สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2562 2563 2563 2564 %YoY Year Year ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค ก.พ.
MPI -3.4 -9.3 -4.9 -11.1 -19.1 -24.1 -17.9 -13.6 -9.3 -2.6 -1.3 -0.6 -2.8 -2.0 -1.1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศ
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนพฤศจิกายน การผลิตหดตัวร้อยละ 0.6 เดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 2.8 และเดือนมกราคม 2564 หดตัวร้อยละ 2.0 Indicators 2563 2564 %MoM ก.พ. มี.ค. ม.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
MPI -3.8 2.7 6.0 -25.0 2.9 4.1 4.6 5.2 3.8 0.3 1.6 -0.7 6.9 -2.9
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม 2563 และเดือนมกราคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 1.6 เดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 0.7 และเดือนมกราคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 6.9
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2564
หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 18.48 จากการหยุดซ่อมบำรุงบางหน่วยกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันบางแห่ง รวมถึงการใช้น้ำมันเครื่องบินยังอยู่ในระดับต่ำ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ ทำให้การเดินทางลดลงทั้งการเดินทางในประเทศและการเดินทางระหว่างประเทศ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 33.32 โดยลดลงจากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศและประเทศคู่ค้า ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงผู้ผลิตไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในประเทศจีนที่ผลิตสินค้าปริมาณมาก รวดเร็วและราคาถูกได้ และยังมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราว
การผลิตเบียร์ หดตัวร้อยละ 26.22 เนื่องจากยังอยู่ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีมาตรการเฝ้าระวังการระบาดเพิ่มขึ้น ทำให้ช่องทางการจำหน่ายเบียร์ลดลง
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน น้ำตาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 จากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบมีมากกว่าเมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รวมถึงโรงงานที่ปิดหีบแล้วบางส่วนมีการละลายน้ำตาลดิบเป็นน้ำตาลทรายอย่างต่อเนื่อง
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังมีความต้องการต่อเนื่อง
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 การนำเช้าชองภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 1,439.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นต้น การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 7,762.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 177 โรงงาน ลดลง จากเดือนมกราคม 2564 ร้อยละ 13.7 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.27 (%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่ารวม 14,302 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2564 ร้อยละ 31.97 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 75.83 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ อุตสาหกรรม การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 17 โรงงาน และอุตสาหกรรมคัดแยกหรือผังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 14 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยางที่มิใช่ยางล้อจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ จำนวนเงินทุน 1,804 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ จำนวนเงินทุน 1,635 ล้านบาท
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ) ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 69 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2564 ร้อยละ 3.0 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.82 (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่ารวม 1,960 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2564 ร้อยละ 85.04 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 88.39 (%YoY) "อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 6 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 5 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ อุตสาหกรรม การทำวงกบ ขอบประตู หน้าต่าง บานหน้าต่าง บานประตู มูลค่าเงินลงทุน 501 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบหรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่าเงินลงทุน 293 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกุมภาพันธ์
2564 1.อุตสาหกรรมอาหาร
การผลิต ดัชนีผลผลิตในภาพรวมกลุ่มสินค้าอาหารเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 3.7 เนื่องจากมีการเร่งผลิตของสินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาล ประกอบกับสินค้าบางรายการมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่มีผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิต มีดังนี้ (1) น้ำตาล ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 19.9 (2) อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 5.1 และ (3) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 4.4 ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 5.1 จากสินค้า บางประเภท เช่น (1) กุ้งแช่แข็ง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 30.5 (2) เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 14.2 (3) ผักผลไม้แช่แข็ง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 9.6 (4) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 7.4 และ (5) สับปะรดกระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 6.8 ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 2,317.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 4.2 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากตลาดจีนต้องการวัตถุดิบในการผลิต เอทานอล ไบโอพลาสติก แป้งมันสำปะหลัง 2) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป เนื่องจากยังคงมีความต้องการจากประเทศ คู่ค้า ได้แก่ จีน อเมริกา ฮ่องกง และมาเลเซีย และ 3) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ประกอบกับธุรกิจอาหารสัตว์ของไทยเติบโตจากการผลิตให้กับแบรนด์ ชั้นนำของโลก โดยตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และออสเตรเลีย
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมเดือนมีนาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ได้แก่ เราชนะ ม.33 เรารักกัน ประกอบกับมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่เผ้าระวัง 54 จังหวัด โดยยกเลิกกำหนดเวลาปิดร้านอาหาร สถานบันเทิง และศูนย์การค้า รวมถึงมีการกระจายวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ สำหรับมูลค่า การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากประเทศคู่ค้ายังคงมีความต้องการสินค้า ในกลุ่มผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง รวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยง อย่างต่อเนื่อง 2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ1.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 107.4 สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน และคอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 27.1, 15.5, 10.8, 9.3 และ 5.5 ตามลำดับ เนื่องจากหม้อแปลงไฟฟ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน และคอมเพรสเซอร์ มีความต้องการสินค้าในประเทศลดลง ส่วนเครื่องปรับอากาศ มีคำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล เครื่องซักผ้า สายไฟฟ้า ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ มอเตอร์ไฟฟ้า และพัดลมตามบ้าน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9, 24.9, 14.9, 11.2, 10.5, 7.2 และ 5.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,318.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มีมูลค่า 74.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 จากตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 21.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 ในตลาดยุโรปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เครื่องซักผ้า มีมูลค่า 100.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป และ ตู้เย็น มีมูลค่า 162.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ในตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ พัดลม มีมูลค่า 8.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.4 ในตลาดจีน อาเซียน และยุโรป
"คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากการเร่งฉีดวัคซีน รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้าสู่ ฤดูร้อน ทำให้ความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็นมากขึ้น เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ และ ตู้เย็น เป็นต้น"
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 96.6 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, PWB, Semiconductor devices Transistors , IC และ HDD โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7, 15.4, 12.3, 7.9 และ 4.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและ คำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA โดยลดลงร้อยละ 2.9 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,972.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA มีมูลค่า 144.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.0 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และอาเซียน เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ มีมูลค่า 284.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 ในตลาดจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา และ ไดโอดทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ มีมูลค่า 124.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในตลาดยุโรป อาเซียน และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD มีมูลค่า 448.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.3 ในตลาดจีน อาเซียน และสหรัฐอเมริกา
"คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก การสร้างโครงข่ายและพัฒนาอุปกรณ์เครือข่าย 5G ซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น และยังมีความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ"
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
การผลิตรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 155,200 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 4.78 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 3.05 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 58,960 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 6.80 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.95 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รวมทั้ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจาก ผู้บริโภคในประเทศมีความกังวลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซีซี ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2563 และแพร่กระจายไปอีกหลายจังหวัดทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นของวัคซีนและผลข้างเคียง
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 79,470 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 7.20 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.52 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป เนื่องจาก การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายประเทศ
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2563 เนื่องจากการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนมีนาคมของปี 2563 ที่เริ่มลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ทั่วโลก"
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 168,127 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 1.36 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.01 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 130,130 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 4.06 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.38 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 37,624 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 46.35 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.72 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เบลเยียม และญี่ปุ่น
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2563 เนื่องจากการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนมีนาคมของปี 2563 ที่เริ่มลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อตลาดรถจักรยานยนต์ทั่วโลก"
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 0.40 โดยเป็นการชะลอตัวในสินค้ายางแผ่นรมควันและยางแท่ง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.76 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 1.51 โดยเป็นการจำหน่ายยางแผ่นรมควันลดลง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 โดยเป็นการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และตลาด Replacement
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 58.51 เนื่องจากผู้ผลิต ในประเทศปรับลดการส่งสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง และหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.85 โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามความต้องการใช้ของญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ที่ปรับตัวสูงขึ้น
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 ตามการขยายตัวของตลาดออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม
ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 214.79 ตามการขยายตัวต่อเนื่องของตลาดสหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร ตามลำดับ คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2564
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูปิดกรีดยางเร็วกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลกจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะหดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้า คนกลางลงและหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในตลาดมาเลเซีย เนื่องจากมาเลเซียมีความต้องการใช้น้ำยางข้นจากไทยสูงขึ้นเพื่อการผลิต ถุงมือยางซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดโลก สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะทรงตัวจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาสืบเนื่องจากประเด็น Anti-dumping หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกลำดับรองของไทย เช่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน และสหราชอาณาจักร 5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
ดัชนีผลผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 91.81 หดตัวร้อยละ 5.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 18.62 พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 14.17 และกระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 12.68
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 93.15 หดตัวร้อยละ 4.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 15.37 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ท่อและข้อต่อพลาสติกหดตัว ร้อยละ 15.09 และ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัว ร้อยละ 13.71
การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีมูลค่า 355.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 0.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 92.95 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ เทป และรูปทรงแบนอื่น ๆ ชนิดยึดติดได้ในตัว (HS 3919) ขยายตัว ร้อยละ 14.79 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ เทป และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูล่าร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 7.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย
การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 428.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 41.01 ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 230.82 กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 149.65 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 94.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมีนาคม 2564 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงขยายตัว อย่างไร ก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น การที่หลาย ๆ ประเทศได้รับวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น จึงคาดว่าเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจะฟื้นตัวทำให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีผลผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ระดับ 88.93 หดตัวร้อยละ 4.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 14.98 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 39.10 เนื่องจากขาดแคลนกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ ขั้นปลาย ขยายตัว ร้อยละ 0.16 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ สีน้ำพลาสติก หดตัวร้อยละ 13.71
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ 2564 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 90.89 ขยายตัวร้อยละ 3.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 4.75 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล และคลอรีน สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ร้อยละ 6.24 ขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยเคมี และแป้งฝุ่น เป็นต้น
การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 765.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 459.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.33 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 306.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.71 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 73.50 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัว ร้อยละ 17.11 และ การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม
การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 1,406.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 32.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการนำเข้า 936.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 43.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 469.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมีนาคม 2564 การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น การได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โควิด-19 ในประเทศไทย
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 107.26 หรือขยายตัวร้อยละ 17.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 7.12 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene และ Propylene ขยายตัวร้อยละ 51.63 และ 23.99 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 50.41 และ 21.42
ดัชนีการส่งสินค้าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 104.68 ขยายตัวร้อยละ 9.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 1.74 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene และ Propylene หดตัวร้อยละ 17.06 และ 4.29 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PP resin ขยายตัวร้อยละ 11.62 และ 4.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีมูลค่า 1,008.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 28.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.95 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มูลค่า 533.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 35.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว ร้อยละ 13.35 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Vinlyl Chloride และ Styrene เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 28.48 และขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE PP resin เป็นต้น ขยายตัว ร้อยละ 38.61 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบในช่วง 3 เดือนแรก ของปี 2564 คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมีนาคม ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และความกังวลของตลาดโลกกับการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน และการ ล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ อาจทำให้การผลิตและส่งออกยังคงไม่เข้าสู่สภาวะปกติ 8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม2564 มีค่า 104.1 ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และราคาเหล็กในตลาดโลกที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตผลิตเพื่อทำกำไรในระยะสั้น และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 98.0 ขยายตัวร้อยละ 6.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ขยายตัวร้อยละ 31.8 รองลงมา คือ เหล็กลวด และลวดเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 28.1 และ 11.5 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 110.9 ขยายตัวร้อยละ 31.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 106.4 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 78.7 และ 49.7 ตามลำดับ
การบริโภคในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีปริมาณการบริโภค 1.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการบริโภค 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 15.2 จากการบริโภคเหล็กลวดที่ขยายตัวร้อยละ 53.1 สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 1.1 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 38.1 จากการบริโภคเหล็กแผ่นรีดเย็น ที่ขยายตัวร้อยละ 67.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 34.2 และ 19.8 ตามลำดับ
ในเดือนกุมภาพันธ์
การนำเข้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีปริมาณ การนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 42.4 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 48.2 เหล็ก ทรงยาวที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กลวด ประเภท Carbon Steel ขยายตัวร้อยละ 221.3 เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel ขยายตัวร้อยละ 107.1 และเหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel ขยายตัวร้อยละ 77.3 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 41.0 เหล็กทรงแบนที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 91.9 เหล็กแผ่นรีดเย็น ประเภท Carbon Steel ขยายตัวร้อยละ 90.8 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ชนิด EG ขยายตัวร้อยละ 88.0
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม 2564 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ การดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 10.92 29.14 และ 24.59 (%YoY) เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ยังส่งผลต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศชะลอตัว ทำให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง โดยเฉพาะการชะลอตัวในประเทศคู่ค้าหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชะลอตัว ร้อยละ 6.69 9.86 และ 11.44 การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 13.41 26.22 และ 16.53 (%YoY) เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ กลับมาขยายตัว ร้อยละ 5.58 ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น การส่งออก
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 4.90 27.04 และ 14.14 (%YoY) จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มหดตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ส่งสัญญาณแนวโน้มดีขึ้นจากสินค้าด้าย เส้นใยประดิษฐ์ที่การขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.86 จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และปากีสถาน และการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป กลับมาขยายตัว ร้อยละ 15.07 ในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ในสินค้าเสื้อผ้า ที่เป็นทางการและกึ่งทางการ
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยังชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมผ้าผืน อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวทั้งในภาคการผลิตและการส่งออก 10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 7.57 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 2.50 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.59 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 0.21 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.27 (%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 1.36 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2564 เล็กน้อย ร้อยละ 0.53 (%MoM) แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.87 (%YoY) เป็นผลจากการปรับเพิ่มคำสั่งซื้อในส่วนของปูนเม็ดเพิ่มขึ้นมากจากตลาดศรีลังกา ถึงร้อยละ 1,472.14
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนมีนาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าปริมาณการผลิตอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน ที่ทยอยออกมาเป็นระยะ ประกอบกับรัฐบาลได้เริ่มการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งเป็นการสร้างความหวังให้กับประชาชนด้านการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจ ในประเทศ ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 3.83 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 0.30 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.79 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 0.21 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.27 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 มีจำนวน 0.42 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2564 ร้อยละ 13.34 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.92 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในตลาดส่งออกหลักหลายประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว เวียดนาม และศรีลังกา ร้อยละ 100, 100 และ 99.29 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง จากปัจจัยบวกในการเร่งสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของภาครัฐหลังได้งบประมาณ การทยอยออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อให้กับประชาชน และการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศ
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม