ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)หดตัวร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนเมษายน การผลิตหดตัวร้อยละ 18.2 เดือนพฤษภาคม หดตัวร้อยละ 23.8 และเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 17.8
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 24.7 เดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 2.1 และเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 4.0
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 53.3 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกอยู่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
การกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 8.1 จากน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก เป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลง
น้ำตาล หดตัวร้อยละ 57.4 เนื่องจากผลผลิตอ้อยในปีนี้มีน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายดิบที่มีอยู่นำมาแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายได้น้อยกว่าปีก่อน
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกรกฎาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 จากการเร่งผลิตชดเชยในช่วงที่มีมาตรการปิดเมืองทำให้ไม่สามารถผลิตได้เต็มที่
ปุ๋ยเคมี เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.2 จากปัญหาภัยแล้งนอกฤดูกาลในปีก่อนทำให้ความต้องการใช้มีน้อย แต่ปีนี้ฝนตกดีขึ้นในหลายพื้นที่เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวได้ตามปกติจึงมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกรกฎาคม 2563
- การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 1,076.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 33.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ และเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เป็นต้น
- การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 6,183.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากเคมีภัณฑ์ ประเภท เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะ (ทองแดง) เป็นต้น
- โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกรกฎาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 168 โรงงาน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2563 ร้อยละ 24.32 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.53 (%YoY)
+ มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่ารวม 16,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2563 ร้อยละ 73.18 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.78 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกรกฎาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 15 โรงงาน และอุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 15 โรงงานเท่ากัน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบหรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ จำนวนเงินทุน 6,499.70 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการฆ่าสัตว์ จำนวนเงินทุน 1,584.23 ล้านบาท
+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกรกฎาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2563 ร้อยละ 61.54 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 65.91 (%YoY)
+ เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่ารวม 910 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2563 ร้อยละ 67.7 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 48.45 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกรกฎาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 4 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการตัดหรือการเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ จำนวน 3 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกรกฎาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบหรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่าเงินลงทุน 539 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการตัดหรือการเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ มูลค่าเงินลงทุน 87 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกรกฎาคม 2563
- การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนกรกฎาคม 2563 ปรับตัวลดลง (YoY) ร้อยละ 2.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง รวมถึงความต้องการบริโภคสินค้าบางชนิดทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัว สำหรับสินค้าที่มีผลต่อการปรับลดของดัชนีผลผลิต มีดังนี้ (1) น้ำตาล ดัชนีปรับตัวลดลง (YoY) ร้อยละ 57.4 (2) แป้งมันสำปะหลัง ดัชนีปรับตัวลดลง (YoY) ร้อยละ 25.7 และ (3) ไก่แช่เย็นและแช่แข็ง ดัชนีปรับตัวลดลง (YoY) ร้อยละ 3.6
ทั้งนี้ หากไม่รวมน้ำตาล ภาพรวมดัชนีผลผลิตอาหารขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ผลผลิตของอาหารสำเร็จรูปและอาหารพื้นฐาน (commodity) บางชนิดยังคงได้รับอานิสงส์จากการสำรองอาหารระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง อาทิ (1) ข้าวโพดหวานกระป๋อง ดัชนีขยายตัว ร้อยละ 214 (2) สับปะรดกระป๋อง ดัชนีขยายตัว ร้อยละ 45.0 (3) น้ำมันปาล์ม ดัชนีขยายตัว ร้อยละ 14.5 (4) ทูน่ากระป๋อง ดัชนีขยายตัว ร้อยละ 11.9 และ (6) ผลิตภัณฑ์นม ดัชนีขยายตัว ร้อยละ 6.5 รวมทั้ง อาหารสัตว์เลี้ยง ดัชนีขยายตัว ร้อยละ 19.4
- การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนกรกฎาคม 2563 ปรับตัวลดลง (YoY) ร้อยละ 8.0 เป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงและมาตรการห้ามนักเดินทางต่างชาติเข้าประเทศ
- ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนกรกฎาคม มีมูลค่า 2,410.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 6.3 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ (1) น้ำตาล เนื่องจากบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่หันมาผลิตน้ำตาลส่งออกแทนการผลิตเอทานอล ขณะเดียวกันความต้องการบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกชะลอตัวลง (2) ข้าว เนื่องจากไทยเสียส่วนแบ่งทางการตลาดหลังจากที่อินเดียและเวียดนามเริ่มส่งออกได้มากขึ้น รวมถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคาส่งออกเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และ (3) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป เนื่องจากประเทศที่นำเข้า เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีความกังวลต่อการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 บนบรรจุภัณฑ์ จึงลดการนำเข้าลง
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย สับปะรด และมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน รวมถึงการชะลอตัวจากการบริโภคในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการเราเที่ยวด้วยกันที่เริ่มโครงการตั้งแต่ 18 ก.ค. -31 ต.ค. 2563 จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวและมีสภาพคล่องมากขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สินค้าสำเร็จรูปและอาหารพื้นฐานยังคงมีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหาร เนื่องจากยังมี การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2 ในบางประเทศ โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกจะขยายตัว ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง อาหารพร้อมรับประทาน นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยง
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
+ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 93.2 สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน สายเคเบิ้ล สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็นและเตาอบไมโครเวฟ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8, 26.1, 25.1, 23.7, 22.7, 19.4 และ 18.0 ตามลำดับ โดยตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อนและหม้อหุงข้าว มีการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนหม้อแปลง สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล มีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน หม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศและมอเตอร์ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 36.5, 8.9, 5.2, 4.5 และ 2.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากในประเทศและต่างประเทศลดลง
- การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,914.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดอาเซียนและญี่ปุ่นที่มีการสั่งซื้อเตาหม้อแปลงไฟฟ้า มีมูลค่า 8.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44.8 และจากตลาดจีน อาเซียนและญี่ปุ่น มีคำสั่งซื้ออุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 10.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.0 ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 19.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ในตลาดจีนและญี่ปุ่น และเครื่องซักผ้า มูลค่า 83.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ในตลาดสหรัฐอเมริกา
"คาดการณ์การผลิตเดือนสิงหาคม 2563 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากหลายประเทศเริ่มมีการปรับตัวและมีมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มมีการขับเคลื่อนทำให้มีความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น"
- การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 87.2 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA, PWB, HDD, IC และ Printer โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 28.3, 12.2, 6.5, 4.1 และ 1.6 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistor โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,802.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้า PCBA มีมูลค่า 105.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.9 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา จีนและยุโรป และ IC มีมูลค่า 547.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.4 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อาเซียนและยุโรป ในขณะที่สินค้า Semiconductor devices transistor มีมูลค่า 135.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 เนื่องจากสหรัฐอเมริกา อาเซียน จีนและยุโรป มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น
"คาดการณ์การผลิตเดือนสิงหาคม 2563 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวโดยประเทศคู่ค้ามีการชะลอการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตามหลายประเทศเริ่มมีการปรับตัวและมีมาตรการผ่อนคลาย ล็อกดาวน์ทำให้วัฏจักรของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
+ การผลิตรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 89,336 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 24.59 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 47.71 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
+ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 59,335 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 2.22 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.79 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์ในประเทศมีการฟื้นตัวจากเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายการล็อกดาวน์ มีการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งโรงงานเริ่มกลับมาเดินเครื่องการผลิตรถยนต์
- การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 49,564 คัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 0.97 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 39.67 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนสิงหาคม ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ปี 2562 เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
+ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 119,008 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 56.96 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.74 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
+ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มียอดจำหน่ายจำนวน 137,023 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 9.59 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.87 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี 111-125 ซีซี, 251-399 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 14,036 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 46.32 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.49 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหราชอาณาจักร เมียนมา และเกาหลีใต้
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ปี 2562 เนื่องจาก ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 18.65 โดยเป็นการปรับลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศที่ลดลง และมีฝนตกชุกในพื้นที่กรีดยาง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 20.82 ตามการชะลอตัวของตลาดทั้งในประเทศและส่งออก
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.95 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้น
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 8.99 โดยเป็นการหดตัวในผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควันและยางแท่งตามความต้องการใช้ที่ลดลง
- ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 17.76 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาด Replacement
+ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.63 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 54.15 ตามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ยางแท่งจากไทยของจีนที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก
- ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.20 ตามการชะลอตัวของตลาดซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น และกัมพูชา ในขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวที่ดีจากการเร่งนำเข้าผลิตภัณฑ์ ยางรถยนต์จากไทยก่อนการเรียกเก็บอากรชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563
+ ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.70 จากการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากมีแนวโน้มความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศลดลงค่อนข้างมาก ประกอบกับฝนที่ตกชุกในพื้นที่กรีดยางทำให้มีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะหดตัวตามแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ ทั้งในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์และตลาด Replacement รวมถึงการชะลอตัวของตลาดส่งออกบางแห่ง อาทิ ตลาดญี่ปุ่น ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะมีการขยายตัวที่ดี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ภาคการผลิตในหลายประเทศโดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยในสินค้าดังกล่าวชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการเร่งนำเข้าเพื่อกักตุนสินค้าก่อนการเรียกเก็บอากรชั่วคราวซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาความเสียหายเบื้องต้น กรณีการไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) กับสินค้ายางรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเล็กของไทยในสหรัฐอเมริกา ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
- ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม 2563 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 84.74 หดตัวร้อยละ 9.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 29.55 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 20.48 และพลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 15.21
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกรกฎาคม 2563 อุตสาหกรรมพลาสติกมีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 85.77 หดตัวร้อยละ 10.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นฟิลม์พลาสติก หดตัวร้อยละ 24.01 รองลงมาคือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัว ร้อยละ 23.67 และพลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 19.11
- การส่งออก เดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 327.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 10.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกหดตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 25.26 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก (HS 3926) หดตัวร้อยละ 21.26 และพลาสติกปูพื้น (HS 3918) หดตัวร้อยละ 14.93 การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และฟิลิปปินส์
- การนำเข้าเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 368.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 16.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 42.33 กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 25.47 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติด ในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 20.72
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนสิงหาคม 2563 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงหดตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลาสติก
+ ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 99.93 ขยายตัวร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 21.32 ผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 25.46 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 8.53 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด ได้แก่ การผลิตปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 48.23 เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ตามปกติ ส่งผลให้มีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น
+ ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกรกฎาคม 2563 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 104.31 ขยายตัวร้อยละ 3.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 22.61 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์โซดาไฟ และเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวร้อยละ 12.17 ขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี สบู่และสารซักฟอก เป็นต้น
- การส่งออก เดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 656.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวทั้งในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานและเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 362.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.07 และเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 294.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.05 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น สี หดตัวร้อยละ 65.32 และเครื่องสำอาง หดตัวร้อยละ 26.40 การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่นและเวียดนาม เป็นต้น
- การนำเข้า เดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 1,065.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการนำเข้า 641.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 22.23 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 423.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 24.89 ทั้งนี้ การนำเข้าหดตัวในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนสิงหาคม 2563 การผลิตคาดว่าจะขยายตัว แต่การส่งออกคาดว่าจะหดตัวอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง
+ ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 110.41 หรือหดตัวร้อยละ 3.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 1.95 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene, Propylene และ Ethylene หดตัวร้อยละ 11.37, 2.96 และ 1.97 และปิโตรเคมี ขั้นปลาย ได้แก่ PP resin, PVC resin, PET resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 15.13, 12.23, 0.85 และ 0.67 ตามลำดับ
- ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 106.30 หรือหดตัวร้อยละ 5.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene, Benzene และ Ethylene หดตัวร้อยละ 20.00, 3.90 และ 1.01 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin, SAN resin, PE resin, PS resin และ PVC resin หดตัวร้อยละ 18.27, 10.06, 7.27, 6.89 และ 4.43 ตามลำดับ
+ การส่งออก เดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 737.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 25.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 3.48 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน (เช่น Terephthalic acid, Para-Xylene, Benzene และToluene เป็นต้น) หดตัวร้อยละ 28.07 และในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย (เช่น PE resin, PP resin, PC resin, PVC resin และ PET resin เป็นต้น) หดตัวร้อยละ 24.77
+ การนำเข้า เดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 324.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 34.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 0.75 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Vinyl Chloride, Acetic Acid, Ethylene Glycol และ Styrene เป็นต้น หดตัวร้อยละ 23.71 และในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin, PP resin, Nylon resin, SR BR rubber และ PMMA resin เป็นต้น หดตัวร้อยละ 36.16
คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือนสิงหาคม ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมอาจจะยังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และความกังวลของตลาดโลกกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่ยังคงไม่เข้าสู่สภาวะปกติ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกรกฎาคม2563 มีค่า 87.9 หดตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการชะลอตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในส่วนของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 94.8 หดตัวร้อยละ 3.0 จากการผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 17.2 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 13.4 และ 13.1 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 74.2 หดตัวร้อยละ 20.5 จากการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 42.9 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 33.8 และ 3.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 38.3 และ 25.0 ตามลำดับ ตามการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ
- การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 1.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 3.6 จากการจำหน่ายเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 19.2 ขณะที่การจำหน่ายเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 35.5 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 1.0 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 7.4 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นหนา รีดร้อน หดตัวร้อยละ 48.5 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 33.5 และ 25.0 ตามลำดับ
- การนำเข้า ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีปริมาณนำเข้า 1.0 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 17.4 จากการนำเข้าเหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel ซึ่งหดตัวร้อยละ 72.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel และเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 68.0 และ 47.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 10.2 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel ซึ่งลดลงร้อยละ 91.4 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน และสวีเดน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel P&O และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 76.2 และ 55.7 ตามลำดับ
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม2563 คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดรอบสองของเชื้อไวรัสโควิด-19 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 28.68 40.18 และ 28.59 (YoY) เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังส่งผลต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ทำให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 7.83 และ 4.43 จากการที่คู่ค้าหลายประเทศสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้และเริ่มผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น การจำหน่ายในประเทศ
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง 34.70 37.11 และ 41.93 (YoY) เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
- เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปมูลค่าลดลง ร้อยละ 22.39 31.47 และ 23.17 (YoY) เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศ ทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลง ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวมยังคงชะลอตัว โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 3.50 และ 13.15 จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และในกลุ่มประเทศเอเชีย เช่น ปากีสถาน เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าปลายน้ำ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคลายล็อกดาวน์ทำให้เริ่มมีความต้องการสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้น
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวทั้งในภาคการผลิตและการส่งออก
+ การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 6.91 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 3.02 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.17 (%YoY)
+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 3.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 0.95 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.22 (%YoY)
+ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 1.10 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 16.98 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45.96 (%YoY)
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนสิงหาคม ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าแม้ว่าภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะยังคงมีอยู่ แต่การผลิตภาพรวมก็จะยังสามารถปรับตัวดีขึ้นได้เล็กน้อยจากการที่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์เป็นระยะ ๆ ให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้
+ การผลิตซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 3.42 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 4.50 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.42 (%YoY)
+ การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) เดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 3.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 0.95 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.23 (%YoY)
- การส่งออกซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2563 มีจำนวน 0.35 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2563 ร้อยละ 2.34 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 34.38 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และฟิลิปปินส์
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนสิงหาคม ปี 2563 แม้ว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น แต่การขยายตัวในเดือนสิงหาคมนี้จะมีมากหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสภาวะอากาศที่เข้าสู่ฤดูฝนด้วย
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม