1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 28.5 จากไตร
มาสที่ 3 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ประมง และปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 51.2 30.9 29.8 และ 25.82 ตาม
ลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ราคาปรับตัวสูงขึ้นทั้งวัตถุดิบและจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์
น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากการเปิดหีบการผลิตที่เร็ว
ขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี 2549 พบว่าปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 ตามการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 15.8 เป็นผลจาก
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิต
อุตสาหกรรมอาหารที่อิงตลาดส่งออกลดลงเกือบทุกกลุ่ม เช่น ประมง ผักผลไม้ และปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 31.0 30.5และ 5.9 ตามลำดับ สำหรับ
สินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศหรือเป็นวัตถุดิบก็มีการผลิตลดลง เช่น อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์นมและน้ำมันพืช ลดลงร้อยละ 44.6 31.9 และ 1.8 เป็น
ผลจากระดับราคาวัตถุดิบแพงขึ้นทั้งจากการนำเข้าและจากในประเทศ เช่น ข้าวโพดและถั่วเหลือง ประกอบกับความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจและภาวะเงิน
เฟ้อที่ส่งผลส่งการตัดสินใจบริโภคลดลงของประชาชน
ภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2550 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการผลิต
เพิ่มขึ้นของกลุ่มปศุสัตว์ ธัญพืชและแป้ง น้ำตาล และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส ร้อยละ 39.5 36.4 35.8 และ 19.9 จากการที่ตลาดต่างประเทศยัง
มีความต้องการในผลิตภัณฑ์จากไก่จากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศ และการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก และตลาดใหม่ ความต้องการ
ในธัญพืชและแป้งเพื่อผลิตเป็นอาหารและพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น และระดับราคาตลาดโลกของน้ำตาลที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ความต้อง
การเพิ่มขึ้นบ้าง สำหรับสินค้าที่ผลิตลดลงในปี 2550 เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ11.2 จากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ปัญหาราคาน้ำมันแพง และปัญหาโลกร้อนที่ทำให้วัตถุดิบสัตว์ทะเลและปลาทูน่าขาดแคลน นอกจากนี้ปัญหาโลกร้อนยังส่งผลต่อวัตถุดิบอื่นๆ ที่ผลิตได้ลดลง
ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ แป้งสาลี ทำให้การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชะลอตัวลงเล็กน้อย แม้ว่าจะเป็นสินค้าที่จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในช่วงภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัว
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 11.2 จาก
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมือง
ของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้าเมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผักผลไม้ ร้อยละ 74.6 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 73.2 ประมง ร้อยละ 50.4 อาหารสัตว์และปศุสัตว์ ร้อย
ละ 46.7 และ 18.0
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ธัญพืชและแป้ง ร้อยละ 84.7
ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 8.0 และน้ำตาล ร้อยละ 5 เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากนโยบายการกำหนด
ราคาขั้นสูงของรัฐ
หากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศของปี 2549 และ 2550 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 6.4 เป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 น้ำตาล ร้อยละ 23.5 ธัญพืชและ
แป้ง ร้อยละ 19.6 เครื่องปรุงรสและอื่นๆ ร้อยละ 3.0 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 แต่หากพิจารณาหมวดสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ปริมาณ
การจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ลดลงมากที่สุดร้อยละ 20.5 น้ำมันพืช ร้อยละ 8.7 ประมง ร้อยละ 7.5 และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 4.5
เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัญหาด้านราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและ
ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,769.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 160,842.3 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 15.1 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ในรูปของดอลลาร์ฯ
หรือร้อยละ 13.5 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จะพบ
ว่าภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้
ราคาโดยเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่ในการคำนวณผลประโยชน์สุทธิเป็นมูลค่าในรูปของเงินบาท ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะมีรายได้และกำไรจากการส่งออกลด
ลง อย่างไรก็ดีคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และหากเปรียบเทียบในปี
2549 และ 2550 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 9.4 ในรูปของเงินบาท
สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
= กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,570.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 52,950.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 3.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป แต่อาหารทะเลสดแช่
เย็นแช่แข็งลดลงและหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ในรูปดอลลาร์ฯ และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในรูป
เงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 5,731.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 195,264.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2549 ร้อยละ 6.5 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 1.3 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ หรือเงินบาท โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกา ขณะ
ที่ตลาดหลักเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 512.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,266.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 2.8 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในรูปเงินบาท
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากแข็งค่าของเงินบาท แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิตจากการเข้าสู่ฤดูกาลที่วัตถุดิบออกสู่
ตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งสามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น
จากราคาส่งออกที่สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ใน
ภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท ร้อยละ 0.3
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 333.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 11,242.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 16.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 34.5 ในรูปเงินบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปร
รูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพ
ยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเปรียบเทียบปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
14.5 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,842.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 62,125.6 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 50.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 48.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
และข้าว ความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับ
อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย สำหรับประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และ
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
28.6 ในรูปเงินบาท นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
14.8 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 187.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,304.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.3
ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 34.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และ
ด้านราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง
ร้อยละ 5.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 12.8 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 64.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 52.0 ในรูปเงินบาท เนื่องจากในปีก่อนการผลิตอ้อยประสบปัญหาภัยธรรมชาติ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 324.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ10,953.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8
และ 2.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ในรูป
ดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.0 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ
30.8 ในรูปดอลลาร์และร้อยละ 21.2 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุง
แต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 1,919.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 64,719.7 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 1.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ
45.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 43.6 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำ
เข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 15.4 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง และนมและ
ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท
หากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อย
ละ 9.5 ในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 45.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 35.0 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ นม
และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 32.5 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 22.8 ในรูปเงินบาท และกากพืชน้ำมัน ร้อยละ 20.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
11.9 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้าอาหาร
นำเข้าสำคัญ คือ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทร้อยละ 5.4 แม้สินค้าอาหารที่นำ
เข้าจะเพิ่มขึ้นในเชิงมูลค่า แต่หากพิจารณาปริมาณนำเข้าแล้ว พบว่ามีปริมาณการนำเข้าลดลงในสินค้าผลิตภัณฑ์นม และปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ
11.9 และ 7.4 ตามลำดับ เป็นผลจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน ผลักดันต่อระดับราคาสินค้าหลายชนิดที่ราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เช่น
ปลาทูน่า ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวและแป้งสาลี รวมถึงธัญพืชต่างๆ
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย
เหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เรื่องการเปิดตลาดสินค้าตามกรอบ
ข้อตกลงต่างๆ เช่น WTO AFTA FTAต่างๆ ปี 2551 ในสินค้าเมล็ดและน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวและน้ำมัน ปาล์มน้ำมันและน้ำมัน
ปาล์ม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างรวมเร็วดและคล่องตัวขึ้น
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอขออนุญาตย้ายสถานที่ตั้งและขยายกำลังการ
ผลิตของโรงงานน้ำตาล โดยมีโรงงานขอย้ายสถานที่ตั้งจำนวน 3 โรงงาน คือ โรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี และบริษัท
น้ำตาลบ้านโป่ง และให้ขยายกำลังการผลิต จำนวน 2 โรงงาน คือ บริษัทน้ำตาลพิษณุโลก และบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลกาญจนบุรี ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความเหมาะสมกับการขยายพื้นที่ปลูกอ้อยและเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิตจากค่าขนส่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาพรวมและเสริม
สร้างความ มั่นคงทางพลังงานทดแทนให้กับเศรษฐกิจ
3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 อนุมัติในหลักการ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์
พ.ศ. .... ที่เสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่าย และคุ้ม
ครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเนื้อสัตว์บริโภค
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบ
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่
ต้องปรับตัวตาม นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อระดับกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลง อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการ
ส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัย
ธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดในการเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การ
จำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อเนื่องกับตลาดต่างประเทศ และยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยง
ต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ในฤดูหนาว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อ
การร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบ
ใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศ
มาตรการ IRA ต่อการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่ม
เติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ดีหาก
พิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership
Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่
ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบ
เทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น นอกจากนี้ตลาดยุโรปที่กำลังพิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP รอบใหม่แต่ในลักษณะการตกลงทำข้อ
ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป ซึ่งมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะยิ่งมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-----------------------------ปริมาณการผลิต (ตัน)------------------------------- การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส4/49 ไตรมาส3/50 ไตรมาส4/50 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ของปีก่อน
ปศุสัตว์ 226,959.50 287,889.50 213,588.90 938,838.70 1,309,241.20 -25.8 -5.9 39.5
ประมง 227,684.00 223,860.30 157,175.60 941,216.30 835,369.30 -29.8 -31 -11.2
ผักผลไม้ 238,335.30 161,174.60 165,660.20 1,021,593.50 833,306.80 2.8 -30.5 -18.4
น้ำมันพืช 387,985.70 380,461.30 381,144.00 1,558,923.20 1,467,905.00 0.2 -1.8 -5.8
ผลิตภัณฑ์นม 268,806.70 265,027.80 183,045.10 1,101,439.40 1,003,874.30 -30.9 -31.9 -8.9
ธัญพืชและแป้ง 124,060.20 107,798.00 313,926.70 486,515.50 663,846.40 191.2 153 36.4
อาหารสัตว์ 1,584,033.60 1,798,185.40 876,865.20 6,282,622.50 6,043,139.10 -51.2 -44.6 -3.8
น้ำตาล 1,332,887.90 341,412.50 1,399,532.30 7,994,336.40 10,852,799.40 309.9 5 35.8
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 43,473.20 41,208.50 42,546.40 166,154.40 165,990.00 3.2 -2.1 -0.1
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 43,711.90 53,955.90 54,528.20 168,143.90 201,520.40 1.1 24.7 19.9
รวม 4,434,226.10 3,607,017.90 3,733,484.40 20,491,639.70 23,175,471.50 3.5 -15.8 13.1
รวม 3,101,338.20 3,265,605.50 2,333,952.10 12,497,303.30 12,322,672.10 -28.5 -24.7 -1.4
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-----------------------------ปริมาณการผลิต (ตัน)------------------------------- การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส4/49 ไตรมาส3/50 ไตรมาส4/50 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ของปีก่อน
ปศุสัตว์ 187,408.40 213,749.90 153,608.00 755,051.50 1,002,559.20 -28.1 -18 32.8
ประมง 31,462.40 33,899.60 16,808.90 125,351.40 115,897.90 -50.4 -46.6 -7.5
ผักผลไม้ 51,405.70 43,878.00 11,143.30 185,102.90 147,104.40 -74.6 -78.3 -20.5
น้ำมันพืช 276,762.30 264,278.80 259,363.00 1,133,201.30 1,034,382.90 -1.9 -6.3 -8.7
ผลิตภัณฑ์นม 228,750.30 923,052.00 247,020.10 923,052.00 881,634.00 -73.2 8 -4.5
ธัญพืชและแป้ง 119,180.60 103,542.60 220,172.00 470,397.90 562,480.00 112.6 84.7 19.6
อาหารสัตว์ 1,484,523.10 1,636,971.00 871,850.90 5,813,683.30 5,587,986.00 -46.7 -41.3 -3.9
น้ำตาล 715,822.20 1,098,615.40 751,613.30 4,025,415.70 4,971,720.60 -31.6 5 23.5
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 37,009.30 35,243.00 36,885.50 138,286.90 139,773.80 4.7 -0.3 1.1
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 50,238.80 50,238.80 49,539.20 194,121.60 199,855.20 -1.4 -1.4 3
รวม 3,132,324.30 4,353,230.30 2,568,465.00 13,569,543.00 14,443,538.80 -41 -18 6.4
รวม 2,416,502.10 3,254,614.90 1,816,851.70 9,544,127.30 9,471,818.20 -44.2 -24.8 -0.8
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-----------------------มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)-------------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50 และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 52,561.40 51,040.40 52,950.90 195,761.20 193,264.90 3.7 0.7 -1.3
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 21,323.70 23,014.70 20,955.00 82,711.10 84,155.90 -8.9 -1.7 1.7
- อาหารทะเลกระป๋อง 11,947.80 13,656.70 17,242.80 47,259.70 56,687.80 26.3 44.3 19.9
- อาหารทะเลแปรรูป 19,289.90 14,369.00 14,753.10 65,790.40 52,421.20 2.7 -23.5 -20.3
2. ปศุสัตว์ 8,360.10 9,681.20 11,242.10 31,533.00 36,111.60 16.1 34.5 14.5
- ไก่ 7,802.50 8,869.60 10,239.80 29,301.20 33,172.60 15.4 31.2 13.2
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 249.1 296.3 367.3 594.6 1,056.80 24 47.5 77.7
(2) ไก่แปรรูป 7,553.50 8,573.30 9,872.50 28,706.60 32,115.80 15.2 30.7 11.9
3. กลุ่มผักผลไม้ 15,434.60 16,794.30 17,266.10 68,334.00 68,520.30 2.8 11.9 0.3
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,992.10 4,381.30 2,623.20 12,038.60 13,215.30 -40.1 31.7 9.8
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,469.60 1,464.00 1,397.70 7,154.20 6,890.10 -4.5 -4.9 -3.7
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9,383.20 8,427.50 10,937.10 38,779.70 38,415.50 29.8 16.6 -0.9
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,589.70 2,521.50 2,308.20 10,361.50 9,999.50 -8.5 -10.9 -3.5
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 48,293.60 41,949.00 62,125.60 166,409.60 191,009.00 48.1 28.6 14.8
- ข้าว 29,232.30 26,481.30 42,768.80 98,179.00 119,304.10 61.5 46.3 21.5
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,753.20 1,462.60 1,506.50 6,103.50 5,442.30 3 -14.1 -10.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,765.50 4,175.70 4,884.90 18,730.40 17,679.40 17 2.5 -5.6
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 12,542.50 9,829.40 12,965.40 43,396.60 48,583.20 31.9 3.4 12
5. น้ำตาลทราย 7,232.60 9,588.20 6,304.00 29,700.80 45,144.90 -34.3 -12.8 52
6. อาหารอื่นๆ 9,782.50 10,697.80 10,953.60 34,370.40 41,655.90 2.4 12 21.2
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,991.20 2,105.40 2,211.50 7,267.80 8,088.60 5 11.1 11.3
- นมและผลิตภัณฑ์นม 974.2 1,043.70 1,181.00 4,135.50 4,530.30 13.2 21.2 9.5
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 604 694.7 844 2,867.30 2,807.20 21.5 39.7 -2.1
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 298.3 432.5 310.8 1,226.40 1,532.20 -28.1 4.2 24.9
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 3,090.10 3,458.50 4,012.30 7,581.10 13,028.40 16 29.8 71.9
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,277.70 2,216.70 1,707.90 8,844.00 9,066.00 -23 -25 2.5
- โกโก้และของปรุงแต่ง 384.7 550.7 517.8 1,708.00 1,782.70 -6 34.6 4.4
- ไอศกรีม 162.3 195.6 168.4 740.3 820.6 -13.9 3.7 10.8
รวม 141,664.80 139,750.90 160,842.30 526,109.00 575,706.60 15.1 13.5 9.4
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
---------------มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)---------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,444.40 1,492.80 1,570.30 5,379.50 5,731.50 5.2 8.7 6.5
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 586 673.1 621.4 2,272.90 2,495.70 -7.7 6.1 9.8
- อาหารทะเลกระป๋อง 328.3 399.4 511.4 1,298.70 1,681.10 28 55.7 29.4
- อาหารทะเลแปรรูป 530.1 420.3 437.5 1,807.90 1,554.60 4.1 -17.5 -14
2. ปศุสัตว์ 229.7 283.2 333.4 866.5 1,070.90 17.7 45.1 23.6
- ไก่ 214.4 259.4 303.7 805.2 983.8 17.1 41.6 22.2
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 6.8 8.7 10.9 16.3 31.3 25.7 59.1 91.8
(2) ไก่แปรรูป 207.6 250.8 292.8 788.9 952.4 16.8 41 20.7
3. กลุ่มผักผลไม้ 424.1 491.2 512 1,877.80 2,032.00 4.2 20.7 8.2
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 54.7 128.1 77.8 330.8 391.9 -39.3 42.1 18.5
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 40.4 42.8 41.4 196.6 204.3 -3.2 2.6 3.9
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 257.9 246.5 324.3 1,065.70 1,139.20 31.6 25.8 6.9
- ผักกระป๋องและแปรรูป 71.2 73.7 68.5 284.7 296.5 -7.2 -3.8 4.1
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,327.10 1,226.90 1,842.40 4,572.90 5,664.60 50.2 38.8 23.9
- ข้าว 803.3 774.5 1,268.40 2,698.00 3,538.10 63.8 57.9 31.1
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 48.2 42.8 44.7 167.7 161.4 4.4 -7.3 -3.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 131 122.1 144.9 514.7 524.3 18.6 10.6 1.9
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 344.7 287.5 384.5 1,192.50 1,440.80 33.7 11.6 20.8
5. น้ำตาลทราย 198.8 280.4 187 816.2 1,338.80 -33.3 -5.9 64
6. อาหารอื่นๆ 268.8 312.9 324.8 944.5 1,235.30 3.8 20.8 30.8
- สิ่งปรุงรสอาหาร 54.7 61.6 65.6 199.7 239.9 6.5 19.9 20.1
- นมและผลิตภัณฑ์นม 26.8 30.5 35 113.6 134.4 14.7 30.8 18.2
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 16.6 20.3 25 78.8 83.2 23.2 50.8 5.7
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 8.2 12.6 9.2 33.7 45.4 -27.1 12.4 34.8
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 84.9 101.2 119 208.3 386.4 17.6 40.1 85.5
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 62.6 64.8 50.6 243 268.9 -21.9 -19.1 10.6
- โกโก้และของปรุงแต่ง 10.6 16.1 15.4 46.9 52.9 -4.7 45.2 12.6
- ไอศกรีม 4.5 5.7 5 20.3 24.3 -12.7 12 19.6
รวม 3,893.00 4,087.50 4,769.90 14,457.50 17,073.10 16.7 22.5 18.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
----------------------------- ปริมาณนำเข้า (ตัน)--------------------------- -----การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)----
2549 2550
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 187,565.00 169,799.70 194,210.50 783,443.50 725,236.50 14.4 3.5 -7.4
เมล็ดพืชน้ำมัน 455,303.00 460,952.80 382,822.60 1,441,899.10 1,590,759.80 -16.9 -15.9 10.3
กากพืชน้ำมัน 681,365.90 802,732.70 505,170.10 2,620,351.20 2,536,728.80 -37.1 -25.9 -3.2
นมและผลิตภัณฑ์นม 61,750.30 41,955.40 47,077.10 184,642.20 162,638.20 12.2 -23.8 -11.9
อาหารรวม 2,467,690.50 2,620,842.20 2,352,263.00 8,841,767.80 8,910,742.10 -10.2 -4.7 0.8
-----------------------มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)--------------------- -----การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)----
2549 2550
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 7,550.20 6,896.00 9,900.60 31,268.20 33,053.60 43.6 31.1 5.7
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,711.30 4,706.30 5,909.70 14,992.80 20,245.80 25.6 25.4 35
กากพืชน้ำมัน 5,593.30 6,539.70 5,682.30 21,501.00 24,059.80 -13.1 1.6 11.9
นมและผลิตภัณฑ์นม 4,461.60 2,818.20 5,821.70 13,190.10 16,196.50 106.6 30.5 22.8
อาหารรวม 56,093.70 63,715.60 64,719.70 201,119.00 220,325.70 1.6 15.4 9.5
----------------------มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์)--------------- -----การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)--------
2549 2550
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 207.5 202.3 293.6 859.3 980.2 45.1 41.5 14.1
เมล็ดพืชน้ำมัน 129.5 130.3 175.3 412 600.4 34.5 35.4 45.7
กากพืชน้ำมัน 153.7 184 168.5 590.8 713.5 -8.4 9.6 20.8
นมและผลิตภัณฑ์นม 122.6 81.8 172.6 362.5 480.3 111.1 40.8 32.5
อาหารรวม 1,541.50 1,788.60 1,919.30 5,526.80 6,534.00 7.3 24.5 18.2
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 28.5 จากไตร
มาสที่ 3 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ประมง และปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 51.2 30.9 29.8 และ 25.82 ตาม
ลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ราคาปรับตัวสูงขึ้นทั้งวัตถุดิบและจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์
น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากการเปิดหีบการผลิตที่เร็ว
ขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี 2549 พบว่าปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 ตามการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 15.8 เป็นผลจาก
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิต
อุตสาหกรรมอาหารที่อิงตลาดส่งออกลดลงเกือบทุกกลุ่ม เช่น ประมง ผักผลไม้ และปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 31.0 30.5และ 5.9 ตามลำดับ สำหรับ
สินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศหรือเป็นวัตถุดิบก็มีการผลิตลดลง เช่น อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์นมและน้ำมันพืช ลดลงร้อยละ 44.6 31.9 และ 1.8 เป็น
ผลจากระดับราคาวัตถุดิบแพงขึ้นทั้งจากการนำเข้าและจากในประเทศ เช่น ข้าวโพดและถั่วเหลือง ประกอบกับความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจและภาวะเงิน
เฟ้อที่ส่งผลส่งการตัดสินใจบริโภคลดลงของประชาชน
ภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2550 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการผลิต
เพิ่มขึ้นของกลุ่มปศุสัตว์ ธัญพืชและแป้ง น้ำตาล และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส ร้อยละ 39.5 36.4 35.8 และ 19.9 จากการที่ตลาดต่างประเทศยัง
มีความต้องการในผลิตภัณฑ์จากไก่จากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศ และการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก และตลาดใหม่ ความต้องการ
ในธัญพืชและแป้งเพื่อผลิตเป็นอาหารและพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น และระดับราคาตลาดโลกของน้ำตาลที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ความต้อง
การเพิ่มขึ้นบ้าง สำหรับสินค้าที่ผลิตลดลงในปี 2550 เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ11.2 จากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ปัญหาราคาน้ำมันแพง และปัญหาโลกร้อนที่ทำให้วัตถุดิบสัตว์ทะเลและปลาทูน่าขาดแคลน นอกจากนี้ปัญหาโลกร้อนยังส่งผลต่อวัตถุดิบอื่นๆ ที่ผลิตได้ลดลง
ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ แป้งสาลี ทำให้การผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชะลอตัวลงเล็กน้อย แม้ว่าจะเป็นสินค้าที่จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในช่วงภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัว
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 11.2 จาก
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมือง
ของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้าเมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผักผลไม้ ร้อยละ 74.6 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 73.2 ประมง ร้อยละ 50.4 อาหารสัตว์และปศุสัตว์ ร้อย
ละ 46.7 และ 18.0
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ธัญพืชและแป้ง ร้อยละ 84.7
ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 8.0 และน้ำตาล ร้อยละ 5 เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากนโยบายการกำหนด
ราคาขั้นสูงของรัฐ
หากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศของปี 2549 และ 2550 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 6.4 เป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 น้ำตาล ร้อยละ 23.5 ธัญพืชและ
แป้ง ร้อยละ 19.6 เครื่องปรุงรสและอื่นๆ ร้อยละ 3.0 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 แต่หากพิจารณาหมวดสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ปริมาณ
การจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ลดลงมากที่สุดร้อยละ 20.5 น้ำมันพืช ร้อยละ 8.7 ประมง ร้อยละ 7.5 และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 4.5
เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัญหาด้านราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและ
ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,769.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 160,842.3 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 15.1 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ในรูปของดอลลาร์ฯ
หรือร้อยละ 13.5 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จะพบ
ว่าภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้
ราคาโดยเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่ในการคำนวณผลประโยชน์สุทธิเป็นมูลค่าในรูปของเงินบาท ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะมีรายได้และกำไรจากการส่งออกลด
ลง อย่างไรก็ดีคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และหากเปรียบเทียบในปี
2549 และ 2550 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 9.4 ในรูปของเงินบาท
สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
= กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,570.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 52,950.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 3.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป แต่อาหารทะเลสดแช่
เย็นแช่แข็งลดลงและหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ในรูปดอลลาร์ฯ และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในรูป
เงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 5,731.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 195,264.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2549 ร้อยละ 6.5 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 1.3 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ หรือเงินบาท โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกา ขณะ
ที่ตลาดหลักเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 512.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,266.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 2.8 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในรูปเงินบาท
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากแข็งค่าของเงินบาท แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิตจากการเข้าสู่ฤดูกาลที่วัตถุดิบออกสู่
ตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งสามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น
จากราคาส่งออกที่สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ใน
ภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท ร้อยละ 0.3
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 333.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 11,242.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 16.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 34.5 ในรูปเงินบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปร
รูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพ
ยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเปรียบเทียบปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
14.5 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,842.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 62,125.6 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 50.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 48.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
และข้าว ความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง รวมทั้งมีตลาดรองรับ
อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย สำหรับประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และ
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
28.6 ในรูปเงินบาท นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
14.8 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 187.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,304.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.3
ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 34.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และ
ด้านราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง
ร้อยละ 5.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 12.8 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 64.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 52.0 ในรูปเงินบาท เนื่องจากในปีก่อนการผลิตอ้อยประสบปัญหาภัยธรรมชาติ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 324.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ10,953.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8
และ 2.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ในรูป
ดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.0 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ
30.8 ในรูปดอลลาร์และร้อยละ 21.2 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุง
แต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 1,919.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 64,719.7 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 1.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ
45.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 43.6 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำ
เข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 15.4 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง และนมและ
ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท
หากเปรียบเทียบในปี 2549 และ 2550 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อย
ละ 9.5 ในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันมากที่สุด ร้อยละ 45.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 35.0 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ นม
และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 32.5 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 22.8 ในรูปเงินบาท และกากพืชน้ำมัน ร้อยละ 20.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
11.9 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้าอาหาร
นำเข้าสำคัญ คือ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทร้อยละ 5.4 แม้สินค้าอาหารที่นำ
เข้าจะเพิ่มขึ้นในเชิงมูลค่า แต่หากพิจารณาปริมาณนำเข้าแล้ว พบว่ามีปริมาณการนำเข้าลดลงในสินค้าผลิตภัณฑ์นม และปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ
11.9 และ 7.4 ตามลำดับ เป็นผลจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน ผลักดันต่อระดับราคาสินค้าหลายชนิดที่ราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เช่น
ปลาทูน่า ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวและแป้งสาลี รวมถึงธัญพืชต่างๆ
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย
เหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เรื่องการเปิดตลาดสินค้าตามกรอบ
ข้อตกลงต่างๆ เช่น WTO AFTA FTAต่างๆ ปี 2551 ในสินค้าเมล็ดและน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวและน้ำมัน ปาล์มน้ำมันและน้ำมัน
ปาล์ม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างรวมเร็วดและคล่องตัวขึ้น
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอขออนุญาตย้ายสถานที่ตั้งและขยายกำลังการ
ผลิตของโรงงานน้ำตาล โดยมีโรงงานขอย้ายสถานที่ตั้งจำนวน 3 โรงงาน คือ โรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย บริษัท น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี และบริษัท
น้ำตาลบ้านโป่ง และให้ขยายกำลังการผลิต จำนวน 2 โรงงาน คือ บริษัทน้ำตาลพิษณุโลก และบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลกาญจนบุรี ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความเหมาะสมกับการขยายพื้นที่ปลูกอ้อยและเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิตจากค่าขนส่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาพรวมและเสริม
สร้างความ มั่นคงทางพลังงานทดแทนให้กับเศรษฐกิจ
3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 อนุมัติในหลักการ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์
พ.ศ. .... ที่เสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่าย และคุ้ม
ครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเนื้อสัตว์บริโภค
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบ
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่
ต้องปรับตัวตาม นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อระดับกำไรที่ผู้ผลิตจะได้รับลดลง อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการ
ส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัย
ธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดในการเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การ
จำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อเนื่องกับตลาดต่างประเทศ และยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยง
ต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ในฤดูหนาว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อ
การร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบ
ใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศ
มาตรการ IRA ต่อการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่ม
เติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ดีหาก
พิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership
Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่
ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบ
เทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น นอกจากนี้ตลาดยุโรปที่กำลังพิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP รอบใหม่แต่ในลักษณะการตกลงทำข้อ
ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป ซึ่งมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะยิ่งมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-----------------------------ปริมาณการผลิต (ตัน)------------------------------- การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส4/49 ไตรมาส3/50 ไตรมาส4/50 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ของปีก่อน
ปศุสัตว์ 226,959.50 287,889.50 213,588.90 938,838.70 1,309,241.20 -25.8 -5.9 39.5
ประมง 227,684.00 223,860.30 157,175.60 941,216.30 835,369.30 -29.8 -31 -11.2
ผักผลไม้ 238,335.30 161,174.60 165,660.20 1,021,593.50 833,306.80 2.8 -30.5 -18.4
น้ำมันพืช 387,985.70 380,461.30 381,144.00 1,558,923.20 1,467,905.00 0.2 -1.8 -5.8
ผลิตภัณฑ์นม 268,806.70 265,027.80 183,045.10 1,101,439.40 1,003,874.30 -30.9 -31.9 -8.9
ธัญพืชและแป้ง 124,060.20 107,798.00 313,926.70 486,515.50 663,846.40 191.2 153 36.4
อาหารสัตว์ 1,584,033.60 1,798,185.40 876,865.20 6,282,622.50 6,043,139.10 -51.2 -44.6 -3.8
น้ำตาล 1,332,887.90 341,412.50 1,399,532.30 7,994,336.40 10,852,799.40 309.9 5 35.8
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 43,473.20 41,208.50 42,546.40 166,154.40 165,990.00 3.2 -2.1 -0.1
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 43,711.90 53,955.90 54,528.20 168,143.90 201,520.40 1.1 24.7 19.9
รวม 4,434,226.10 3,607,017.90 3,733,484.40 20,491,639.70 23,175,471.50 3.5 -15.8 13.1
รวม 3,101,338.20 3,265,605.50 2,333,952.10 12,497,303.30 12,322,672.10 -28.5 -24.7 -1.4
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-----------------------------ปริมาณการผลิต (ตัน)------------------------------- การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส4/49 ไตรมาส3/50 ไตรมาส4/50 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกัน ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ของปีก่อน
ปศุสัตว์ 187,408.40 213,749.90 153,608.00 755,051.50 1,002,559.20 -28.1 -18 32.8
ประมง 31,462.40 33,899.60 16,808.90 125,351.40 115,897.90 -50.4 -46.6 -7.5
ผักผลไม้ 51,405.70 43,878.00 11,143.30 185,102.90 147,104.40 -74.6 -78.3 -20.5
น้ำมันพืช 276,762.30 264,278.80 259,363.00 1,133,201.30 1,034,382.90 -1.9 -6.3 -8.7
ผลิตภัณฑ์นม 228,750.30 923,052.00 247,020.10 923,052.00 881,634.00 -73.2 8 -4.5
ธัญพืชและแป้ง 119,180.60 103,542.60 220,172.00 470,397.90 562,480.00 112.6 84.7 19.6
อาหารสัตว์ 1,484,523.10 1,636,971.00 871,850.90 5,813,683.30 5,587,986.00 -46.7 -41.3 -3.9
น้ำตาล 715,822.20 1,098,615.40 751,613.30 4,025,415.70 4,971,720.60 -31.6 5 23.5
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 37,009.30 35,243.00 36,885.50 138,286.90 139,773.80 4.7 -0.3 1.1
เครื่องปรุงรสและอื่นๆ 50,238.80 50,238.80 49,539.20 194,121.60 199,855.20 -1.4 -1.4 3
รวม 3,132,324.30 4,353,230.30 2,568,465.00 13,569,543.00 14,443,538.80 -41 -18 6.4
รวม 2,416,502.10 3,254,614.90 1,816,851.70 9,544,127.30 9,471,818.20 -44.2 -24.8 -0.8
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-----------------------มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)-------------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50 และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 52,561.40 51,040.40 52,950.90 195,761.20 193,264.90 3.7 0.7 -1.3
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 21,323.70 23,014.70 20,955.00 82,711.10 84,155.90 -8.9 -1.7 1.7
- อาหารทะเลกระป๋อง 11,947.80 13,656.70 17,242.80 47,259.70 56,687.80 26.3 44.3 19.9
- อาหารทะเลแปรรูป 19,289.90 14,369.00 14,753.10 65,790.40 52,421.20 2.7 -23.5 -20.3
2. ปศุสัตว์ 8,360.10 9,681.20 11,242.10 31,533.00 36,111.60 16.1 34.5 14.5
- ไก่ 7,802.50 8,869.60 10,239.80 29,301.20 33,172.60 15.4 31.2 13.2
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 249.1 296.3 367.3 594.6 1,056.80 24 47.5 77.7
(2) ไก่แปรรูป 7,553.50 8,573.30 9,872.50 28,706.60 32,115.80 15.2 30.7 11.9
3. กลุ่มผักผลไม้ 15,434.60 16,794.30 17,266.10 68,334.00 68,520.30 2.8 11.9 0.3
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,992.10 4,381.30 2,623.20 12,038.60 13,215.30 -40.1 31.7 9.8
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,469.60 1,464.00 1,397.70 7,154.20 6,890.10 -4.5 -4.9 -3.7
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9,383.20 8,427.50 10,937.10 38,779.70 38,415.50 29.8 16.6 -0.9
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,589.70 2,521.50 2,308.20 10,361.50 9,999.50 -8.5 -10.9 -3.5
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 48,293.60 41,949.00 62,125.60 166,409.60 191,009.00 48.1 28.6 14.8
- ข้าว 29,232.30 26,481.30 42,768.80 98,179.00 119,304.10 61.5 46.3 21.5
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,753.20 1,462.60 1,506.50 6,103.50 5,442.30 3 -14.1 -10.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,765.50 4,175.70 4,884.90 18,730.40 17,679.40 17 2.5 -5.6
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 12,542.50 9,829.40 12,965.40 43,396.60 48,583.20 31.9 3.4 12
5. น้ำตาลทราย 7,232.60 9,588.20 6,304.00 29,700.80 45,144.90 -34.3 -12.8 52
6. อาหารอื่นๆ 9,782.50 10,697.80 10,953.60 34,370.40 41,655.90 2.4 12 21.2
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,991.20 2,105.40 2,211.50 7,267.80 8,088.60 5 11.1 11.3
- นมและผลิตภัณฑ์นม 974.2 1,043.70 1,181.00 4,135.50 4,530.30 13.2 21.2 9.5
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 604 694.7 844 2,867.30 2,807.20 21.5 39.7 -2.1
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 298.3 432.5 310.8 1,226.40 1,532.20 -28.1 4.2 24.9
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 3,090.10 3,458.50 4,012.30 7,581.10 13,028.40 16 29.8 71.9
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,277.70 2,216.70 1,707.90 8,844.00 9,066.00 -23 -25 2.5
- โกโก้และของปรุงแต่ง 384.7 550.7 517.8 1,708.00 1,782.70 -6 34.6 4.4
- ไอศกรีม 162.3 195.6 168.4 740.3 820.6 -13.9 3.7 10.8
รวม 141,664.80 139,750.90 160,842.30 526,109.00 575,706.60 15.1 13.5 9.4
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
---------------มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)---------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2549 2550 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ปี 50และ49
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,444.40 1,492.80 1,570.30 5,379.50 5,731.50 5.2 8.7 6.5
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 586 673.1 621.4 2,272.90 2,495.70 -7.7 6.1 9.8
- อาหารทะเลกระป๋อง 328.3 399.4 511.4 1,298.70 1,681.10 28 55.7 29.4
- อาหารทะเลแปรรูป 530.1 420.3 437.5 1,807.90 1,554.60 4.1 -17.5 -14
2. ปศุสัตว์ 229.7 283.2 333.4 866.5 1,070.90 17.7 45.1 23.6
- ไก่ 214.4 259.4 303.7 805.2 983.8 17.1 41.6 22.2
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 6.8 8.7 10.9 16.3 31.3 25.7 59.1 91.8
(2) ไก่แปรรูป 207.6 250.8 292.8 788.9 952.4 16.8 41 20.7
3. กลุ่มผักผลไม้ 424.1 491.2 512 1,877.80 2,032.00 4.2 20.7 8.2
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 54.7 128.1 77.8 330.8 391.9 -39.3 42.1 18.5
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 40.4 42.8 41.4 196.6 204.3 -3.2 2.6 3.9
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 257.9 246.5 324.3 1,065.70 1,139.20 31.6 25.8 6.9
- ผักกระป๋องและแปรรูป 71.2 73.7 68.5 284.7 296.5 -7.2 -3.8 4.1
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,327.10 1,226.90 1,842.40 4,572.90 5,664.60 50.2 38.8 23.9
- ข้าว 803.3 774.5 1,268.40 2,698.00 3,538.10 63.8 57.9 31.1
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 48.2 42.8 44.7 167.7 161.4 4.4 -7.3 -3.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 131 122.1 144.9 514.7 524.3 18.6 10.6 1.9
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 344.7 287.5 384.5 1,192.50 1,440.80 33.7 11.6 20.8
5. น้ำตาลทราย 198.8 280.4 187 816.2 1,338.80 -33.3 -5.9 64
6. อาหารอื่นๆ 268.8 312.9 324.8 944.5 1,235.30 3.8 20.8 30.8
- สิ่งปรุงรสอาหาร 54.7 61.6 65.6 199.7 239.9 6.5 19.9 20.1
- นมและผลิตภัณฑ์นม 26.8 30.5 35 113.6 134.4 14.7 30.8 18.2
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 16.6 20.3 25 78.8 83.2 23.2 50.8 5.7
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 8.2 12.6 9.2 33.7 45.4 -27.1 12.4 34.8
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 84.9 101.2 119 208.3 386.4 17.6 40.1 85.5
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 62.6 64.8 50.6 243 268.9 -21.9 -19.1 10.6
- โกโก้และของปรุงแต่ง 10.6 16.1 15.4 46.9 52.9 -4.7 45.2 12.6
- ไอศกรีม 4.5 5.7 5 20.3 24.3 -12.7 12 19.6
รวม 3,893.00 4,087.50 4,769.90 14,457.50 17,073.10 16.7 22.5 18.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
----------------------------- ปริมาณนำเข้า (ตัน)--------------------------- -----การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)----
2549 2550
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 187,565.00 169,799.70 194,210.50 783,443.50 725,236.50 14.4 3.5 -7.4
เมล็ดพืชน้ำมัน 455,303.00 460,952.80 382,822.60 1,441,899.10 1,590,759.80 -16.9 -15.9 10.3
กากพืชน้ำมัน 681,365.90 802,732.70 505,170.10 2,620,351.20 2,536,728.80 -37.1 -25.9 -3.2
นมและผลิตภัณฑ์นม 61,750.30 41,955.40 47,077.10 184,642.20 162,638.20 12.2 -23.8 -11.9
อาหารรวม 2,467,690.50 2,620,842.20 2,352,263.00 8,841,767.80 8,910,742.10 -10.2 -4.7 0.8
-----------------------มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)--------------------- -----การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)----
2549 2550
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 7,550.20 6,896.00 9,900.60 31,268.20 33,053.60 43.6 31.1 5.7
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,711.30 4,706.30 5,909.70 14,992.80 20,245.80 25.6 25.4 35
กากพืชน้ำมัน 5,593.30 6,539.70 5,682.30 21,501.00 24,059.80 -13.1 1.6 11.9
นมและผลิตภัณฑ์นม 4,461.60 2,818.20 5,821.70 13,190.10 16,196.50 106.6 30.5 22.8
อาหารรวม 56,093.70 63,715.60 64,719.70 201,119.00 220,325.70 1.6 15.4 9.5
----------------------มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์)--------------- -----การเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)--------
2549 2550
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ปี 2549 ปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ปี 2549
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 207.5 202.3 293.6 859.3 980.2 45.1 41.5 14.1
เมล็ดพืชน้ำมัน 129.5 130.3 175.3 412 600.4 34.5 35.4 45.7
กากพืชน้ำมัน 153.7 184 168.5 590.8 713.5 -8.4 9.6 20.8
นมและผลิตภัณฑ์นม 122.6 81.8 172.6 362.5 480.3 111.1 40.8 32.5
อาหารรวม 1,541.50 1,788.60 1,919.30 5,526.80 6,534.00 7.3 24.5 18.2
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-