สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2563 และแนวโน้ม ปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 5, 2021 13:59 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2563 และแนวโน้ม ปี 2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะหดตัวร้อย

ละ 8.0 ในขณะที่ปี 2562 MPI หดตัวร้อยละ 3.6 โดย อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในปี 2563 อาทิ รถยนต์ เป็น

การลดลงของตลาดในประเทศและตลาดส่งออกเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน

หลายประเทศทั่วโลก ส่วนปัจจัยในประเทศมีการหยุดการผลิตชั่วคราวช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 ตาม

มาตรการลดการแพร่ระบาด การกลั่นปิโตรเลียม ภาวะการผลิตลดลง เนื่องจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ในประเทศ

และการส่งออกในปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงไป

โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ทำให้การเดินทางของผู้คนทั้งที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศและในประเทศลดลง

ยางล้อ จากการชะลอตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการหดตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์

ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในปี 2563 อาทิ เภสัชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแนวโน้มความต้องการใช้

ที่สูงขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อาหารสัตว์สำเร็จรูป

ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นผลจากความต้องการบริโภค

เนื้อสัตว์ที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

แนวโน้ม ปี 2564

ประมาณการอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ

4.0 ? 5.0 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและ

ปริมาณการค้าโลก (3) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณและมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจต่าง ๆ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 อย่างไรก็ตามการขยายตัวจะดำเนินไป

อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงระบาดต่อเนื่องทั่วโลก และรอความ

ชัดเจนของการใช้วัคซีนที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในปี 2564

? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่า การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.0-1.0 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน การบริโภคเหล็กปี 2564 คาดว่าจะมีปริมาณ 17.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 โดยมีปัจจัย

สนับสนุนจากการขยายตัวของการอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง

โครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมถึงนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาช่วยกระตุ้น

การใช้จ่าย และส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งผลของมาตรการดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการผลิต

และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและ

การค้าโลก การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

? เครื่องใช้ไฟฟ้า จะมีการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 8.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน

จากปัจจัยบวกทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 มาตรการกระตุ้นความต้องการซื้อ

สินค้าของภาครัฐในช่วงปลายปี 2563 รวมถึงการผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาและยุโรปหยุดชะงัก ส่งผลให้มีปริมาณ

คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องในปี 2564

? อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และ 5.0

ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ในปี 2563 รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน

ทาง IT ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและและต่างประเทศเพิ่มขึ้น และ

คาดว่าจะเริ่มเข้าสู่วัฎจักรขาขึ้นของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก

4

? รถยนต์ คาดว่า จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ

28.57 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ

ร้อยละ 55-60 รถจักรยานยนต์ คาดว่า การผลิตจะทรงตัว คิดเป็นปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน

ทั้งนี้ จากปริมาณการผลิตที่คาดการณ์ไว้ข้างต้นจะเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90

และการผลิตเพื่อการส่งออก ร้อยละ 10-15

? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2563 ยกเว้นเพียงกระดาษพิมพ์เขียน

จะยังคงปรับตัวลดลงตามความนิยมสื่อสิ่งพิมพ์ที่ลดลง สำหรับการส่งออกกลุ่มเยื่อกระดาษยังเป็นที่ต้องการ

ของผู้นำเข้าหลักอย่างประเทศจีนและมีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ในส่วนการบริโภคในประเทศ คาดว่า

หลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป ความนิยมในอาหารเดลิเวอรี่

การซื้อสินค้าออนไลน์ และธุรกิจอาหารในรูปแบบอาหารพร้อมรับประทานเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาส

ของบรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับการบรรจุหีบห่อและขนส่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

? เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้ภายในประเทศ หลังสถานการณ์

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ยังมีปัจจัย

ที่สำคัญอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัว ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2

ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ส่วนการส่งออกเซรามิก

ในภาพรวมคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากคำสั่งซื้อเครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของ

ชำร่วยเครื่องประดับ ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ โดยตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก

ยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และกลุ่มประเทศ CLMV

? ปูนซีเมนต์ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย จากการเร่งขยายการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่

ของรัฐบาลทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่ ๆ แต่การจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมเม็ด) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย

เนื่องจากในภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ยังมีสต๊อกคงค้างอยู่มาก ประกอบกับความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ

อันเนื่องจากผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่หมดไป ซึ่งผลกระทบนี้คาดว่าน่าจะยังส่งผลกระทบต่อไปอีก

ระยะหนึ่ง อย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 หรือจนกว่าการได้มาของวัคซีนมีความชัดเจนแน่นอน

? สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิต ส่งออก และจำหน่ายในประเทศ ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้า

สำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวได้จากปี 2563 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในประเทศทั้งภาคการบริโภคและการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศ และการมีวัคซีน

ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คาดว่าจะใช้ได้ในปี 2564

? ไม้และเครื่องเรือนไม้ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ

ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดว่าจะมีแนวโน้ม

เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและการเปิดให้

นักท่องเที่ยวรวมถึงนักธุรกิจต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศ ในส่วนของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกสำคัญ ๆ

? ยา คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.26 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาด

ส่งออกหลักที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน คือตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมา

? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว

ร้อยละ 9.81 4.98 และ 8.61 ตามลำดับ เนื่องจากฐานตัวเลขการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์ของปี 2563

ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้ม

ความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5

? รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง คาดว่า ทุกผลิตภัณฑ์จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นทั้งการผลิตหนังฟอกและตกแต่ง

หนังฟอก กระเป๋าเดินทาง และรองเท้า จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เป็นผลจาก

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย

การลงทุนภายในประเทศ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภท

พิเศษ Special Tourist Visa (STV) อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมยังคงมีทิศทางทรงตัวหรือ

เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เป็นผลจาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้น

การใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยว

ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) อีกทั้งฐานข้อมูลของปี 2563 อยู่ในระดับต่ำ

? อาหาร คาดว่าดัชนีภาพรวมผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 2.3 เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด มีปริมาณเพิ่มขึ้น

จากปีเพาะปลูกที่ผ่านมา ประกอบกับในปี 2564 มีสัญญาณการส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจ

มีแนวโน้มฟื้นตัว ผู้บริโภคเริ่มมีกำลังซื้อ นำไปสู่ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารพื้นฐานและอาหารสำเร็จรูป

ทั้งตลาดในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น เนื้อไก่สุกปรุงรส กุ้งแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง

แป้งมันสำปะหลัง อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายหรือ สอน.

ได้ประมาณการผลผลิตอ้อย ปี 2563/64 มีไม่เกิน 70 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปีก่อนประมาณ 5 ล้านตัน ส่งผลให้การ

ผลิตน้ำตาลมีแนวโน้มลดลง

6

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2563

และแนวโน้ม ปี 2564

7

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2563 และแนวโน้ม ปี 2564

GDP

สามไตรมาสแรก หดตัวร้อยละ 6.8 (%YoY)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP

สามไตรมาสแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 6.8

เมื่อเทียบกับสามไตรมาสแรกของปี 2562 ที่ขยายตัว

ร้อยละ 2.6

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ GDP ช่วงสามไตรมาสแรก

ของปี 2563

ในสามไตรมาสแรกของปี 2563 การผลิต

ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.7 ภาคบริการหดตัวร้อยละ

6.8 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนหดตัว

ร้อยละ 1.6 การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 5.6 การผลิต

ภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 7.5 การส่งออกสินค้า

และบริการหดตัวร้อยละ 19.5

GDP ภาคอุตสาหกรรม

สามไตรมาสแรก หดตัวร้อยละ 7.5 (%YoY)

GDP สาขาอุตสาหกรรม สามไตรมาสแรก

ข อ ง ปี 2563 ห ด ตัว ร้อ ย ล 7 .5 ป รับ ตัว ดีขึ้น

จากสองไตรมาสแรกที่มีการหดตัวร้อยละ 8.6 และ

หดตัวอย่างมีนัยสำคัญจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่หดตัวร้อยละ 0.2 โดยชะลอตัวในหมวดการผลิต

ยานยนต์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุน

มาจากการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและ

ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้ง

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลให้กิจกรรม

การผลิตสินค้าและบริการกลับมาดำเนินการผลิตได้

ประกอบกับการส่งออกสินค้าเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น

ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.7

การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 7.5

ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

หดตัวร้อยละ 1.6

การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 5.6

การส่งออกสินค้าและบริการ

หดตัวร้อยละ 19.5

ภาคบริการหดตัวร้อยละ 6.8

8

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ม.ค. ? ต.ค. 2563 หดตัวร้อยละ 10.33

(%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า

ม.ค. ? ต.ค. 2563 หดตัวร้อยละ 10.14

(%YoY)

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.92

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 (102.50) ร้อยละ

10.33

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 อาทิ การผลิตยานยนต์

การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ

กลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2564 คาดว่า ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

แต่อาจจะยังไม่ดีเท่าปี 2562 เนื่องมาจากการแพร่

ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงระบาดต่อเนื่อง

ทั่วโลก และรอความชัดเจนการใช้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ

ไวรัสโควิด-19

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2563 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 92.50 ลดลง

จากช่วงเดียวกันของปี 2562 (102.94) ร้อยละ 10.14

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจาก

ช่วงเดียวกันของปี 2562 อาทิ การผลิตยานยนต์ การผลิต

น้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2564 คาดว่า ดัชนีการส่งสินค้า

จะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)

ข้างต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

9

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ม.ค.?ต.ค. 2563 หดตัวร้อยละ 5.56 (%YoY)

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราการใช้กำลังการผลิต ม.ค.?ต.ค. 2563

อยู่ที่ร้อยละ 60.44

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2563 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ

128.32 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 (135.87)

ร้อยละ 5.56

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 อาทิ การผลิต

ยานยนต์ การต้ม การกลั่นและการผสมสุรา รวมทั้ง

การผลิตน้ำตาล เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2564 คาดว่า ดัชนีสินค้า

สำเร็จรูปคงคลังจะลดลงจากปี 2562 ตามภาวะ

เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

จึงทำให้สินค้าคงคลังลดลง

ในช่วง 10 เดือนแรก (เดือนมกราคม ? ตุลาคม)

ของปี 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ

ร้อยละ 60.44 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562

(ร้อยละ 66.47)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต

ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 อาทิ การผลิต

ยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตจักรยานยนต์

เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2564 คาดว่า อัตราการใช้

กำลังการผลิตจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เนื่องจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการป้องกันและยับยั้ง

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรม

การผลิตและบริการกลับมาดำเนินการผลิตได้

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

10

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ม.ค. ? ต.ค. อยู่ที่ระดับ 84.24

ใน ช่วงเดือ น ม .ค . ? ต .ค . (1 0 เดือ น แ รก )

ของปี 2563 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 84.24 ลดลงจาก

ช่วงเดียวกันของปี 2562 (94.07) และดัชนีความเชื่อมั่น

คาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 93.66 ลดลง

จากช่วงเดียวกันของปี 2562 (103.13)

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 คาดว่า ดัชนีความ

เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2563

เนื่องจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการแพร่ระบาด

รอบที่สองในหลายประเทศโดยเฉพาะทวีปยุโรป

ประกาศล็อกดาวน์รอบสอง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ชะลอตัว คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ส่งผลให้

ผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดสภาพคล่องของธุรกิจ

โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

11

การค้าต่างประเทศของไทย

?มูลค่าการค้าต่างประเทศในปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปี 2562

(ม.ค.-ต.ค.) โดยการค้าระหว่างประเทศของไทยชะลอตัวลงตามอุปสงค์ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออก

หลักของไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐอเมริกาและจีนที่มีอัตราการขยายตัว

เพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศคู่ค้าอื่น ๆ มีแนวโน้มหดตัวน้อยลง สะท้อนได้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางฟื้นตัวอย่าง

ค่อยเป็นค่อยไป?

การค้าระหว่างประเทศของไทยปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 362,075.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 192,372.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวลง ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 169,702.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดุลการค้า ปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) ยังคงเกินดุล 22,670.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทย ปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 192,372.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ซึ่งหดตัวลง ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในหมวดสินค้าหลักทุกรายการ ดังนี้ สินค้า

เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 17,425.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.4 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

มีมูลค่าการส่งออก 15,180.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.1 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก

154,300.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.0 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 5,466.21 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 26.7

สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกหดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก

16,812.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 28.1) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 6,514.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หดตัวร้อยละ 15.9) แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 5,847.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.8) อย่างไรก็ดี

สินค้าที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (มูลค่าการส่งออก 16,899.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 20.9) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 15,342.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 2.1) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 9,810.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.4) เป็นต้น

12

ตลาดส่งออกสินค้า

ปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกไปตลาด

สหรัฐอเมริกาและจีนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคู่ค้าหลักอื่น ๆ

หดตัวลง ซึ่งสัดส่วนการส่งออก 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน

(9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

(ไม่รวมสหราชอาณาจักร) รวมคิดเป็นร้อยละ 69.0 และ

การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 31.0 ของ

การส่งออกทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวม

สหราชอาณาจักร) คิดเป็น ร้อยละ 24.0, 14.8, 12.8, 9.7 และ 7.8 ตามลำดับ

? อัตราการขยายตัวของการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา

และจีน ร้อยละ 8.2 และ 1.2 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป

(ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และญี่ปุ่น หดตัวลง ร้อยละ 12.4, 10.1 และ 7.9 ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 169,702.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหดตัว

ร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวในหมวดสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการ ดังนี้ สินค้า

เชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 24,208.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.7 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า

45,274.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.7 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 67,870

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.3 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 21,014.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หดตัวร้อยละ 9.7 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 9,294.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ

26.0 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 2,040.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 17.5

13

แหล่งนำเข้าสินค้า

ปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) แหล่งนำเข้าสำคัญของไทย

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวทุกตลาด ได้แก่

จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวม

สหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 5 ตลาด

มีสัด ส่ว น ก ร น เข้า ร ว ม คิด เป็น ร้อ ย ล 71.0

และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.0

ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (ไม่รวม

สหราชอาณาจักร) คิดเป็นร้อยละ 23.7, 19.0, 13.0, 7.7 และ 7.5 ตามลำดับ

? อัตราการขยายตัวของการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวม

สหราชอาณาจักร) อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา และจีน หดตัวร้อยละ 20.9, 17.4 , 14.8, 10.8

และ 2.3 ตามลำดับ

แนวโน้มการส่งออก

การส่งออกไทย ปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) หดตัวลง

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะ

ช่วงต้นปี แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางปีหลายประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้นและทยอยผ่อนคลายมาตรการ

ปิดเมืองลง รวมทั้งภาครัฐในแต่ละประเทศได้ออกมาตรการบรรเทาผลทระทบทางเศรษฐกิจและส่งเสริม

การดำเนินธุรกิจภายในแต่ละประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

เป็นปัจจัยกระตุ้นให้อุปสงค์ผู้บริโภคต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โดยภาพรวมปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไทยมีแนวโน้มหดตัวน้อยลงและมีโอกาสขยายตัว

เพิ่มขึ้นได้ ภายใต้สมมติฐานในกรณีที่ไทยปราศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ และประเทศ

คู่ค้าหลักของไทยสามารถควบคุมอัตราการแพร่ระบาดได้ อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงเผชิญกับปัจจัยกดดัน

จากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ความวิตกกังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีคนใหม่ รวมถึงค่าเงินบาท

ที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางการค้าระหว่างประเทศของไทยได้

14

เศรษฐกิจโลก ปี 2563

?โดยภาพรวมภาวะเศรษฐกิจ การส่งออก-นำเข้า และการผลิตหดตัวลง รวมทั้ง อัตราเงินเฟ้อและอัตรา

ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง?

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ปี 2563

GDP

2563F

Inflation

2563F

MPI

2563F

Export

(JAN-OCT)

Import

(JAN-OCT)

Unemp.

RateF

Policy

RateF

สหรัฐฯ ? 4.3 ? 2.1 ? 3.9 ? 14.7 ? 9.3 At 8.9 At 0.00-0.25

จีน ? 1.9 ? 1.4 ? 7.5 ? 0.1 ? 5.4 At 3.8 At 4.35

ญี่ปุ่น ? 5.3 ? 0.6 ? 9.0 ? 11.7 ? 13.3 At 3.3 At -0.10

เกาหลีใต้ ? 1.9 ? 0.4 ? 2.2 ? 8.2 ? 9.3 At 4.1 At 0.50

สิงคโปร์ ? 6.0 ? 0.5 ? 0.9 ? 4.6 ? 10.2 At 3.0 At 0.70

ที่มา : รวบรวมจาก www.ceicdata.com, www.imf.org, www.oie.go.th, www.nesdc.go.th, www.opec.org

หมายเหตุ : F เป็นตัวเลขคาดการณ์จาก IMF

ปี 2563 IMF คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัวร้อยละ 4.4 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปี 2563 ยืดเยื้อและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งกดดันให้ภาคเศรษฐกิจ การค้า

และการผลิตในหลายประเทศหดตัวมากกว่าที่คาดไว้ ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวสูงขึ้น

ในช่วงปลายปี 2563 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.00-0.25%

เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของธุรกิจภายในประเทศและการจ้างงานเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศ

คู่ค้าหลักของไทยที่ยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่าเดิม เพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวของภาคธุรกิจ ทั้งนี้

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวลงร้อยละ

6.0

สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เดือนตุลาคม

2563 อยู่ที่ 40.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล หดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2562 สำหรับปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.)

ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 42.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล หดตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) ซึ่งเฉลี่ย

อยู่ที่ 63.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบช่วงเดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่ 39.53

ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้อุปสงค์

น้ำมันดิบยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ กอปรกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบภายในกลุ่มโอเปกและกลุ่มโอเปกพลัสยังคงอยู่ใน

ระดับสูง จึงเป็นเหตุให้ราคาน้ำมันดิบทรงตัวอยู่ในระดับต่ำไม่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้มากนัก

นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกมีประเด็นที่ต้องติดตาม อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ที่ในปัจจุบันหลายประเทศต้องเผชิญกับการระบาดระลอกที่สอง มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่าง

สหรัฐฯ และจีนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการค้าโลก ข้อพิพาท

ทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถ

ผลิตใช้ได้แพร่หลายในหลายประเทศ ย่อมส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด

ได้มากขึ้นตามลำดับ รวมทั้ง การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้

ปริมาณการค้า การลงทุน และการผลิตมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นได้

15

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาปี 2563

และแนวโน้มปี 2564

16

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

* คาดการณ์ปี 2563 โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการนำเข้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า

แห่งประเทศไทย

* คาดการณ์ปี 2563 โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปี 2563* คาดว่าลดลง

เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ 87.3 ลดลง

ร้อยละ 8.5 (%YoY) ลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว และ

เหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่ลดลง เช่น

เหล็กเส้น ลวดเหล็ก และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน

จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง

ในส่วนของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบจาก

การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้การก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลง

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

เนื่องจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่องนำเข้าสินค้าราคาถูกจาก

ต่างประเทศ เช่น จีน และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม การผลิต

เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ในปี 2563

เพิ่มขึ้นจากการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรม

ผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ

การจำหน่ายในประเทศ ปี 2563* คาดว่ามีปริมาณ

16.6 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10.6 (%YoY) ลดลงทั้งผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงยาว และเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ ในกลุ่ม

เหล็กทรงยาวที่จำหน่ายลดลง เช่น เหล็กลวด และเหล็กเส้นและ

เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก ทรงแบนที่

จำหน่ายลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น

การนำเข้า ปี 2563* คาดว่ามีมูลค่า 8.3 พันล้าน

เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.0 (%YoY) ลดลงทั้งผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงยาว และเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม

เหล็กทรงยาวที่มีมูลค่านำเข้าลดลง เช่น เหล็กเส้นที่ใช้ใน

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็กเพลาขาว

และท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ที่มีมูลค่า

นำเข้าลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นหนารีดร้อน และเหล็ก

แผ่นเคลือบสังกะสี ชนิด EG

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2564

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในปี 2564 คาดการณ์ว่า

การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.0-1.0 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การบริโภคเหล็กปี 2564 คาดว่า

จะมีปริมาณ 17.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 โดยมีปัจจัย

สนับสนุนจากการขยายตัวของการอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น

อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างโครงสร้าง

พื้นฐานของภาครัฐ รวมถึงนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ของภาครัฐที่ออกมาช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย และส่งเสริม

อุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งผลของมาตรการดังกล่าว คาดว่าจะ

ส่งผลให้ปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กใน

ประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ที่น่าติดตาม เช่น

สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก การควบคุมการแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ปี 2563* ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงยาวและเหล็กทรงแบน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่ลดลง เช่น เหล็กเส้น ลวดเหล็ก และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

ชนิดรีดร้อน และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

17

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก เครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา : ข้อมูลการผลิต : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การน เข้าเค รื่องใช้ไฟ ฟ้า ใน ปี 2563* มีมูล ค่า 14,863.1

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากปีก่อน ร้อยละ 6.7 (%YoY) จากการ

นำเข้าของตลาดหลักปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป

สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จากการนำเข้าสินค้าเครื่องซักแห้งและ

ส่วนประกอบ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้า

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2563* ทรงตัวเมื่อเทียบ

กับปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 93.3 หดตัวร้อยละ 3.3

(%YoY) ทั้งนี้เค รื่องใช้ไฟ ฟ้าป รับ ตัวล ด ล ง ได้แก่

คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว

เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องซักผ้า หดตัวร้อยละ 14.7,

12 .3 , 8 .4, 5.6 , 1 .2 , 1.2 แ ล 0 .3 ต ม ล ดับ

โดยเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

โดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน และสหภาพยุโรป

ส่วนพัดลมมีการผลิตลดลงจากคำสั่งซื้อจากตลาดญี่ปุ่น

สหภาพยุโรป และอาเซียนลดลง ในขณะที่สินค้าที่มี

การปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า

ตู้เย็น และกระติกน้ำร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0, 11.0, 8.9

และ 8.1 ตามลำดับ เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศและ

คำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตู้เย็นและ

หม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีการส่งออกไปตลาดอาเซียน

สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

การจำหน่ายในประเทศ ใน ปี 2563* สินค้า

ที่จำหน่ายในประเทศมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ

ปีก่อน ได้แก่ เตาอบ ไมโค รเวฟ ค อม เพ รส เซอร์

มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า และกระติกน้ำ

หดตัวร้อยละ 60.3, 16.2, 8.5, 6.8, 5.8 และ 3.5

ตามลำดับ ในขณะที่สายเคเบิ้ล ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ

พัดลม และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9, 7.8, 6.7, 1.8

และ 0.7 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ในปี 2563* มีมูลค่า

23,379.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากปีก่อนร้อยละ 2.7

(%YoY) จ ก ก รส่งอ อ ก สิน ค้าไป ต ล ด อ เซีย น

สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นลดลง ได้แก่ คอมเพรสเซอร์

เครื่องซักแห้ง และเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่สินค้า

เตาอบไมโครเวฟ และตู้เย็น มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น

จากการส่งออกไปตลาดจีน และสหรัฐอเมริกา

แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าของปี 2564

อุตสาหกรรมไฟฟ้าในปี 2564 คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 8.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ

ปีก่อน จากปัจจัยบวกทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตรการกระตุ้นความต้องการซื้อสินค้า

ของภาครัฐในช่วงปลายปี 2563 รวมถึงการผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาและยุโรปหยุดชะงัก ส่งผลให้มีปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องในปี 2564

98.2 95.8 96.5 93.3

0.0

200.0

2560 2561 2562 2563*

ดัชนผี ลผลิต

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ดัชนผี ลผลิต

475.5 413.6 400.9 504.0 537.5

1,872.3 1,927.2 1,880.8

1,555.3

1,302.6

598.0

1,120.9

2,726.2 2,524.3 2,572.3

1,069.8

1,213.0 1,219.8

1,095.5 1,030.2

53.3 66.3 63.8 90.8 34.8

443.8 415.3 409.6 455.9 491.3

289.8

284.7 291.3

231.3 223.2

785.1 804.9 796.3 777.3 723.9

0.0

500.0

1,000.0

1,500.0

2,000.0

2,500.0

3,000.0

2559 2560 2561 2562 2563*

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (พันเครื??อง)

เครื??องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื??องซักผ้า

เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น กระติกนํ??ร้อน หม้อหุงข้าว

15,912.3 14,929.6 15,922.8 14,863.1

23,703.6 24,045.1 24016.3 23,379.2

0.0

10,000.0

20,000.0

30,000.0

2560 2561 2562 2563*

ลา นเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเขา มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2563* เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 หดตัวร้อยละ 3.3 จากสินค้า

คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และเตาอบไมโครเวฟ ที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจาก

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอการสั่งซื้อ

18

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : ข้อมูลการผลิต : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2563* มีดัชนีผลผลิต

อยู่ที่ระดับ 94.0 ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 1.1 (%YoY) โดยสินค้า

อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA, Printer, HDD และ IC

ลดลงร้อยละ 6.2, 2.9, 1.6 และ 0.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน

เนื่องจากความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว รวมถึง

เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2563* มีมูลค่า 35,548.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากปีก่อนร้อยละ 0.5 (%YoY) โดยตลาดหลัก

ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นอาเซียน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้า

ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลง

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ใน ปี 2563*

มีมูลค่า 35,317.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากปีก่อน

ร้อยละ 1.1 (%YoY) โดยปรับตัวลดลงในตลาด สหภาพยุโรป

ญี่ปุ่นและอาเซียน โดยวงจรรวม (IC) ลดลงร้อยละ 7.9

และส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

ลดลงร้อยละ 2.0 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว

นอกจากนี้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยี

ขั้นกลาง-สูง มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีค่อนข้างเร็ว

รวมถึงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผล

กระทบต่อ Supply Chain โลก ทำให้เกิดการย้ายฐาน

การผลิตและการปิดตัวของกิจการ และปัจจัยการส่งออก

สินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวจากนโยบายกีดกันการค้า

สหรัฐฯ-จีนผ่านห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้การส่งออกสินค้า

อิเล็กทรอนิกส์หดตัว

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2564

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2564 คาดว่า จะมี

การผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ

4.7 และ 5.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากสินค้า

อิเล็กทรอนิกส์เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

เชื้อไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 รวมถึงการพัฒนาระบบ

เทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณ ฑ์สำหรับ

โครงสร้างพื้นฐานทาง IT ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้สินค้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและและต่างประเทศ

เพิ่ม ขึ้น แล ค ด ว่าจ เริ่ม เข้าสู่วัฎ จักรขาขึ้น ของ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก

97.5 100.1 95.0 94.0

0.0

20.0

40.0

60.0

80.0

100.0

120.0

2560 2561 2562 2563*

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต

35,095.5

38,003.3

35,584.7 35,737.1 35,548.0

38,063.3

35700.2

35,317.6

33,000.0

34,000.0

35,000.0

36,000.0

37,000.0

38,000.0

39,000.0

2560 2561 2562 2563*

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2563* หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 โดยปรับตัว

ลดลงในสินค้า PCBA, Printer, HDD และ IC เป็นผลจากการหดตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลก ส่งผลให้มีมูลค่า

การส่งออกในตลาดหลักลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

19

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

*คาดการณ์จากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

* คาดการณ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตรถยนต์

ปี 2563 คาดว่า มีปริมาณการผลิตรถยนต์ จำนวน 1,400,000

คัน เมื่ อ เทีย บ กับ ช่ว ง เดีย ว กัน ข อ ง ปีก่อ น

ซึ่งมีปริมาณ การผลิตจำนวน 2,013,710 คัน ลดลง

ร้อยละ 30.48 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 42

รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 56 และรถยนต์เพื่อการ

พาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ปี 2563 คาดว่า มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

จำนวน 700,000 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่ง

มีปริมาณการจำหน่าย จำนวน 1,007,552 คัน ลดลงร้อยละ

30.53 โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 40

รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 41 รถ PPV และ SUV ร้อยละ 14 และ

รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์

ปี 2563 คาดว่า มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน

700,000 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมี

ปริมาณการส่งออกจำนวน 1,054,103 คัน ลดลงร้อยละ

33.59

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์

ปี 2563 คาดว่า มีมูลค่า 8,000 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 9,517.60

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.95 ตลาดส่งออกที่สำคัญ

ของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย

และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ปี 2563 คาดว่า มีมูลค่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมีมูลค่า 11,507.43 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.79 ตลาดนำเข้าที่สำคัญของ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และ

สหรัฐอเมริกา

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2564

ประมาณการจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดว่า จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วง

เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.57 โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อการส่งออก

ประมาณร้อยละ 55-60

1,912,237 1,944,417 1,988,823 2,167,694 2,013,710

1,400,000

799,632 768,788 871,650 1,041,739 1,007,552

700,000

1,204,895 1,188,515 1,139,696 1,140,640 1,054,103

700,000

2558 2559 2560 2561 2562 2563*

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)

การผลิต การจำหน่าย การส่งออก

8,006.05 8,233.54 9,032.26 9,980.34 9,517.60 8,000

10,005.79 10,603.56 11,402.56 11,984.60 11,507.43

9,000

2558 2559 2560 2561 2562 2563*

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2563 คาดว่า ปริมาณการผลิตชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลง

ของตลาดในประเทศและตลาดส่งออกเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก

ส่วนปัจจัยในประเทศมีการหยุดการผลิตชั่วคราว (เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563) ตามมาตรการลดการแพร่ระบาด ปัญหาภัยแล้ง

และเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว

20

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

*คาดการณ์จากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

* คาดการณ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตรถจักรยานยนต์

ปี 2563 คาดว่า ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์

ของประเทศไทยมีจำนวน 1,650,000 คัน เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการผลิตจำนวน 1,948,480

คัน ลดลงร้อยละ 15.32

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ปี 2563 คาดว่า ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์

ของประเทศไทย มีจำนวน 1,500,000 คัน เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการจำหน่ายจำนวน

1,870,000 คัน ลดลงร้อยละ 12.72

การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD)

ปี 2563 คาดว่า ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์

(CBU&CKD) ของประเทศไทย มีจำนวน 750,000 คัน

(เป็นการส่งออก CBU จำนวน 350,000 คัน และ CKD

จำนวน 400,000 ชุด) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ

ปีก่อน ซึ่งมีการส่งออกจำนวน 948,839 คัน ลดลงร้อยละ

20.96

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

ปี 2563 คาดว่า มีมูลค่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมีมูลค่า 835.22

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.19 ตลาดส่งออก

ที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่

กัมพูชา อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ปี 2563 คาดว่า มีมูลค่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งมีมูลค่า 659.95

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.51 ตลาดนำเข้า

ที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์

และรถจักรยานได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2564

ประมาณการจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดว่า การผลิตจะทรงตัว คิดเป็นปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์

ประมาณ 2,000,000 คัน ทั้งนี้ จากปริมาณการผลิตที่คาดการณ์ไว้ข้างต้นจะเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ

85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออก ร้อยละ 10-15

1,801,590 1,820,358

2,055,193 2,120,000

1,948,480

1,650,000

1,639,088 1,738,231 1,810,771 1,870,000

1,718,587

1,500,000

935,829 926,277 849,081 886,275 948,839

750,000

2558 2559 2560 2561 2562 2563*

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)

การผลิต การจำหน่าย การส่งออก

592.69 609.93

734.12 765.48

835.22

700

534.59 537.16 545.42 578.93

659.95 650

2558 2559 2560 2561 2562 2563*

มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2563 คาดว่า การผลิตรถจักรยานยนต์จะชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออกลดลงเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ในหลายประเทศทั่วโลก

21

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2563* เป็นตัวเลขคาดการณ์

ดัชนีผลผลิต ปี 2563 คาดว่าดัชนีมีค่า 101.06 หรือ

ขยายตัวร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์

ที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี ขยายตัว

ร้อยละ 21.21 ยาสระผม ขยายตัวร้อยละ 8.26 และ

ผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 2.50

ดัชนีการส่งสินค้า ปี 2563 คาดว่าดัชนีมีค่า 98.99 หรือ

หดตัวร้อยละ 1.80 เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์

ที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าหดตัวมากที่สุด ได้แก่

สีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 15.23 เนื่องจากเกิดการ

แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์

ที่ชะลอการผลิต ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ลดลง

การส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ปี 2563 คาดว่ามีมูลค่า

7,997.82 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.60

เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออก

ห ด ตัว เช่น เค รื่อ งส อ ง ห ด ตัวร้อย ล 22.03

เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 12.33 และเคมีภัณฑ์

อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 9.65

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ปี 2563 คาดว่ามีมูลค่า

14,375.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.53

เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้า

หดตัวมากที่สุด ได้แก่ เครื่องสำอาง หดตัวร้อยละ 26.65

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปี 2564

อุต ส ห ก รรม เค มีภัณ ฑ์ ปี 2564 ดัชนีผ ล ผ ลิต

และการส่งออก คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2-3

เมื่อเทียบกับปี 2563 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัว เช่น

การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจของรัฐบาล

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ปี 2536* เป็นตัวเลขคาดการณ์

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ภาพรวมปี 2563 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะขยายตัวร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับ

ปี 2562 การส่งออกคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 6.60 เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าลดลง และการนำเข้าคาดว่าจะหดตัว

ร้อยละ 7.53

22

อุตสาหกรรมพลาสติก

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัช นีผล ผลิต ปี 2563 ค ดว่าจะห ด ตัวร้อย ละ 3.32

เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตหดตัว

เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัว

ร้อยละ 21.04 แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 17.46 และ

บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 11.07

ดัชนีการส่งสินค้า ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 5.77

เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น

ถุงพลาสติก โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวมากที่สุด คือ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และ

ห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 30.22

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า

4,008.22 ล้า น เห รีย ญ ส ห รัฐ ฯ ห ด ตัวร้อ ย ล 4.71

เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกหดตัว

เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 20.76

ห ล อ ด ห รือท่อ (HS 3917) ห ด ตัวร้อย ล 13.58 แล

เครื่องประกอบอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 13.28

การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า

4,597.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.68 เมื่อเทียบกับ

ปี 2562 ผ ลิต ภัณ ฑ์ที่มีมูล ค่าก รน เข้าห ด ตัว เช่น

เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 19.66 ใยยาวเดี่ยว

(HS 3916) หดตัวร้อยละ 17.48 และเครื่องใช้ในครัวเรือน

(HS 3924) หดตัวร้อยละ 10.08

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ปี 2564

อุตสาหกรรม พ ลาสติก ปี 2564 ดัชนีผลผลิตคาดว่า

จะขยายตัวร้อยละ 2-3 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกคาดว่า

จะขยายตัวร้อยละ 3 - 4 เมื่อเทียบกับปี 2563 ปัจจัยที่ส่งผล

ต่อการขยายตัว เช่น การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก มาตรการนโยบาย

ทางการค้าของสหรัฐฯ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ของรัฐบาล

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2563* เป็นตัวเลขคาดการณ์

มูลค่าการส่งออก ? มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดย

ความร่วมมือจากกรมศุลกากร ปี 2563* เป็นตัวเลขคาดการณ์

อุตสาหกรรมพลาสติกภาพรวมปี 2563 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวร้อยละ 3.32 เมื่อเทียบกับปี 2562

โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัวร้อยละ 4.71 และการนำเข้าจะหดตัวร้อยละ 4.68 เนื่องจากผลกระทบของ

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

23

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.45

เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย

ที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตหดตัว คือ Ethylene หดตัว 4.42

และ Polypropylene หดตัวร้อยละ 3.50

ดัชนีการส่งสินค้า ปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.81

เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์

ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า

ขยายตัวมากที่สุด คือ Toluene และ PET ขยายตัวร้อยละ

12.77 และ 6.33

การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า

9,605.45 ล้าน เห รีย ญ ส ห รัฐฯ ห ดตัวร้อยล 18.03

เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย

ที่มีมูลค่าการส่งออกหดตัวเช่น Para-Xylene หดตัวร้อยละ

30.92 และ PE resin หดตัวร้อยละ 16.89

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า

5,025.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.62 เมื่อเทียบ

กับปี 2562 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายที่มีมูลค่า

การนำเข้าหดตัว คือ Para-Xylene หดตัวร้อยละ 30.92

และ PE resin หดตัวร้อยละ 14.49

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2563* และ 2564* เป็นตัวเลขคาดการณ์

มูลค่าการส่งออก ? มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดย

ความร่วมมือจากกรมศุลกากร ปี 2563* และ 2564* เป็นตัวเลขคาดการณ์

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2564

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2564 ดัชนีผลผลิตคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3 - 5 การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีคาดว่า

จะขยายตัวร้อยละ 1.9-2.5 เมื่อเทียบกับปี 2563 แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวเพียงเล็กน้อย

จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ แต่ยังคงมีปัจจัยที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น เศรษฐกิจโลก

มีแนวโน้มชะลอตัว ราคาน้ำมันและการแข็งค่าของเงินบาท และการที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP ประเทศไทย

106

107

108

109

110

111

2561 2562 2563* 2564*

ดัชนีผลผลิต ดัชนีการส่งสินค้า

-

2,000.00

4,000.00

6,000.00

8,000.00

10,000.00

12,000.00

14,000.00

16,000.00

2561 2562 2563* 2564*

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภาพรวมปี 2563 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบกับปี 2562

โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัวร้อยละ 18.03 และการนำเข้าจะหดตัวร้อยละ 8.62 เนื่องจากเศรษฐกิจโลก

ชะลอตัวจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

24

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ: ปี 2563 ประมาณการโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

หมายเหตุ: ปี 2563 ประมาณการโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ ในปี 2563

ดัชนีฯ คาดว่า จะเพิ่มขึ้น (%YOY) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ

ร้อยละ 5.97 เป็นคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดในประเทศและ

ต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งไทยส่งออกจีนครองสัดส่วน

ถึงร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกรวมเยื่อกระดาษ

ทั้งหมด แต่สำหรับกระดาษและบรรจุภัณฑ์กระดาษ ชะลอตัว

เล็กน้อย ร้อยละ 0.82 และ 2.56 ตามลำดับ ผลจากการระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา และคาดว่า

ในไตรมาสสุดท้าย การผลิตจะเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในกลุ่ม

อาหารและเครื่องดื่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ ยาและเวชภัณฑ์

เครื่องสำอาง ตลอดจนธุรกิจ e-commerce

การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ปี 2563

คาดว่า จะมีมูลค่าส่งออกรวม 1,893.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงร้อยละ 5.97 (%YOY) เป็นการลดลงในกลุ่มสินค้า

กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ยกเว้น

เพียงเยื่อกระดาษที่การส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 33.24

ไปยังประเทศจีน และฝรั่งเศส ในส่วนกระดาษและผลิตภัณฑ์

กระดาษ คาดว่า จะส่งออกลดลงร้อยละ 8.32 มีตลาดส่งออก

หลัก อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน ในส่วนหนังสือและ

สิ่งพิมพ์ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 24.69 จากการปรับเปลี่ยน

ไปนิยมสื่อดิจิทัลมากขึ้น

การน เข้าเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิม พ์

ปี 2563 คาดว่า จะมีมูลค่านำเข้ารวม 2,357.82 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.89 (%YOY) ลดลงในทุกผลิตภัณฑ์

นำเข้า ยกเว้นผลิตภัณฑ์กระดาษ นำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.80

โดยเฉพาะในกลุ่มกระดาษหรือกระดาษแข็งที่นำกลับมา

ใช้ซ้ำตามความต้องการใช้ในประเทศ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ปี 2564

การผลิตในกลุ่มเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2563 ยกเว้นเพียงกระดาษ

พิมพ์เขียนจะยังคงปรับตัวลดลงตามความนิยมสื่อสิ่งพิมพ์ที่ลดลง สำหรับการส่งออกกลุ่มเยื่อกระดาษยังเป็นที่ต้องการของผู้นำเข้าหลัก

อย่างประเทศจีนและมีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ในส่วนการบริโภคในประเทศ คาดว่า หลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อ

พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป ความนิยมในอาหารเดลิเวอรี่ การซื้อสินค้าออนไลน์ และธุรกิจอาหารในรูปแบบอาหารพร้อมรับประทาน

เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสของบรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับการบรรจุหีบห่อและขนส่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

การผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในปี 2563 ชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ตามทิศทางของตลาดในประเทศของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบ

นี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มบรรจุภัณฑ์ได้รับโอกาสจากคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากจากธุรกิจ e-commerce ที่มีการสั่งซื้อ

สินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

การส่งออก-นำเข้าเย??อื กระดาษ กระดาษและสิ??งพิมพ์

25

อุตสาหกรรมเซรามิก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตัวเลขคาดการณ์)

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน

และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 34 โรงงาน

2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวง

พาณิชย์ และคาดการณ์โดย สศอ.

การผลิต ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต

127.25 ล้านตารางเมตร ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 8.90 (%YoY)

และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 6.93 ล้านชิ้น ลดลงจาก

ปีก่อนด้วยเช่น ร้อยละ 13.40 (%YoY) จากการหดตัวของตลาด

ในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากการแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19

การจำหน่าย ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ

การจำหน่าย 161.25 ล้านตารางเมตร ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ

3.50 (%YoY) และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 3.56

ล้านชิ้น ลดลงจากปีก่อนด้วยเช่นกัน ร้อยละ 8.92 (%YoY)

จากภาวะเศรษฐกิจและการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การส่งออก ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่าการส่งออก

96.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 7.01 (%YoY)

จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในตลาด CLMV โดยเฉพาะ สปป.ลาว

ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่า 200.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 2.67 (%YoY) จากการหดตัวของคำสั่งซื้อ

ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ปี 2564

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ปี 2564 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้

ภายในประเทศ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัว ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2 ความกังวล

เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ส่วนการส่งออกเซรามิก ในภาพรวมคาดว่าจะมีแนวโน้ม

ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากคำสั่งซื้อเครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยเครื่องประดับ ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์

เซรามิกอื่น ๆ โดยตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และกลุ่มประเทศ CLMV

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำร่องส่งเสริมการนำงานวิจัยและ

พัฒนาเทคโนโลยีเซรามิก มุ่งเน้นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ในพื้นที่

จังหวัดลำปาง โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและ

ต่างประเทศ และการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในการนำความรู้

ไปต่อยอดเพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ต่อไป

ปริมาณการผลิต (ล้านตารางเมตร)

ปริมาณการจำหน่าย (ล้านตารางเมตร)

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ปี 2563 ลดลงจากปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นจากยอดคำสั่งซื้อในตลาด CLMV โดยเฉพาะ

สปป.ลาว สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ปี 2564 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ

จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย

26

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2557 2558 2559 2560

มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ปริมาณการผลิตและจำหน่าย

มูลค่าส่งออกและนำเข้าปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) (ตัวเลขคาดการณ์)

2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และคาดการณ์โดย สศอ.

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2563 มีปริมาณ

การผลิต 39.87 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 2.62 (%YoY)

จากการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว

มากนักอันเนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2563

มีปริมาณ 35.39 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ

2.08 (%YoY) จากการการขยายตัวของก่อสร้างโครงสร้าง

พื้นฐานและการเร่งดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ

ในพื้นที่ต่างๆ

การส่งออก-นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2563

การส่งออกมีมูลค่า 271.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อน

ร้อยละ 20.23 (%YoY) เป็นผลจากความไม่มั่นใจทางเศรษฐกิจ

ของผู้บริโภคอันเนื่องจากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่ยังไม่หมดไป โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นตลาดส่งออก

หลักของไทย ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 90.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 21.17 (%YoY) สืบเนื่องจากตลาด

ในประเทศยังมี Supply ส่วนเกินอยู่อีกค่อนข้างมาก

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปี 2564

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี 2564 การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมเม็ด) คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย

จากการเร่งขยายการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐบาลทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่ ๆ แต่การจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวม

เม็ด) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากในภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ยังมีสต๊อกคงค้างอยู่มาก ประกอบกับความไม่มั่นใจในภาวะ

เศรษฐกิจอันเนื่องจากผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่หมดไป ซึ่งผลกระทบนี้คาดว่าน่าจะยังส่งผลกระทบต่อไปอีกระยะหนึ่ง

อย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 หรือจนกว่าการได้มาของวัคซีนมีความชัดเจนแน่นอน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

รัฐบาลพยายามที่จะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในหลาย ๆ ทางเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนและมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น ประชาชน

มีรายได้เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ 3 มาตรการสำคัญ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายระยะสั้นภายในประเทศให้เกิดขึ้น ได้แก่

มาตรการเติมเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง มาตรการช้อปดีมีคืน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเหล่านี้

แม้จะไม่ใช่การกระตุ้นกำลังซื้อปูนซีเมนต์โดยตรง แต่ก็อาจเป็นการช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีต่อธุรกิจที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้าต่อไปได้

รวมถึงการเร่งขยายการก่อสร้างสาธารณูปโภคทั้งโครงการเก่าและใหม่ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นให้เกิดการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์

ในบริเวณใกล้เคียงในอีกทางหนึ่ง

ปริมาณรผลิต (ล้านตัน)

ปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศ (ล้านตัน)

ปริมาณอุตกรการผลิต....ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560......เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559เป็นผจาก.

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปี 2563 เมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตมีปริมาณลดลงจากภาวะเศรษฐกิจ

ที่ยังฟื้นตัวไม่มากนัก การจำหน่ายยังสามารถเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ

การส่งออก การนำเข้ามีมูลค่าลดลงจากผลกระทบทางเศรษฐกิจเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังมี Supply ส่วนเกินในประเทศอยู่

27

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์

/ ปี 2563-2564 เป็นตัวเลขคาดการณ์

การผลิต

ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

ปี 2563 คาดว่าจะลดลง ร้อยละ 12.40 28.07 และ 14.37

ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการระบาดของ

เชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค

ในประเทศและการส่งออก ส่งผลให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบ

ต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง

การจำหน่ายในประเทศ

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปี 2563

คาดว่าจะลดลง ร้อยละ 21.17 25.30 และ 28.30 ตามลำดับ

เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึง

กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบการ

ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การส่งออก

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมปี 2563

คาดว่าจะมีมูลค่า 5,715.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ

17.28 (%YoY) หากพิจารณารายสินค้า คาดว่า เส้นใยสิ่งทอ

มีมูลค่า 1,201.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 20.40

เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่า 1,828.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 17.46 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจาก

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตลาดสำคัญที่ลดลง

ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม

คาดการณ์แนวโน้ม ปี 2564

การผลิต ส่งออก และจำหน่ายในประเทศ ผลิตภัณฑ์

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวได้

จากปี 2563 ตามภ วะเศรษ ฐกิจโลกที่เริ่มฟื้น ตัวขึ้น

จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศทั้งภาคการบริโภค

และการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลาย

ประเทศ และการมีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คาดว่า

จะใช้ได้ในปี 2564

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น คนละครึ่ง

เฟส 2 และ ช้อปดีมีคืนจะทำให้ภาคครัวเรือนมีกำลังซื้อสินค้า

อุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น

- รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย

(S-curve) ซึ่งผู้ป ระ ก อ บ ก รสิ่งท อ แ ล เค รื่อ งนุ่งห ม

ควรใช้โอกาสนี้เร่งพัฒนาเส้นใยสมบัติพิเศษให้มีคุณภาพ

และหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาส

ทางการตลาดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ๆ เช่น เส้นใย

ยับ ยั้งแบคทีเรีย ผ้าผืน ที่ระบายอากาศได้ดี สำห รับ

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

สถานการณ์ปี 2563 คาดว่า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะชะลอตัวทั้งในภาคการผลิต

และการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี

ถึงแม้ว่าการผลิตและส่งออกช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 จะมีสัญญาณดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำให้ภาพรวมของปี

2563 ขยายตัวได้

28

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้

ในประเทศ (ล้านชิ้น)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเหตุ : *ค่าคาดการณ์

มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ หมายเหตุ : *ค่าคาดการณ์

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณ 8.24

ล้านชิ้น ล ดลงร้อยละ 4.85 เมื่อเปรียบ เทียบ กับ ปีก่อน

โดยมีสาเหตุจากคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ปี 2563 คาดว่า

จะมีปริมาณ 1.43 ล้านชิ้น ปรับลดลงร้อยละ 11.18 เมื่อเปรียบเทียบ

กับปีก่อน จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเป็น

ผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อช่วงต้นปี

ที่ผ่าน มา ถึงแม้ว่าภาครัฐจะสามารถควบคุมการระบาด

ภายในประเทศได้ แต่ภาคเศรษฐกิจก็ยังคงได้รับผลกระทบ

จากการห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปเดินทางเข้ามาในประเทศ

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่ารวม

3,191.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.71 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ปีก่อน แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วนคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก

948.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.27 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ปีก่อน ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 2,114.12

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.33 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 128.85 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.89 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยมีสาเหตุ

หลักมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก

รวมถึงประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย อาทิ จีน

สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2564

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ปี 2564 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จากการผลิตเพื่อตอบสนอง

ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและการเปิดให้นักท่องเที่ยวรวมถึงนักธุรกิจ

ต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศ ในส่วนของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

จากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกสำคัญ ๆ

9.96 10.35 9.87

8.66

8.24

1.53 1.58 1.53 1.61 1.43

0.00

2.00

4.00

6.00

8.00

10.00

12.00

2559 2560 2561 2562 2563*

การผลิต การจำหน่ายในประเทศ

12.46 12.99

-5.71

-7.63

-3.71

-10.00

-5.00

0.00

5.00

10.00

15.00

-

500.00

1,000.00

1,500.00

2,000.00

2,500.00

3,000.00

2559 2560 2561 2562 2563*

เครื??องเรือนและชิน?? ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้

ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ อัตราการขยายตัว (YOY)

ปี 2563 คาดว่า ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ มีแนวโน้มลดลงร้อยละ

4.85 และ 11.18 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนตามลำดับ เป็นผลจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

ขณะที่มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงร้อยละ 3.71 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

จากสาเหตุการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตลาดส่งออกที่สำคัญ

29

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, หมายเหตุ: *ค่าคาดการณ์

มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, หมายเหตุ: *ค่าคาดการณ์

การผลิตยา ในปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณ 71,306.42 ตัน

เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.97 โดยเป็นการขยายตัวของการผลิต

ยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ยาฉีด และยาครีม ตามคำสั่งซื้อ

ที่เพิ่มขึ้นเพื่อกักตุนสินค้าเนื่องจากผู้ซื้อกังวลว่าจะเกิดปัญหายา

ขาดแคลนจากการทยอยปิดประเทศ/ระงับการส่งออกวัตถุดิบ

ทางยาและยาของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย อาทิ จีน อินเดีย

ประกอบกับความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของโรงพยาบาลทั่วประเทศ

จากการสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังล่วงหน้า

การจำหน่ายยา ในปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณ 59,372.12 ตัน

เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.66 ตามความต้องการใช้ในประเทศ

ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การส่งออกยา ในปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า 421.65 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 0.40 จากการขยายตัว

ของตลาดกัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การขนส่ง

ระหว่างประเทศที่ล่าช้าและยากลำบากเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดัน

ให้มูลค่าการส่งออกสินค้ายาของไทยในปีนี้ไม่สูงมากนัก สำหรับ

การนำเข้ายาคาดว่าจะมีมูลค่า 1,818.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.33 โดยเป็นการนำเข้ายาจากอินเดีย

เยอรมนี ฝรั่งเศส ฯลฯ เพิ่มขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ปี 2564

การผลิตยาในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.26 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและ

ต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกหลักที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนคือตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะ

เวียดนามและเมียนมา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

กระทรวงสาธารณสุขได้รับจัดสรรเงินงบประมาณกว่า 6,049 ล้านบาท และได้ลงนามในสัญญาการจอง

ล่วงหน้าและการจัดซื้อวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 กับบริษัท แอสตราเซเนกา ประเทศไทย และบริษัท

แอสตราเซเนกา สหราชอาณาจักร จำนวน 26 ล้านโดส สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง 13 ล้านคน ภายในกลางปี 2564

โดยมีบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกัน

โรคโควิด-19 แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับการวิจัยและพัฒนา

ในอุตสาหกรรมการผลิตยาและชีววัตถุของไทยต่อไป

0

20,000

40,000

60,000

80,000

2559 2560 2561 2562 2563*

การผลิต การจำหน่าย

0

500

1,000

1,500

2,000

2559 2560 2561 2562 2563*

การส่งออก การนำเขา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ ปี 2563 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแนวโน้ม

ความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีในตลาดกัมพูชา เวียดนาม และญี่ปุ่น

30

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์

และถุงมือยาง (ล้านตัน/ล้านเส้น/พันล้านชิ้น)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, หมายเหตุ: *ค่าคาดการณ์

มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ

ถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, หมายเหตุ: *ค่าคาดการณ์

? การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ในปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณ 1.78 ล้านตัน 56.17

ล้า น เส้น แ ล 26,462.41 ล้า น ชิ้น ต ม ล ดับ

โดยการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์ลดลงจาก

ปีก่อนร้อยละ 7.36 และ 19.81 ตามลำดับ ตามปริมาณ

วัตถุดิบที่เข้าสู่ตลาดลดลงและการชะลอตัวของตลาด

ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่การผลิตถุงมือยาง

เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.81 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น

? การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ

ถุงมือยาง ในปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณ 4.45

แสน ตัน 36.87 ล้าน เส้น และ 3,487.30 ล้าน ชิ้น

ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่ายยางรถยนต์ลดลง

จากปีก่อนร้อยละ 15.86 ตามการชะลอตัวของสภาวะ

เศรษฐกิจ ในขณะที่การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม

แ ล ถุงมือ ย งเพิ่ม ขึ้น ร้อ ย ล 1.42 แ ล 12.02

ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์

ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ

ถุงมือยาง ในปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า 3,303.13

5,490.59 และ 2,303.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

โดยการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มีมูลค่า

ลดลงร้อยละ 20.26 และ 4.98 ตามลำดับ จากการ

ชะลอตัวของตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่

การส่งออกถุงมือยางมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.44

ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปี 2564

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.81 4.98

และ 8.61 ตามลำดับ เนื่องจากฐานตัวเลขการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์ของปี 2563 ค่อนข้างต่ำ

ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้ม

ความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

0

20

40

60

80

2559 2560 2561 2562 2563*

ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต์ ถุงมือยาง

-5.31

27.55

-6.63

2.04

-0.24

-10

0

10

20

30

0

2,000

4,000

6,000

8,000

2559 2560 2561 2562 2563*

ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต์

ถุงมือยาง อัตราการขยายตัว

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์ ปี 2563 คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนตามปริมาณ

ผลผลิตยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง และการชะลอตัวของตลาด Replacement อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

รวมถึงการส่งออก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก

31

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

การผลิต การส่งออก การนำเข้า

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

* รวมถึงกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก

การผลิต

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ปี 2563 มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ

22.77 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กระเป๋า

เดินทาง* และกลุ่มรองเท้า มีการผลิตชะลอตัว ร้อยละ 15.18 และ

27.56 จากความต้องการ ที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่าย

ในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเป็น

ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก ปี 2563 มีมูลค่ารวม 1,383.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 26.77 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนัง

และผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง รองเท้าและ

ชิ้น ส่วน ล ด ล ง ร้อ ย ล 22.33 44.34 แ ล 19.90 ต ม ล ดับ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจ

โลกชะลอตัว โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม จีน

สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และเมียนมา

การนำเข้า ปี 2563 มีมูลค่ารวม 1,544.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลง ร้อยละ 26.84 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการนำเข้า

หนังดิบและหนังฟอก กระเป๋า และรองเท้าลดลง ร้อยละ 30.83 27.33

และ 21.08 ตามลำดับ จากความต้องการบริโภคสินค้าภายในประเทศ

ที่ลดลง โดยมีตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เดนมาร์ก อาร์เจนตินา อิตาลี

ฝรั่งเศส จีน และเวียดนาม

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ปี 2564

การผลิตผลิตภัณฑ์รองเท้าและเครื่องหนัง ปี 2564 คาดว่า ทุกผลิตภัณฑ์จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นทั้งการผลิตหนังฟอกและตกแต่งหนังฟอก

กระเป๋าเดินทาง และรองเท้า จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เป็นผลจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยว

จากชาวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) สำหรับการนำเข้า คาดว่า ทุกผลิตภัณฑ์จะกลับมา

ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับภาคการผลิต เช่นเดียวกับสินค้ากลุ่มกระเป๋า

และรองเท้าที่จะมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว

ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก กระเป๋าเดินทาง* และรองเท้า มีการผลิตลดลง

ตามความต้องการที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ

ในปัจจุบัน

32

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ปี 2563 ลดลง

ร้อยละ 16.03 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการผลิต

เพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง จากสถานการณ์

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการผลิตเพชร

เจียระไน เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง

ร้อยละ 69.00 3.80 และ 41.67 ตามลำดับ

การจำหน่าย

การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม

ปี 2563 ลดลงร้อยละ 12.38 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวัง การใช้จ่ายและมีความกังวล

เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

การส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ปี 2563 มีมูลค่า

รวม 4,728.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 41.61

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกเพชร พลอย

เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ

41.39 60.81 30.52 และ 41.37 ตามลำดับ โดยมีตลาด

ส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อินเดียและเยอรมนี

แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ

ในภาพรวม มีมูลค่ารวม 20,048.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.77 จากมูล ค่าการส่งออกท องคำ

ยังไม่ขึ้นรูปที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.75

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2564

ปี 2564 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมยังคงมีทิศทางทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เป็นผลจากสถานการณ์

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุน

ภายในประเทศ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special

Tourist Visa (STV) อีกทั้งฐานข้อมูลของปี 2563 อยู่ในระดับต่ำ สำหรับมูลค่าการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป)

คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปี 2563 การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมปรับตัวลดลง ร้อยละ 16.03 และ 12.38

ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศลดลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สำหรับการส่งออก มีมูลค่าลดลงตาม

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว

33

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีการผลิต ปริมาณการจำหน่าย มูลค่าการส่งออก

และมูลค่าการนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : 1) ดัชนีอุตสาหกรรมจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2) มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์ จัดกลุ่มโดย

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีการผลิตอาหาร ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 102.1 หดตัว

จากปี 2562 ร้อยละ 5.0 (%YoY) จากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้วัตถุดิบ

ทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ลดลง ประกอบกับผลกระทบ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้

การบริโภคในประเทศลดลงจากมาตรการห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เข้าประเท ศและการบริโภคของตลาดในป ระเทศชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าบางประเภทได้อานิสงส์จากสถานการณ์

ดังกล่าว เช่น ผลไม้และผักแปรรูป โดยเฉพาะผลไม้และผัก

บรรจุกระป๋อง ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น

และอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์เลี้ยง

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ปี 2563 มีปริมาณ

244.1 ล้านตัน หดตัวเล็กน้อยจากปี 2562 ร้อยละ 0.1

(%YoY) จากการจำหน่ายสินค้าน้ำตาล แป้งมันสำปะหลัง

น้ำมันปาล์ม เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง

และการชะลอตัวของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อ

ของผู้บริโภคมีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้นจากการที่ภาครัฐ

ได้กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการ

คนละครึ่ง โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

รวมถึงมาตรการการเปิดให้นักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ เข้ามา

พำนักระยะยาวในไทย

การส่งออก ปี 2563 มีมูลค่า 29,445.5 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หดตัวจากปี 2562 ร้อยละ 3.7 (%YoY) จากการส่งออก

สินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากปัญหา

ภัยแล้งที่ส่งผลให้วัตถุดิบการเกษตรลดลง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง

และไก่แปรรูป จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึง

การล็อกดาวน์ประเทศ และข้าว จากการขาดความสามารถ

ในการแข่งขันทางด้านราคากับประเทศคู่แข่งอย่างอินเดียและ

เวียดนาม

การนำเข้า ปี 2563 มีมูลค่า 14,655.8 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวเล็กน้อยจาก ปี 2562 ร้อยละ 0.1 (%YoY)

จากสินค้าปลาทูน่าสด แช่เย็น แช่แข็ง ตามความต้องการสำรอง

ทูน่ากระป๋องเพื่อความมั่นคงทางอาหาร เมล็ดพืชน้ำมัน

(ถั่วเหลือง) จากความต้องการของอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลือง

และการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อรองรับการขยายตัว

ของอุตสาหกรรมนมและอาหารอื่น ๆ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2564

คาดว่าดัชนีภาพรวมผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3 เนื่องจากผลผลิต

ทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีเพาะปลูกที่ผ่านมา ประกอบกับในปี 2564 มีสัญญาณ

การส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว ผู้บริโภคเริ่มมีกำลังซื้อ นำไปสู่ความต้องการบริโภคสินค้าอาหาร

พื้นฐานและอาหารสำเร็จรูปทั้งตลาดในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น เนื้อไก่สุกปรุงรส กุ้งแช่แข็ง

ผลไม้กระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ สอน.

ได้ประมาณการผลผลิตอ้อย ปี 2563/64 มีไม่เกิน 70 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปีก่อนประมาณ 5 ล้านตัน ส่งผลให้การผลิตน้ำตาล

มีแนวโน้มลดลง

ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารปี 2560ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559เพื่อรองรับผลผลิต

ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรง ขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัวอย่าง

ต่อเนื่อง กอปรกับการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีการผลิตและการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารปี 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน จากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้

วัตถุดิบทางการเกษร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ลดลประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ทำให้การบริโภคในประเทศลดลงทั้งจากมาตรการห้านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศและการชะลตัวของผู้บริโภคในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าบางประเภทได้อานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าว เช่น ผลไม้และผักแปรรูป โดยเฉพาะผลไม้และผัก

บรรจุกระป๋อง ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น และอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์เลี้ยง สำหรับมูลค่าส่งออก

อาหารหดตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ผลกระทบจากมาตรการคุ้มเข้มล็อกดาวน์ รวมถึงปัญหาการส่งออกสินค้าอาหารทางเรือ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ