1. การผลิตในประเทศ
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสสุดท้าย ของปี 2550 มีปริมาณ 6,613.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
และไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.4 และ 1.4 ตามลำดับ และในปี 2550 มีปริมาณการผลิต 26,112.9 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.4
ประเภทสินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาผง เนื่องจากผู้ผลิตสามารถแก้ไขปัญหาด้านการผลิตได้แล้ว ทำให้สินค้าที่ผลิตได้กลับมามี
คุณภาพ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าทั้งในเอเชียและยุโรป เพิ่มการสั่งซื้อมากขึ้น หลังจากที่เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากแหล่งอื่น นอกจากนี้ ยาครีม (เช่น ยาแก้ปวด
เมื่อย) และยาเม็ด เป็นสินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตทำการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาให้ลูกค้า
ได้เลือกใช้หลากหลาย ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจึงเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีปริมาณ 6,505.4 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ
ไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.4 และ 2.2 ตามลำดับ ประเภทสินค้าที่มีการผลิตลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาครีม โดยในส่วนของยาน้ำ เช่น ยาแก้ไอ
ยารักษาโรคกระเพาะ มีปริมาณการจำหน่ายลดลง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในการผลิตมีการติดเชื้อ ประกอบกับขวดแก้ว ซึ่งเป็น
ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุยาน้ำมีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง และจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง สำหรับยาครีม มีปริมาณการจำหน่ายลดลง เนื่องจาก
ผู้ว่าจ้างผลิตย้ายฐานการผลิตยาบางชนิดไปยังประเทศอื่น ส่งผลให้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ผลิตและจำหน่ายสินค้าได้ลดลง ประกอบกับในปีนี้ไม่มีเหตุการณ์น้ำ
ท่วมในหลายพื้นที่เช่นปีก่อน ซึ่งอาจทำให้ความต้องการยาครีม เช่น ยาทาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแก้อักเสบ และยาแก้แผลติดเชื้อ ลดลง
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายในปี 2550 มีปริมาณการจำหน่าย 25,124.5 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 2.8 ประเภทของยาที่มีการ
จำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาเม็ด และยาน้ำ สืบเนื่องจากการที่ ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ออกมา และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ทำให้สามารถจำหน่าย
สินค้าได้เพิ่มขึ้นมาก
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรค ไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีมูลค่า 7,164.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8.5
ตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ การนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่า
รวม 3,263.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.6 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 27,607 ล้านบาท
ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.9 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 12,685.3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 45.9 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด
การนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลักในการบริโภคยาประเภท
ดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้
พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค และการทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ทำให้การนำเข้ายาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 0.9 เนื่องจากผู้นำเข้ามักจะลดการนำเข้าลงในไตรมาสที่ 4 เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีมูลค่า 1,164.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.1
ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 791 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 67.9 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 4,875.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อย
ละ 12.3 ตลาดส่งออกสำคัญปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม
3,287.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.4 ของมูลค่าการส่งออก ยารักษาโรคทั้งหมด
ยาที่ส่งออกเป็นยาสามัญ ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยาเป็นสินค้าที่มี Royalty สูง ถ้าผู้สั่งซื้อจากต่าง
ประเทศมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าแล้ว ตลาดจะยังสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกลดลง
ร้อยละ 9 เนื่องจากมีการส่งออกไปมากแล้วในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไปตามวัฐจักรของอุตสาหกรรมที่มูลค่าการนำเข้าและส่งออกจะลดลงในไตรมาสสุด
ท้ายของปี
5. นโยบายรัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ..... เมื่อวันที่ 11ธันวาคม 2550 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตรวจพิจารณาแล้ว แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ร่างพระราช
บัญญัติยา(ฉบับที่ ..)พ.ศ..... มีสาระสำคัญ ในร่างมาตรา 3 และ 4 โดย ร่างมาตรา 3 เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ของผู้ขอใบอนุญาตผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน สำหรับร่างมาตรา 4 เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติและ
ลักษณะต้องห้ามของผู้ขอใบอนุญาตผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเกี่ยวกับยาแผนโบราณ
6. สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุจากผู้
ผลิตที่ประสบปัญหาด้านการผลิต สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว อย่างไรก็ตามการจำหน่ายมีปริมาณลดลง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีปัญหาด้านวัตถุดิบใน
การผลิต ทำให้ลดการผลิต และการจำหน่ายสินค้าได้ลดลง นอกจากนี้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ยังได้รับคำสั่งซื้อน้อยลง เพราะผู้ว่าจ้างเปลี่ยนฐานการผลิตยา
บางชนิดไปยังประเทศอื่น ทำให้ผู้รับจ้างผลิตในประเทศไทย ผลิตและจำหน่ายสินค้าได้ลดลง สำหรับการนำเข้ายังคงขยายตัว จากการที่ประชากรผู้สูง
อายุในประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใช้หลักมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทผู้นำเข้ายังดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้คนใส่ใจสุขภาพอย่าง ต่อเนื่อง ใน
ด้านของการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากการที่ผู้ผลิตพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2551 คาดว่าผู้สั่งซื้อจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมาในช่วง ไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2550 ออกมาก่อน
ทำให้การผลิต และการจำหน่ายยาในประเทศ รวมถึงการนำเข้า และการส่งออกยา ในไตรมาสแรกของปี 2551 จะชะลอตัวจากไตรมาสก่อนเล็ก
น้อย
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ยาเม็ด 1,387.70 1,581.00 1,531.10 5,481.10 5,849.50
% เทียบกับไตรมาสก่อน -3.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.3 6.7
ยาน้ำ 3,130.20 3,218.40 3,066.30 13,190.30 12,573.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน -4.7
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2 -4.7
ยาแคปซูล 162.6 182.7 215.6 604.1 699.3
% เทียบกับไตรมาสก่อน 18
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.6 15.8
ยาฉีด 118.1 113.3 117.8 447.3 469.6
% เทียบกับไตรมาสก่อน 4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.3 5
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 34.1 33.9 30.7 122.5 117.7
% เทียบกับไตรมาสก่อน -9.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10 -3.9
ยาครีม 632.9 508.7 611.4 2,106.80 2,367.20
% เทียบกับไตรมาสก่อน 20.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.4 12.4
ยาผง 808.6 881.9 1,040.20 4,060.20 4,036.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน 17.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.6 -0.6
รวม 6,274.20 6,519.90 6,613.10 26,012.30 26,112.90
% เทียบกับไตรมาสก่อน 1.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.4 0.4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน
ยาฉีด 9 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ไตรมาส 4/2550 และปี 2550 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ยาเม็ด 1,350.10 1,464.70 1,536.30 5,285.40 5,643.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน 4.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.8 6.8
ยาน้ำ 4,059.70 4,178.60 3,933.70 15,107.80 15,456.50
% เทียบกับไตรมาสก่อน -5.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 2.3
ยาแคปซูล 194.4 192 240 708.3 817.6
% เทียบกับไตรมาสก่อน 25
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.4 15.4
ยาฉีด 86.6 86.4 85.6 347.8 347.2
% เทียบกับไตรมาสก่อน -1
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.2 -0.2
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 34.4 33.5 29 122.9 115.5
% เทียบกับไตรมาสก่อน -13.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -15.7 -6.1
ยาครีม 735.4 530.2 518.4 2,164.50 2,095.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน -2.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -29.5 -3.2
ยาผง 134.1 166.1 162.4 698.7 649.1
% เทียบกับไตรมาสก่อน -2.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.1 -7.1
รวม 6,594.70 6,651.50 6,505.40 24,435.40 25,124.50
% เทียบกับไตรมาสก่อน -2.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.4 2.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน
ยาฉีด 9 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ไตรมาส 4/2550 และปี 2550 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาโรค
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
มูลค่าการนำเข้า 6,604.50 7,231.50 7,164.90 26,061.10 27,607.00
% เทียบกับไตรมาสก่อน -0.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5 5.9
มูลค่าการส่งออก 1,129.80 1,279.70 1,164.40 4,340.70 4,875.40
% เทียบกับไตรมาสก่อน -9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.1 12.3
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสสุดท้าย ของปี 2550 มีปริมาณ 6,613.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
และไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.4 และ 1.4 ตามลำดับ และในปี 2550 มีปริมาณการผลิต 26,112.9 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.4
ประเภทสินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาผง เนื่องจากผู้ผลิตสามารถแก้ไขปัญหาด้านการผลิตได้แล้ว ทำให้สินค้าที่ผลิตได้กลับมามี
คุณภาพ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าทั้งในเอเชียและยุโรป เพิ่มการสั่งซื้อมากขึ้น หลังจากที่เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากแหล่งอื่น นอกจากนี้ ยาครีม (เช่น ยาแก้ปวด
เมื่อย) และยาเม็ด เป็นสินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตทำการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาให้ลูกค้า
ได้เลือกใช้หลากหลาย ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจึงเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีปริมาณ 6,505.4 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ
ไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.4 และ 2.2 ตามลำดับ ประเภทสินค้าที่มีการผลิตลดลงมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาครีม โดยในส่วนของยาน้ำ เช่น ยาแก้ไอ
ยารักษาโรคกระเพาะ มีปริมาณการจำหน่ายลดลง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในการผลิตมีการติดเชื้อ ประกอบกับขวดแก้ว ซึ่งเป็น
ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุยาน้ำมีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง และจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง สำหรับยาครีม มีปริมาณการจำหน่ายลดลง เนื่องจาก
ผู้ว่าจ้างผลิตย้ายฐานการผลิตยาบางชนิดไปยังประเทศอื่น ส่งผลให้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ผลิตและจำหน่ายสินค้าได้ลดลง ประกอบกับในปีนี้ไม่มีเหตุการณ์น้ำ
ท่วมในหลายพื้นที่เช่นปีก่อน ซึ่งอาจทำให้ความต้องการยาครีม เช่น ยาทาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแก้อักเสบ และยาแก้แผลติดเชื้อ ลดลง
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายในปี 2550 มีปริมาณการจำหน่าย 25,124.5 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 2.8 ประเภทของยาที่มีการ
จำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาเม็ด และยาน้ำ สืบเนื่องจากการที่ ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ออกมา และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ทำให้สามารถจำหน่าย
สินค้าได้เพิ่มขึ้นมาก
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรค ไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีมูลค่า 7,164.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8.5
ตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ การนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่า
รวม 3,263.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.6 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 27,607 ล้านบาท
ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.9 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 12,685.3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 45.9 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด
การนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลักในการบริโภคยาประเภท
ดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้
พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค และการทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ทำให้การนำเข้ายาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 0.9 เนื่องจากผู้นำเข้ามักจะลดการนำเข้าลงในไตรมาสที่ 4 เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีมูลค่า 1,164.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.1
ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 791 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 67.9 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 4,875.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อย
ละ 12.3 ตลาดส่งออกสำคัญปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม
3,287.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.4 ของมูลค่าการส่งออก ยารักษาโรคทั้งหมด
ยาที่ส่งออกเป็นยาสามัญ ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยาเป็นสินค้าที่มี Royalty สูง ถ้าผู้สั่งซื้อจากต่าง
ประเทศมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าแล้ว ตลาดจะยังสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกลดลง
ร้อยละ 9 เนื่องจากมีการส่งออกไปมากแล้วในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไปตามวัฐจักรของอุตสาหกรรมที่มูลค่าการนำเข้าและส่งออกจะลดลงในไตรมาสสุด
ท้ายของปี
5. นโยบายรัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ..... เมื่อวันที่ 11ธันวาคม 2550 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตรวจพิจารณาแล้ว แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ร่างพระราช
บัญญัติยา(ฉบับที่ ..)พ.ศ..... มีสาระสำคัญ ในร่างมาตรา 3 และ 4 โดย ร่างมาตรา 3 เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ของผู้ขอใบอนุญาตผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน สำหรับร่างมาตรา 4 เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติและ
ลักษณะต้องห้ามของผู้ขอใบอนุญาตผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเกี่ยวกับยาแผนโบราณ
6. สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุจากผู้
ผลิตที่ประสบปัญหาด้านการผลิต สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว อย่างไรก็ตามการจำหน่ายมีปริมาณลดลง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีปัญหาด้านวัตถุดิบใน
การผลิต ทำให้ลดการผลิต และการจำหน่ายสินค้าได้ลดลง นอกจากนี้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ยังได้รับคำสั่งซื้อน้อยลง เพราะผู้ว่าจ้างเปลี่ยนฐานการผลิตยา
บางชนิดไปยังประเทศอื่น ทำให้ผู้รับจ้างผลิตในประเทศไทย ผลิตและจำหน่ายสินค้าได้ลดลง สำหรับการนำเข้ายังคงขยายตัว จากการที่ประชากรผู้สูง
อายุในประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใช้หลักมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทผู้นำเข้ายังดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้คนใส่ใจสุขภาพอย่าง ต่อเนื่อง ใน
ด้านของการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากการที่ผู้ผลิตพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2551 คาดว่าผู้สั่งซื้อจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมาในช่วง ไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2550 ออกมาก่อน
ทำให้การผลิต และการจำหน่ายยาในประเทศ รวมถึงการนำเข้า และการส่งออกยา ในไตรมาสแรกของปี 2551 จะชะลอตัวจากไตรมาสก่อนเล็ก
น้อย
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ยาเม็ด 1,387.70 1,581.00 1,531.10 5,481.10 5,849.50
% เทียบกับไตรมาสก่อน -3.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.3 6.7
ยาน้ำ 3,130.20 3,218.40 3,066.30 13,190.30 12,573.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน -4.7
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2 -4.7
ยาแคปซูล 162.6 182.7 215.6 604.1 699.3
% เทียบกับไตรมาสก่อน 18
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.6 15.8
ยาฉีด 118.1 113.3 117.8 447.3 469.6
% เทียบกับไตรมาสก่อน 4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.3 5
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 34.1 33.9 30.7 122.5 117.7
% เทียบกับไตรมาสก่อน -9.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10 -3.9
ยาครีม 632.9 508.7 611.4 2,106.80 2,367.20
% เทียบกับไตรมาสก่อน 20.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.4 12.4
ยาผง 808.6 881.9 1,040.20 4,060.20 4,036.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน 17.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.6 -0.6
รวม 6,274.20 6,519.90 6,613.10 26,012.30 26,112.90
% เทียบกับไตรมาสก่อน 1.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.4 0.4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน
ยาฉีด 9 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ไตรมาส 4/2550 และปี 2550 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
ยาเม็ด 1,350.10 1,464.70 1,536.30 5,285.40 5,643.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน 4.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.8 6.8
ยาน้ำ 4,059.70 4,178.60 3,933.70 15,107.80 15,456.50
% เทียบกับไตรมาสก่อน -5.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 2.3
ยาแคปซูล 194.4 192 240 708.3 817.6
% เทียบกับไตรมาสก่อน 25
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.4 15.4
ยาฉีด 86.6 86.4 85.6 347.8 347.2
% เทียบกับไตรมาสก่อน -1
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.2 -0.2
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 34.4 33.5 29 122.9 115.5
% เทียบกับไตรมาสก่อน -13.4
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -15.7 -6.1
ยาครีม 735.4 530.2 518.4 2,164.50 2,095.30
% เทียบกับไตรมาสก่อน -2.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -29.5 -3.2
ยาผง 134.1 166.1 162.4 698.7 649.1
% เทียบกับไตรมาสก่อน -2.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.1 -7.1
รวม 6,594.70 6,651.50 6,505.40 24,435.40 25,124.50
% เทียบกับไตรมาสก่อน -2.2
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.4 2.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 33 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 26 โรงงาน
ยาฉีด 9 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ไตรมาส 4/2550 และปี 2550 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาโรค
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2549 2550
Apr-49 Mar-50 Apr-50
มูลค่าการนำเข้า 6,604.50 7,231.50 7,164.90 26,061.10 27,607.00
% เทียบกับไตรมาสก่อน -0.9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5 5.9
มูลค่าการส่งออก 1,129.80 1,279.70 1,164.40 4,340.70 4,875.40
% เทียบกับไตรมาสก่อน -9
% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.1 12.3
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-