1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550
มีปริมาณการผลิต 3.40 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 19.24 และ 20.75 ตาม
ลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่น ราคาไม้ยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก รวมทั้ง ราคาน้ำมัน ค่าแรง และค่าขนส่ง ยังปรับตัวสูง เศรษฐกิจ
และภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซา อีกทั้งผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้
ผู้ประกอบการปรับลดการลงทุนและการผลิตลง สำหรับในปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 16.70 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.53
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่าย 0.59 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 21.33 เพราะถึงแม้ว่าผู้บริโภคจะชะลอการ
ซื้อออกไป อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนแม้หลังเลือกตั้งแล้ว และการต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง แต่อุปสงค์ไม้และเครื่องเรือนก็ยังมีอยู่อีกมาก ประกอบกับเป็นช่วงฤดูการขายปลายปี ทั้งงานมหกรรมของเครื่องเรือน และการเปิดตัวของ
โครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม หรือบ้านพักอาศัยประเภทต่างๆ สำหรับในปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายในประเทศ
รวม 2.40 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 35.66
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น
623.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 และ 7.83 ตามลำดับ เนื่องจากการ
ส่งออกไปยังตลาดหลักโดยเฉพาะยุโรป และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง อัฟริกาใต้ และรัสเซีย ยังขยายตัวได้
ดี แต่การส่งออกไปตลาดหลักอื่นๆ ลดลง ได้แก่ การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ
ในสหรัฐฯ และการส่งออกไปญี่ปุ่นที่เริ่มลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่นที่เริ่มชะลอตัวลง สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก
2,342.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.39
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภท
สินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาส
นี้ มีมูลค่าการส่งออก 299.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้ง
หมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15 และ 3.66 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วน
ในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน
คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 99.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 0.92 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.42 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดใน
กลุ่มนี้ คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น
และออสเตรเลีย
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber
Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 223.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของมูลค่า
การส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.81
และ 17.50 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด
ในกลุ่มนี้ คือไฟเบอร์บอร์ด รองลงมาคือ ไม้แปรรูปและไม้อัด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่
ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีจำนวน 141.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ลดลงร้อยละ 13.52 และ 18.47 ตามลำดับ สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 608.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.97 การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูป
และไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และเมียนมาร์ และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย และ
เมียนมาร์
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากปัญหาต้นทุน
การผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบ
การปรับลดปริมาณการผลิตลง
ส่วนการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่ม
ขึ้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศยังขยายตัวได้อีกมาก ประกอบกับเป็นช่วงฤดูการจัดงานมหกรรมเครื่องเรือน และการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย
ต่าง ๆ พร้อมรายการส่งเสริมการขายเป็นจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
สถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจที่น่าจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้นหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น
มากยิ่งขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การเกิดของโครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมากตามแนวรถไฟฟ้าที่กำลังจะสร้างขึ้นใหม่ และโครงการ
ที่อยู่อาศัยต่างๆ ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงจะเป็นราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่า
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เพราะการส่งออกยังขยายตัว
ได้ดีในตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดยุโรป และในตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดีย แต่การส่งออกไปสหรัฐอเมริกายังลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก
ปัญหาการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ และการประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่งของไทย เช่น จีน และเวียดนามในสหรัฐฯ และ
การส่งออกไปญี่ปุ่นที่เริ่มลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มชะลอตัว
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
เพราะสินค้าของไทยมีคุณภาพดีและยังคงได้รับความสนใจจากต่างประเทศ อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศคู่ค้าของไทย
เช่น สหราชอาณาจักร อินเดียและประเทศแถบตะวันออกกลาง ยังขยายตัวสูง แต่ปัจจัยเสี่ยงคือ ราคาน้ำมัน เงินบาทที่แข็งค่า ปัญหาการปล่อยสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำในสหรัฐฯ และการแข่งขันอย่างรุนแรงกับประเทศคู่แข่งของไทย เช่น จีน เวียดนามและมาเลเซีย ในตลาดโลก ซึ่งผู้
ประกอบการไทยควรเร่งรัดการปรับปรุงการบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแสวงหาตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพ เพื่อ
กระจายความเสี่ยง และการให้ความสำคัญต่อการออกแบบและการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (value added) ให้กับสินค้า
เป็นการแข่งขันด้วยคุณภาพมากกว่าราคา
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50 (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.29 4.21 3.4 18.46 16.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -19.24
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -20.75 -9.53
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50 (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 0.75 0.55 0.59 3.73 2.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.27
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -21.33 -35.66
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) เดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 281.4 296.6 300 1.15 3.66 1,098.69 1,151.94 4.85
1.1 เครื่องเรือนไม้ 157.16 155.1 152.4 -1.77 -3.04 612.08 600.08 -1.96
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 73.65 71.81 78.99 10 7.25 279.12 291.16 4.31
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 58.6 69.63 68.61 -1.46 17.08 207.49 260.7 25.64
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 98.58 100.9 99.98 -0.92 1.42 364.86 382.45 4.82
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 20.18 24.96 23.57 -5.57 16.8 81.57 90.82 11.34
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 35.52 34.94 35.32 1.09 -0.56 124.51 142.96 14.82
2.3 กรอบรูปไม้ 28.66 24.23 24.82 2.43 -13.4 107.73 91.5 -15.1
2.4 รูปแกะสลักไม้ 14.22 16.78 16.27 -3.04 14.42 51.05 57.17 11.99
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 190.47 198.4 223.8 12.81 17.5 697.32 807.78 12.84
3.1 ไม้แปรรูป 73.9 69.8 66.49 -4.74 -10.03 268.65 273.46 1.79
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 2.26 3.03 1.7 -43.89 -24.78 7.87 8.27 5.08
3.3 ไม้อัด 57.09 54.95 63.28 15.16 10.84 217.01 233.16 7.44
3.4 Fiber Board 45.47 56.19 67.75 20.57 49 157.32 224.63 42.79
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 11.75 14.41 24.58 70.58 109.19 46.47 68.26 46.89
รวม 578.46 595.9 623.8 4.68 7.83 2,160.87 2,342.17 8.39
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 % เทียบกับ
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 36.8 25.52 18.95 -25.74 -48.51 110.76 90.94 -17.89
ไม้แปรรูป 93.39 96.25 77.17 -19.82 -17.37 374.97 356.27 -4.99
ไม้อัด วีเนียร์ 30.26 29.73 32.46 9.18 7.27 96.34 111.4 15.63
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 13.11 12.12 12.92 6.6 -1.45 45.13 49.99 10.77
รวม 173.6 163.6 141.5 -13.52 -18.47 627.2 608.6 -2.97
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550
มีปริมาณการผลิต 3.40 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 19.24 และ 20.75 ตาม
ลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่น ราคาไม้ยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก รวมทั้ง ราคาน้ำมัน ค่าแรง และค่าขนส่ง ยังปรับตัวสูง เศรษฐกิจ
และภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซา อีกทั้งผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้
ผู้ประกอบการปรับลดการลงทุนและการผลิตลง สำหรับในปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 16.70 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.53
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่าย 0.59 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 21.33 เพราะถึงแม้ว่าผู้บริโภคจะชะลอการ
ซื้อออกไป อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนแม้หลังเลือกตั้งแล้ว และการต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง แต่อุปสงค์ไม้และเครื่องเรือนก็ยังมีอยู่อีกมาก ประกอบกับเป็นช่วงฤดูการขายปลายปี ทั้งงานมหกรรมของเครื่องเรือน และการเปิดตัวของ
โครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม หรือบ้านพักอาศัยประเภทต่างๆ สำหรับในปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายในประเทศ
รวม 2.40 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 35.66
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น
623.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 และ 7.83 ตามลำดับ เนื่องจากการ
ส่งออกไปยังตลาดหลักโดยเฉพาะยุโรป และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง อัฟริกาใต้ และรัสเซีย ยังขยายตัวได้
ดี แต่การส่งออกไปตลาดหลักอื่นๆ ลดลง ได้แก่ การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ
ในสหรัฐฯ และการส่งออกไปญี่ปุ่นที่เริ่มลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่นที่เริ่มชะลอตัวลง สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก
2,342.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.39
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภท
สินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาส
นี้ มีมูลค่าการส่งออก 299.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้ง
หมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15 และ 3.66 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วน
ในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน
คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 99.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 0.92 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.42 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดใน
กลุ่มนี้ คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น
และออสเตรเลีย
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber
Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 223.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของมูลค่า
การส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.81
และ 17.50 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด
ในกลุ่มนี้ คือไฟเบอร์บอร์ด รองลงมาคือ ไม้แปรรูปและไม้อัด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่
ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีจำนวน 141.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ลดลงร้อยละ 13.52 และ 18.47 ตามลำดับ สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 608.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.97 การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูป
และไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และเมียนมาร์ และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย และ
เมียนมาร์
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากปัญหาต้นทุน
การผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบ
การปรับลดปริมาณการผลิตลง
ส่วนการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่ม
ขึ้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศยังขยายตัวได้อีกมาก ประกอบกับเป็นช่วงฤดูการจัดงานมหกรรมเครื่องเรือน และการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย
ต่าง ๆ พร้อมรายการส่งเสริมการขายเป็นจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
สถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจที่น่าจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้นหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น
มากยิ่งขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การเกิดของโครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมากตามแนวรถไฟฟ้าที่กำลังจะสร้างขึ้นใหม่ และโครงการ
ที่อยู่อาศัยต่างๆ ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงจะเป็นราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่า
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เพราะการส่งออกยังขยายตัว
ได้ดีในตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดยุโรป และในตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดีย แต่การส่งออกไปสหรัฐอเมริกายังลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก
ปัญหาการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ และการประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่งของไทย เช่น จีน และเวียดนามในสหรัฐฯ และ
การส่งออกไปญี่ปุ่นที่เริ่มลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มชะลอตัว
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
เพราะสินค้าของไทยมีคุณภาพดีและยังคงได้รับความสนใจจากต่างประเทศ อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศคู่ค้าของไทย
เช่น สหราชอาณาจักร อินเดียและประเทศแถบตะวันออกกลาง ยังขยายตัวสูง แต่ปัจจัยเสี่ยงคือ ราคาน้ำมัน เงินบาทที่แข็งค่า ปัญหาการปล่อยสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำในสหรัฐฯ และการแข่งขันอย่างรุนแรงกับประเทศคู่แข่งของไทย เช่น จีน เวียดนามและมาเลเซีย ในตลาดโลก ซึ่งผู้
ประกอบการไทยควรเร่งรัดการปรับปรุงการบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแสวงหาตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพ เพื่อ
กระจายความเสี่ยง และการให้ความสำคัญต่อการออกแบบและการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (value added) ให้กับสินค้า
เป็นการแข่งขันด้วยคุณภาพมากกว่าราคา
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50 (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.29 4.21 3.4 18.46 16.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -19.24
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -20.75 -9.53
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2549 ปี 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50 (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 0.75 0.55 0.59 3.73 2.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.27
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -21.33 -35.66
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) เดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 281.4 296.6 300 1.15 3.66 1,098.69 1,151.94 4.85
1.1 เครื่องเรือนไม้ 157.16 155.1 152.4 -1.77 -3.04 612.08 600.08 -1.96
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 73.65 71.81 78.99 10 7.25 279.12 291.16 4.31
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 58.6 69.63 68.61 -1.46 17.08 207.49 260.7 25.64
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 98.58 100.9 99.98 -0.92 1.42 364.86 382.45 4.82
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 20.18 24.96 23.57 -5.57 16.8 81.57 90.82 11.34
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 35.52 34.94 35.32 1.09 -0.56 124.51 142.96 14.82
2.3 กรอบรูปไม้ 28.66 24.23 24.82 2.43 -13.4 107.73 91.5 -15.1
2.4 รูปแกะสลักไม้ 14.22 16.78 16.27 -3.04 14.42 51.05 57.17 11.99
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 190.47 198.4 223.8 12.81 17.5 697.32 807.78 12.84
3.1 ไม้แปรรูป 73.9 69.8 66.49 -4.74 -10.03 268.65 273.46 1.79
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 2.26 3.03 1.7 -43.89 -24.78 7.87 8.27 5.08
3.3 ไม้อัด 57.09 54.95 63.28 15.16 10.84 217.01 233.16 7.44
3.4 Fiber Board 45.47 56.19 67.75 20.57 49 157.32 224.63 42.79
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 11.75 14.41 24.58 70.58 109.19 46.47 68.26 46.89
รวม 578.46 595.9 623.8 4.68 7.83 2,160.87 2,342.17 8.39
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 % เทียบกับ
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 36.8 25.52 18.95 -25.74 -48.51 110.76 90.94 -17.89
ไม้แปรรูป 93.39 96.25 77.17 -19.82 -17.37 374.97 356.27 -4.99
ไม้อัด วีเนียร์ 30.26 29.73 32.46 9.18 7.27 96.34 111.4 15.63
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 13.11 12.12 12.92 6.6 -1.45 45.13 49.99 10.77
รวม 173.6 163.6 141.5 -13.52 -18.47 627.2 608.6 -2.97
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-