2
สารบัญ
หน้า
บทสรุปผู้บริหาร 3
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4/2563 5
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 4/2563
และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2564 14
2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 15
2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16
2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17
2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18
2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19
2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20
2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21
2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22
2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23
2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24
2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25
2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26
2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27
2.14 อุตสาหกรรมยา 28
2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29
2.16 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 30
2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31
2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32
3
บทสรุปผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2563
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4/2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)
หดตัวร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 3/2563 ที่หดตัวร้อยละ 8.1 อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว
ในไตรมาสที่ 4/2563 อาทิ การผลิตน้ำตาล ภาวะการผลิตลดลง เนื่องจากปีนี้เปิดหีบช้ากว่าปีก่อน เนื่องจากชาวไร่
ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบน้อยกว่าปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
การผลิตลดลงเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ
ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นลงโดยเฉพาะในกลุ่มเสื้อผ้า การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ
ที่มิใช่ยางล้อ ภาวะการผลิตลดลงจากสินค้ายางแท่ง เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาน้อย รวมถึงมีการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่
ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 ทำให้วัตถุดิบ (น้ำยาง) ออกสู่ตลาดลดลง สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดี
ในไตรมาสที่ 4/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นทุกรายการสินค้า เนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี
มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดหลายรุ่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ในตลาดโลก
ที่เพิ่มมากเพื่อนำไปใช้ร่วมกับกลุ่มสินค้าขั้นปลาย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2564 เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าการผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม
เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของภาครัฐ ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อ
ปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 3.9 ตามลำดับ
เนื่องจากไทยสามารถรับมือจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดี รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่กระตุ้น
เศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนยังคงมีความต้องการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ประเด็นที่ต้องติดตามและ
อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย คือ นโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ ซึ่งมีส่วนของ
การส่งเสริมพลังงานสะอาดอาจทำให้ตลาดส่งออกโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยเติบโต รวมถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ของกลุ่มคู่ค้า อาจจะทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
? อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 4.7 ตามลำดับ เนื่องจาก
ประชาชนส่วนใหญ่ Work from Home และการเรียนออนไลน์ของนักเรียนนักศึกษา ทำให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงเป็นที่ต้องการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G และผลิตภัณฑ์สำหรับ
โครงสร้างพื้นฐานทาง IT
? รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 400,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิต
เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
? รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 470,000 คัน
โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
4
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก และกระดาษ
คราฟต์) ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวในกลุ่มอาหาร ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษ
ในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมากแบบก้าวกระโดด และยังได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับส่งสินค้า
ทางออนไลน์ ในขณะที่การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ สำหรับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์จะยังหดตัว
ต่อเนื่อง
? เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวหลังจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เริ่มคลี่คลาย รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และมาตรการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ รวมถึงการผลิต
เพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจากประเทศคู่ค้าคลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยัง
กลุ่มประเทศ CLMV
? ปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะทยอย
ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบกับมาตรการ
ที่ภาครัฐทยอยออกมาเพื่อช่วยลดภาระของประชาชนและการเร่งขับเคลื่อนการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของ
ภาครัฐ
? ไม้และเครื่องเรือน คาดว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้
ในประเทศคาดว่า จะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่
ที่เกิดขึ้น
? ยา คาดว่า จะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งใน
และต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะ เมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา
ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.50 ตามแนวโน้ม
การปรับตัวดีขึ้นของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและตลาดส่งออก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 15.00 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทั่วโลก สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.00
ตามแนวโน้มปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง
? อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า ยังมีทิศทางชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับ
ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย จากการค้นพบวัคซีนและมีแผน
ที่จะนำวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ สำหรับมูลค่า
การส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ยังมีแนวโน้มชะลอตัว เช่นเดียวกับการส่งออกในภาพรวมที่มีแนวโน้มลดลง
จากการส่งออกทองคำเพื่อเก็งกำไรลดลงในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง
? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้แปรรูป
ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด เพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว
จากมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย โดยสินค้าอาหารที่ได้
อานิสงส์จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารสำเร็จรูป (ทูน่ากระป๋อง
ผักและผลไม้ประป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป
5
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4/2563
6
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2563
GDP
หดตัวร้อยละ 4.2 (%YoY)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 4.2
โดยหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ
1.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่หดตัวร้อย
ละ 6.4 ส่งผล GDP ปี 2563 หดตัวร้อยละ 6.1
GDP ภาคอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 0.7 (%YoY)
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563
หดตัวร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากไตรมาส
ที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ 5.3 และปรับตัวดีขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.2 เป็นการปรับตัว
ดีขึ้นในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรม
ยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีทิศทางดีขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ส่งผล GDP ภาคอุตสาหกรรม ปี 2563
หดตัวร้อยละ 5.7
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4
ของปี 2563 เป็นการหดตัวต่อเนื่องนาน 6 ไตรมาส
แต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากสองไตรมาสก่อนหน้าจาก
ปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมยานยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและ
การผลิตทยอยกลับมาดังเดิม รวมทั้งมาตรการ
ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ของภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะใน
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด
อีกด้วย
7
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 0.9
(%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้า
ระดับการจำหน่ายสินค้าหดตัวร้อยละ 1.8
(%YoY)
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 96.57 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (91.42)
ขยายตัวร้อยละ 5.6 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2562 (97.46) โดยหดตัวร้อยละ 0.9
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์
การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562
ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายการ
ผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ
97.64 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (93.79) ขยายตัว
ร้อยละ 4.1 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี
2562 (99.48) โดยหดตัวร้อยละ 1.8
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ต่อพ่วง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิต
น้ำตาล การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น
การผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
8
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ระดับการสำรองสินค้าเพื่อจำหน่ายหดตัวร้อยละ 6.2
(%YoY)
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ร้อยละ 64.22
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
อยู่ที่ระดับ 126.72 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(118.50) ขยายตัวร้อยละ 6.9 แต่ลดลงจากไตรมาส
เดียวกันของปี 2562 (135.03) หดตัวร้อยละ 6.2
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์
การผลิตน้ำตาล และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่
การผลิตยานยนต์ การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา
การผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.22 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(ร้อยละ 60.63) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี
2562 (ร้อยละ 63.33)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์
การผลิตน้ำตาล การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจร
อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการ
ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่
การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่น
ปิโตรเลียม การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
9
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาส 4 อยู่ที่ระดับ 86.40
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมมีค่า 86.40 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่าน
มา (83.90) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562
(91.73) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า
3 เดือน อยู่ที่ระดับ 92.90 ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2562 (101.43)
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความ
เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2563 มาจาก
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือ SMEs ของ
รัฐบาล เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการ
คนละครึ่ง และการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ในประเทศไทยค่อนข้างดี รวมทั้งการคิดค้น
วัคซีนและการทดลองฉีดวัคซีนในหลายประเทศ
ก็เป็นตัวชี้และสร้างความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจมีทิศทางที่
ดีขึ้น
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
10
การค้าต่างประเทศของไทย
?มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัว
น้อยลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าทยอยฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้ม
ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป?
การค้าระหว่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 113,721.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 58,392.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหดตัวลง ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และมูลค่าการนำเข้า 55,329.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย
ดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เกินดุล 3,062.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 58,392.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวลง
ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรม
มีมูลค่าการส่งออก 5,283.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.8 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก
4,317.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.5 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 47,240.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หดตัวร้อยละ 0.5 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 1,550.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 30.3
สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกหดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก
6,271.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.5) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 2,184.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว
ร้อยละ 0.5) แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 1,954.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.8) อย่างไรก็ดี สินค้าบาง
รายการยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 5,019.8 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.8) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 3,465.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.5)
เป็นต้น
11
ตลาดส่งออกสินค้า
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ตลาดส่งออกหลัก
ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคู่ค้า
หลักอื่น ๆ ยังคงหดตัว ซึ่งสัดส่วนการส่งออก 5 ตลาด
ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น
และสหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) รวมคิด
เป็นร้อยละ 71.3 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิด
เป็นร้อยละ 28.7 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมี
รายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (ไม่รวม
สหราชอาณาจักร) คิดเป็น ร้อยละ 24.4, 14.8, 14.0, 10.2 และ 7.9 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา
และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 16.0 และ 4.2 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) จีน และ
สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) หดตัวลง ร้อยละ 13.6, 2.6 และ 1.8 ตามลำดับ
โครงสร้างการนำเข้าสินค้า
12
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 55,329.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ
4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่า
การนำเข้า 6,684.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.0 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,156.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หดตัวร้อยละ 4.0 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 22,884.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.5
สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 7,102.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ sfตัวร้อยละ 8.9 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง
มีมูลค่าการนำเข้า 292.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 40.3 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มี
มูลค่าการนำเข้า 367.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 62.2
ตลาดนำเข้าสินค้า
ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 อัตราการขยายตัว
ในตลาดนำเข้าสำคัญของไทยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนหดตัวทุกตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน
(9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่ร วม
สหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 5 ตลาด
มีสัดส่วนการนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 72.3 และการ
นำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 27.7 ของการ
นำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) และ
สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 24.9, 18.9, 14.9, 8.0 และ 5.6 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
สหภาพยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) จีน และอาเซียน (9 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 24.1, 19.4 , 18.4,
11.1 และ 7.7 ตามลำดับ
13
เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 4 ปี 2563
?ภาวะเศรษฐกิจโลก ภาคการผลิต และปริมาณการค้าหดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมี
ทิศทางดีขึ้นตามอุปสงค์การค้าระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ?
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 4 ปี 2563
(%YoY)
GDP Inflation MPI Export Import Unemp.
Rate
Policy
Rate
สหรัฐฯ ? 2.5 ? 1.2 ? 6.8a ? 5.4 ? 5.7 At 6.5 At 0.00-0.25
จีน ? 6.5 ? 0.1 ? 7.1 ? 17.1 ? 4.3 At 4.2 At 4.35
ญี่ปุ่น ? 1.2 ? 0.9 ?12.8a ? 3.3 ? 8.4 At 2.9 At -0.10
เกาหลีใต้ ? 1.4 ? 0.4 ? 1.0a ? 4.2 ? 1.7 At 3.7 At 0.50
สิงคโปร์ ? 3.8 ? 0.1 ?10.9a ? 1.7 ? 6.4 At 2.8 At 0.75
ไทย ? 4.2 ? 0.4 ? 0.9 ? 2.0 ? 4.2 At 1.9a At 0.50
ที่มา : รวบรวมจาก CEIC Data, https://www.gtis.com/gta, https://www.nesdc.go.th, https://www.opec.org
หมายเหตุ : a เป็นตัวเลขคาดการณ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2563
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนได้จากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลักหดตัวในอัตรา
ที่ชะลอตัวลง ตามภาคการผลิตและภาคการค้าที่เริ่มส่งสัญญาณขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางประเทศ ขณะที่อัตราการว่างงาน
ยังคงปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.00-0.25% อันเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจใน
ภาพรวม เพื่อกระตุ้นการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจ้างงาน ที่ได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19
ด้านราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
คลี่คลายลงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยให้อุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้ม
ขยายตัว กอปรกับกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรมีแผนปรับลดกำลังการผลิตน้อยลงเพื่อให้สอดคล้องกับความ
ต้องการใช้น้ำมันที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบไตรมาส 4 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 44.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล หดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สำหรับราคา
น้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบช่วงเดือนธันวาคม อยู่ที่ 47.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความไม่
แน่นอนสูงจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก นโยบายเศรษฐกิจของ
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี และแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาท
เป็นต้น ทั้งนี้ หากการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการ
จัดหาวัคซีนให้ครอบคลุมเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นไปกรอบแผนการดำเนินงานที่ภาครัฐวางแผนไว้
ย่อมช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว และภาคบริการ ซึ่งอาจช่วยให้ภาคเศรษฐกิจในทุกภาค
ส่วนกลับมาพลิกฟื้นได้เร็วกว่าที่คาดไว้
14
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 4/2563 และแนวโน้ม
ไตรมาสที่ 1/2564
15
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการนำเข้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและ
เหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
การผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า
92.5 ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.8 (%QoQ) และขยายตัวจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.0 (%YoY) (ขยายตัวเป็นไตรมาสแรก
หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 8 ไตรมาส) ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรม
ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า
และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ เป็นต้น และมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว
ขยายตัว ร้อยละ 1.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด
ขยายตัวร้อยละ14.2 รองลงมา คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง และลวดเหล็ก
ขยายตัวร้อยละ 9.9 และ7.5 ตามลำดับ การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก
ทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 11.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ
เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 146.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบ
โครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 142.3 และ 11.6 ตามลำดับ
การจำหน่าย ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณ 4.2 ล้านตัน
ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 2.0 (%QoQ) แต่หดตัวจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.8 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาส
ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562) โดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก
ทรงยาวหดตัวร้อยละ 10.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหดตัว คือ
เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 17.4 และเหล็กลวด
หดตัวร้อยละ 2.7 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัว
ร้อยละ 4.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่น
เคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 16.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน
และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 6.4 และ 4.8 ตามลำดับ
การนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 2.2 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 16.3 (%QoQ) แต่หดตัว
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.5 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน
7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม
เหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 17.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัว
มากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Stainless Steel หดตัว
ร้อยละ 52.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย)
รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel และเหล็กลวด ประเภท
Alloy Steel หดตัวร้อยละ 40.5 และ 25.9 ตามลำดับ การนำเข้า
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 25.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการ
นำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรีดเย็น หดตัวร้อยละ 49.6
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบ
ดีบุก และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภทAlloy Steel หดตัวร้อยละ
41.1 และ 39.1 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ปี 2564
คาดการณ์ว่าการผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมี
ประเด็นที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นโยบายกระตุ้น
เศรษฐกิจของภาครัฐ ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการ
โครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต
และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562
จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่น
เคลือบโครเมี่ยม เหล็กลวด และลวดเหล็ก
16
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่
94.4 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.7 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.4 (%YoY)
เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
จากการคลายล็อกดาวน์ โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และ
คอมเพรสเซอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.9, 30.1, 26.8, 22.4, 2.0, และ
0.1 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล
พัดลม เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า เตาอบไมโครเวฟ และกระติกน้ำ
ร้อน ลดลงร้อยละ 19.9, 8.0, 5.9, 4.3, 1.4 และ 0.9 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2563 สินค้าที่มีการ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ สายเคเบิ้ล และ
หม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0, 9.5, 5.9, 4.8, 1.2 และ 0.6
ตามลำดับ ในขณะที่เตาอบไมโครเวฟ พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศ และกระติกน้ำร้อน หดตัวร้อยละ 86.6, 12.7, 11.9,
8.5 และ 5.8 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 4,221.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.2 (%QoQ)
และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 (%YoY)
โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตู้เย็น โซล่าร์เซลล์
เครื่องซักผ้า และ คอมเพรสเซอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.7, 46.0, 35.6
และ 18.5 ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนประกอบ
เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าวและพัดลม ลดลงร้อยละ 39.2, 32.8,
6.2 และ 1.0 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2563 มีมูลค่า
การส่งออก 6,586.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่แล้วร้อยละ 6.9 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 12.5 (%YoY) จากตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 และ 10.6 ตามลำดับ โดยหม้อหุงข้าว ตู้เย็น
เครื่องซักผ้า เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 40.3, 25.6, 23.7, 14.0 และ 12.1 ตามลำดับ ในขณะที่หม้อ
แปลงไฟฟ้า และ สายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 21.9 และ 19.6 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
คาดว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการ
ส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 3.9 ตามลำดับ เนื่องจากไทย
สามารถรับมือจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ได้ดี รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่กระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ประชาชนยังคง
มีความต้องการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ประเด็น
ที่ต้องติดตามและอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศ
ไทย คือ การดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ โดยมี
นโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการค้าเสรี (FTA) การตัดสิทธิ
GSP ของประเทศไทย ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาและจีน และการส่งเสริมพลังงานสะอาดทำให้ตลาด
ส่งออกโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยเติบโต เป็นต้น รวมถึงการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจของกลุ่มคู่ค้า อาจจะทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อสินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
103.9 107.1
84.6 88.5
111.0
79.0 90.2 94.4
0
20
40
60
80
100
120
140
Q1-2562 Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ดัชนีผลผลิต
842.4
639.0
1586.0 1038.0
834.1 588.5
1,411.9 1,340.9
1697.0
964.4
1137.0
1405.2
2,122.8
2,254.5
2878.1 2893.8
2394.6
1967.2
1,044.4
877.7
1059.5
764.0
1252.8
965.3
68.1 165.7 32.9 9.1 29.0 22.2
427.5 419.5 458.5
450.1 629.0 444.2
209.2 291.8 243.5 178.6
261.3 274.6
749.7
916.9
752.8
509.6
883.3 922.1
0.0
200.0
400.0
600.0
800.0
1,000.0
1,200.0
1,400.0
1,600.0
1,800.0
2,000.0
2,200.0
2,400.0
2,600.0
2,800.0
3,000.0
Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (พันเครอ?? ง)
เครอ?? งปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครอ?? งซักผา
เตาไมโครเวฟ ตูเ ย็น กระติกน??รอ้ น หมอ้ หุงขา ว
3,874.9 3,944.8 4,198.6 4,004.6 3,821.7 3,427.3 3,698.5 4,221.8
6,078.9 6,114.6 5,976.6 5,853.6 6,028.0
5,085.5
6,159.3 6,586.1
-1,000
1,000
3,000
5,000
7,000
Q1-2562 Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงต่อเนื่อง รวมถึงสงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนทำให้ประเทศไทยมีปริมาณคำสั่งซื้อสินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว และคอมเพรสเซอร์
และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน
17
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีดัชนี
ผลผลิตอยู่ที่ 100.2 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.9
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
6.3 (%YoY) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
Printer, แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC), Semiconductor devices
transistor, และ วงจรพิมพ์ (PCBA) โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1,
26.6, 8.3, 5.0 และ 2.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 3.4 เนื่องจาก
เทคโนโลยีถูกเปลี่ยนไปใช้ SSD (Solid State Drive) แทน HDD
(Hard Disk Drive) อย่างไรก็ตาม HDD จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา
ระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้าง
พื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4
ปี 2563 มีมูลค่าการนำเข้า 9,945.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 12.0 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
(%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่มี
การปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องพิมพ์ วงจรพิมพ์ และ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1, 29.4 และ 19.0
ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ และไดโอด
ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ ปรับตัวลดลง
ร้อยละ 19.8 และ 14.6 ตามลำดับ
การส งออกส น ค อ เล กทรอน กส์ ไ ต ร ม ส ที่ 4
ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 9,867.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 15.1 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3
(%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาด
หลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ
11.4 และ 7.2 ตามลำดับ โดยวงจรพิมพ์ เครื่องพิมพ์และไดโอด
ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ
33.6, 27.7 และ 15.9 ตามลำดับ ในขณะที่ส่วนประกอบและ
อุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ และวงจรรวม (IC) ลดลง
ร้อยละ 11.1 และ 1.2 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1
ของปี 2564 คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออก
ขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 4.7 ตามลำดับ เนื่องจากประชาชน
ส่วนใหญ่ Work from Home และการเรียนออนไลน์ของ
นักเรียนนักศึกษา ทำให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงเป็นที่ต้องการในการพัฒนา
ระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับ
โครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้มีความต้องการสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์จากในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
89.7 91.9 98.7 97.1 91.8 83.9
92.8 100.2
0
20
40
60
80
100
120
140
Q1-2562 Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิต
8,771.8
8,664.1
8,801.7
9,499.5
8,181.7
8,736.0
8,877.6
9,945.5
8,473.3
8,765.3
9,159.4
9,369.5
8,498.5
8,173.2
8,575.9
9,867.4
7,500
8,000
8,500
9,000
9,500
10,000
Q1-2562 Q2-2562 Q3-2562 Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศเริ่มดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีความจำเป็น
ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้มีการผลิตและคำสั่งซื้อในต่างประเทศ
เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC), Semiconductor devices transistor, และ
วงจรพิมพ์ (PCBA) ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีนและอาเซียน
18
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดย
ความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 400,000 คัน โดยแบ่งเป็นการ
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ
45-50
การผลิตรถยนต์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 464,687 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 30.44 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 5.35 (%YoY)
โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 38
รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 60 และรถยนต์เพื่อการ
พาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 257,381 คัน เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 24.87 (%QoQ) และเพิ่มขึ้น
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.67 (%YoY)
การส่งออกรถยนต์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 214,385 คัน เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 25.44 (%QoQ) แต่ลดลง
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.99 (%YoY)
โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 36
รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 58 และรถ PPV ร้อยละ 6
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 1,886.65 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 30.84
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
4.95 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 2,625.70
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ
35.51 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 3.04 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และ
สหรัฐอเมริกา
441,083 453,682
152,450
356,255
464,687
245,705
200,064
128,540
206,125
257,381
233,002
250,281
100,269
170,907
214,385
4Q 2562 1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q 2563
การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)
การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
2,443.77 2,352.25
2,299.29
1,171.39
1,886.65
2,707.96 2,621.36
1,826.55
1,937.61
2,625.70
4Q 2562 1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q2563
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากตลาดในประเทศมีการขยายตัวเนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจ รวมทั้งมีการออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายในงานมหกรรมยานยนต์ อย่างไรก็ดี ตลาดส่งออก
ชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
19
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณ
การในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 470,000 คัน
โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิต
เพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
การผลิตรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 501,304 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 16.18 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 1.90
(%YoY)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 370,229 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 10.55 (%QoQ) และ
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 5.43
(%YoY)
การส่งออกรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 214,561 คัน
(เป็นการส่งออก CBU 87,241 คัน และ CKD 127,320
ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 36.92
(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 22.09 (%YoY)
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 227.21 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 57.50
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 7.65 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น กัมพูชา และ
บราซิล
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 189.05 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 39.50
(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 3.09 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น
จีน และ เวียดนาม
491,956 475,130
207,385
431,500
501,304
391,507
430,730 301,249 413,888
370,229
275,380 254,925
100,963
156,703
214,561
4Q 2562 1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q 2563
การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)
การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
244.93 231.49
108.64
144.26
227.21
195.63
212.72
133.86
135.52
189.05
4Q 2562 1Q 2563 2Q 2563 3Q 2563 4Q2563
มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดในประเทศและตลาดส่งออกชะลอตัว จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก
20
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
การตลาดและการจำหน่าย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 14.97
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ
4.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนี
ผลผลิตที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี เอทานอล และยาสระผม
เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 หดตัวร้อยละ 14.70
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ
1.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนี
การส่งสินค้าที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี ยาสระผม และ
ผงซักฟอก เป็นต้น
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 2,125
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.72 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 3.92
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดย
ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด สี และสารลดแรงตึงผิว เป็นต้น
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่ารวม
3,617 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.46 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 1.07
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) อันเป็นผล
มาจากการขยายตัวในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้มีการ
นำเข้าวัตถุดิบ เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด สี และเคมีภัณฑ์
อินทรีย์ เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 คาดว่าการส่งออกเคมีภัณฑ์มีการขยายตัว เนื่องจากการผลิต
ยานยนต์ในประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีการผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
92.44
98.45
107.18
101.69 93.98 96.82
104.17 105.48
89.68
88.36
99.47 106.21 102.32
95.22 89.02 96.94
109.87
93.72
0
20
40
60
80
100
120
140
2561_Q4
2562_Q1
2562_Q2
2562_Q3
2562_Q4
2563_Q1
2563_Q2
2563_Q3
2563_Q4
ดชั นีผลผลิต ดชั นีการส่งสินคา
-
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
4,000
4,500
2562_Q4 2563_Q1 2563_Q2 2563_Q3 2563_Q4
มลู ค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้าหดตัว แต่มูลค่าการส่งออกและการนำเข้า
ขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าเคมีภัณฑ์ในตลาด
ต่างประเทศมีความต้องการสูงขึ้น เนื่องมาจากการผลิตยานยนต์ในตลาดประเทศคู่ค้าที่กลับมาผลิตได้ภายหลัง
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า
21
อุตสาหกรรมพลาสติก
การผลิต และการตลาด
ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ
2.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และ
ขยายตัวร้อยละ 1.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่ขยายตัวมากที่สุด
ได้แก่ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ขยายตัว
ร้อยละ 0.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ)
แต่หดตัวร้อยละ 3.32 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY
ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณ
312,336 ตัน หดตัวร้อยละ 0.37 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 6.02 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกหดตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่ม
ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติก (HS 3923)
ปริมาณการนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณ
237,719 ตัน ขยายตัวร้อยละ 5.28 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 3.60
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดย
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด ได้แก่
กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 4 ของปี 2563
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าปริมาณการส่งออกและปริมาณการนำเข้าจะขยายตัว เนื่องจาก
ความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศคู่ค้าหลักยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
ต่ออุตสาหกรรม ทั้งจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด?19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า และ
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
92.73
95.24
92.3791.20
87.78
92.48
87.7286.43
88.89
98.01
98.77
93.15 92.68
91.18
92.43
87.70 87.52 88.40
80.00
82.00
84.00
86.00
88.00
90.00
92.00
94.00
96.00
98.00
100.00
2561_Q4
2562_Q1
2562_Q2
2562_Q3
2562_Q4
2563_Q1
2563_Q2
2563_Q3
2563_Q4
ดชั นีผลผลิต ดชั นีการส่งสินค้า
-
50,000
100,000
150,000
200,000
250,000
300,000
350,000
2562_Q4 2563_Q1 2563_Q2 2563_Q3 2563_Q4
ปริมาณการส่งออก ปริมาณการนำเข้า
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและปริมาณการส่งออกขยายตัว แต่ดัชนีการส่งสินค้า
หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด?19 ระลอกสอง
ส่งผลให้มีการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้ปริมาณการนำเข้า
มีสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
22
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
การผลิตและการจำหน่าย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 105.30 ลดลงจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.32 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี
ผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ
Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP resin
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 100.86 ลดลง
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.92 โดยสินค้าที่ส่งผลให้
ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่
Propylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin
การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 2,590.62
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
6.21 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน,
เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของ
กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานลดลง ร้อยละ 25.71 เช่น Ethylene,
Toluene และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง ร้อยละ 1.13 เช่น PP
resin และ BR rubber เป็นต้น
การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 1,350.13
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
11.55 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน
และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นของ
กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.89 เช่น Ethylene และ
Propylene เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้น ร้อยละ
4.70 เช่น PVC resin และ PP resin เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2564
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2564 คาดว่าในภาพรวม
ของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อยจากเศรษฐกิจ
หลายประเทศเริ่มกลับมาหลังจากหยุดชะงักหลังจากสถานการณ์
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความต้องการสินค้า
หรือการดำเนินการในหลายภาคส่วนเพิ่มขึ้นบ้างทั้งตลาด
ภายในประเทศ และตลาดคู่ค้าต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ในไตรมาสนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งการผลิต การส่งสินค้า และ
การส่งออก อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2-12 จากการผ่อนคลาย
มาตรการล็อกดาวน์ และหลายภาคส่วนสามารถเริ่มกลับมา
ดำเนินงานได้ตามปกติ
111.23
105.30
108.27
100.86
95.00
100.00
105.00
110.00
115.00
ดัชนีผลผลิต - ดัชนีการส่งสินค้า อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ดัชนีผลผลิต ดัชนีส่งสินค้า
-
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
-
1,000
2,000
3,000
4,000
5,000
การส่งออก - นำเข้า อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
มูลค่าส่งออก มูลค่านำเข้า
ปริมาณส่งออก ปริมาณนำเข้า
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 3.32 และ 7.92 (%YoY) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าประเทศไทยจะผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์ แต่ในหลายประเทศคู่ค้ายังปิดประเทศ ส่งผลให้การผลิต และการส่งออกของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ชะลอตัว
23
แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2564
แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก และกระดาษคราฟต์) ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์
จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวในกลุ่มอาหาร ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมากแบบก้าวกระโดด
และยังได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับส่งสินค้าทางออนไลน์ ในขณะที่การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ สำหรับกลุ่มกระดาษ
และผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ จะยังหดตัวต่อเนื่องหรือขยายตัวได้ไม่มาก เช่นเดียวกับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ ที่คาดว่าจะฟื้นตัว
ได้ค่อนข้างยาก
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบต่ออายุสินค้า
ควบคุม 4 รายการออกไป ได้แก่ หน้ากากอนามัย ใยสังเคราะห์ แอลกอฮอล์และเจลล้างมือ เศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้อีก ภายหลัง
สินค้าดังกล่าวจะครบกำหนดวันหมดอายุในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ที่จะถึงนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตในประเทศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตกระดาษใน
ประเทศบางส่วนยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าเศษกระดาษและกระดาษใช้แล้ว เนื่องจากราคาที่ถูกกว่าและในประเทศมีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
อย่างไรก็ตามการควบคุมสินค้าดังกล่าวควรกำหนดมาตรการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
?
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
การผลิต การผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ในกลุ่มเยื่อกระดาษ
ขยายตัว ร้อยละ 0.03 และ 12.97 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ
(%YOY) ตามลำดับ เป็นการผลิตทั้งใช้ในประเทศและส่งออก
โดยเฉพาะผู้นำเข้าหลักอย่างประเทศจีน มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง
เช่นเดียวกับกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อาทิ กระดาษแข็ง
และกระดาษคราฟต์ กระดาษพิมพ์เขียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.04 และ
2.31 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.02 และ 12.24
เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับ
การบรรจุหีบห่อขยายตัวตามไปด้วย สำหรับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์
เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.50 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) แต่ลดลงร้อยละ 8.69
เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) เนื่องจากความนิยมรับสื่อและข่าวสารต่าง ๆ
ในระบบดิจิทัลและออนไลน์มากขึ้น
การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4
ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการส่งออกรวม 524.49
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.76 จากเยื่อกระดาษ กระดาษและ
ผลิตภัณฑ์กระดาษ และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกรวม
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.18 จากเยื่อกระดาษที่ส่งออกเพิ่มสูงถึงร้อยละ 75.30
ซึ่งกว่าร้อยละ 80 ส่งออกไปยังประเทศจีน
การนำเข้า เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4
ปี 2563 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 701.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 36.59 และ 15.07 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)
ตามลำดับ จากกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ และสิ่งพิมพ์
อย่างไรก็ตามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
มาก โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กระดาษยังนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจาก
วิถีการดำรงชีวิตปรับเปลี่ยนไปจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อ
ไวรัสโควิด-19 การผลิตในประเทศยังกลับมาผลิตได้ไม่เท่าเดิม ส่งผลให้
จำเป็นต้องมีการนำเข้า
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) พบว่า
เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษแข็ง และกระดาษคราฟต์) มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น แต่กระดาษพิมพ์เขียน
ชะลอตัวลงต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ขยายตัวได้ค่อนข้างมาก สำหรับการส่งออกและนำเข้ามีมูลค่า
รวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทีม?? : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื??อสาร กระทรวงพาณิชย์
24
อุตสาหกรรมเซรามิก
การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน
และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 35 โรงงาน
2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด
กระทรวงพาณิชย์
การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ
การผลิต 30.53 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ
15.59 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.04
(%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.76 ล้านชิ้น
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 2.50 แต่ลดลงจากไตรมาส
เดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 5.19 เป็นผลโดยตรงจากการลดคำสั่งซื้อของ
กลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจากมาตรการควบคุมพรมแดนและ
ความกังวลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณ
การจำหน่าย 38.56 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563
ร้อยละ 7.59 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 2.78 (%YoY) ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน
0.94 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 1.08 แต่เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.64 จากความต้องการของ
ผู้บริโภคและมาตรการกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ
การส่งออก ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
มีมูลค่า 25.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563
ร้อยละ 5.12 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.10
ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 61.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 18.14 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 7.16 โดยตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ประเทศ
สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 1 ของปี 2564
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2564 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
จากความต้องการใช้ภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เริ่มคลี่คลาย รวมทั้ง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และมาตรการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ การผลิต
เพื่อรองรับตลาดส่งออกหลังจากประเทศคู่ค้าที่คลายความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะกลับมา
ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ไปยังกลุ่ม
ประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีน และญี่ปุ่น
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ออกประกาศฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2563) ตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องแต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก ประเภทโถส้วมนั่งราบ (มอก.
729-254) ผู้ตรวจสอบ คือ บริษัท โคห์เลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประกาศเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ เพื่อควบคุม
คุณภาพและเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบการสำหรับการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ปริมาณการผลิต กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 หดตัวจากการลดคำสั่งซื้อของกลุ่ม
ประเทศ CLMV ส่วนปริมาณการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก ขยายตัวตามความต้องการของผู้บริโภค โดยตลาดหลัก
ในการส่งออกยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
25
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563
มีจำนวน 9.25 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563
ร้อยละ 8.19 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับ
ปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 7.49 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 8.39 ล้านตัน ลดลงจาก
ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 7.89 และลดลงจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.02 (%YoY) เนื่องจาก
ในช่วงปลายไตรมาสนี้ ภาวะเศรษฐกิจเริ่มได้รับผลกระทบจาก
การระบาดรอบใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงกระทบต่อ
การจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4
ปี 2563 มีมูลค่าจากการส่งออก 53.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2563
แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 37.09 โดย
ลดลงจากกัมพูชา และบังคลาเทศ ร้อยละ 64.44 และ
41.75 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
มีมูลค่า 15.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3
ปี 2563 ร้อยละ 4.09 และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 20.28 โดยลดลงจาก สปป.ลาว ร้อยละ
18.34 ทั้งนี้ จากการที่ตลาดในประเทศกลับมาได้รับผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
รอบใหม่ และมีสต็อกของอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้างไว้แล้ว
คงค้างอีกมาก
แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ
การผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะค่อย ๆ ทยอยปรับตัวดีขึ้นได้เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ลดจำนวนลงได้ ประกอบกับมาตรการที่ภาครัฐทยอยออกมาเพื่อช่วยลดภาระของประชาชนและการเร่ง
ขับเคลื่อนการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ
ปริมาณอุตสาหกรรการผลิต....ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560......เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559เป็นผลจาก.
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ปริมาณการผลิตและ
การจำหน่ายลดลง โดยในช่วงปลายไตรมาสที่ 4 นี้ เริ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่
ส่วนการส่งออกในไตรมาสนี้มีการปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดส่งออกยังคงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจของการแพร่ระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่
26
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิตและจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลง
ร้อยละ 4.11 5.90 และ 20.16 (%YoY) เนื่องจากการผลิตเพื่อรองรับการ
ส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 พบว่า การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ตามคำสั่งซื้อวัตถุดิบ และ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป จากประเทศคู่ค้าต่างประเทศเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ส่วนดัชนีการจำหน่ายในประเทศของ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้า
เครื่องแต่งกาย ลดลง ร้อยละ 5.73 9.94 และ 20.64 เนื่องจากความ
ต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค
ในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,492.55
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 12.34 (%YoY) หากพิจารณากลุ่ม
สินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่า 965.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 8.99 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 527.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 17.87 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3
ปี 2563 พบว่า การส่งออกฟื้นตัวดีขึ้นจากการที่ประเทศคู่ค้าหลาย
ประเทศมีมาตรการที่ผ่อนคลายในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ทำให้การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ของไทยขยายตัว ร้อยละ 7.96
และ 12.79 ตลาดที่ขยายตัว เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,119.87
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 12.53 (%YoY) เนื่องจากคำสั่งซื้อเสื้อผ้า
สำเร็จรูปจากต่างประเทศชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโรคที่กระจายไป
ทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบการลดการนำเข้าวัตถุดิบ รวมถึงการระมัดระวังการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคทำให้ความต้องการเสื้อผ้าในประเทศลดลง
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 การผลิต ส่งออก และนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้
จากการที่ประเทศไทยและคู่ค้าหลายประเทศมีมาตรการในการลดการแพร่ระบาดของโรค
คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2564
การผลิต การส่งออก และการนำเข้า เส้นใย
สิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
คาดว่าจะชะลอตัวในระดับที่ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลก
และไทยยังไม่ฟื้นตัว ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีไม่มาก
นัก หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่า
ภาพรวมการผลิต ส่งออก และนำเข้าในอุตสาหกรรมส่งิ ทอ
และเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าในหลาย
ประเทศเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจน่าจะ
คลายล็อกดาวน์มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
1.มาตรการส่งเสริมการลงทุน และการเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรม
ทางการแพทย์เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ซึ่งเป็นโอกาสให้เกิดการลงทุนในสายการผลิต Non-woven fabric และ
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์
2.มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับลูกหนี้รายย่อย และ SMEs
ของสถาบันการเงินหลายแห่ง
3.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น คนละครึ่ง (ระยะที่ 2) และ
เราชนะ
27
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ใน
ประเทศ (ล้านชิ้น)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 4 ปี 2563 มีจำนวน 2.62
ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.93 และ 26.57 จากไตรมาส
ที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ โดยมีสาเหตุ
มาจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
ต่างประเทศเป็นหลัก
การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 4
ปี 2563 มีจำนวน 0.31 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 8.82 และ 20.51
จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ส่งผลกระทบ
ให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายกลุ่มสินค้าที่ชะลอการซื้อได้
? การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 4 ปี 2563 มีมูลค่ารวม
937.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.59 และ 14.61
จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และ
ผ ล ตภ ณฑ์แผ่น ไม ม มูลค 314.60 39.30 แล 583.38
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.61 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.14 และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์
แผ่นไม้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.07 ทั้งนี้ในภาพรวมการส่งออกไม้
และผลิตภัณฑ์ไม้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจในตลาดส่งออกที่สำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกาและจีน
แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดว่า
จะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิเพื่อให้ไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้าม
พ.ศ. 2563 โดยมีสาระสำคัญของประกาศคือ ให้ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) สามารถปลูกไม้มีค่า
ได้โดยไม่ถือว่าเป็นไม้หวงห้าม
2.07 1.95 1.89
2.32
2.62
0.39 0.39 0.33 0.34 0.31
0
1
2
3
4
Q4 2019 Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020
การผลิต การจำหน่ายในประเทศ
817.80 811.36
706.18
839.95
937.28
0
200
400
600
800
1,000
1,200
Q4 2019 Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020
เครอ?? งเรือนและชน?? ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม
ไมแ ละผลิตภัณฑ์แผ่นไม มูลค่ารวม
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณเพิ่มขึ้น
จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศมีปริมาณ
ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจในตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน
28
อุตสาหกรรมยา
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณ 16,892.72 ตัน
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.23 โดยเป็นการ
ขยายตัวของการผลิตยาเม็ด ยาแคปซูล และยาฉีด ซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 14.90 31.64 และ 7.24 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 14,334.14 ตัน
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.29 โดยเป็นการ
ขยายตัวของการจำหน่ายยาเม็ดและยาแคปซูล ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ
10.11 และ 28.96 ตามลำดับ ในภาพรวมถึงแม้ว่าตลาดยา
ในประเทศจะยังขยายตัวได้ แต่ก็มีปริมาณการจำหน่ายยา
หลายชนิดลดลงมาก เนื่องจากการใส่หน้ากากและการหมั่น
ล้างมือทำให้คนไทยเป็นหวัดลดลง
การส่งออกยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 103.46 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.26
โดยชะลอตัวลงในตลาดเมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และ
สิงคโปร์ สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 400.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.82 โดยเป็นการ
นำเข้ายาลดลงจากเปอร์โตริโก สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน
และเยอรมนี ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 อย่างหนัก
แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
การผลิตยาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้ม
การขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะ เมียนมา
เวียดนาม และกัมพูชา
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา
รัฐบาลได้ลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้า และสัญญาการจัดซื้อวัคซีน จำนวน 26
ล้านโดส กับบริษัท AstraZeneca จำกัด โดยขณะนี้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ผู้ผลิตยาชีววัตถุรายใหญ่ของไทย อยู่ระหว่าง
รับถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากบริษัท AstraZeneca จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาชีววัตถุ ชั้นนำ
ของโลก โดยคาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวออกสู่ตลาดได้ภายในกลางปี 2564 ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกัน
เชื้อไวรัสโควิด-19 แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรม
การผลิตยาของไทยต่อไป
0
5,000
10,000
15,000
20,000
Q4 2019 Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020
การผลิต การจำหน่ายในประเทศ
0
100
200
300
400
500
Q4 2019 Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020
การส่งออก การนำเขา
ปริมาณการผลิตยาไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามความต้องการใช้ยา
ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของตลาดในประเทศ สำหรับการส่งออก
ถึงแม้จะปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่ยังขยายตัวได้ดีในตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กัมพูชา ญี่ปุ่น และลาว
29
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 0.47 ล้านตัน 17.40 ล้านเส้น
และ 6,900.23 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลงร้อยละ
9.59 เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติเข้าสู่ตลาดลดลง
ในขณะที่การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.59 และ 23.66 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมยานยนต์และตลาด Replacement ในประเทศ
รวมถึงความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของตลาดทั่วโลก
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีจำนวน 0.12 ล้านตัน 11.30 ล้านเส้น
และ 437.52 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์
มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 และ 9.45 ตามลำดับ ตามความ
ต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของตลาดในประเทศ
ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ 42.04
ตามการปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางลง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 1,157.07 1,482.96 และ 902.96
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.40 1.79 และ 191.65 ตามลำดับ
ตามการขยายตัวของตลาดหลักของไทย อาทิ มาเลเซีย จีน
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564
การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.50 ตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ยานยนต์ในประเทศและตลาดส่งออก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.00 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทั่วโลก
สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
การยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ
25,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง และพัฒนาอุตสาหกรรม
ยางพาราทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการอื่นๆ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.raot.co.th
0
2,000
4,000
6,000
8,000
0
5
10
15
20
Q4 2019 Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม (ลา นตัน) ยางรถยนต์ (ลา นเสน้ )
ถุงมือยาง (ลา นชน?? )
-2.25
3.36
-27.87
1.13
31.75
-40.00
-20.00
0.00
20.00
40.00
0
500
1,000
1,500
2,000
Q4 2019 Q1 2020 Q2 2020 Q3 2020 Q4 2020
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต์
ถุงมือยาง อัตราการขยายตัว (YOY)
ปริมาณการผลิตถุงมือยางในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวที่ดีของตลาดต่างประเทศ
ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ขยายตัวตามอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและการส่งออก
30
อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
การผลิต การส่งออก การนำเข้า
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
* รวมถึงกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก
การผลิต
ไตรมาส 4 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตลดลง ร้อยละ 20.30
เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทาง* และรองเท้า ปรับตัวลดลง
ร้อยละ 35.88 และ 26.76 ตามลำดับ จากความต้องการที่ลดลง
ทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวัง
การใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออก ไตรมาส 4 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 357.62 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 25.11 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก
และหนังอัด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้า ลดลง ร้อยละ 17.58
38.97 และ 25.19 ตามลำดับ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ
ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ
ได้แก่ เวียดนาม จีน สหรัฐอเมริกา และเมียนมา
การนำเข้า ไตรมาส 4 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 384.24 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 16.72 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน โดยวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอกปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.45
เป็นไปในทิศทางเดียวกับการฟอกและตกแต่งหนังฟอกที่มีการผลิตลดลง
สำหรับสินค้าสำเร็จรูปประเภทกระเป๋าและรองเท้ามีมูลค่าลดลง
ร้อยละ 26.27 และ 19.32 ตามลำดับ จากความต้องการบริโภคสินค้า
ภายในประเทศที่ลดลง
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 1 ปี 2564 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจาก
ความต้องการที่ลดลงจากการส่งออก เช่นเดียวกับการผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้า ที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการค้นพบวัคซีนและมีแผนที่จะนำวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน
รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลได้ออกมาตรการและโครงการเพื่อช่วยเหลือเยียวยาภายใต้แนวคิด ?ลดภาระค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่อง
ผู้ประกอบการและประชาชน ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน? เช่น โครงการคนละครึ่งที่เปิดเฟสใหม่ และ เราชนะ เป็นต้น ซึ่งมาตรการ
ดังกล่าวจะมีส่วนกระตุ้นภาพรวมของการบริโภคสินค้าและช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก กระเป๋าเดินทาง*
และรองเท้า มีการผลิตลดลง ตามความต้องการที่ลดลงทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และยังมีความกังวล
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
31
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 4 ปี 2563 ปรับตัว
ลดลง ร้อยละ 20.25 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการผลิต
เพชรเจียระไน เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ
62.36 16.42 และ 25.35 ตามลำดับ
การจำหน่าย
การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 4 ปี 2563
ลดลง ร้อยละ 19.96 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะ
เศรษฐกิจในปัจจุบัน
การส่งออก
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 4 ปี 2563 มีมูลค่า
รวม 1,506.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 17.24 เมื่อเปรียบเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกเพชร พลอย
เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 7.26 40.35
15.85 และ 40.54 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ฮ่องกง และเยอรมนี แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
ในภาพรวม มีมูลค่ารวม 2,081.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ
21.50 จากมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่ลดลง ร้อยละ 30.84
แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 1 ปี 2564 คาดว่า ยังมีทิศทางชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย จากการค้นพบวัคซีนและมีแผนที่จะนำวัคซีนมาฉีด
ให้แก่ประชาชน รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย/ลงทุนภายในประเทศ สำหรับมูลค่าการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป)
ยังมีแนวโน้มชะลอตัว เช่นเดียวกับการส่งออกในภาพรวมที่มีแนวโน้มลดลง จากการส่งออกทองคำเพื่อเก็งกำไรลดลงในช่วงที่ราคา
ทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง สำหรับมูลค่าการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) จะมีแนวโน้มลดลง ทั้งการนำเข้าเพชร พลอย
เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย สำหรับการนำเข้าในภาพรวม คาดว่า จะมีแนวโน้ม
ลดลงเช่นกัน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณี
และเครื่องประดับในภาพรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ
ลดลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
สำหรับการส่งออก มีมูลค่าลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว
32
อุตสาหกรรมอาหาร
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562
ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : ข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กระทรวงพาณิชย์ จากการจัดกลุ่มของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 94.5 ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 5.7 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยน้ำตาล
มีดัชนีผลผลิตลดลงมากที่สุดร้อยละ 43.9 เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลให้
ปริมาณวัตถุดิบอ้อยเข้าหีบในฤดูกาลผลิตปี 63/64 ลดลงจากปีก่อน น้ำมัน
ปาล์มลดลงร้อยละ 15.9 เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง และการชะลอ
การบำรุงต้นในช่วงที่ราคาตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีผลผลิตสินค้าอาหาร
บางรายการที่ได้อานิสงส์จากสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ข้าวโพดกระป๋อง
น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ทูน่ากระป๋อง และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป เนื่องจาก
มีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อสำรองอาหาร
การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีปริมาณ
66,586 พันตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากโครงการคนละครึ่ง ซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย
ของผู้บริโภค สำหรับสินค้าบางประเภทมีการบริโภคอาหารในประเทศเพิ่มดีขึ้น
ได้แก่ ปลาแช่แข็ง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ เนื้อไก่สุกปรุงรส ปลาทูน่ากระป๋อง
กุ้งแช่แข็ง เนื้อไก่แช่เย็นและแช่แข็ง รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป
การส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 6,953.65 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ร้อยละ 4.7 (%QoQ) และเมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.6 (%YoY)
จากสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาล เนื่องจากบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่
มีแนวโน้มการส่งออกน้ำตาลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคา
ประกอบกับไทยประสบปัญหาภัยแล้ง รองลงมาคือ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง
เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดส่งออกหลัก เช่น อเมริกา จีน
ญี่ปุ่น ชะลอตัว และไก่แปรรูป ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง เนื่องจากการ
ชะลอตัวของตลาดยุโรปและตลาดญี่ปุ่น จากมาตรการล็อกดาวน์และ
ปิดร้านอาหาร นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าอาหารยังได้รับผลกระทบ
จากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ส่งผลให้ค่าระวางปรับตัวสูงขึ้น
การนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 4,027.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 (%YoY) จากการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันเพื่อรองรับ
อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ รองลงมาคือ ปลาทูน่า
เพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวของอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง
และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2563 การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.3 (%QoQ) จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพื่อรองรับ
การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 คาดว่า
ดัชนีผลผลิตในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย (%YoY) เนื่องจาก
ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
มันสำปะหลัง สับปะรด เพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคในประเทศ
มีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐ สำหรับ
มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย โดยสินค้าอาหารที่ได้
ประโยชน์จากโควิด-19 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น อาหาร
สำเร็จรูป (ทูน่ากระป๋อง ผักและผลไม้ประป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้
ผลผลิตอ้อยและปาล์มน้ำมันลดลง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสินค้าอาหารบางรายการยังคงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์โควิด ได้แก่ ข้าวโพดกระป๋อง
น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ทูน่ากระป๋อง และอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป เนื่องจากมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อสำรองอาหาร สำหรับมูลค่าการส่งออกหดตัว
จากสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาล กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง ไก่แปรรูป ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตลาดส่งออกสำคัญ
ซึ่งนำไปสู่การใช้มาตรการล็อกดาวน์-ปิดร้านอาหาร การบริโภคลดลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์
0
20
40
60
80
100
120
140
160
0
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
60,000
70,000
ดัช นีการผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้า
อุตสาหกรรม อา หา รไ ต รม ส 4 ปี 2563
ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นำเข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
จำหน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีการผลิต (MPI)
ปริมาณจำหน่าย (พันตัน)
มูลค่าส่งออก/นำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ดัชนีการผลิต
(MPI)
33
รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ
หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์
? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่
4/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2564
? อุตสาหกรรมรายสาขา
กว.
0-2202-4332
? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กร. 1 0-2202-4345
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า กร. 1 0-2202-4374
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กร. 1 0-2202-4374
? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ กร. 1 0-2202-4372
? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
กร. 1
กร. 1
0-2202-4372
0-2202-4371
? อุตสาหกรรมพลาสติก กร. 1 0-2202-4371
? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กร. 1 0-2202-4371
? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ กร. 2 0-2202-4383
? อุตสาหกรรมเซรามิก กร .2 0-2202-4391
? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กร. 2 0-2202-4381
? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กร. 2 0-2202-4884
? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน กร. 2 0-2202-4384
? อุตสาหกรรมยา กร. 2 0-2202-4383
? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง กร. 2 0-2202-4383
? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง กร. 2 0-2202-4385
? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กร. 2 0-2202-4385
? อุตสาหกรรมอาหาร กร. 2 0-2202-4391
กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1
กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม