ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่หดตัวร้อยละ 1.4
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มชะลอตัวลง กล่าวคือ ในเดือนมิถุนายน 2562 การผลิตหดตัวร้อยละ 5.3 เดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 3.3 และเดือนสิงหาคมหดตัวร้อยละ 4.4
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมิถุนายนหดตัว ร้อยละ 3.4 เดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 0.8 และเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 0.6
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2562 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
- การกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 11.2 จากโรงกลั่นบางแห่งหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ หดตัวร้อยละ 21.3 จากยางแผ่น และยางแท่ง เนื่องจากในเดือนกันยายนยังมีฝนตกชุกหลายพื้นที่ทำให้มีวัตถุดิบน้ำยางออกสู่ตลาดน้อย รวมถึงราคายางที่อยู่ในระดับต่ำ ผู้ผลิตบางรายจึงหยุดผลิตชั่วคราว
- รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 5.2 จากการหดตัวเกือบทุกรายการสินค้า (ยกเว้นรถยนต์นั่งขนาดกลางและขนาดใหญ่) โดยลดลงทั้งจากตลาดในประเทศและส่งออก ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ ผลกระทบจากสงครามการค้า เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง และอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้กำลังซื้อลดลง
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2562 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากในช่วงดังกล่าวมีการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย
- เฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากเครื่องเรือนทำด้วยโลหะและเครื่องเรือนทำด้วยไม้ จากการผลิตสินค้าใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นและตอบสนองความต้องการของตลาด
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกันยายน 2562
+ การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกันยายน 2562 มีมูลค่า 1,538.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะและส่วนประกอบ และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์
- การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกันยายน 2562 มีมูลค่า 6,961.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ปรับตัวลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่น และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น
- จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 279 โรงงาน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2562 ร้อยละ 10.9 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.2 (%YoY)
+ มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2562 มีมูลค่ารวม 22,343 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2562 ร้อยละ 75.9 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 44.8 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 24 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ จำนวน 15 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 4,892.54 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตและหรือจำหน่ายไอน้ำ จำนวนเงินทุน 3,850.40 ล้านบาท
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกันยายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 100 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2562 ร้อยละ 51.5 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.0 (%YoY)
- เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกันยายน 2562 มีมูลค่ารวม 2,843 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2562 ร้อยละ 58.0 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 76.9 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 7 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวน 6 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกันยายน 2562 คือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าเงินลงทุน 1,190 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่าเงินลงทุน 497 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกันยายน 2562
- การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนกันยายน 2562 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.4 (%YoY) แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก ที่ปรับตัวลดลง คือ (1) น้ำตาล ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 17.2 เนื่องจากปริมาณอ้อยลดลงร้อยละ 2.9 (4 ล้านตัน) ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลงร้อยละ 1.4 (0.21 ล้านตัน) (2) แป้งมันสำปะหลัง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.4 เนื่องจากผลผลิตลดลงด้วยภัยแล้งและโรคระบาด ประกอบกับ ผู้นำเข้าหลักอย่างจีนชะลอคำสั่งซื้อ ด้วยระดับราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง (3) ข้าวโพดหวานกระป๋อง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 31.1 ผลกระทบจากภัยแล้ง (4) ซาร์ดีนกระป๋องดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.7 และ (5) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.2
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ อาหารสัตว์สำเร็จรูป ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.9
+ การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร ในประเทศ เดือนกันยายน 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเช่นกัน ส่งผลให้การบริโภค ในประเทศมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
- ตลาดส่งออก ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนกันยายน ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สอง ร้อยละ 2.5 จากการลดลงในตลาดสหภาพยุโรป CLMV และอาเซียน สวนทางกับตลาดจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงขยายตัว ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง) ข้าว (ข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ) สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง โดยปรับตัวลดลง ร้อยละ 35.2 32.1 19.4 6.8 3.7 และ 2.3 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม น้ำตาลทราย ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว นมและผลิตภัณฑ์นม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สิ่งปรุงรส รวมทั้งผลไม้สด (ทุเรียนและลำไย) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีการผลิตและมูลค่าการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนตุลาคม น่าจะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบจากค่าเงินบาทส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดลง ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลง เช่น ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล มะพร้าว และสับปะรด แม้จะมีปัจจัยบวกจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ส่งผลให้ไก่ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนเป็นที่ต้องการมากขึ้น และแนวโน้มการกลับมาเพิ่มคำสั่งซื้อทูน่ากระป๋อง หลังจากชะลอเพื่อรอดูระดับราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลง
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 81.2 สินค้าปรับตัวที่ลดลง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น และมอเตอร์ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 38.9, 20.8, 19.3, 6.5, 6.4, 3.6, 3. 5 และ 0.3 ตามลำดับ โดยตู้เย็นและเครื่องซักผ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากมีการนำสินค้าคงคลังออกมาจำหน่ายมากขึ้นและมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนคอมเพรสเซอร์และหม้อแปลงไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากการจำหน่ายตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง กระติกน้ำร้อนและสายไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากการจำหน่ายตลาดในประเทศลดลง เตาไมโครเวฟและมอเตอร์ไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากความต้องการตลาดต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อหุงข้าว พัดลมตามบ้าน และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1, 17.3 และ 4.0 ตามลำดับ โดยเครื่องปรับอากาศมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนหม้อหุงข้าวมีการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากทดแทนสินค้าคงคลังที่มีการจำหน่ายมากขึ้นในเดือนก่อนหน้า และพัดลมตามบ้านมีการส่งออกเพิ่มขึ้น
+ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,996.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 424.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ตู้เย็น มีมูลค่า 125.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 196.7 และญี่ปุ่นร้อยละ 11.4 เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบมีมูลค่า 99.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดเกาหลีใต้และญี่ปุ่น
"คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2562 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 1.0 เนื่องจากสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า และสายไฟฟ้ามีการจำหน่ายในประเทศลดลงจากฐานการผลิตที่สูงปีที่แล้วเนื่องจากนโยบายภาครัฐนำสายไฟฟ้าลงดิน ในขณะที่สินค้าเครื่องปรับอากาศมีการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น เวียดนาม ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา"
- การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 100.4 สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ PWB, Semiconductor devices transistor, IC, HDD, Printer และ PCBA โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 21.2, 11.5, 10.3, 6.7, 6.3 และ 1.0 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวลดลง และความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,151.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา โดยวงจรรวม (IC) มีมูลค่าส่งออก 693.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.2 ส่วนสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 1,194.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.1 HDD มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.75
"คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2562 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวลดลงและความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
+ การผลิตรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 169,474 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 1.87 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.49 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์
- การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 76,195 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 5.74 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.10 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว
+ การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 97,540 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 19.61 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.36 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดโอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนตุลาคม ปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศลดลงจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
+ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 168,567 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 7.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.82 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 135,090 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 9.59 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.85 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
+ การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 36,950 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนปี 2562 ร้อยละ 7.27 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 39.95 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2562 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2561"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 18.86 เนื่องจากฝนตกชุกทำให้มีปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.53 ตามการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
- ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 19.96 เนื่องจากเงินบาท แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนสูงขึ้น จึงไม่สามารถแข่งขันได้ การจำหน่ายในประเทศ
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 9.05 ตามความต้องการใช้ที่ลดลง
+ ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.92 ตามการขยายตัวของตลาด Replacement
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.89 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 15.43 เนื่องจากจีนและอินเดียปรับลดคำสั่งซื้อจากไทยลงร้อยละ 25.54 และ 70.06 ตามลำดับ
+ ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.22 เนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกายังมีการขยายตัวที่ดี โดยขยายตัวร้อยละ 25.49
- ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 5.43 จากการชะลอตัวของตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่และปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้มียางเข้าสู่ตลาดลดลงมาก สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาด Replacement ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยตามแนวโน้มความต้องการใช้ในประเทศที่สูงขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงตามแนวโน้มการชะลอคำสั่งซื้อยางจากไทยของจีนและอินเดีย สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ในส่วนของมูลค่าการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลงจากการที่ค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า
- ดัชนีผลผลิต เดือนกันยายน 2562 ดัชนีผลผลิต มีค่า 87.85 หดตัวร้อยละ 3.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 25.61 เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 12.94 และแผ่นฟิล์มพลาสติกหดตัวร้อยละ 12.63 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ความต้องการสินค้าลดลง
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกันยายน 2562 ดัชนีการส่งสินค้า มีค่า 87.54 หดตัวร้อยละ 5.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 33.08 รองลงมาคือ กระสอบพลาสติกหดตัว ร้อยละ 29.05 และพลาสติกแผ่นหดตัวร้อยละ 10.34 การตลาด
- การส่งออก เดือนกันยายน ปี 2562 มีมูลค่า 347.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 0.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกหดตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ แถบ และรูปทรงแบบอื่น ๆ ชนิดยึดติดได้ในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 9.21 การส่งออกหดตัวเนื่องจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย มีความต้องการสินค้าลดลง
+ การนำเข้าเดือนกันยายน ปี 2562 มีมูลค่า 409.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 6.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการนำเข้าขยายตัวหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 21.52 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 17.45 และกลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 14.71
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนตุลาคม 2562 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกยังคงหดตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งภายในประเทศและตลาดคู่ค้ามีการปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ต้องติดตามราคาน้ำมันและค่าเงินบาทซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิต
+ ดัชนีผลผลิต ของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในเดือนกันยายนปี 2562 มีค่า 102.71 ขยายตัวร้อยละ 2.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.70 และกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายขยายตัวร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตขยายตัวมากในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี
+ การจำหน่าย เดือนกันยายน ปี 2562 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า 105.65 ขยายตัวร้อยละ 0.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.68 ขยายตัวจากการผลิตเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวร้อยละ 0.03 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สบู่และสารซักฟอก
+ การส่งออก เดือนกันยายนปี 2562 มีมูลค่ารวมประมาณ 694.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 350.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดขยายตัวร้อยละ 19.97 โดยขยายตัวในตลาดหลัก เช่น เวียดนามและจีน
+ การนำเข้า เดือนกันยายน 2562 มีมูลค่ารวม 1,262.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่า 490.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว เช่น เครื่องสำอาง ขยายตัวร้อยละ 27.81 และปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 9.78 โดยการนำเข้าเคมีภัณฑ์ขั้นปลายในตลาดหลักที่ขยายตัว เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้มในเดือนตุลาคม ปี 2562 การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คาดว่าจะชะลอตัว อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกเคมีภัณฑ์ของไทย
+ ดัชนีผลผลิต เดือนกันยายน ปี 2562 ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเม็ดพลาสติก ได้แก่ Propylene และ Ethylene เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.76 และ 8.44 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ขั้นปลายจะนำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ทั้งแบบขึ้นรูปและแบบฟิล์ม ได้แก่ EPS resin, PE resin และ PP resin เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.47 12.27 และ 11.88 ตามลำดับ
+ ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกันยายน ปี 2562 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานจะนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเม็ดพลาสติก ได้แก่ Propylene และ Toluene เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.28 และ 13.70 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายนำไปใช้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์/เครื่องใช้ไฟฟ้าและบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ SAN resin, PS resin และ PVC resin เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.57 21.63 และ 14.15 ตามลำดับ
- การส่งออก เดือนกันยายน ปี 2562 มีมูลค่า 933.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ส่วนมากนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตเส้นใยสังเคราะห์และยางสังเคราะห์ ได้แก่ Para-Xylene, Terephthalic Acid และ ButaDiene ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง นำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารและชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ PE resin, PP resin, PC resin และ PET resin ทั้งนี้ในภาพรวมมีสัดส่วนของการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน (35.74%) อินโดนีเซีย (9.91%) เวียดนาม (8.73%) ญี่ปุ่น (8.06%) และอินเดีย (7.90%) เป็นต้น
- การนำเข้า เดือนกันยายน ปี 2562 มีมูลค่า 417.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่มีมูลค่านำเข้าลดลง ส่วนมากนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต PVC และเส้นใยสังเคราะห์ ได้แก่ Vinyl Chloride, Acetic Acid และ Ethylene Glycol ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายที่มีมูลค่านำเข้าลดลง ส่วนมากนำไปใช้ผลิตยางสังเคราะห์และเส้นใยสังเคราะห์ ได้แก่ BR rubber, SR rubber, Nylon resin และ PES resin ทั้งนี้ในภาพรวมมีสัดส่วนการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (17.31%) เกาหลีใต้ (14.02%) จีน (12.76%) สิงคโปร์ (11.91%) และสหรัฐอเมริกา (10.36%) เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้มในเดือนตุลาคม ปี 2562 คาดว่าการส่งออกและนำเข้าจะลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะส่งผลต่อราคาปิโตรเคมี
- ดัชนีผลผลิต ในเดือนกันยายนปี 2562 มีค่า 86.49 ลดลงร้อยละ 19.0 (ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง (โดยการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value : LTV) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 ส่งผลให้ยอดจำหน่ายและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลง) อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า (จากความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงจากการชะลอตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในส่วนของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก เช่น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น) โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับลดลงทั้งสองผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 95.0 ลดลงร้อยละ 8.2 (ลดลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3) จากการผลิตเหล็กลวด ลดลงร้อยละ 24.4 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และเหล็กเส้นกลม ลดลงร้อยละ 19.5 และ 8.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 77.7 ลดลงร้อยละ 29.4 (ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4) จากการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 41.7 รองลงมา คือ เหล็กแผ่น รีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลงร้อยละ 28.4 และ 26.0 ตามลำดับ
- การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีปริมาณการจำหน่าย 1.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยการจำหน่ายในประเทศปรับลดลงทั้งสองผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.5 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 28.8 โดยการจำหน่ายเหล็กเส้นและ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ลดลงร้อยละ 40.9 ผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณการจำหน่าย 0.8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 14.2 โดยการจำหน่ายเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลงร้อยละ 31.1 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นบาง รีดเย็น ลดลงร้อยละ 19.4 และ 16.6 ตามลำดับ
- การนำเข้า ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 4.7 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Stainless Steel ลดลงร้อยละ 52.2 (ประเทศหลักที่นำเข้าลดลง คือ เกาหลีใต้ และไต้หวัน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel P&O และ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel ลดลงร้อยละ 27.4 และ 24.2 ตามลำดับ แต่กลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Alloy Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 122.7 (ประเทศหลักที่นำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท Carbon Steel และเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 116.5 และ 54.6 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2562 คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมก่อสร้างจากการซ่อมแซมอาคาร และที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ลดลง ร้อยละ 1.10 และ 11.42 เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า รวมถึงความต้องการบริโภคในประเทศลดลง จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำเพื่อเป็นสต๊อกสินค้าลง
+ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.55 จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 13.47 15.47 และ 21.02 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตสินค้าทั้งเพื่อการส่งออกและการบริโภคในประเทศลดลง ประกอบกับมีการนำเข้าเสื้อผ้าแฟชั่นจากจีนที่มีราคาถูกกว่า
- เส้นใยสิ่งทอ มูลค่าลดลง ร้อยละ 13.77 โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีน ซึ่งสั่งซื้อเส้นใยสิ่งทอจากไทยลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดโลกโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาลดลง
+ ผ้าผืน และ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.91 และ 7.26 จากการขยายตัวของการส่งออก ผ้าผืนไปยังเมียนมา และบังคลาเทศ ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวจากกลุ่มเสื้อผ้าสุภาพบุรุษและสตรี ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน จะชะลอตัวตามแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะลดลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้การค้า การลงทุน ในตลาดดังกล่าวชะลอตัว มีผลต่อภาคการผลิตซึ่งจะทำให้มีความต้องการวัตถุดิบจากไทยลดลง อย่างไรก็ตาม ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวได้ในกลุ่มที่สามารถยกระดับไปรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างประเทศ
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 6.83 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 7.24 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.78 (%YoY)
- การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศในเดือนกันยายน ปี 2562 มีปริมาณการจำหน่าย 2.77 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 2.50 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.19 (%YoY) จากภาวะตลาดที่ชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ และเกิดน้ำท่วมหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
+ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 1.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 18.09 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.22 (%YoY) เนื่องจากตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาว ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อ ร้อยละ 71.74 และ 48.27 ตามลำดับ ประกอบกับประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา ที่เคยลดคำสั่งซื้อลงไปกลับมาเพิ่มคำสั่งซื้อเป็นจำนวนมากในเดือนนี้
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนตุลาคม ปี 2562 มีแนวโน้มหดตัวลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและอสังหาริมทรัพย์ที่ปลูกสร้างแล้วเหลือขายค่อนข้างมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด
- การผลิตซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 3.23 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 4.70 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.26 (%YoY)
- การจำหน่ายซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)ภายในประเทศเดือนกันยายน ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.76 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 2.82 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.83 (%YoY)
+ การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน ปี 2562 มีจำนวน 0.45 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2562 ร้อยละ 14.41 (%MoM) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.43 (%YoY) ซึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มคำสั่งซื้อจาก สปป.ลาว และกัมพูชา ร้อยละ 48.38 และ 31.61 และเป็นผลจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นตลาดส่งออกหลักที่เคยลดคำสั่งซื้อ ลงไปกลับมาเพิ่มคำสั่งซื้อมากในเดือนนี้
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม ปี 2562 ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้แต่เป็นไปในลักษณะที่ชะลอตัวลง เนื่องจากความต้องการอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม