ในเดือนมีนาคม 2563 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำอาวุธ รถถัง ยานรบหุ้มเกราะ และอากาศยาน) หดตัวร้อยละ 6.8 โดยสินค้าที่มีการส่งออกหดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (หักทอง) เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และสิ่งทอ ทั้งนี้ การส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัวในตลาด สหรัฐอเมริกาและ อาเซียน (5) ในขณะที่ตลาดสหภาพยุโรป (27) ญี่ปุ่น จีน และ CLMV ชะลอตัวลง
ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2563 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 3.5 โดยหดตัวในตลาดจีน อาเซียน (5) สหภาพยุโรป (27) และญี่ปุ่น แต่ยังคงขยายตัวในตลาดสหรัฐอเมริกา และ CLMV
เดือนมีนาคม 2563 การส่งออกรวมมีมูลค่า 22,404.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าสำคัญ อาทิ สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าส่งออก 1,869.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.85 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าส่งออก 1,667.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.72 ด้านสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออก 18,233.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.37 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่าส่งออก 16,974.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.39 ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัว เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และสิ่งทอ เป็นต้น
ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2563 การส่งออกรวมมีมูลค่า 62,672.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.0 และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 46,953.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.5
การนำเข้ามีมูลค่ารวม 20,812.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.25 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 8.96 สินค้าทุนหดตัวร้อยละ 5.49 โดยสินค้าทุนที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องใช้เกี่ยวกับการแพทย์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 4.72 ตามการนำเข้าอุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลง
ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2563 การนำเข้ามีมูลค่า 58,738.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.9
ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2563 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 3.5 โดยหดตัวในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27) ญี่ปุ่น อาเซียน (5) และCLMV แต่ยังคงขยายตัวในตลาดจีนที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ในเดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 3,244.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ 17.6 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และจีน
ภาพรวมการส่งออกเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากการส่งออกคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และสวนประกอบไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จีน เม็กซิโก และเวียดนาม
ในเดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 2,229.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการส่งออกหดตัว เช่น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 14.5 จากการส่งออกไปประเทศอินเดีย จีน และอาเซียน (5)
ภาพรวมการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 0.9 จากการส่งออกไปประเทศจีน ออสเตรเลีย อาเซียน (5) และฮ่องกง
ในเดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 662.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกไปประเทศจีน ญี่ปุ่น อาเซียน (5) CLMV ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกาที่หดตัว ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน มี.ค. 2563 เป็นการปรับลดลงทั้งทางด้านราคาและปริมาณโดยดัชนีราคาส่งออกเม็ดพลาสติกหดตัวร้อยละ 11.5 และปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกมีปริมาณ 533.4 ล้านกิโลกรัมหดตัวร้อยละ 9.3
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 16.3 และการส่งออกในรูปปริมาณมีปริมาณ 1,534.1 ล้านกิโลกรัม หดตัวร้อยละ 15.2
ในเดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 2,727.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบที่หดตัวร้อยละ 28.7 จากการส่งออกไปออสเตรเลีย เวียดนาม และอาเซียน (5)
ภาพรวมการส่งออกยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 8.1 จากการส่งออกไปยัง ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม และมาเลเซีย
ในเดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 523.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มหดตัวทั้งสินค้าต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยด้ายและเส้นใยประดิษฐ์หดตัวร้อยละ 11.8 ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 11.9 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 11.3 จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน CLMV และอาเซียน (5)
ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 5.2 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริก CLMV จีน และอาเซียน (5)
ในเดือน มี.ค. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 437.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 25.3 จากการส่งออกเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง อัญมณีประเภทเพชรและพลอยที่หดตัวร้อยละ 33.3 20.7 และ30.6 ตามลำดับ ไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม กาตาร์ และตะวันออกกลาง (15) การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 1,696.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 72.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป
ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำแท่ง) ในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 20.2 จากการส่งออกอัญมณีประเภทเพชร พลอยและเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม