ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2563
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการกลับมาหดตัวอีกครั้ง จากผลกระทบของการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ในปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 8.8 เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกันยายน การผลิตหดตัวร้อยละ 2.2 เดือนตุลาคม หดตัวร้อยละ 0.4 และเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 0.2 Indicators 2562 2563 %MoM ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. MPI 1.8 5.1 -2.9 2.7 -24.7 2.1 4.0 5.3 5.2 3.9 0.6 1.6 -0.8 สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกันยายน เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 3.9 เดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 0.6 และเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 1.6
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ น้ำตาล หดตัวร้อยละ 50.55 เนื่องจากปีนี้เปิดหีบช้าและจำนวนโรงงานที่เริ่มเปิดหีบน้อยกว่าปีก่อน (ปีก่อนเปิดหีบ 57 โรงงาน ปีนี้เปิดหีบ 44 โรงงาน) จากผลของสภาพอากาศแห้งแล้งต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตอ้อย
การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 9.75 จากน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศลดลงอย่างมาก
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ หดตัวร้อยละ 16.72 จากสินค้ายางแท่งและยางแผ่นเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว คำสั่งซื้อลดลง รวมถึงปัญหาน้ำท่วม ในภาคใต้ทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ รวมถึงผู้ผลิตบางรายเปลี่ยนแผนเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อ แทนการผลิตเก็บไว้เป็นสต็อก
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 ตามความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
รถยนต์ และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.49 จากตลาดในประเทศที่ปรับตัวได้ดีขึ้นจากการจัดงานแสดงรถยนต์ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 โดยผู้ผลิตออกรถยนต์รุ่นใหม่และมีการจัดการส่งเสริมการขายเป็นพิเศษทำให้มีคำสั่งซื้อและการส่งมอบเพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายตัวของธุรกิจขนส่งจากการเติบโตของตลาดออนไลน์ เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนธันวาคม 2563
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนธันวาคม 2563 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 1,567.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักร ใช้ในการแปรรูปไม้ และส่วนประกอบ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 7,128.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ประเภทเม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ประเภทเหล็กและเหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้า เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 250 โรงงาน เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤศจิกายน 2563 ร้อยละ 25.63 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 38.12 (%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่ารวม 16,384 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2563 ร้อยละ 37.34 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 14.87 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2563 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 29 โรงงาน และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 17 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยางที่มิใช่ ยางล้อ จำนวนเงินทุน 3,456 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 2,400 ล้านบาท
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนธันวาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 61 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2563 ร้อยละ 38.64 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.64 (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่ารวม 1,101 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2563 ร้อยละ 0.82 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 79.5 (%YoY) "อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการตัดการเย็บเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 4 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน พลาสติก จำนวน 4 โรงงาน เท่ากัน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนธันวาคม 2563 คือ อุตสาหกรรม การทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 247 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม การทำภาชนะบรรจุ เช่น ถุงหรือกระสอบ มูลค่าเงินลงทุน 172 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนธันวาคม 2563 1.อุตสาหกรรมอาหาร
การผลิต ดัชนีผลผลิตในภาพรวมกลุ่มสินค้าอาหารเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ 12.0 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการระบาด ของเชื้อไวรัสโโควิด-19 รอบใหม่ในตลาดส่งออกสำคัญ โดยสินค้าที่มีผลต่อการปรับลดของดัชนีผลผลิต มีดังนี้ (1) น้ำตาล ลดลง (%YoY) ร้อยละ 50.6 (2) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็นหรือ แช่แข็ง ลดลง (%YoY) ร้อยละ 17.3 โดยกุ้งแช่แข็งซึ่งเป็นสินค้าสำคัญ ลดลง (%YoY) ร้อยละ 9.8 และ (3) สินค้าปศุสัตว์ ลดลง (%YoY) ร้อยละ 3.8 ทั้งนี้ หากไม่รวมน้ำตาล ภาพรวมดัชนีผลผลิตอาหารขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตในอุตสาหกรรมอาหารบางชนิดที่ขยายตัวได้ดี เช่น (1) ข้าวโพดหวานกระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 83.2 เนื่องจากความต้องการทั้งตลาดในและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน (2) อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 14.4 เนื่องจากการกักตุนในตลาดอเมริกา ญี่ปุ่น อิตาลี ที่สถานการณ์การะบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย รวมถึงการขยายตัวจากตลาดในประเทศ (3) ทูน่ากระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 14.4 เนื่องจากยังคงได้อานิสงส์จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น และ (4) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 12.2 เนื่องจากพื้นที่เก็บเกี่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับจีนซึ่งเป็นตลาดหลักต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนสต็อกข้าวโพดที่ลดลง การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร ในประเทศเดือนธันวาคม 2563 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 17.6 จากสินค้าบางประเภท เช่น (1) ข้าวโพดหวานกระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 75.9 (2) ปลาแช่แข็ง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 33.2 (3) น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 24.9 (4) เนื้อไก่สุกปรุงรส ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 15.3 (5) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว(%YoY) ร้อยละ 13.9 (6) ปลาทูน่ากระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 8.9 ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 2,278.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 2.9 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ (1) น้ำตาลทราย เนื่องจากบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ มีแนวโน้มการส่งออกน้ำตาลทรายมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคา (2) ทูน่ากระป๋อง เนื่องจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ส่งผลให้ส่งมอบสินค้าล่าช้า (3) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เนื่องจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และผลกระทบจากการะบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การบริโภค ไก่ลดลง (4) ข้าว เนื่องจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ประกอบกับข้าวไทยมีแนวโน้มด้านราคาปรับตัวสูงขึ้น จึงไม่สามารถแข่งขัน ด้านราคากับคู่แข่งได้ คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ในภาพรวมเดือนมกราคม 2564 หดตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ได้ขยายขอบเขต เป็นวงกว้างในหลายจังหวัด ทำให้มีการเพิ่มมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดหลายด้าน เช่น การกำหนดเวลาใช้บริการร้านอาหาร และเครื่องดื่มระหว่าง การปิดโรงเรียน การทำงานที่บ้านของหน่วยงาน ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภคในประเทศ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มชะลอตัว สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะหดตัวลดลง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และจีนในบางพื้นที่ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2563
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 91.4 สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า
คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า หม้อหุงข้าว และพัดลมตามบ้าน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.0, 28.1, 23.2, 23.0, 15.0, 14.4, 4.8 และ 3.5 ตามลำดับ โดยสายไฟฟ้าและหม้อหุงข้าว มีการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนหม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องซักผ้า และคอมเพรสเซอร์ มีการจำหน่าย ในประเทศเพิ่มขึ้น มอเตอร์ไฟฟ้าและตู้เย็น มีการจำหน่ายในต่างประเทศ
เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล กระติกน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ และ เตาอบไมโครเวฟ โดยลดลงร้อยละ 35.9, 26.8, 10.1 และ 2.8 ตามลำดับ เนื่องจากสายเคเบิ้ลและกระติกน้ำร้อน มีคำสั่งซื้อ จากในประเทศลดลง ส่วนครื่องปรับอากาศและเตาอบไมโครเวฟ มีคำสั่งซื้อ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,210.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 198.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.5 จากตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 195.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 ในตลาดปากีสถาน สิงคโปร์ และอินเดีย และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 72.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 ในตลาด
สหรัฐอเมริกาและเอเซีย ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ มอเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 77.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.6 ในตลาดจีน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกามูลค่า 80.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 3.8 ในตลาดแคนาดาและจีน "คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ครั้งก่อน รวมถึงนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่สนับสนุนให้เกิดการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น"
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 101.2 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, PWB, IC และ PCBA โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.5, 36.4, 13.1 และ 2.1 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 8.6 และ 1.9 เนื่องจาก ความต้องการสินค้าของตลาดต่างประเทศลดลง การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,514.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA มีมูลค่า 136.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 ในตลาดอาเซียน จีน และสหรัฐอเมริกา และ IC มีมูลค่า 688.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.33 ในตลาดเนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก และอาเซียน "คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจาก PCBA เป็นแผงวงจรพิมพ์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยังมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึง สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ประชาชนบางส่วน Work from Home และมีการเรียนออนไลน์ทำให้มีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2563
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 143,073 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 17.04 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.61 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นับจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนธันวาคมปี 2563 มีจำนวน 104,089 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 31.46 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.58 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รวมทั้งรถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเดือนที่ 2 นับตั้งแต่มีการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้ง มียอดจำหน่ายในประเทศเกินหนึ่งแสนคันเป็นเดือนแรก สะท้อนถึงเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับ การออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งเสริม การขายของผู้จำหน่ายรถยนต์ในงานมหกรรมยานยนต์วันที่ 1-13 ธันวาคม 2563 ที่มียอดจองรถยนต์กว่า 33,000 คัน การส่งออกรถยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 68,481 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 8.12 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.24 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาด ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2563 เนื่องจาก ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก"
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์200,000 180,000 174,645 163,163 166,636 160,000 151,703 140,000 158,839 161,644 137,847 159,099 120,000 119,008 100,000
80,000 63,517 66,669 60,000 75,819 40,000 20,000
0ธ.ค. 62 ม.ค. 63 ก.พ. 63 มี.ค. 63 เม.ย. 63 พ.ค. 63 มิ.ย. 63 ก.ค. 63 ส.ค.63 ก.ย.63 ต.ค.63 พ.ย.63 ธ.ค.63 ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 159,099 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 9.38 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.16 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มียอดจำหน่ายจำนวน 123,844 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 3.15 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.00 (%YoY)จากการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และ 251-399 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 33,059 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนปี 2563 ร้อยละ 14.71 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.32 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศเบลเยียม สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2563 เนื่องจาก ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดเชื้อของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก" 4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 18.73 โดยเป็นการชะลอตัวในสินค้าทุกชนิด ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของวัตถุดิบยางที่ลดลง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.25 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.78 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.36 โดยเป็นการขยายตัว ในผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.90 ตามการขยายตัวที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 50.45 เนื่องจากผู้ผลิต ในประเทศปรับลดการส่งสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง และหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.02 โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามความต้องการใช้ของมาเลเซีย จีน และญี่ปุ่น ที่ปรับตัวสูงขึ้น
ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.75 ตามการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา
ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 220.26 ตามการขยายตัวต่อเนื่องของตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน และเยอรมนี ตามลำดับ ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2564 การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานกรีดยางทำให้มีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และการขยายตัว ของการส่งออก สำหรับการผลิตถุงมือยาง คาดว่า จะขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามแนวโน้ม ความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ และสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่คลี่คลายในหลายประเทศ ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศของผู้ผลิตคาดว่าจะยังคงหดตัวลงตามการปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมาเลเซียมีความต้องการใช้น้ำยางข้นจากไทย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางที่ขยายตัว ตามตลาดโลก และจีนมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในประเทศ ทำให้มีแนวโน้มความต้องการใช้ยางพารา จากไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะทรงตัวหรือมีมูลค่าลดลงเล็กน้อย ตามแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากประเด็นการไต่สวนการทุ่มตลาดและการขาดแคลนตู้สินค้า ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตไทยสูงขึ้นประมาณร้อยละ 25 ซึ่งอาจมีผลต่อการแข่งขันด้านราคากับสินค้ายางรถยนต์จากประเทศอื่นในระยะต่อไป ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
9 ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2563
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการสงสินคา 110 100
90 80 70 60 ดัชนีผลผลิตดัชนีการส่งสินค้าที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต เดือนธันวาคม 2563 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 88.11 ขยายตัวร้อยละ 6.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แผ่นฟิล์มพลาสติกขยายตัวร้อยละ 29.13 กระสอบพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 24.22 และพลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 23.10
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนธันวาคม 2563 ค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 87.60 หดตัวร้อยละ 1.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ หดตัวร้อยละ 15.22 ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัว ร้อยละ 15.20 และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกกึ่งสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 5.74
การส่งออก เดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 347.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 42.48 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 20.79 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทฟิล์ม (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 13.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น อินเดีย และเวียดนาม ปริมาณ"ละมลคาการสงออก-นา"ขา
140,000 500 120,000 450 400 100,000 350 300 80,000
250 60,000
200 40,000 150 100 20,000
500 -ปริมาณการส่งออก (ตัน)ปริมาณการนำเข้า (ตัน)มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 428.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 8.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 32.73 กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ทำจากพลาสติก (HS 3923) ขยายตัวร้อยละ 22.90 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 15.68 แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมกราคม 2564 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมพลาสติกของไทย 6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต เดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 83.35 ขยายตัวร้อยละ 3.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัว ร้อยละ 13.39 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 41.45 เนื่องจากขาดแคลนกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 11.78 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด ได้แก่ การผลิตปุ๋ยเคมี ขยายตัว ร้อยละ 92.39
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนธันวาคม 2563 อุตสาหกรรม
และจีน เคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 94.44 ขยายตัวร้อยละ 14.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 9.67 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล สำหรับ กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ร้อยละ 26.03 ขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม และการผลิตน้ำหอม เครื่องสำอาง และเครื่องประทินโฉม เป็นต้น การส่งออก เดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 743.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.47 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 426.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.82 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 317.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.02 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น ปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 62.34 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 19.09 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 14.87 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน การนำเข้า เดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่า 1,272.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.72 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า การนำเข้า 898.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.40 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 373.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.87 แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมกราคม 2564 การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในประเทศ คู่ค้าหลัก รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกของไทย ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2563
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนธันวาคม ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 108.61 หรือขยายตัว ร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 17.65 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็น ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene ขยายตัวร้อยละ 45.56 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ EPS และ ABS resin ขยายตัวร้อยละ 55.30 และ 11.25
ดัชนีการสงสินคา ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 101.85 หดตัวร้อยละ 5.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 11.30 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Ethylene หดตัวร้อยละ 14.87 และ 12.55 และปิโตรเคมี ขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin และ Polyethylene หดตัว ร้อยละ 28.71 และ 2.91
การสงออก การส่งออกเดือนธันวาคม ปี 2563 มีมูลค่า 947.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 9.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 17.77 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Toluene เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 15.50 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PS resin, PET resin และ PVC resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 8.49
การนำเข้า การนำเข้าเดือนธันวาคม ปี 2563 มีมูลค่า 489.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 28.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว ร้อยละ 10.93 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene Toluene เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 64.49 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นปลาย เช่น PVC resin, SAN resin เป็นต้น ขยายตัว ร้อยละ 20.53 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมกราคม ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรม จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และความกังวลของตลาดโลกกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ (Second Wave Covid-19) อาจทำให้การส่งออกยังคงไม่เข้าสู่สภาวะปกติ8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีค่า 92.5 ขยายร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรม ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 89.3 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 20.2 รองลงมา คือ ลวดเหล็ก และลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 19.4 และ 13.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 95.5 ขยายตัวร้อยละ 13.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 281.6 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 248.1 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 21.3 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 12.9 การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 1.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ขยายตัว เป็นเดือนแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายขยายตัว คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่าย 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 74.1 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 69.7 และ 59.9 ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 5.2 จากการจำหน่ายเหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 20.1 อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 22.6 การนำเข้า ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (ขยายตัวเป็นเดือนแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 13 เดือน) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายร้อยละ 5.0 จากการนำเข้าเหล็กลวด ประเภท Carbon Steel ซึ่งขยายตัวร้อยละ 74.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Stainless Steel และเหล็กลวด ประเภท Stainless Steel ขยายตัว ร้อยละ 50.0 และ 35.5 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 24.6 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel ซึ่งขยายตัว ร้อยละ 117.0 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน และเบลเยียม) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy Steel ขยายตัวร้อยละ 98.4 และ 47.5 ตามลำดับ "แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2564 คาดการณ์ว่า การผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ และอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย และส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ กลับมาเป็นบวกเดือนแรกในรอบ 9 เดือน โดยขยายตัว ร้อยละ 11.75 (%YoY) เพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.04 สำหรับผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 11.30 และ 25.31(%YoY) เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังส่งผลต่อ การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศทำให้การผลิตยังคงชะลอตัว แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 5.72 และ 3.00 เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 3.48 4.57 และ 21.96 (%YoY) เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การจำหน่ายผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 1.42 และ 1.52 ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น การส่งออก เส้นใยสิ่งทอ มูลค่าการส่งออกกลับมาเป็นบวกเดือนแรกในรอบ 26 เดือน โดยขยายตัว ร้อยละ 6.13 (%YoY) โดยเฉพาะ เส้นใยประดิษฐ์ขยายตัวในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ปากีสถาน อินโดนีเซีย และเวียดนาม สำหรับกลุ่มผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 4.59 และ 14.25 (%YoY) จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า มูลค่าการส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 16.71 13.67 และ 10.37 ตามลำดับ จากตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ปากีสถาน และบังกลาเทศ
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์แนวโน้มเดือนมกราคม 2564
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอจะเริ่มกลับมามีแนวโน้ม ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเส้นใยประดิษฐ์ ตามความต้องการในประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ รวมถึง มีโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา มากขึ้น จากมาตรการรณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ราชการ หรือในเครื่องบิน สำหรับเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อ ในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งในภาคการผลิตและการส่งออก 10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 6.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 2.38 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.40 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 2.89 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 1.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.95 (%YoY) การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 1.13 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 16.42 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.94 (%YoY) เป็นผลจากการปรับเพิ่มคำสั่งซื้อเป็นปริมาณสูงจากตลาดที่มิใช่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านเช่นเดิมโดยเพิ่มจากตลาดจีนสูงถึง ร้อยละ 303.81
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนมกราคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าปริมาณการผลิตอาจจะปรับตัวได้เพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยเนื่องจากยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 3.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 6.84 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.14 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) เดือนธันวาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 2.89 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 1.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.96 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2563 มีจำนวน 0.29 ล้านตัน ลดลงจากพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 14.63 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 37.70 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา และ สปป.ลาว ร้อยละ 60.54 และ 50.11 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย โดยได้ปัจจัยบวกจากการเร่งก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม