ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 17.21 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมกราคม การผลิตหดตัวร้อยละ 4.0 เดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 4.2 และเดือนมีนาคม หดตัวร้อยละ 10.5
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมกราคม ขยายตัว ร้อยละ 5.1 เดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 2.9 และเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 2.7
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
- รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 81.7 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลง และโรงงานต้องหยุดการผลิตชั่วคราว
- การกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 19.3 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาครัฐออกมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการเดินทางขนส่งลดลงไปมาก
- เบียร์ หดตัวร้อยละ 82.4 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาครัฐประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทในช่วงเดือนเมษายน 2563 รวมถึงมีการปิดร้านอาหารและสถานบริการแบบนั่งดื่มเพื่อลดการรวมตัวกัน
- อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนเมษายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ตามความต้องการใช้ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของรัฐ รวมถึงจำนวนวันทำงานที่มากกว่าปีก่อนหลังการประกาศเลื่อนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์
- เภสัชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า จากวันทำงานที่มากกว่าปีก่อน หลังประกาศเลื่อนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนเมษายน 2563
- การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 1,247.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ ฐานหุ่น แบบหล่อขยายตัวเพิ่มขึ้น
- การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 6,963.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากสินแร่โลหะ (ทองแดง) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย เป็นต้น
- โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 228 โรงงาน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 ร้อยละ 13.31 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.69 (%YoY)
+ มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่ารวม 12,745 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 ร้อยละ 9.62 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.88 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2563 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 25 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 13 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2563 คือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการถลุง หล่อ หลอม รีด ดึง หรือผลิตเหล็ก หรือเหล็กกล้า จำนวนเงินทุน 2,000 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น จำนวนเงินทุน 1,691 ล้านบาท
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนเมษายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 72 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2563 ร้อยละ 16.13 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.2 (%YoY)
+ เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่ารวม 1,351 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 ร้อยละ 92.15 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 92.23 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2563 คือ อุตสาหกรรม การดูดทราย จำนวน 10 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 9 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนเมษายน 2563 คือ อุตสาหกรรมการต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช มูลค่าเงินลงทุน 148 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือการแปรรูปไม้ มูลค่าเงินลงทุน 119 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนเมษายน 2563
+ การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนเมษายน 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (%YoY) เป็นผลมาจากความต้องการกักตุนอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 แบ่งเป็น
1) สินค้าอิงตลาดส่งออก : ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 5.8 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน (2) ปลาทูน่ากระป๋อง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 37.2 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น (3) ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 14.6 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น กัมพูชา (4) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 22.1 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน เนเธอร์แลนด์ อเมริกา (5) สัปปะรดกระป๋อง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 10.6 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ อเมริกา เยอรมัน รัสเซีย ประกอบกับฐานที่ค่อนข้างต่ำในปีก่อน (6) อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 14.0 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ อเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ (7) แป้งมันสำปะหลัง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 8.3 เนื่องจากการมียอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากจีน ไต้หวัน อเมริกา ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีผลผลิตในภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากดัชนีผลผลิตของน้ำตาลลดลงอย่างมาก (YoY) ถึงร้อยละ 36.0 โดยมีสาเหตุมาจากผลกระทบจากภัยแล้ง
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ : ดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง คือ น้ำมันปาล์มปรับตัวลดลง (YoY) ร้อยละ 13.37 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในภาคการขนส่งลดลง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการน้ำมันปาล์มในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ลดลงทันที
+ การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร ในประเทศเดือนเมษายน 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 10.97 ตามความต้องการสำรองอาหารและความกังวลของการระบาดของโควิด-19
+ ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนเมษายน มีมูลค่า 2,985.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 6.4 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ในจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เริ่มคลี่คลาย ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ดังนั้น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งซึ่งเป็นอาหารพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้นในกลุ่มประเทศดังกล่าว ขณะเดียวกันจากมาตรการล็อคดาวน์ของอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส ส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปที่เก็บรักษาได้นาน อาทิ ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จ ยังคงมีมูลค่าการส่งออกสูงทั้งในประเทศที่สถานการณ์ดีขึ้นและประเทศที่ยังประสบปัญหาการแพร่ระบาด
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าเดือนพฤษภาคมดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการบริโภคอาหารทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการคลายมาตรการล็อคดาวน์ของสถานการณ์โควิด-19 และการฟื้นตัวของกำลังซื้อจากต่างประเทศ สำหรับ
มูลค่าการส่งออกในภาพรวม คาดว่าจะเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม หลังจากสถานการณ์โควิด-19 การส่งออกสินค้าในต่างประเทศจะมีความเข้มงวดด้านมาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 77.4 สินค้าปรับตัวลดลง ได้แก่ พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ สายเคเบิ้ล ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน มอเตอร์ไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 52.2, 41.9, 34.8, 32.1, 32.1, 22.0, 20.5, 18.6 และ 6.4 ตามลำดับ โดยพัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาอบไมโครเวฟ และหม้อหุงข้าว มีการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศลดลง กระติกน้ำร้อนและมอเตอร์ไฟฟ้ามีการจำหน่ายในประเทศลดลง ส่วนสายเคเบิ้ล มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และคอมเพรสเซอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.1, 17.6 และ 5.8 ตามลำดับ โดยสายไฟฟ้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีคำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น หม้อแปลงไฟฟ้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการจำหน่ายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนคอมเพรสเซอร์ผลิตเพื่อทดแทนสินค้าคงคลัง
- การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,685.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่นที่มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ มีมูลค่า 61.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.7 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 359.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.2 ในขณะที่ตลาดจีน ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา มีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 200.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3 เครื่องพักกระแสไฟฟ้า มูลค่า 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5
"คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2563 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าให้เกิดการชะลอตัวและเกิดความไม่แน่นอนทางด้านอุปสงค์ จากมาตรการ Social Distancing"
+ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistor, PCBA และ IC โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6, 10.7 และ 8.2 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ HHD และ Printer โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 15.1 และ 9.0 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดต่างประเทศลดลง
+ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมีมูลค่าการส่งออก 2,562.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้า Semiconductor devices transistor มีมูลค่า 227.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.1 และ IC มีมูลค่า 597.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ส่วน HDD มีมูลค่า 723.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.2 เนื่องจากตลาดญี่ปุ่น มีคำสั่งซื้อลดลง
"คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2563 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ Work From Home และสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล จึงทำให้เกิดความต้องการใช้ Hard Disk Drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ที่เพิ่มขึ้น"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
- การผลิตรถยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 24,711 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 83.17 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 83.55 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
- การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 30,109 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 49.91 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 65.02 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการ Lock down เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ความต้องการในการเดินทางลดลง ส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อรถยนต์ รวมทั้งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และการหยุดการผลิตชั่วคราวของโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม
- การส่งออกรถยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 20,326 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 77.36 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 69.71 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปี 2562 เนื่องจาก ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
- การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 63,517 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 58.13 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 53.08 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มียอดจำหน่ายจำนวน 78,873 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 46.25 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 34.49 (%YoY)จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาดน้อยกว่า 50 ซีซี, 51-110 ซีซี 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี, 251-399 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 13,885 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 64.08 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 44.08 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปี 2562 เนื่องจาก ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 6.08 โดยเป็นการปรับลดลงในส่วนของการผลิตยางแท่งและน้ำยางข้น
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 36.92 ตามการชะลอตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.84 เนื่องจากสถานการณ์โควิค-19 ทำให้มีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้น
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 8.80 โดยเป็นการปรับลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่ลดลง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 43.40 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาด Replacement
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.10 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.74 เนื่องจากจีนยังมีความต้องการใช้ยางแปรรูปขั้นปฐมจากไทยลดลงตามสถานการณ์การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศที่ยังชะลอตัว
- ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 32.02 ตามการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา
+ ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.78 จากการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศส่งออกสินค้าได้ลดลงมาก ทำให้พื้นที่สต็อกเต็มและขาดสภาพคล่อง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ คาดว่าจะชะลอตัวตามแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดส่งออกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์รวมถึงตลาด Replacement ในประเทศ ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้นมาก จึงมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) และยางรถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ ทำให้ภาคการผลิตรวมถึงภาวะทางเศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงจีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในสินค้าดังกล่าวชะลอตัว ทั้งนี้ จากกรณีคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับสินค้ายางรถยนต์นั่งและยางรถกระบะของไทย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเวียดนาม ทำให้ไทยอาจประสบปัญหาการส่งออกสินค้ายางรถยนต์ได้ในระยะต่อไป สำหรับการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
+ ดัชนีผลผลิต เดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ 92.60 หรือขยายตัวร้อยละ 4.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในกลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ กระสอบพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 18.04 ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 14.85 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.17
+ ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ 91.92 หรือขยายตัวร้อยละ 2.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์กระสอบพลาสติก ขยายตัว ร้อยละ 16.78 ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 3.16 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 0.87
- การส่งออก เดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 301.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 9.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) หดตัวร้อยละ 56.19 กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 33.86 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่นอื่น ๆ (HS 3921) หดตัวร้อยละ 21.43 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ (HS 3926) หดตัวร้อยละ 17.37 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มพลาสติก (HS 3919) หดตัวร้อยละ 13.91 แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัว ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยพลาสติก (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 68.30 และกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้า รวมทั้งจุก ฝา และที่ปิดครอบอื่น ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก (HS 3923) ขยายตัวร้อยละ 5.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
+ การนำเข้าเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 430.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 8.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้า รวมทั้งจุก ฝา และที่ปิดครอบอื่น ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก (HS 3923) ขยายตัวร้อยละ 18.15 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 17.13 กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นพลาสติก (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 11.96 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่นอื่น ๆ (HS 3921) ขยายตัวร้อยละ 10.43 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ (HS 3926) ขยายตัวร้อยละ 8.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าการผลิต และการส่งออกในภาพรวมจะยังคงชะลอตัวจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลาสติก
+ ดัชนีผลผลิต เดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ระดับ102.89 ขยายตัวร้อยละ 5.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 1.50 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่ โซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 9.59 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตผงซักฟอก และการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 6.42 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด ได้แก่ การผลิตสบู่ และสารซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 17.11
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2563 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 91.11 หดตัวร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 17.23 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าหดตัวร้อยละ 2.98 หดตัว ในผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี และผลิตภัณฑ์สี เป็นต้น
- การส่งออก เดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 614.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวทั้งในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานและเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก319.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.00 และเคมีภัณฑ์ ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 294.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.42 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น ปุ๋ย หดตัวร้อยละ 24.80 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัว ร้อยละ 31.38 และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัว ร้อยละ 18.39 การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย จีน และเวียดนาม เป็นต้น
+ การนำเข้า เดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 1,352.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า การนำเข้า 846.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.56 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 506.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.94 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าหดตัว เช่น เครื่องสำอาง และปุ๋ย เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนพฤษภาคม 2563 การผลิตอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คาดว่าจะขยายตัว แต่การส่งออกคาดว่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง
- ดัชนีผลผลิต เดือนเมษายน ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 109.49 หดตัวร้อยละ 3.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดในตัวปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตเม็ดพลาสติก คือ Ethylene หดตัวร้อยละ 3.79 และปิโตรเคมี ขั้นปลายในกลุ่มเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตโฟม บรรจุภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ EPS resin, PE resin, PP resin, PS resin และ PVC resin หดตัวร้อยละ 15.91, 6.43, 5.74, 3.99 และ 2.13 ตามลำดับ
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 104.97 หดตัวร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้แก่ Ethylene และ Propylene หดตัวร้อยละ 2.62 และ 0.24 ตามลำดับ และ ปิโตรเคมี ขั้นปลายในกลุ่มเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตโฟม บรรจุภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ EPS resin, PS resin, PVC resin และ PE resin เป็นต้น หดตัวร้อยละ 28.42, 18.25, 9.08 และ 4.51 ตามลำดับ
- การส่งออก เดือนเมษายน ปี 2563 มีมูลค่า 742.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 29.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็นตัวทำละลาย และสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น Para-Xylene, Terephthalic Acid, Benzene และ Toluene เป็นต้น และปิโตรเคมีขั้นปลายในกลุ่มเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น PE resin, PP resin, PC resin, PET resin และ PVC resin เป็นต้น
- การนำเข้า เดือนเมษายน ปี 2563 มูลค่า 440.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็นตัวทำละลาย และสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น Para-Xylene, Acetic Acid, Ethylene และ Styrene เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ที่นำไปผลิตเส้นใยสังเคราะห์ อะคริลิค และยางสังเคราะห์ เช่น Nylon resin, PMMA resin, PES resin และ BR rubber เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนพฤษภาคม ปี 2563 คาดว่าการส่งออกภาพรวมจะยังคงชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อราคาสินค้าส่งออกในหมวดปิโตรเคมีให้ลดลงตามไปด้วย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่ยังไม่ชัดเจน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายนปี 2563 มีค่า 79.6 หดตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 85.7 หดตัวร้อยละ 4.3 จากการผลิตเหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 43.7 เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 19.1 และ 10.8 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 67.1 หดตัวร้อยละ 25.7 จากการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 38.4 เนื่องจาก 1) การชะลอของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และ 2) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ เช่น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 29.5 และ 15.8 ตามลำดับ
+ การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 1.5 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากการจำหน่ายเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 16.9 เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 0.04 แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 5.9 จากการบริโภคเหล็กแผ่นหนารีดร้อน หดตัวร้อยละ 55.7 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 1.2 และ 0.3 ตามลำดับ
- การนำเข้า ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีปริมาณนำเข้า 1.0 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าหดตัวทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 3.9 จากการนำเข้าเหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 44.0 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel และเหล็กเส้น ประเภท Stainless Steel หดตัวร้อยละ 32.2 และ 27.0 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 1.4 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel ลดลงร้อยละ 78.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดเย็น และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 66.8 และ 55.4 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2563 คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาเหล็กที่ถูกกว่า เช่น ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กเส้น ซึ่งต้องติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 17.75 42.38 และ 3.77 (YoY) เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง 36.57 38.14 และ 24.32 เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของโรค COVID-19
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปมูลค่าลดลง ร้อยละ 44.80 38.79 และ 23.57 (YoY) เนื่องจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่กระจายไปทั่วโลกทำให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงัก ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และ ญี่ปุ่น
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
+ การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 7.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 1.14 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.18 (%YoY)
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 3.01 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 2.66 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.91 (%YoY)
- การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 0.86 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 27.14 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.55 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดและงดคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกหลักหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 เช่นเดียวกับไทย
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนพฤษภาคม ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเป็นผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ยังคงส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
+ การผลิตซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 3.40 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 3.05 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.13 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) เดือนเมษายน ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 3.01 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 2.66 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.87 (%YoY)
- การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2563 มีจำนวน 0.35 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2563 ร้อยละ 25.68 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.33 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกหลักหลายประเทศได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤษภาคม ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม