ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 2.20 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากอัญมณีและเครื่องประดับ (หักทอง) สิ่งทอ ประเภทเครื่องนุ่งห่ม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เมื่อไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยาน หดตัวร้อยละ 1.86 ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวในตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดอาเซียน (5) จีน CLMV และสหภาพยุโรป (27) ยังคงหดตัว อัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) เดือนพฤศจิกายน ปี 2563
World -2.20 %China -13 .9%Japan +8.92 %()EU 27 -6.37 %USA +16 .52 %CLMV -7.2%Asean (5) -14 .42 %หมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน
CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
เดือนพฤศจิกายน 2563 การส่งออกรวมมีมูลค่า 18,932.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาการส่งออกในหมวดสินค้าสำคัญพบว่า สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 15,2023.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.92 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 15,062.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.20 โดยหดตัวจากอัญมณีและเครื่องประดับ (หักทอง) สิ่งทอ ประเภทเครื่องนุ่งห่ม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้านสินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่า 1,809.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.92 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่า 1,425.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.20 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 18,880.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.99 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า 1,962.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.80 สินค้าทุนมีมูลค่า 5,081.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.46 โดยสินค้าทุนหดตัวจากเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 6,639.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.49 จากการนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง
ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวในตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดอาเซียน (5) จีน CLMV และสหภาพยุโรป (27) ยังคงหดตัว ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ cในเดือน พ.ย. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 3,056.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ Eโดยเฉพาะฮาร์ด ดิสก์ ไดร์ฟ แผงวงจรไฟฟ้า โดยหดตัวร้อยละ 7.4 23.1 และ 8.2 ตามลำดับ จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น และ เม็กซิโก sdเครื่องใช้ไฟฟ้า IoefOในเดือน พ.ย. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 2,115.1 ล้านเหรียญมรสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รจากการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟกหและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 17.0 41.3 และ 15.8 ตามลำดับ จากการส่งออกไปสุตประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้นอิจกฐษเม็ดพลาสติก รเศนางักนำสในเดือน พ.ย. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 694.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกไปยังประเทศจีน เวียดนาม อาเซียน (5) และญี่ปุ่น ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน พ.ย. 2563 เป็นการปรับลดลงทั้งด้านปริมาณและราคา โดยปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกมีปริมาณ 536.5 ล้านกิโลกรัม หดตัวร้อยละ 10.4 และดัชนีราคาส่งออกเม็ดพลาสติกหดตัวร้อยละ 2.0
ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ในเดือน พ.ย. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 2,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนตามการส่งออกรถยนต์ที่ขยายตัวเป็นเดือนแรกในรอบแปดเดือน ตั้งแต่ ก.พ. 2563 โดยขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 19.3 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือน พ.ย. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 467.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกสินค้าต้นน้ำอย่างด้ายและเส้นใยประดิษฐ์หดตัวร้อยละ 9.5 จากการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม ส่วนสินค้ากลางน้ำอย่างผ้าผืนหดตัวร้อยละ 20.8 จากการส่งออกไปประเทศCLMV บังคลาเทศ จีน และสินค้าปลายน้ำอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 22.6 จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
อัญมณีและเครื่องประดับ
(ไม่รวมทองคำแท่ง)ในเดือน พ.ย. 2563 มีมูลค่าการส่งออก 510.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 28.4 จากการส่งออกเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองไปยังประเทศฮ่องกง เยอรมนี สิงคโปร์ เบลเยี่ยม และสวิตเซอร์แลนด์ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 32.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกทองคำแท่งที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่า 160.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 42.7 ไปยังประเทศกัมพูชา สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม