1. การผลิต
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีการผลิตยางแท่งและยางแผ่นลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.25 และ 7.65
ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงที่ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมและฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดลดน้อยลง ส่งผลให้ราคา
ยางพาราปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15.04 ดังจะเห็นได้จากราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3
ในไตรมาสก่อนกิโลกรัมละ 68.23 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 78.49 บาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยาง
แท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.01 แต่การผลิตยางแผ่นลดลงร้อยละ 34.17 เมื่อเปรียบเทียบการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในปี 2550 กับปีก่อนหน้า การผลิตยาง
แท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.89
แต่ยางแผ่นลดลงร้อยละ 25.24 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้หันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการผลิตยางแท่งมากขึ้น สำหรับ
ราคายางเฉลี่ยทั้งปี 2550 ค่อนข้างทรงตัว คือปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 0.27 เท่านั้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 แบ่งเป็นการผลิตของกลุ่มยางนอกรถยนต์ประมาณ 5.94 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 10.56 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 15.68 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.53 3.74 และ 1.00 ตามลำดับ
โดยลดลงในประเภท
ยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ยางนอกรถแทรกเตอร์ และยางนอกรถจักรยาน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขยายตัวร้อยละ 1.31 3.97 และ17.57 ตามลำดับ เนื่องจากมีการผลิตเพิ่มขึ้นในยางนอกรถ
กระบะ ยางนอกรถจักรยานยนต์ ยางนอกรถแทรกเตอร์และยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จำนวน
2,741 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.08 และ 21.54 ตามลำดับ
ในปี 2550 ดัชนีผลผลิตยางนอกและยางในโดยรวมสูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 2.82 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
โดยมีปริมาณการผลิตของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 23.28 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.81 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่ง
ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ส่วนกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานมีปริมาณการผลิตรวม 42.31 ล้านเส้น ปรับตัวลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย
คือ ร้อยละ 1.99 โดยลดลงในส่วนของยางนอกรถจักรยาน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยางนอกรถจักรยานยนต์มีการผลิต 22.52 ล้านเส้น ซึ่งขยาย
ตัว
จากปีก่อนร้อยละ 2.45 สำหรับถุงมือยางมีการผลิตประมาณ 9,820 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.52 เนื่องจากความต้องการ
ถุงมือยางในตลาดโลกมีการขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5-10
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 การจำหน่ายยางแท่งและยางแผ่นในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 24.62 และ 6.59 ตามลำดับ
เนื่องจากราคายางปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากอิทธิพลมรสุมและฝนตกหนักในภาคใต้ ทำให้มีปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดน้อยลง และเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 5.89 และ 13.33 ตามลำดับ
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ได้แก่ การจำหน่ายของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 4.42 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 5.20 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 9.45 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถยนต์ลดลงจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.98 และ 3.13 ตามลำดับ โดยลดลงในยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ในขณะที่การ
จำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.24 โดยการเพิ่มขึ้นทั้งในยางรถจักรยานยนต์และยาง
รถจักรยาน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.24 โดยเพิ่มขึ้นเฉพาะในส่วนของยางรถจักรยาน ส่วนในกลุ่มของยางในเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนร้อยละ 8.09 โดยเพิ่มขึ้นในยางในรถบรรทุกและยางในรถจักรยาน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.87 โดย
เพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 4.08 และ 5.99 ตามลำดับ
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี
2550 จำนวน 1,644.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.35 และ 18.16 ตามลำดับ ตลาด
สำคัญยังคงเป็นประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกยางพาราในปี 2550 ประมาณ 5,640.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
จากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.52 แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 8.20
และ 45.46 ตามลำดับผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของหลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่ง
กำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จำนวน 991.06 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.15 และ 21.98 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ
อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
สำหรับมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางปี 2550 ประมาณ 3,661.26 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็นอัตราการขยายตัวที่
ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 20.91 และ 31.08 ตามลำดับ โดยสินค้าที่มี
แนวโน้มการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายส่งกำลัง ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
ยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ทำรายได้เข้าประเทศ โดยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 9,301.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือประมาณ 320,568.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของรายได้จากการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการยางธรรมชาติ
ในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่ง
ออกยางพาราในปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ มีจำนวน 5,640.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 ขณะที่มูลค่า
ส่งออกในรูปเงินบาทมีจำนวน 194,357.4 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 5.41 ส่วนมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ
มีจำนวน 3,661.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.8 ขณะที่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในรูปเงินบาทมีจำนวน
126,211.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.63 เท่านั้น ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า ทำให้ยางธรรมชาติของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
สำคัญ คือ อินโดนีเซีย ทำให้ประเทศคู่ค้ายางธรรมชาติของไทยต่างชะลอการนำเข้าจากไทย และหันไปซื้อยางจาก อินโดนีเซียแทน สำหรับผลิตภัณฑ์
ยางประเทศคู่ค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 321.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.78 และ 14.31 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อ
หรือข้อต่อและสายพานลำเลียง โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 126.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 3.29 และ 10.51 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 21.72 และ18.49 ตามลำดับ ยางรถยนต์มีการนำเข้า 53.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.07 แต่สูงกว่าไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.49 ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 34.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 23.43
แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.51 ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเยอรมัน
ในปี 2550 มูลค่าการนำเข้ายาง วัสดุยางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม ประมาณ 1,171.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 11.29 โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในส่วนของยางสังเคราะห์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.07 39.53
และ 18.21 ตามลำดับ และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มสินค้าดังกล่าวมีการนำเข้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ ภาคใต้ได้รับมรสุม มีฝนตกหนัก และมีน้ำ
ท่วมบางพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยลง การผลิตและการจำหน่ายยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว มีผลให้มูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ใน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.35 และ 6.15 ตามลำดับ ในช่วงปี 2551 คาดว่าแนวโน้มราคายางพาราจะยัง
คงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ขณะที่ความต้องการยางพารา
ในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก ในปี 2550 ปริมาณการผลิตและ
จำหน่ายรถยนต์ของจีนจะสูงถึง 9 ล้านคัน ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้นปีละร้อยละ 20-30 ถึงแม้ว่าจีนจะขยายพื้นที่ปลูกยางในประเทศ
เพื่อนบ้านก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางใน ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะความต้องการใช้ยางภายในประเทศ
ที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ ในปี 2551 ยังคง
มีปัจจัยเสี่ยงเรื่อง ราคาน้ำมันแพง และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นต่อเนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย
ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายางต่างชะลอการนำเข้ายางจากไทย และหันไปซื้อยางจากอินโดนีเซียแทน ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก อย่าง
ไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าอาจจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุนในประเทศได้มากขึ้น สิ่งที่ไทยต้อง
เร่งปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยการเพิ่มมูลค่ายางและการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายการ หน่วย ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.) เดียวกันของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์ เส้น 5,861,956 6,030,086 5,938,538 -1.52 1.31 22,871,286 23,284,993 1.81
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,566,776 3,576,221 3,511,748 -1.8 -1.54 13,142,313 14,056,448 6.96
- ยางนอกรถกระบะ เส้น 1,116,428 1,276,978 1,336,891 4.69 19.75 5,377,322 4,773,802 -11.2
- ยางนอกรถบรรทุก เส้น 1,138,824 1,133,252 1,046,306 -7.67 -8.12 4,176,580 4,275,474 2.37
และรถโดยสาร
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 39,928 43,635 43,593 -0.1 9.18 175,071 179,269 2.4
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 10,156,865 10,970,756 10,560,063 -3.74 3.97 43,166,378 42,307,028 -1.99
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,096,582 5,612,434 5,889,315 4.93 15.55 21,984,081 22,522,613 2.45
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 4,958,036 5,198,488 4,582,828 -11.8 -7.57 20,650,079 19,366,872 -6.21
-ยางนอกอื่น ๆ เส้น 102,247 159,834 87,920 -45 -14 532,218 417,543 -21.6
ยางใน เส้น 13,337,114 15,838,803 15,680,464 -1 17.57 55,045,575 60,667,058 10.21
- ยางในรถบรรทุกและ เส้น 530,787 495,475 555,735 12.16 4.7 2,059,557 2,029,826 -1.44
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 7,725,488 9,527,373 9,620,701 0.98 24.53 32,614,131 36,503,273 11.92
- ยางในรถจักรยาน เส้น 5,080,839 5,815,955 5,504,028 -5.36 8.33 20,371,887 22,133,959 8.65
ยางรอง เส้น 936,863 1,025,186 738,549 -28 -21.2 3,694,809 3,187,708 -13.7
ยางหล่อดอก เส้น 18,865 20,189 19,618 -2.83 3.99 96,610 81,683 -15.5
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,255,587,282 2,608,872,319 2,741,423,099 5.08 21.54 8,574,890,177 9,819,640,293 14.52
ยางรัดของ ตัน 3,743.13 3,869.16 3,894.37 0.65 4.04 14,718.89 15,536.18 5.55
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 268,946.89 327,243.75 303,276.16 -7.32 12.76 1,107,519.77 1,118,662.73 1.01
- ยางแผ่น ตัน 81,075.65 57,792.26 53,373.24 -7.65 -34.2 303,012.37 226,533.21 -25.2
- ยางแท่ง ตัน 187,889.24 269,451.49 249,902.92 -7.25 33.01 804,507.40 892,129.52 10.89
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
รายการ หน่วย ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.) เดียวกันของปีก่อน
ยางนอก เส้น 4,561,002 4,649,768 4,418,404 -4.98 -3.13 17,856,812 18,105,435 1.39
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 2,610,491 2,594,645 2,433,937 -6.19 -6.76 10,008,230 10,215,514 2.07
- ยางนอกรถกะบะ เส้น 1,000,276 1,186,207 1,170,346 -1.34 17 4,474,836 4,503,855 0.65
- ยางนอกรถบรรทุก เส้น 930,372 849,072 791,393 -6.79 -14.9 3,284,434 3,294,276 0.3
และรถโดยสาร
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 19,883 19,844 22,728 14.53 14.31 89,312 91,790 2.77
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 4,803,946 4,894,264 5,199,555 6.24 8.24 20,073,201 19,785,613 1.43
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 3,900,151 3,628,932 3,839,119 5.79 -1.56 15,330,848 15,147,919 -1.19
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 883,150 1,248,445 1,339,049 7.26 51.62 4,662,817 4,556,295 -2.28
- ยางนอกอื่น ๆ เส้น 20,645 16,887 21,387 26.65 3.59 79,536 81,399 2.34
ยางใน เส้น 7,333,550 8,743,037 9,450,418 8.09 28.87 31,627,877 35,308,794 11.64
- ยางในรถบรรทุกและ เส้น 417,659 409,959 440,197 7.38 5.4 1,691,553 1,688,897 -0.16
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 5,641,237 6,750,494 6,719,000 -0.47 19.11 23,232,764 26,051,953 12.13
- ยางในรถจักรยาน เส้น 1,274,654 1,582,584 2,291,221 44.78 79.75 6,703,560 7,567,944 12.89
ยางรอง เส้น 565,591 370,085 362,030 -2.18 -36 2,081,374 1,457,687 -30
ยางหล่อดอก เส้น 17,835 20,933 20,134 -3.82 12.89 94,682 83,512 -11.8
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 113,090,976 115,160,758 119,860,356 4.08 5.99 421,764,982 465,188,982 10.3
ยางรัดของ ตัน 229.65 244.81 320.28 30.83 39.47 1,036.57 1,058.53 2.12
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 28,369.37 29,005.76 25,209.75 -13.1 -11.1 139,549.19 100,636.44 -27.9
- ยางแผ่น ตัน 19,996.90 18,553.06 17,330.82 -6.59 -13.3 93,156.57 68,872.84 -26.1
- ยางแท่ง ตัน 8,372.47 10,452.70 7,878.93 -24.6 -5.89 46,392.62 31,763.60 -31.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางพารา 1,391.50 1,463.92 1,644.72 12.35 18.16 5,396.59 5,640.53 4.52
ยางแผ่น 534.2 519.06 573.21 11.01 7.86 1,912.73 1,996.30 4.37
ยางแท่ง 540.8 50.33 37.77 -24.96 -93.02 2,175.53 181.36 -91.66
น้ำยางข้น 295 298.05 379.41 27.3 28.61 1,214.79 1,266.41 4.25
ยางพาราอื่น ๆ 21.1 596.48 651.33 9.2 2,986.87 93.54 2,196.47 2,248.21
ผลิตภัณฑ์ยาง 812.5 933.62 991.06 6.15 21.98 3,082.00 3,661.26 18.8
ยางยานพาหนะ 313.3 428.08 454.31 6.13 45.01 1,196.06 1,623.58 35.74
ถุงมือยาง 148.6 151.54 142.35 -6.06 -4.21 558.83 584.38 4.57
ยางรัดของ 17.9 15.88 16.5 3.9 -7.82 64.99 53.96 16.97
หลอดและท่อ 29.4 34.22 39.28 14.79 33.61 105.92 135.49 27.92
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 13.2 21.13 17.49 -17.23 32.5 45.52 71.97 58.13
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 60.9 48.42 54.36 11.35 -10.74 211.07 212.96 0.9
ยางวัลแคไนซ์ 43.1 53.09 55.72 4.95 29.28 206.69 212.49 2.81
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 186.1 180.86 211.05 16.69 13.41 692.93 766.43 10.61
รวม 2,204.00 2,097.54 2,635.78 25.66 19.59 8,478.59 9,301.79 9.71
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส %เทียบกับ % เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 %เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ธ.ค.)(ม.ค.- ธ.ค.) เดียวกันปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 81.79 109.3 93.89 -14.1 14.79 298.02 374.24 25.57
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 33.59 45.41 34.77 -23.4 3.51 116.81 138.08 18.21
ยางรถยนต์ 42.59 58.6 53.87 -8.07 26.49 155.13 216.44 39.53
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 5.61 5.29 5.25 -0.76 -6.42 26.08 19.72 -24.36
ยาง รวมเศษยาง 116.6 125 129.5 3.64 11.03 427.33 476.41 11.48
ยางธรรมชาติ 0.47 0.88 1.33 51.14 183 2.39 5.12 114.1
ยางสังเคราะห์ 114.9 122.9 127 3.29 10.51 420.2 466.69 11.07
ยางอื่นๆ 1.28 1.15 1.21 5.22 -5.47 4.74 4.6 -3.09
วัสดุทำจากยาง 82.5 81.25 97.73 20.28 18.46 327.25 320.79 -1.97
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 1.48 2.38 1.73 -27.3 16.89 5.94 9.47 59.53
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 81.02 78.87 96 21.72 18.49 321.31 311.32 -3.11
รวม 280.9 315.5 321.1 1.78 14.31 1,052.60 1,171.44 11.29
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีการผลิตยางแท่งและยางแผ่นลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.25 และ 7.65
ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงที่ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมและฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดลดน้อยลง ส่งผลให้ราคา
ยางพาราปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15.04 ดังจะเห็นได้จากราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3
ในไตรมาสก่อนกิโลกรัมละ 68.23 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 78.49 บาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยาง
แท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.01 แต่การผลิตยางแผ่นลดลงร้อยละ 34.17 เมื่อเปรียบเทียบการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในปี 2550 กับปีก่อนหน้า การผลิตยาง
แท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.89
แต่ยางแผ่นลดลงร้อยละ 25.24 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้หันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการผลิตยางแท่งมากขึ้น สำหรับ
ราคายางเฉลี่ยทั้งปี 2550 ค่อนข้างทรงตัว คือปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 0.27 เท่านั้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 แบ่งเป็นการผลิตของกลุ่มยางนอกรถยนต์ประมาณ 5.94 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 10.56 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 15.68 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.53 3.74 และ 1.00 ตามลำดับ
โดยลดลงในประเภท
ยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ยางนอกรถแทรกเตอร์ และยางนอกรถจักรยาน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขยายตัวร้อยละ 1.31 3.97 และ17.57 ตามลำดับ เนื่องจากมีการผลิตเพิ่มขึ้นในยางนอกรถ
กระบะ ยางนอกรถจักรยานยนต์ ยางนอกรถแทรกเตอร์และยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จำนวน
2,741 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.08 และ 21.54 ตามลำดับ
ในปี 2550 ดัชนีผลผลิตยางนอกและยางในโดยรวมสูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 2.82 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
โดยมีปริมาณการผลิตของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 23.28 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.81 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางนอกรถยนต์นั่ง
ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ส่วนกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานมีปริมาณการผลิตรวม 42.31 ล้านเส้น ปรับตัวลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย
คือ ร้อยละ 1.99 โดยลดลงในส่วนของยางนอกรถจักรยาน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยางนอกรถจักรยานยนต์มีการผลิต 22.52 ล้านเส้น ซึ่งขยาย
ตัว
จากปีก่อนร้อยละ 2.45 สำหรับถุงมือยางมีการผลิตประมาณ 9,820 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.52 เนื่องจากความต้องการ
ถุงมือยางในตลาดโลกมีการขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5-10
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 การจำหน่ายยางแท่งและยางแผ่นในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 24.62 และ 6.59 ตามลำดับ
เนื่องจากราคายางปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากอิทธิพลมรสุมและฝนตกหนักในภาคใต้ ทำให้มีปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดน้อยลง และเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 5.89 และ 13.33 ตามลำดับ
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ได้แก่ การจำหน่ายของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 4.42 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 5.20 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 9.45 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถยนต์ลดลงจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.98 และ 3.13 ตามลำดับ โดยลดลงในยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ในขณะที่การ
จำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.24 โดยการเพิ่มขึ้นทั้งในยางรถจักรยานยนต์และยาง
รถจักรยาน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.24 โดยเพิ่มขึ้นเฉพาะในส่วนของยางรถจักรยาน ส่วนในกลุ่มของยางในเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนร้อยละ 8.09 โดยเพิ่มขึ้นในยางในรถบรรทุกและยางในรถจักรยาน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.87 โดย
เพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 4.08 และ 5.99 ตามลำดับ
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี
2550 จำนวน 1,644.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.35 และ 18.16 ตามลำดับ ตลาด
สำคัญยังคงเป็นประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกยางพาราในปี 2550 ประมาณ 5,640.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
จากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.52 แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 8.20
และ 45.46 ตามลำดับผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของหลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่ง
กำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จำนวน 991.06 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.15 และ 21.98 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ
อเมริกา จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
สำหรับมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางปี 2550 ประมาณ 3,661.26 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็นอัตราการขยายตัวที่
ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 และ 2549 ซึ่งมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 20.91 และ 31.08 ตามลำดับ โดยสินค้าที่มี
แนวโน้มการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายส่งกำลัง ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
ยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ทำรายได้เข้าประเทศ โดยในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 9,301.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือประมาณ 320,568.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของรายได้จากการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการยางธรรมชาติ
ในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่ง
ออกยางพาราในปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ มีจำนวน 5,640.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 ขณะที่มูลค่า
ส่งออกในรูปเงินบาทมีจำนวน 194,357.4 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 5.41 ส่วนมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ
มีจำนวน 3,661.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.8 ขณะที่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในรูปเงินบาทมีจำนวน
126,211.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.63 เท่านั้น ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า ทำให้ยางธรรมชาติของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
สำคัญ คือ อินโดนีเซีย ทำให้ประเทศคู่ค้ายางธรรมชาติของไทยต่างชะลอการนำเข้าจากไทย และหันไปซื้อยางจาก อินโดนีเซียแทน สำหรับผลิตภัณฑ์
ยางประเทศคู่ค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 321.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.78 และ 14.31 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อ
หรือข้อต่อและสายพานลำเลียง โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 126.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 3.29 และ 10.51 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 21.72 และ18.49 ตามลำดับ ยางรถยนต์มีการนำเข้า 53.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.07 แต่สูงกว่าไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.49 ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 34.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 23.43
แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.51 ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเยอรมัน
ในปี 2550 มูลค่าการนำเข้ายาง วัสดุยางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม ประมาณ 1,171.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ร้อยละ 11.29 โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในส่วนของยางสังเคราะห์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.07 39.53
และ 18.21 ตามลำดับ และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มสินค้าดังกล่าวมีการนำเข้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ ภาคใต้ได้รับมรสุม มีฝนตกหนัก และมีน้ำ
ท่วมบางพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยลง การผลิตและการจำหน่ายยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว มีผลให้มูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ใน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.35 และ 6.15 ตามลำดับ ในช่วงปี 2551 คาดว่าแนวโน้มราคายางพาราจะยัง
คงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ขณะที่ความต้องการยางพารา
ในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก ในปี 2550 ปริมาณการผลิตและ
จำหน่ายรถยนต์ของจีนจะสูงถึง 9 ล้านคัน ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้นปีละร้อยละ 20-30 ถึงแม้ว่าจีนจะขยายพื้นที่ปลูกยางในประเทศ
เพื่อนบ้านก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางใน ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะความต้องการใช้ยางภายในประเทศ
ที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ ในปี 2551 ยังคง
มีปัจจัยเสี่ยงเรื่อง ราคาน้ำมันแพง และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นต่อเนื่อง ที่ทำให้ราคายางธรรมชาติของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย
ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายางต่างชะลอการนำเข้ายางจากไทย และหันไปซื้อยางจากอินโดนีเซียแทน ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก อย่าง
ไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าอาจจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุนในประเทศได้มากขึ้น สิ่งที่ไทยต้อง
เร่งปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยการเพิ่มมูลค่ายางและการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายการ หน่วย ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.) เดียวกันของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์ เส้น 5,861,956 6,030,086 5,938,538 -1.52 1.31 22,871,286 23,284,993 1.81
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,566,776 3,576,221 3,511,748 -1.8 -1.54 13,142,313 14,056,448 6.96
- ยางนอกรถกระบะ เส้น 1,116,428 1,276,978 1,336,891 4.69 19.75 5,377,322 4,773,802 -11.2
- ยางนอกรถบรรทุก เส้น 1,138,824 1,133,252 1,046,306 -7.67 -8.12 4,176,580 4,275,474 2.37
และรถโดยสาร
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 39,928 43,635 43,593 -0.1 9.18 175,071 179,269 2.4
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 10,156,865 10,970,756 10,560,063 -3.74 3.97 43,166,378 42,307,028 -1.99
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,096,582 5,612,434 5,889,315 4.93 15.55 21,984,081 22,522,613 2.45
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 4,958,036 5,198,488 4,582,828 -11.8 -7.57 20,650,079 19,366,872 -6.21
-ยางนอกอื่น ๆ เส้น 102,247 159,834 87,920 -45 -14 532,218 417,543 -21.6
ยางใน เส้น 13,337,114 15,838,803 15,680,464 -1 17.57 55,045,575 60,667,058 10.21
- ยางในรถบรรทุกและ เส้น 530,787 495,475 555,735 12.16 4.7 2,059,557 2,029,826 -1.44
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 7,725,488 9,527,373 9,620,701 0.98 24.53 32,614,131 36,503,273 11.92
- ยางในรถจักรยาน เส้น 5,080,839 5,815,955 5,504,028 -5.36 8.33 20,371,887 22,133,959 8.65
ยางรอง เส้น 936,863 1,025,186 738,549 -28 -21.2 3,694,809 3,187,708 -13.7
ยางหล่อดอก เส้น 18,865 20,189 19,618 -2.83 3.99 96,610 81,683 -15.5
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,255,587,282 2,608,872,319 2,741,423,099 5.08 21.54 8,574,890,177 9,819,640,293 14.52
ยางรัดของ ตัน 3,743.13 3,869.16 3,894.37 0.65 4.04 14,718.89 15,536.18 5.55
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 268,946.89 327,243.75 303,276.16 -7.32 12.76 1,107,519.77 1,118,662.73 1.01
- ยางแผ่น ตัน 81,075.65 57,792.26 53,373.24 -7.65 -34.2 303,012.37 226,533.21 -25.2
- ยางแท่ง ตัน 187,889.24 269,451.49 249,902.92 -7.25 33.01 804,507.40 892,129.52 10.89
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
รายการ หน่วย ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.) เดียวกันของปีก่อน
ยางนอก เส้น 4,561,002 4,649,768 4,418,404 -4.98 -3.13 17,856,812 18,105,435 1.39
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 2,610,491 2,594,645 2,433,937 -6.19 -6.76 10,008,230 10,215,514 2.07
- ยางนอกรถกะบะ เส้น 1,000,276 1,186,207 1,170,346 -1.34 17 4,474,836 4,503,855 0.65
- ยางนอกรถบรรทุก เส้น 930,372 849,072 791,393 -6.79 -14.9 3,284,434 3,294,276 0.3
และรถโดยสาร
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 19,883 19,844 22,728 14.53 14.31 89,312 91,790 2.77
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 4,803,946 4,894,264 5,199,555 6.24 8.24 20,073,201 19,785,613 1.43
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 3,900,151 3,628,932 3,839,119 5.79 -1.56 15,330,848 15,147,919 -1.19
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 883,150 1,248,445 1,339,049 7.26 51.62 4,662,817 4,556,295 -2.28
- ยางนอกอื่น ๆ เส้น 20,645 16,887 21,387 26.65 3.59 79,536 81,399 2.34
ยางใน เส้น 7,333,550 8,743,037 9,450,418 8.09 28.87 31,627,877 35,308,794 11.64
- ยางในรถบรรทุกและ เส้น 417,659 409,959 440,197 7.38 5.4 1,691,553 1,688,897 -0.16
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 5,641,237 6,750,494 6,719,000 -0.47 19.11 23,232,764 26,051,953 12.13
- ยางในรถจักรยาน เส้น 1,274,654 1,582,584 2,291,221 44.78 79.75 6,703,560 7,567,944 12.89
ยางรอง เส้น 565,591 370,085 362,030 -2.18 -36 2,081,374 1,457,687 -30
ยางหล่อดอก เส้น 17,835 20,933 20,134 -3.82 12.89 94,682 83,512 -11.8
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 113,090,976 115,160,758 119,860,356 4.08 5.99 421,764,982 465,188,982 10.3
ยางรัดของ ตัน 229.65 244.81 320.28 30.83 39.47 1,036.57 1,058.53 2.12
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 28,369.37 29,005.76 25,209.75 -13.1 -11.1 139,549.19 100,636.44 -27.9
- ยางแผ่น ตัน 19,996.90 18,553.06 17,330.82 -6.59 -13.3 93,156.57 68,872.84 -26.1
- ยางแท่ง ตัน 8,372.47 10,452.70 7,878.93 -24.6 -5.89 46,392.62 31,763.60 -31.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส % เทียบกับ %เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 % เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางพารา 1,391.50 1,463.92 1,644.72 12.35 18.16 5,396.59 5,640.53 4.52
ยางแผ่น 534.2 519.06 573.21 11.01 7.86 1,912.73 1,996.30 4.37
ยางแท่ง 540.8 50.33 37.77 -24.96 -93.02 2,175.53 181.36 -91.66
น้ำยางข้น 295 298.05 379.41 27.3 28.61 1,214.79 1,266.41 4.25
ยางพาราอื่น ๆ 21.1 596.48 651.33 9.2 2,986.87 93.54 2,196.47 2,248.21
ผลิตภัณฑ์ยาง 812.5 933.62 991.06 6.15 21.98 3,082.00 3,661.26 18.8
ยางยานพาหนะ 313.3 428.08 454.31 6.13 45.01 1,196.06 1,623.58 35.74
ถุงมือยาง 148.6 151.54 142.35 -6.06 -4.21 558.83 584.38 4.57
ยางรัดของ 17.9 15.88 16.5 3.9 -7.82 64.99 53.96 16.97
หลอดและท่อ 29.4 34.22 39.28 14.79 33.61 105.92 135.49 27.92
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 13.2 21.13 17.49 -17.23 32.5 45.52 71.97 58.13
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 60.9 48.42 54.36 11.35 -10.74 211.07 212.96 0.9
ยางวัลแคไนซ์ 43.1 53.09 55.72 4.95 29.28 206.69 212.49 2.81
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 186.1 180.86 211.05 16.69 13.41 692.93 766.43 10.61
รวม 2,204.00 2,097.54 2,635.78 25.66 19.59 8,478.59 9,301.79 9.71
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส %เทียบกับ % เทียบกับไตรมาส ปี 2549 ปี 2550 %เทียบกับช่วง
Apr-49 Mar-50 Apr-50 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ธ.ค.)(ม.ค.- ธ.ค.) เดียวกันปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 81.79 109.3 93.89 -14.1 14.79 298.02 374.24 25.57
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 33.59 45.41 34.77 -23.4 3.51 116.81 138.08 18.21
ยางรถยนต์ 42.59 58.6 53.87 -8.07 26.49 155.13 216.44 39.53
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 5.61 5.29 5.25 -0.76 -6.42 26.08 19.72 -24.36
ยาง รวมเศษยาง 116.6 125 129.5 3.64 11.03 427.33 476.41 11.48
ยางธรรมชาติ 0.47 0.88 1.33 51.14 183 2.39 5.12 114.1
ยางสังเคราะห์ 114.9 122.9 127 3.29 10.51 420.2 466.69 11.07
ยางอื่นๆ 1.28 1.15 1.21 5.22 -5.47 4.74 4.6 -3.09
วัสดุทำจากยาง 82.5 81.25 97.73 20.28 18.46 327.25 320.79 -1.97
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 1.48 2.38 1.73 -27.3 16.89 5.94 9.47 59.53
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 81.02 78.87 96 21.72 18.49 321.31 311.32 -3.11
รวม 280.9 315.5 321.1 1.78 14.31 1,052.60 1,171.44 11.29
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-