ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3/2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)หดตัวร้อยละ 8.3 โดยปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งยังคงมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวรวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 3/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์ ภาวะการผลิตลดลงจากสินค้าเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ รถตรวจการณ์ ปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดส่งออกรถยนต์ปรับลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบอย่างมากและฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ รวมถึงตลาดในประเทศปรับตัวลดลงเช่นกันการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตลดลง เนื่องจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศและส่งออกในปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงไป โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ทำให้การขนส่งเดินทางของผู้คนทั้งที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศและในประเทศลดลง การผลิตน้ำตาล ลดลงเนื่องจากปีนี้ปิดหีบการผลิตเร็วกว่าปีก่อน จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และพื้นที่ปลูกอ้อยลดลง สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 3/2563 อาทิ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า (ยกเว้นพัดลมตามบ้าน) จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ที่ผ่อนคลายลงรวมถึงปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบคลี่คลายลงเช่นกัน อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีนวัตกรรมเพิ่มขึ้น การผลิตเภสัชภัณฑ์และ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นทุกรายการสินค้าจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องมีการผลิตยาสำรองไว้ให้เพียงพอต่อการรักษา
เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่นสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ
อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะขยายตัวร้อยละ 1.9 เนื่องจาก Semiconductor devices transistor เป็นสารกึ่งตัวนำที่ใช้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโซลาร์เซลล์ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงความต้องการ HDD ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง ITทำให้ยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น
รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 390,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 450,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก และกระดาษคราฟต์) ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวในกลุ่มอาหาร อาหารแปรรูป และเครื่องดื่มขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมากแบบก้าวกระโดด และยังได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับส่งสินค้าทางออนไลน์และในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ในขณะที่การส่งออกจะชะลอตัวลงในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และมาตรการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ รวมถึงการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจากประเทศคู่ค้าบางส่วนคลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังกลุ่มประเทศ CLMV
ปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตคาดว่าจะยังลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเกิดความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจด้านภาวะเศรษฐกิจ ส่วนการจำหน่ายคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยโดยยังได้แรงขับเคลื่อนจากการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิต การส่งออก และการนำเข้า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ภาวะปกติ เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีไม่มากนัก แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมการผลิต ส่งออก และนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าต่างประเทศหลายแห่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ไม้และเครื่องเรือน คาดว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยที่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดการณ์ได้ว่า จะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น
ยา คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.74 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม เมียนมา และลาว
ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 17.18ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 24.76 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้น สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศที่ลดลง
รองเท้าและเครื่องหนัง คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากการส่งออก เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้า ที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19เริ่มคลี่คลาย และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)
อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า ยังมีทิศทางชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย สำหรับมูลค่าการส่งออก(ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ยังมีแนวโน้มลดลง ขณะที่การส่งออกในภาพรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวจากการส่งออกทองคำเพื่อเก็งกำไรในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับสูงขึ้น
อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมจะหดตัวลง จากปัจจัยลบได้แก่ วัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน อย่างไรก็ตาม การบริโภคในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นจากการเปิดให้นักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa เข้ามาพำนักระยะยาวในไทย รวมถึงมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และมาตรการคุมเข้มเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งปริมาณสินค้าเกษตรสำคัญลดลง อาทิ ข้าว อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ระบาดรอบที่ 2 ของโควิด-19 ในหลายประเทศ ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดอาจขยายตัว เช่น อาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 6.4 โดยหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 และปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่หดตัว ร้อยละ 12.1
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 เป็นการหดตัวต่อเนื่องนาน 5ไตรมาสแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากปัจจัยสนับสนุนด้านการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลให้กิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการกลับมาดำเนินการผลิตได้ รวมทั้งการส่งออกสินค้าเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563หดตัวร้อยละ 5.3 ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากไตรมาสที่ผ่านมา หดตัวร้อยละ 14.6 และชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 0.8 เป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมตามความต้องการใช้ในประเทศทั้งด้านการอุปโภคบริโภคและการผลิตสินค้าต่อเนื่อง ตลอดจนการส่งออกสินค้าที่มีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.22 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (80.21)ร้อยละ 13.7 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(99.48) ร้อยละ 8.3
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 93.72 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (82.19) ร้อยละ 14.0 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (101.59) ร้อยละ 7.8
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 118.60 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (127.32)ร้อยละ 6.90 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(134.58) ร้อยละ 11.9
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตน้ำตาล และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่การผลิตยานยนต์ การต้ม การกลั่น และการผสมสุราการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 60.50 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา(ร้อยละ 52.89) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี2562 (ร้อยละ 64.78)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่การผลิตยานยนต์ การผลิตจักรยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 87.40 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (78.10) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (92.80) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 90.10 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (102.87)
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2563 มาจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศของรัฐบาลทำให้กิจการต่างๆ กลับมาดำเนินการได้มากขึ้นจากช่วงล็อกดาวน์ นอกจากนี้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือ SMEs เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบริโภคในประเทศ
?มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาพรวมทิศทางการค้ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางฟื้นตัวที่ดี อย่างไรก็ตาม การค้ายังคงขยายตัวได้แบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศคู่ค้าหลักของไทยบางประเทศเผชิญกับการระบาดระลอกที่สอง ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเติบโตได้ในกรอบที่จำกัด?
การค้าระหว่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 107,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 58,653.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหดตัวลง ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและมูลค่าการนำเข้า 48,730.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เกินดุล 9,922.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 58,653.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในหมวดสินค้าหลักทุกรายการ ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการส่งออก 4,961.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.6 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 4,546.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 47,679.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.9 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 1,466.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 33.2
สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกหดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 5,423.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 24.8) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 1,988.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 13.8) แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 1,756.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.7) อย่างไรก็ดี สินค้าบางรายการยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (มูลค่าการส่งออก 6,053.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 4.5) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 4,842.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.7) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 3,209.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.7) เป็นต้น
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีเพียงสหรัฐอเมริกาที่การส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคู่ค้าหลักอื่น ๆ หดตัวลง ซึ่งสัดส่วนการส่งออก 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ)สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) รวมคิดเป็นร้อยละ 67.5 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32.5 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ไทยมีสัดส่วนส่งออกไปจาก อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) คิดเป็น ร้อยละ 22.6, 15.3, 12.9, 9.2 และ 7.6 ตามลำดับ
- อัตราการขยายตัวของการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 17.5 ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) หดตัวลง ร้อยละ 15.2, 0.2, 12.2 และ 10.5 ตามลำดับ
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 48,730.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหดตัวร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวในหมวดสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการ ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้า 6,788.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 28.7 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 13,546.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.8 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 19,187.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 19.1 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 6,357.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.7 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 2,489.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 36.2 และสินค้าหมวดอาวุธยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 360.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 221.7
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 อัตราการขยายตัวในตลาดนำเข้าสำคัญของไทยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวทุกตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ)ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 70.8 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆคิดเป็นร้อยละ 29.2 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 25.5, 19.6, 11.8, 7.7 และ 6.1 ตามลำดับ
- อัตราการขยายตัวของการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากจีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา หดตัว ร้อยละ 1.5, 19.9, 31.8, 26.6 และ 24.0 ตามลำดับ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 3 ปี 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนหดตัว เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กเส้นข้ออ้อย และลวดเหล็ก
การผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 87.0 ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.2 (%QoQ) แต่หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.0(%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2561) เนื่องจากการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามการชะลอตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 7.6 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 20.3 รองลงมา คือ ลวดเหล็กและเหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 10.0 และ 8.6 ตามลำดับ การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 12.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว คือ เหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 33.4 และ 32.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 45.7 และ 36.4 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ
การจำหน่าย ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณ 4.1 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 11.7 (%QoQ) แต่หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.4 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562) โดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 5.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหดตัว คือ เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 10.0 และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 9.4 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 15.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน หดตัวร้อยละ 39.7รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นบางรีดร้อนหดตัวร้อยละ 32.4 และ 25.9 ตามลำดับ
การนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐหดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 8.3 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.3 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 39.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 77.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel และเหล็ก โครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 67.3 และ 63.8 ตามลำดับ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 25.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel P&O หดตัวร้อยละ 80.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel และ เหล็กแผ่นรีดเย็น ประเภท Carbon Steel หดตัว ร้อยละ 56.8 และ 50.7 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 4 ปี 2563คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงยังคงมีสถานการณ์ล็อกดาวน์ ทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เตาอบไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล และมีมูลค่าการส่งออกลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 91.0 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.3 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นเมื่อ เทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.5 (%YoY) เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการคลายล็อกดาวน์ โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าเตาอบไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8, 27.2, 25.8, 20.4, 12.5, 11.0, 9.7, 3.1 และ 2.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่คอมเพรสเซอร์ พัดลมและเครื่องปรับอากาศ ลดลงร้อยละ 27.1,5.5 และ 0.9 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 3 ปี 2563 สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ตู้เย็น สายเคเบิ้ล กระติกน้ำร้อน เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว พัดลมและสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1, 31.0, 24.9, 20.0, 17.8,12.8 และ 3.0 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 3,400.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 0.7(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.0(%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ อุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 64.3, 63.5, 45.7 และ 8.2 ตามลำดับ ในขณะที่ตู้เย็นส่วนประกอบของเครื่องซักผ้า และโซล่าร์เซลล์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0, 40.7 และ 36.8 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 3 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 5,257.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.4 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.9 (%YoY) จากตลาดสหรัฐอเมริกา และจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 และ 1.5 ตามลำดับ โดยตู้เย็นเครื่องซักผ้า แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.8, 13.4, 8.2, 7.1และ 5.6 ตามลำดับ ในขณะที่หม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า และเครื่องป้องกันฟ้าผ่า ลดลงร้อยละ 32.2, 17.3 และ 7.1 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 มีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะปรับตัวเป็นบวกร้อยละ 6.4 และ3.0 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ของประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงยังคงมีสถานการณ์ล็อกดาวน์ ทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวโดยประเทศคู่ค้ามีการชะลอการสั่งซื้อ รวมถึงเทคโนโลยีกำลังถูกเปลี่ยนไปใช้ SSD (Solid State Drive) แทน HDD (Hard Disk Drive) อย่างไรก็ตาม HDD จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และวงจรพิมพ์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวลดลง ในตลาดยุโรป อาเซียนและและญี่ปุ่น
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 95.1 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 10.0 (%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 (%YoY) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ PCBA โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 10.3 และ 10.0 ตามลำดับ เนื่องจากเทคโนโลยีถูกเปลี่ยนไปใช้ SSD (Solid State Drive) แทน HDD (Hard Disk Drive) อย่างไรก็ตาม HDD จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistor, Printer และ วงจรรวม (IC) โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0, 4.4 และ 0.6 ตามลำดับ
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่าการนำเข้า 8,877.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 1.6 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดย สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรรวม (IC) วงจรพิมพ์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4, 8.7 และ 2.6ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ และไดโอด ทรานซิสเตอร์ กลอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 27.8 และ 15.4 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 8,575.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.9 (%QoQ) และลดลงร้อยละ 6.4 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 และ 9.8 ตามลำดับ โดยไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และ 11.2 ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ วงจรรวม (IC) และส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 32.9, 11.2 และ 7.6 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกเป็นบวกร้อยละ 1.9 และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจาก Semiconductordevices transistor เป็นสารกึ่งตัวนำที่ใช้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโซลาร์เซลล์ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความต้องการ HDD ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดในประเทศและส่งออกชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเขื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 390,000 คันโดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 356,934 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 134.13 (%QoQ)แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 29.55(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่งร้อยละ 38 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 60 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 206,125 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 18.06 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.64(%YoY)
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 170,907 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 70.45 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 34.58(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่งร้อยละ 38 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 56 และรถ PPV ร้อยละ 6
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 1,886.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 61.06(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.80 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 1,937.61ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563ร้อยละ 6.08 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 36.53 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการชะลอตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 450,000 คันโดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 431,500 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 108.07 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 10.31(%YoY)
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 413,888 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 37.39 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 4.47(%YoY)
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 156,603 คัน (เป็นการส่งออก CBU 70,741 คัน และ CKD 85,862 ชุด)เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 47.23 (%QoQ)แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.28 (%YoY)
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 144.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 32.79(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.86 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา ญี่ปุ่นและเวียดนาม
รถจักรยานยนต์และรถจักรยานในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 135.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 1.24(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.93 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และ เวียดนาม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว แต่มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกหดตัวเป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด?19 ซึ่งส่งผลต่อการฟื้นตัวในตลาดประเทศคู่ค้า ทำให้ความต้องการสินค้าเคมีภัณฑ์ในตลาดต่างประเทศชะลอตัว
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 1.21เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 3.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่ขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี ผงซักฟอก และยาสระผม เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 13.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 7.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)ดัชนีการส่งสินค้าที่ขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี ผงซักฟอก และยาสระผม เป็นต้น
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 2,110 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เครื่องสำอางเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และสี เป็นต้น
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 3,366 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 14.96เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เครื่องสำอาง สี และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์ยังคงหดตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด?19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า และสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้าหดตัว แต่ปริมาณการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และเวียดนาม นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกขยายตัว
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 0.48เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 4.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 5.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ
ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณ 313,503 ตัน ขยายตัวร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 1.49เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยยาวเดี่ยว (HS 3916)
ปริมาณการนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณ 225,803 ตัน หดตัวร้อยละ 7.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 0.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916)
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าปริมาณการส่งออกและปริมาณการนำเข้าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศคู่ค้าหลักยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ทั้งจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด?19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า และสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงหลายประเทศคู่ค้ายังปิดประเทศ ส่งผลให้การส่งออก และการนำเข้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ชะลอตัว
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 111.30ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.21 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP resin
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 108.28 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.26 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin
การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 2,353.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.91 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานลดลง ร้อยละ 33.23 เช่น Para-Xylene, TerephthalicAcid, และ Benzene และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลงร้อยละ 13.96 เช่น PC resin และ PET resin เป็นต้น
การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 996.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.87 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลงของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานลดลง ร้อยละ 11.33 เช่น Ethylene Dichloride, Para- Xylene และ Ethylene Glycol เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง ร้อยละ 34.82 เช่น Nylon resin, PP resinและ PMMA resin เป็นต้น
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2563คาดว่า ในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อยจากเศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มกลับมาหลังจากหยุดชะงักหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความต้องการสินค้า หรือการดำเนินการในหลายภาคส่วนเพิ่มขึ้นบ้างทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดคู่ค้าต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งการผลิต การส่งสินค้า และการส่งออกอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2-12 จากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และหลายภาคส่วนสามารถเริ่มกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) พบว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก และกระดาษคราฟต์) มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น แต่กระดาษพิมพ์เขียนชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ขยายตัวได้ค่อนข้างมาก สำหรับการส่งออกมีมูลค่ารวมลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ยกเว้นเยื่อกระดาษที่ส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับการนำเข้ามีมูลค่ารวมลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)
การผลิต การผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ ขยายตัวเป็นบวกเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) หลังจากเกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ แต่สำหรับกลุ่มเยื่อกระดาษ แม้ว่าการผลิตในไตรมาสนี้จะหดตัวลงแต่การส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 92.05 โดยผู้นำเข้าหลักอย่างประเทศจีน มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถเพิ่มการผลิตให้กลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 เช่นเดียวกับกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ที่เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับการบรรจุหีบห่อขยายตัวตามไปด้วย
การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 3ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการส่งออกรวม 477.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.49 จากเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 3.55 จากผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ในขณะที่กลุ่มเยื่อกระดาษยังส่งออกได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.33 ซึ่งกว่าร้อยละ 75.00 ส่งออกไปยังประเทศจีน
การนำเข้าเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 513.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.28 และ 21.54 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)ตามลำดับ จากกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ และกระดาษชำระ อย่างไรก็ตามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กระดาษยังนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเนื่องจากวิถีการดำรงชีวิตปรับเปลี่ยนไปจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การผลิตในประเทศยังกลับมาผลิตได้ไม่เท่าเดิมส่งผลให้จำเป็นต้องมีการนำเข้า
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก และกระดาษคราฟต์) ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวในกลุ่มอาหาร อาหารแปรรูป และเครื่องดื่ม ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมากแบบก้าวกระโดด และยังได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับส่งสินค้าทางออนไลน์และในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ในขณะที่การส่งออกจะชะลอตัวลงในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ เช่นเดียวกับการนำเข้าลดลงทั้ง supply chain ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ค่อนข้างยาก
การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติมรวมถึงเศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ผลิตกระดาษในประเทศ แต่ผู้ผลิตกระดาษในประเทศบางส่วนยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าเศษกระดาษและกระดาษใช้แล้ว เนื่องจากราคาที่ถูกกว่าและในประเทศยังมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตามการควบคุมสินค้าดังกล่าวควรกำหนดมาตรการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ปริมาณการผลิต การจำหน่าย และมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมทั้งมาตรการกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 คลี่คลาย โดยตลาดหลักในการส่งออกยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV
การผลิต ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 36.10 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ37.81 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.09 (%YoY) เป็นผลโดยตรงจากการขยายตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 คลี่คลายในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.72 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 19.88 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.84
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 41.67 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ1.26 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.38 (%YoY) เนื่องจากมาตรการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.95 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 21.29 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.18
การส่งออก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนังมีมูลค่า 26.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 26.31 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.69 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 51.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2ปี 2563 ร้อยละ 18.98 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.02 โดยตลาดหลักในการส่งออกได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และมาตรการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ การผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจาก ประเทศคู่ค้าที่คลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ที่อาจจะกลับมาขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีน และญี่ปุ่น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมการพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิตและการตลาดแก่ผู้ประกอบการเซรามิกในพื้นที่จังหวัดลำปาง ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาและยกระดับปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ สอดรับกับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชนและมาตรฐานสากล ด้วยการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว แต่ยังได้แรงขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเร่งขยายการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่วนการส่งออกในไตรมาสนี้ยังปรับตัวลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 10.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 1.61 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.45 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 9.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 0.66 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.34 (%YoY) โดยเป็นผลจากการขับเคลื่อนด้านการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ
การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด)ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่าจากการส่งออก 52.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.29 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.32 โดยลดลงจาก สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ร้อยละ 74.90 54.45 และ 54.10 ตามลำดับส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 15.71ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 81.02 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.08โดยลดลงจากเนเธอร์แลนด์ และจีน ร้อยละ 78.34 และ 28.30ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องด้วยตลาดต่างประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตคาดว่าจะยังลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเกิดความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจด้านภาวะเศรษฐกิจ ส่วนการจำหน่ายคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยโดยยังได้แรงขับเคลื่อนจากการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 การผลิต ส่งออก และนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของ เชื้อไวรัสโควิด-19 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้จากการที่ประเทศไทยและคู่ค้าหลายประเทศมีมาตรการในการลดการแพร่ระบาดของโรค
การผลิต การส่งออก และการนำเข้า เส้นใย สิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ภาวะปกติ เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีไม่มากนัก หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมการผลิต ส่งออกและนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าต่างประเทศหลายแห่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 18.62 27.68 และ 24.91 เนื่องจากการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ภาวะปกติ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2563 พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวตามคำสั่งซื้อวัตถุดิบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป จากประเทศคู่ค้าต่างประเทศเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดัชนีการจำหน่ายในประเทศของ เส้นใยประดิษฐ์ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ลดลง ร้อยละ 15.32 29.49 และ 18.47เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,400.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 22.97 (%YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่า 879.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 25.61 กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 520.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 18.05 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 พบว่า การส่งออกฟื้นตัวดีขึ้นจากการที่ประเทศคู่ค้าหลายประเทศมีมาตรการในการลดการแพร่ระบาดของโรค และมาตรการทางเศรษฐกิจ ทำให้การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยขยายตัว ร้อยละ 24.92 30.67 และ 11.97 ตามลำดับ โดยตลาดที่ขยายตัว เช่น สหรัฐอเมริกา จีน เวียดนาม เมียนมา
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 993.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 24.83 (%YoY) เนื่องจากคำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลกทำให้ผู้ประกอบการลดการนำเข้าวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการเสื้อผ้าของผู้บริโภคในประเทศลดลง
1. รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนสายการผลิตเดิมเพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วนฯ และมาตรการเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมทางการแพทย์เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นโอกาสให้เกิดการลงทุนในสายการผลิต Non-woven fabric และผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์
2. มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับลูกหนี้ SMEs ของสถาบันการเงินหลายแห่ง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/covid19
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศมีปริมาณลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกที่สำคัญ อย่าง สหรัฐอเมริกา
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 2.32 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.75 และ 6.91 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ สาเหตุจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ
การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 0.34 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.03 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อนพบว่า ลดลงร้อยละ 12.82 จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา
การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 839.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.94 และ 1.99 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 271.11 37.32 และ 531.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.08 ขณะที่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.37 และ 3.80 ตามลำดับในภาพรวมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เริ่มมีการขยายตัวจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกที่สำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยที่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดการณ์ได้ว่า จะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 กรมป่าไม้ ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ขับเคลื่อนเดินหน้าผนวกบริบทสวนป่า ป่าชุมชน และไม้นอกเขตป่า ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน (มอก. 14061) ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศที่สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากลอย่าง PEFC เพื่อผลักดันสวนป่าเศรษฐกิจของเกษตรกรรายย่อยให้ได้รับการรับรองมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ปริมาณการผลิตยาไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามความต้องการใช้ยาที่สูงขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะเวียดนาม เมียนมา และจีน ในขณะที่การจำหน่ายในประเทศชะลอตัวลงตามความต้องการใช้ที่ลดลง
การผลิตยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณ 18,163.21 ตันเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.09 โดยเป็นการขยายตัวของการผลิตยาเม็ด ยาแคปซูล ยาครีม และยาผง ซึ่ง ขยายตัวร้อยละ 23.64 13.63 6.31 และ 2.33 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ยาในตลาดส่งออกหลักของไทยที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 13,753.78 ตันลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.76 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายยาน้ำ ยาแคปซูล ยาฉีด และยาผง ซึ่งลดลงร้อยละ 7.21 19.84 26.62 และ 45.71 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ที่ลดลง
การส่งออกยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 112.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.83 โดยมีการขยายตัวที่ดีในตลาดเวียดนาม เมียนมา จีน ญี่ปุ่น และสปป.ลาว สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 455.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.68 โดยเป็นการนำเข้ายาจากอินเดีย เยอรมนี เปอร์โตริโก สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส เพิ่มขึ้น
การผลิตยาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.74 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม เมียนมา และ สปป.ลาว
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในฐานะหน่วยตรวจสอบของไทยได้รับการยอมรับทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจประเมินและการยอมรับร่วมของข้อมูลจากคณะผู้ตรวจประเมินในประเทศสมาชิกภาคีเครือข่าย OECD GLP และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 เห็นชอบการตอบรับคำเชิญผูกพันต่อกรรมสารของ OECD Council โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อยู่ระหว่างจัดทำหนังสือตอบตกลงที่จะผูกพันต่อกรรมสารของ OECD Council เพื่อให้มีผลอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ เมื่อมีการยอมรับร่วมของข้อมูลแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาของไทยจะไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำที่ประเทศปลายทางอีก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดสอบและส่งออกผลิตภัณฑ์ยาได้สะดวกมากขึ้น
ปริมาณการผลิตถุงมือยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ขยายตัวตามการขยายตัวของการส่งออก ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงเนื่องจากจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มีความต้องการใช้ลดลง
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 0.42 ล้านตัน 16.67 ล้านเส้น และ 6,891.15 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มีปริมาณลดลงร้อยละ 9.94 และ 9.52 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาด Replacement ในประเทศ ในขณะที่การผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.38 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของตลาดทั่วโลก
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวน 0.11 ล้านตัน 10.79 ล้านเส้น และ 702.54 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางในประเทศมีปริมาณลดลงร้อยละ 3.36 6.75 และ 12.29 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ที่ลดลง การหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์รวมถึงตลาด Replacement ในประเทศ และการปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางลง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 672.64 1,555.05 และ 677.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.06 และ 121.03 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงร้อยละ 35.48 จากการชะลอตัวต่อเนื่องของตลาดหลักของไทยโดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 17.18 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 24.76 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้น สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศที่ลดลง
การยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท ฯลฯ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง และพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก กระเป๋าเดินทาง*และรองเท้า มีการผลิตลดลง ตามความต้องการที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตลดลง ร้อยละ 34.04เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทาง* และรองเท้า ปรับตัวลดลง ร้อยละ 28.69 และ 36.84 ตามลำดับ จากความต้องการที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
การส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 333.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 28.60 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัดเครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้า ลดลง ร้อยละ 25.78 50.09 และ 16.65 ตามลำดับ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม จีน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร
การนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 416.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 29.59 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอกปรับตัวลดลง ร้อยละ 39.36 เป็นไปในทิศทางเดียวกับการฟอกและตกแต่งหนังฟอกที่มีการผลิตลดลง สำหรับสินค้าสำเร็จรูปประเภทกระเป๋าและรองเท้ามีมูลค่าลดลง ร้อยละ 18.86และ 22.87 ตามลำดับ จากความต้องการบริโภคสินค้าภายในประเทศที่ลดลง
การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากการส่งออก เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้า ที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)
วันที่ 15 กันยายน 2563 ครม. มีมติเห็นชอบเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เพื่อนำนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเดินทางเข้าราชอาณาจักรโดยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปไม่สามารถเดินทางเข้าในประเทศได้ โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ประกาศ ถึง 30 กันยายน 2564
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับการส่งออก มีมูลค่าลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 17.56 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการผลิตเพชร เจียระไน เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 84.79 3.39 และ 53.36 ตามลำดับ
การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ลดลง ร้อยละ 12.49 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 3 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 1,136.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 53.22 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 40.79 76.08 31.92 และ 54.12 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฮ่องกง แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ในภาพรวม มีมูลค่ารวม 6,053.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.48 จากมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.12
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่า ยังมีทิศทางชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย สำหรับมูลค่าการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป)ยังมีแนวโน้มลดลง ขณะที่การส่งออกในภาพรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวจากการส่งออกทองคำเพื่อเก็งกำไรในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับสูงขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) จะมีแนวโน้มลดลง ทั้งการนำเข้าเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สำหรับการนำเข้าในภาพรวม คาดว่า จะมีแนวโน้มลดลงเช่นกันตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น มีผลทำให้มีการนำเข้าทองคำเพื่อเก็งกำไรลดลง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตของน้ำตาล แป้งมันสำปะหลังลดลง อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมน้ำตาล ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 3 ปี 2563ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสินค้าอาหารบางรายการที่ยังคงได้รับอานิสงค์จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อสำรองอาหาร ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป สำหรับมูลค่าการส่งออกหดตัวจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำตาล กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ไก่แปรรูป และข้าว เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง การชะลอตัวของผู้บริโภคจากภาวะเศรษฐกิจ และความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่ง
ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 91.1 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 5.9 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 3.7 (%YoY) เนื่องจากการชะลอตัวของผู้บริโภคจากตลาดทั้งในและต่างประเทศ และปริมาณวัตถุดิบลดลงจากภัยแล้ง โดยเฉพาะอ้อย ซึ่งปริมาณเข้าหีบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 42.9 ทำให้โรงงานปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน (ปิดหีบไตรมาส 1 ปี 2563) ประกอบกับปีที่ผ่านมาฐานการผลิตสูงรองลงมาคือ มันสำปะหลัง ซี่งได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากโรคใบด่างร่วมด้วยส่งผลให้ดัชนีผลผลิตน้ำตาลและแป้งมันสำปะหลังลดลง อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมน้ำตาล ดัชนีขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1 (%YoY) จากสินค้าอาหารบางรายการที่ได้รับอานิสงส์จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในบางประเทศ ทำให้มีคำสั่งซื้ออาหารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตผลไม้ และผักกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวเพิ่มขึ้น
การจำหน่ายอาหารในประเท ศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีปริมาณ 61,982.0 พันตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 11.4(%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 (%YoY) ส่วนหนึ่งมาจากโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยว ?เราเที่ยวด้วยกัน? สำหรับสินค้าบางประเภทที่มีแนวโน้มการบริโภคอาหารในประเทศดีขึ้น ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง เนื้อไก่สุกปรุงรส น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ปลาแช่แข็ง น้ำมันปาล์ม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการผ่อนคลายเปิดสถานบันเทิง
การส่งออกไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 7,296.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 10.8 (%QoQ)และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 (%YoY) จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำตาล เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้งกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และข้าว เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่ง และไก่แปรรูป เนื่องจากการชะลอตัวของตลาดญี่ปุ่นและตลาดยุโรป
การนำเข้าไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีมูลค่า 3,619.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ร้อยละ 1.7(%QoQ) จากการนำเข้าปลาทูน่า เพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวของอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง รองลงมาคือ กากพืชน้ำมัน เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 (%YoY) จากการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันและกากพืชน้ำมัน รวมทั้งการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง) เพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตผลิตภัณฑ์จากแป้งโดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมจะหดตัวลง (%YoY) จากปัจจัยลบได้แก่ วัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน อย่างไรก็ตาม การบริโภคในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นจากการเปิดให้นักท่องเที่ยวประเภทพิเศษหรือ special tourist visa เข้ามาพำนักระยะยาวในไทย รวมถึงมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และมาตรการคุมเข้มเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งปริมาณสินค้าเกษตรสำคัญลดลงอย่าง ข้าว และน้ำตาล อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ระบาด รอบที่ 2 ของโควิด-19 ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดอาจขยายตัว เช่นอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) นมสิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม