สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 20, 2021 14:29 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 4.07 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยาน) ขยายตัวร้อยละ 6.94 โดยขยายตัวจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยาง) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวในประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดเพื่อนบ้านทั้งอาเซียน (5) และ CLMV หดตัวลง cอัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564

World +4.07%

China +6.94%EsJapan +7.53% EU (27 )d+2.32% IUSA +21.78% oeCLMV -4.08% (Asean 5) -7.79% fOหมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน

CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การส่งออกรวมมีมูลค่า 20,219 ล้านรเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รกหเมื่อพิจารณาการส่งออกในหมวดสินค้าสำคัญพบว่า สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 16,241 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.02 สินค้าอุตสาหกรรม สุต(ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 16,142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.07 อิจสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) มีมูลค่า ก16,067 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.94 จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ฐษรอุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยาง) เครื่องปรับอากาศและศเนขยายตัวร้อยละ 18.05 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่า 1,424 ล้านางเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.78 กนำการนำเข้ามีมูลค่ารวม 20,212 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวสร้อยละ 21.99 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า 2,816 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.62 สินค้าทุนมีมูลค่า 4,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.98 โดยสินค้าทุนขยายตัวจากเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 7,763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.82 จากการนำเข้าเคมีภัณฑ์ประเภทเม็ดพลาสติก เหล็กและเหล็กแผ่นรีด

ด้านตลาดส่งออกหลักของไทยขยายตัวในประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านทั้งอาเซียน (5) และ CLMV หดตัวลง

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือน ก.พ. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 3,071.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ โดยขยายตัวร้อยละ 12.7 9.5 และ 47.4 ตามลำดับ จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และASEAN(5)

เครื่องใช้ไฟฟ้า ในเดือน ก.พ. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 2,264.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 6.5 และ 15.5 จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นจีน ออสเตรเลีย มาเลเซีย และฮ่องกง เป็นต้น

เม็ดพลาสติก ในเดือน ก.พ. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 835.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกไปยังประเทศจีน CLMV อาเซียน (5) สหรัฐอเมริกา อินเดีย และออสเตรเลีย ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน ก.พ. 2564 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและราคา โดยปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกมีจำนวน 569.0 ล้านกิโลกรัม ขยายตัวร้อยละ 21.4 และดัชนีราคาส่งออกเม็ดพลาสติกขยายตัวร้อยละ 6.0

ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ในเดือน ก.พ. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 3,098.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 40.8 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญ เช่น จีน ASEAN(5) สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เป็นต้น

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือน ก.พ. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 501.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยหดตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน จากการส่งออกสินค้าต้นน้ำอย่างด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ หดตัวร้อยละ 15.1 จากการส่งออกไปประเทศบังคลาเทศ ปากีสถาน สินค้ากลางน้ำอย่างผ้าผืนหดตัวร้อยละ 27.0 จากการส่งออกไปประเทศ CLMV และสินค้าปลายน้ำอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 14.1 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา

อัญมณีและเครื่องประดับ

(ไม่รวมทองคำแท่ง)ในเดือน ก.พ. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 425.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 28.6 จากการส่งออกอัญมณีประเภท พลอย ไปยังประเทศตะวันออกกลาง ฮ่องกง เยอรมนี และสิงคโปร์ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 524.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 73.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกทองคำแท่งที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่า 99.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 93.0 ไปยังประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย เป็นต้น

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ