ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 11.25 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนธันวาคม 2562 การผลิตหดตัว ร้อยละ 4.4 เดือนมกราคม 2563 หดตัวร้อยละ 4.0 และเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 4.2
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนธันวาคม 2562 เดือนมกราคม 2563 และเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนธันวาคม 2562 ขยายตัว ร้อยละ 1.8 เดือนมกราคม 2563 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 2.9
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมีนาคม 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
- น้ำตาล หดตัวร้อยละ 68.9 จากปีนี้โรงงานน้ำตาลปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน (ปีก่อนปิดหีบ 8 พฤษภาคม 2562 ปีนี้ปิดหีบ 29 มีนาคม 2563) โดยปริมาณอ้อยมีน้อยกว่าปีก่อนจากปัญหาภัยแล้งทำให้ผลผลิตต่อตันอ้อยต่ำกว่าปีก่อน
- รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 24.6 จากตลาดส่งออกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนตลาดในประเทศผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย
- การกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 8.7 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และรุนแรงขึ้นในเดือนมีนาคม ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันเครื่องบินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วซึ่งใช้ในการเดินทางลดลง
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมีนาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จากคำสั่งผลิตเพิ่มขึ้นหลังห่วงโซ่การผลิตในจีนมีปัญหา รวมถึงการปิดฐานการผลิตที่มาเลเซียและฟิลิปปินส์
- เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากการส่งออกไปญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซียที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มจากลูกค้าของประเทศคู่แข่งที่ขาดชิ้นส่วนในการผลิต
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมีนาคม 2563
- การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่า 1,440.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลวยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น
+ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่า 7,206.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากสินค้าอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
+ โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 263 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ร้อยละ 59.39 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.59 (%YoY)
+ มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่ารวม 14,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ร้อยละ 73.37 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 49.96 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 24 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกัน จำนวน 18 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 1,765.21 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการเก็บรักษา พืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืชในไซโล โกดังหรือคลังสินค้า จำนวนเงินทุน 1,753.64 ล้านบาท
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมีนาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 62 ราย ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ร้อยละ 12.68 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 61.01 (%YoY)
- เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่ารวม 17,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ร้อยละ 1.96 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 937.73 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2563 คือ อุตสาหกรรม การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 7 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 3 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมีนาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการอบใบยาสูบให้แห้ง หรือการรูดก้านใบยาสูบ มูลค่าเงินลงทุน 14,789 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ มูลค่าเงินลงทุน 700 ล้านบาท"
- การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนมีนาคม 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.9 (%YoY) ปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์ภัยแล้ง แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก ที่ดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง อาทิ (1) น้ำตาลทราย ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 68.9 เนื่องจากภัยแล้ง ส่งผลให้โรงงานปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน (ปี 2563 ปิดหีบวันที่ 20 มี.ค.63 ขณะที่ปีก่อนปิดหีบวันที่ 8 พ.ค. 62) โดยผลผลิตน้ำตาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 43.27 (2) สับปะรดกระป๋อง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 10.2 ด้วยวัตถุดิบที่ลดลงทำให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 13.5 จากตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และเยอรมนี (3) กุ้งและปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.6 จากการชะลอตัวของการบริโภคในตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ด้วยผลกระทบจากเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ทวีความรุนแรง ทำให้ต้องมีการปิดประเทศ ความต้องการบริโภคลดลง ประกอบกับอุปสรรคในการขนส่ง
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ ที่ดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง คือ น้ำมันปาล์มปรับตัวลดลง ร้อยละ 21.7 ผลกระทบจากภัยแล้ง ประกอบกับความต้องการบริโภคในประเทศชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารได้รับอานิสงส์จากการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลดัชนีผลผลิตหลายรายการเพิ่มขึ้น ดังนี้ (1) อาหารสำเร็จรูป อาทิ ทูน่ากระป๋อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 และ 7.8 ตามลำดับ (2) ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.8 รวมทั้ง การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
+ การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร ในประเทศ เดือนมีนาคม 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ตามความต้องการสำรองอาหาร จากความกังวลของการระบาดของโรคเชื้อไวรัส Covid-19
+ ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนมีนาคม มีมูลค่า 2,706.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 0.8 จากความต้องการบริโภคและสำรองอาหารด้วยความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ทวีความรุนแรงส่งผลให้เกิดการปิดประเทศ อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง น้ำตาลทราย สับปะรดกระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จ สิ่งปรุงรส และมันเส้น รวมทั้ง มูลค่าการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ปริมาณจะปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 18.7
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าเดือนเมษายนดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน และสับปะรด ส่วนมูลค่าการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร น่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศ ที่เร่งผลิตเพื่อสำรองช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นด้าน Food Safety อายุการเก็บรักษา ตลอดจนความสะดวกในการขนส่งและกระจายสินค้า และสะดวกในการประกอบอาหารอย่างง่าย รวมทั้งตลาดต่างประเทศที่ต้องการสต๊อกสินค้าจากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดดังกล่าว
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
+ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 116.4 สินค้าปรับตัวที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เครื่องปรับอากาศ และเตาอบไมโครเวฟ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7, 19.7, 8.6, 4.8 และ 1.6 ตามลำดับ โดยเครื่องปรับอากาศและหม้อแปลงไฟฟ้า มีการจำหน่าย ในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนสายเคเบิ้ลและสายไฟฟ้าการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลมตามบ้าน หม้อหุงข้าว และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.1, 17.9, 15.5, 15.2, 2.4 และ 0.2 ตามลำดับ โดยพัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้า มีการผลิตลดลงเนื่องจากมีคำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศลดลง ตู้เย็นมีการผลิตลดลงเนื่องจากมีการจำหน่ายตลาดในประเทศลดลง
- การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2,118.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นที่มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ มีมูลค่า 107.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.7 ในขณะที่ตลาดจีน สหรัฐอเมริกา อาเซียนและยุโรป มีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 553.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 หม้อหุงข้าว เตาย่างและเตาอบย่างมูลค่า 31.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7
"คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2563 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกายังปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าให้เกิดการชะลอตัวและเกิดความไม่แน่นอนทางด้านอุปสงค์"
+ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 100.1 สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ Semiconductor devices transistor, HHD และ PCBA โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0, 13.7และ 4.7 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer และ IC โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 29.6 และ 1.0 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,120.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้า HDD มีมูลค่า 1,209.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.9 ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป ส่วน IC มีมูลค่า 599.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.4 เนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียนและยุโรป มีคำสั่งซื้อลดลง
"คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2563 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีความต่อเนื่องส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ Work From Home และสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล จึงทำให้เกิดความต้องการใช้ Hard Disk Drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ที่เพิ่มขึ้น"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
- การผลิตรถยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 146,812 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 2.52 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.16 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
- การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 60,105 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 11.96 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.74 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV เนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศที่ลดลงจากการหยุดผลิตชั่วคราวตามมาตรการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ปัญหาภัยแล้งและการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า
- การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 89,795 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 5.67 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.71 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และยุโรป จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนเมษายน ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2562 เนื่องจาก ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
- การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 151,703 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 6.15 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.29 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบเอนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
+ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มียอดจำหน่ายจำนวน 146,740 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 5.57 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.54 (%YoY)จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี และ 111-125 ซีซี
+ การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 38,655 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 8.62 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.34 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศเบลเยียม จีน และญี่ปุ่น
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน ปี 2563 จะชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2562 เนื่องจาก ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 8.00 โดยเป็นการปรับลดลงในส่วนของการผลิตยางแผ่นและยางแท่ง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 7.97 ตามการชะลอตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 เนื่องจากสถานการณ์โควิค-19 ทำให้มีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้น
+ ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นสำหรับใช้ในการผลิตถุงมือยาง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 12.75 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และตลาด Replacement
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.21 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 24.73 เนื่องจากนโยบายปิดประเทศของจีนและมาเลเซีย ทำให้ไทยส่งออกได้ลดลง
- ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 5.62 ตามการชะลอตัวของตลาดมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
+ ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.12 จากการขยายตัวของตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 ทำให้จีนมีความต้องการใช้สูงขึ้นมาก และตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกหลักในสินค้าถุงมือยางของไทย
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประสบปัญหาด้านการส่งออกสินค้า ทำให้ผู้ผลิตส่วนหนึ่งไม่สามารถผลิตยางเพิ่มได้อีก เนื่องจากพื้นที่สต็อกเต็มและขาดสภาพคล่อง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ คาดว่าจะชะลอตัวตามแนวโน้มการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตลาด Replacement รวมถึงตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้น จึงมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) และยางรถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ยังยืดเยื้อ ทำให้หลายประเทศรวมถึงจีน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในสินค้าดังกล่าว มีมาตรการปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลให้ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ ในขณะที่การส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
- ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคม 2563 ค่าดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 96.31 หดตัวร้อยละ 6.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 21.86 กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 19.37 และพลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 16.53
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมีนาคม 2563 อุตสาหกรรมพลาสติกมีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 97.24 หดตัวร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 27.21 รองลงมาคือ แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 23.24 และกระสอบพลาสติกหดตัวร้อยละ 17.83
+ การส่งออก เดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่า 368.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 17.20 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) ขยายตัวร้อยละ 11.15 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นแผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3921) ขยายตัวร้อยละ 6.38 การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ เวียดนาม และอินโดนีเซีย
+ การนำเข้าเดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่า 415.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 10.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3921) ขยายตัวร้อยละ 21.22 กลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 20.77 กลุ่มผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) ขยายตัวร้อยละ 17.59
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนเมษายน 2563 คาดการณ์ว่าการผลิตจะหดตัว แต่การส่งออกจะยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลาสติก
- ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 107.88 หดตัวร้อยละ 3.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 1.45 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ 9.20 เนื่องจากตลาดมีความต้องการเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า เช่น เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 5.48 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ การผลิตสี หดตัวร้อยละ 11.13
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมีนาคม 2563 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 108.78 หดตัวร้อยละ 3.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 1.45 ขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าหดตัวร้อยละ 4.43 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์สี และปุ๋ย เป็นต้น
- การส่งออก เดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่า 691.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวทั้งในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานและเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 368.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.70 และเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 322.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.35 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เครื่องสำอาง หดตัวร้อยละ 18.76 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัว ร้อยละ 17.41 และเคมีภัณฑ์ อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 6.14 การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น
+ การนำเข้า เดือนมีนาคม 2563 มีมูลค่า 1,379.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการนำเข้า 913.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.46 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ สารลดแรงตึงผิว และสี สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 466.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.90 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าหดตัว เช่น เครื่องสำอาง และปุ๋ย เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนเมษายน 2563 การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คาดว่าจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง
+ ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคม ปี 2563 ขยายตัว ร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวในปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่เป็นสารตัวทำละลายสำหรับน้ำยาทำความสะอาด คือ Toluene ขยายตัวร้อยละ 15.91 และปิโตรเคมีขั้นปลายในกลุ่มที่นำไปใช้ผลิตเรซินสำหรับงานฉีดขึ้นรูปหรือเป็นพลาสติกผสมเพื่อปรับคุณสมบัติมากที่สุด (เช่น งานขึ้นรูปชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น) คือ ABS resin ขยายตัวร้อยละ 137.53 รองลงมาเป็นกลุ่มเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และโฟม ได้แก่ SAN resin, EPS resin, PVC resin และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 38.43, 6.42, 5.22 และ 2.72 ตามลำดับ
-
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมีนาคม ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 104.97 หดตัวร้อยละ 5.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้แก่ Ethylene และ Propylene หดตัวร้อยละ 6.60 และ 4.09 ตามลำดับ และ ปิโตรเคมีขั้นปลายในกลุ่มเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และพลาสติกอื่น ๆ ได้แก่ PP resin, ABS resin, PS resin, PVC resin และ PE resin เป็นต้น หดตัวร้อยละ 12.10, 10.95, 7.09, 6.60 และ 6.09 ตามลำดับ
-
การส่งออก เดือนมีนาคม ปี 2563 มีมูลค่า 819.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 20.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่เป็นตัวทำละลาย และสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น Para-Xylene, Terephthalic Acid, และ Toluene เป็นต้น และปิโตรเคมีขั้นปลายในกลุ่มเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตขวดน้ำดื่ม เช่น PE resin, PP resin, PC resin และ PET resin เป็นต้น
+ การนำเข้า เดือนมีนาคม ปี 2563 มูลค่า 500.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์เพิ่มขึ้น โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่เป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี เช่น Acetic Acid,Ethylene, Propylene Oxide, Butylene และ Acrylonitrile เป็นต้น และปิโตรเคมีขั้นปลายที่นำไปใช้ผลิตยางสังเคราะห์ บรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์พลาสติก และเส้นใยสังเคราะห์ เช่น BR rubber, Nylon resin, PES resin และ ABS resin เป็นต้น สำหรับผลิตหน้ากากอนามัย กระบังป้องกันหน้า (Face Shield) แว่นตานิรภัย ถุงมือยาง รองเท้าบู๊ท เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนเมษายน ปี 2563 คาดว่าการส่งออกภาพรวมจะยังคงชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อราคาสินค้าส่งออกในหมวดปิโตรเคมีให้ลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่เริ่มควบคุมได้ในหลายประเทศอาจเป็นสัญญาณที่ดีที่ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2563
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคมปี 2563 มีค่า 89.4 ลดลงร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 90.5 ลดลงร้อยละ 15.8 จากการผลิตเหล็กเส้นกลม ลดลงร้อยละ 62.4 จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง ในส่วนของการก่อสร้างภาคเอกชน ส่งผลให้การผลิตและความต้องการบริโภคลดลง รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และเหล็กลวด ลดลงร้อยละ 21.9 และ 18.0 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 83.3 ลดลงร้อยละ 16.4 จากการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 24.1 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 20.5 และ 14.8 ตามลำดับ
+ การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 1.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากการจำหน่ายเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 1.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (ทั้งชนิด HDG และ EG) เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 0.3 ตามลำดับ
+ การนำเข้า ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีปริมาณนำเข้า 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 288.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ มาเลเซีย และจีน) รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท Carbon Steel และเหล็กลวด ประเภท Alloy Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.0 และ 55.7 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ชนิด HDG เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ชนิด EG และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Stainless Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 และ 41.1 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2563 คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของฃปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และการนำเข้าเหล็กจากจีน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคา เหล็กจีนที่ถูกลงจากการสนับสนุนการส่งออกสินค้าเหล็กของรัฐบาลจีน ซึ่งต้องติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 1.15 11.40 และ 8.67 (YoY) เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำลดลงเช่นเดียวกัน
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 17.31 19.14 และ 36.51 เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากการระบาดของโรค COVID-19
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปมูลค่าลดลง ร้อยละ 17.64 12.01 และ 11.32 (YoY) เนื่องจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่กระจายไปทั่วโลกทำให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงัก ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะชะลอตัวตามภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
+ การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 7.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 2.79 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.26 (%YoY)
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 3.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 6.37 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.20 (%YoY)
- การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 1.19 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 6.45 (%MoM) และเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.35 (%YoY) เป็นผลจากการงดคำสั่งซื้อของ UAE และปรับลดคำสั่งซื้อของ สปป.ลาว
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนเมษายน ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อทำให้ยังคงส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค และส่งผลต่อความไม่มั่นใจในการขยายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ของผู้ประกอบการ
+ การผลิตซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 3.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 4.94 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.47 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) เดือนมีนาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 3.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 6.33 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.22 (%YoY)
- การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2563 มีจำนวน 0.48 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ร้อยละ 2.66 (%MoM) และเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.01 (%YoY) เป็นผลจากการงดคำสั่งซื้อของ UAE และปรับลดคำสั่งซื้อของ สปป.ลาว
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อทำให้ยังคงส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค และส่งผลต่อความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ทั้งในประเทศและตลาดส่งออกซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม