
Partnership Agreement : JTEPA)
ก็ช่วยให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้รอดพ้นวิกฤติได้ในระดับหนึ่ง และผู้ประกอบการต้องพยายามหันมาสร้างตราสินค้าของตัวเอง จำหน่ายเอง แทน
การรับจ้างผลิตและหาตลาดใหม่แทนตลาดเดิม
สำหรับแนวโน้มปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวร้อยละ 10 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนคือจีนได้ออกประกาศกฎหมาย
แรงงานฉบับใหม่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 สาระสำคัญคือนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแรงงานในกรณีลาออกหรือไล่ออก จากเดิมจะชด
เชยเฉพาะกรณีการให้ออก/ไล่ออก ขณะที่ประเทศไทยต้องจ่ายค่าชดเชยเฉพาะกรณีไล่ออกเท่านั้น นอกจากนี้จีนยังประกาศขึ้นค่าแรงงานในเขต
เศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดร้อยละ 10-15 ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ซึ่งจะส่งผลดีต่อไทยที่กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หันมาสั่งซื้อเสื้อผ้า
สำเร็จรูปและเครื่องนุ่งห่มจากประเทศไทยแทน ซึ่งไทยก็มีโอกาสที่จะขยายการส่งออก แต่ต้องผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดด้วย
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
ผลผลิต 82.6 84.2 79.2 73.5 75.9 72.9 -3.9 -8
การส่งสินค้า 86.4 85.6 78.4 76.8 76.9 77.4 0.7 -1.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 143.3 145 154.9 170.3 175.3 170.3 -2.9 9.9
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
ผลผลิต 120.4 123.1 143.6 125.2 123.3 159.3 29.2 10.9
การส่งสินค้า 96.1 99.5 99 105.4 93.5 104.9 12.3 6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 126.8 127.6 119.4 107.9 118 132.9 12.7 11.3
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
ผลผลิต 141.1 146.7 154.6 148.7 159.1 161.9 1.7 4.7
การส่งสินค้า 127.9 136.2 137.8 140.3 142.1 138.2 -2.8 0.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 240.2 246.6 235.8 245.2 245.4 276.8 12.8 17.4
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2549-2550
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว(%)
2549 2550 Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
สิ่งทอ 1,639.90 1,808.60 1,726.40 1,739.80 1,816.50 1,771.70 -2.5 2.6
1 เครื่องนุ่งห่ม 840.5 970.7 873.6 844.2 890.4 836.2 -6.1 -4.3
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 757.8 877.9 787.2 752.4 791.6 734.4 -7.2 -6.7
2 ผ้าผืนและด้าย 436.7 463.3 476.1 502 510.9 513.9 0.6 7.9
(1) ผ้าผืน 262.3 282 296.3 291.5 287.3 298.8 4 0.9
(2) ด้ายและเส้นใย ฯ 174.5 181.3 179.9 210.6 223.6 215.1 -3.8 19.6
3 เคหะสิ่งทอ 59.1 85.4 75.4 80.2 88.5 90.4 2.2 19.9
4 เส้นใยประดิษฐ์ 117.2 103.9 113.5 129.8 135.4 138.9 2.6 22.4
5 ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 29.5 37.3 42.2 31.8 36.3 36.5 0.6 -13.5
6 ตาข่ายจับปลา 21.4 19.8 21.1 21.4 22 19.7 -10.2 -6.4
7 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 2.3 2.2 1.9 2 2 2.4 16.3 24.2
8 ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อ ฯ 19.2 16.4 16.7 12.3 9.8 12.2 24.7 -27.2
9 สิ่งทออื่นๆ 114 109.5 105.9 116.1 121.3 121.4 0.1 14.7
10 เครื่องจักรสิ่งทอ 33.4 43.7 41.5 27.4 34.3 30.7 -10.6 -26
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
มูลค่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2549-2550
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว (%)
2549 2550 Q4/50 เทียบ
Q2 Q3 Q4 Q2 Q3 Q4* Q3/50 Q4/49
1. เครื่องจักรสิ่งทอ 93 111 110 98.7 68.6 81.1 18.3 -26.5
2. ด้ายและเส้นใย 334 335 304 312 314 316 0.5 4
- เส้นใยใช้ในการทอ 187 185 168 163 157 173 10.6 2.9
- ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 119 127 109 122 130 115 -11.1 5.5
- วัตถุทออื่น ๆ 28.6 24.2 26.4 26.1 28 27.5 -1.6 4.2
3. ผ้าผืน 361 343 352 384 353 391 10.8 11.1
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 45.9 54.4 52 58.9 65.1 66.9 2.8 28.6
5. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 34.7 38.3 40.6 44.8 44.7 55.8 25 37.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-