ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2564
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
Indicators 2562 2563 2563 2564
%YoY Year Year มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
MPI -3.4 -9.3 -11.1 -19.1 -24.1 -17.9 -13.6 -9.3 -2.6 -1.3 -0.6 -2.8 -2.0 -1.4 4.1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)
ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 23 เดือน หลังจากได้รับผลกระทบจาก
สงครามการค้าและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากผลของฐานต่ำในปี 2563
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนธันวาคม 2563 การผลิตหดตัว
ร้อยละ 2.8 เดือนมกราคม 2564 หดตัวร้อยละ 2.0 และเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 1.4
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนธันวาคม 2563 เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนธันวาคม 2563 หดตัวร้อยละ 0.7
เดือนมกราคม 2564 ขยายตัวตัวร้อยละ 6.9 และเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 3.1
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมีนาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.53 จากฐานต่ำในปีก่อนที่เศรษฐกิจถูกกระทบจากการแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งในประเทศ และประเทศคู่ค้าหลักต่าง ๆ ทำให้
กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง
? เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.19 จากฐานต่ำในปีก่อนที่ความต้องการใช้หดตัว ลูกค้า
ชะลอคำสั่งซื้อหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รุนแรงขึ้น และปีนี้ได้รับอานิสงส์จากปริมาณเหล็ก
ในตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาเหล็กโลกปรับตัวสูงจึงยังมีการเร่งผลิตเพื่อขายทำกำไรในช่วงที่ยังมีภาวะขาดแคลน
สินค้า
? น้ำตาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.89 เนื่องจากปีนี้ปิดหีบช้ากว่าปีก่อน และผลผลิตอ้อยสดปีนี้มีคุณภาพ
สามารถหีบสกัดเป็นน้ำตาลได้สูงกว่า ทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีก่อน
? เฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.76 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้เป็นหลัก เนื่องจากคำสั่งซื้อโต๊ะและ
เก้าอี้เพื่อส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่มีอย่างต่อเนื่อง
? อาหารสัตว์สำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.48 จากอาหารสัตว์เลี้ยง สุกร ปลา อาหารกุ้งสำเร็จรูป
และคำสั่งซื้ออาหารแมวส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่มีต่อเนื่อง รวมถึงผู้ผลิตขยายตลาดช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังมีความต้องการต่อเนื่องจากกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนมีนาคม 2564
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมีนาคม 2564
? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 1,597.3
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากเครื่องยนต์
เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
และส่วนประกอบ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 9,121.0
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจาก เหล็ก เหล็กกล้าและ
ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผงวงจรพิมพ์ แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 214 โรงงาน เพิ่มขึ้น
จากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ร้อยละ 20.9 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.63 (%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่ารวม 10,251
ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ร้อยละ 28.32 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
27.3 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 24 โรงงาน และอุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์
คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 24 โรงงาน เท่ากัน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยางจากยาง
ธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ ที่มิใช่ยางล้อ จำนวนเงินทุน 1,684 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิต
พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 993 ล้านบาท
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมีนาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 66 ราย ลดลงจากเดือน
กุมภาพันธ์ 2564 ร้อยละ 4.35 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.45 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่ารวม 1,641 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์
2564 ร้อยละ 16.28 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 90.46 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 9 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต
ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 4 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมีนาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม
การพิมพ์ การทำแฟ้มเก็บเอกสาร การเย็บเล่ม ทำปก หรือตบแต่งสิ่งพิมพ์ มูลค่าเงินลงทุน 319 ล้านบาท รองลงมา
คือ อุตสาหกรรมการทำยางแผ่นรมควัน การทำยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ มูลค่าเงินลงทุน 253 ล้านบาท?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมีนาคม 2564
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต ดัชนีผลผลิตในภาพรวมกลุ่มสินค้า
อาหารเดือนมีนาคม 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 8.0
เนื่องจากสินค้าน้ำตาลมีการปิดหีบช้ากว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับ
สินค้าบางรายการมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่มีดัชนี
ผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ (1) สับปะรดกระป๋อง ขยายตัว (%YoY)
ร้อยละ 67.7 (2) น้ำตาล ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 26.9 (3) อาหาร
สัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 23.7 (4) กุ้งแช่แข็ง
ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 12.0 (5) ไก่สดแช่แข็งและแช่เย็น
ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 6.2 (6) ทูน่ากระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 5.1
และ (7) เนื้อไก่สุกปรุงรส ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 1.1
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร
ในประเทศเดือนมีนาคม 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 3.0 จากสินค้า
บางประเภท เช่น (1) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 54.8
(2) กุ้งแช่แข็ง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 35.2 (3) น้ำตาลทรายขาว
บริสุทธิ์ ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 23.7 (4) เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น
ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 15.2 (5) น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ขยายตัว
(%YoY) ร้อยละ 13.0
ต ล ด ส่ง อ อ ก ภ พ ร ว ม ก ร ส่ง อ อ ก สิน ค้า อ ห ร
เดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 2,532.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากช่วง
เดียวกันของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 6.9 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่
1) น้ำตาล เนื่องจากราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีทิศทางลดลงจาก
อุปทานที่เพียงพอของบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ประกอบ
กับอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่ก็หันมาดำเนินนโยบายผลิต
น้ำตาลเองในประเทศมากขึ้น 2) ข้าว เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวไทยสูง
กว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ประกอบกับ
ข้าวขาวซึ่งเป็นผลผลิตหลักที่ไทยส่งออก ไม่ตรงกับความต้องการของ
ผู้บริโภคที่หันมาบริโภคข้าวนุ่มมากขึ้น และ 3) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น
แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ
ทำให้กลุ่มผลไม้ส่งออกสำคัญ เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย เก็บเกี่ยวได้ลดลง
ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลง
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารใน
ภาพรวมและมูลค่าการส่งออกเดือนเมษายน 2564 มีแนวโน้มลดลง
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมา โรงงาน
มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้นจากประเทศ
คู่ค้าเพื่อสำรองอาหารในช่วงที่มีการแพร่ระบาด
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบ
กับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 125.9 สินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน
เตาไมโครเวฟ สายเคเบิ้ล เครื่องซักผ้า หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เย็น และหม้อหุงข้าว
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.3, 39.2, 30.9, 25.5, 23.9, 21.4, 17.2, 13.3 และ
10.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจาก
ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ พัดลม
ตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ โดยลดลงร้อยละ 13.6, 7.7
และ 2.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจากต่างประเทศลดลง
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,693.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า
229.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 จากตลาดยุโรป จีน และ
สหรัฐอเมริกา เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 23.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 58.1 ในตลาดออสเตรเลีย อินเดีย และอาเซียน สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
มีมูลค่า 88.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา
มาเลเซีย และออสเตรเลีย พัดลม มีมูลค่า 45.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 44.5 ในตลาดจีน อินเดีย และเยอรมนี และตู้เย็น มีมูลค่า 213.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และ
ซาอุดีอาระเบีย
?คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
ตลาดส่งออกหลักของประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว ส่งผลทำให้มีความต้องการ
เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เช่น เตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็น สายไฟฟ้า และสายเคเบิ้ล?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อ
เทีย บ กับ เดือ น เดีย ว กัน ข อ ง ปีก่อ น โ ด ย มีดัช นีผ ล ผ ลิต
อยู่ที่ระดับ 104.85 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer,
PWB, IC, Semiconductor devices Transistors และ HDD โดยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 77.6, 13.7, 13.4, 12.5 และ 3.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีการ
จำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA โดยลดลงร้อยละ 29.8
เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,686.6
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA มีมูลค่า 150.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา IC มีมูลค่า
739.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ในตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา
และยุโรป และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 281.7
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ในตลาดยุโรป จีน และอาเซียน
ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD มีมูลค่า 1,021.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.5 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน
?คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 5.0 เมื่อ
เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของประเทศ
ไทย เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด
รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาอุปกรณ์เครือข่าย 5G ซึ่งทำให้เกิด
ความต้องการอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ?
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
มี.ค. 63 เม.ย. 63 พ.ค. 63 มิ.ย. 63 ก.ค. 63 ส.ค. 63 ก.ย. 63 ต.ค. 63 พ.ย. 63 ธ.ค. 63 ม.ค. 64 ก.พ. 64 มี.ค. 64
คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก ปริมาณการผลิต
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม
ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ก ร ผ ลิต ร ถ ย น ต์ ใน เดือ น มีน ค ม ปี 2 5 6 4
มีจำนวน 162,515 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564
ร้อยละ 4.71 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 10.70 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์
กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมีนาคม ปี 2564
มีจำนวน 74,295 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ
26.01 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
25.62 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์
กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และ
SUV เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่
ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของภาครัฐ ส่งผลให้การดำเนินกิจการและ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงมาตรการสนับสนุน
กำลังซื้อของภาครัฐ ซึ่งช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศอย่าง
ต่อเนื่อง
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2564 มีจำนวน
104,506 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ 31.50
(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.38
(%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย
และยุโรป เนื่องจาก เศรษฐกิจโลก เริ่มมีการฟื้นตัวจากความชัดเจน
ของมาตรการวัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทุก
ประเทศเริ่มทยอยออกมา
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือน
เมษายน ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2563
เนื่องจาก ฐานการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนเมษายนของปี 2563
ลดลงต่ำสุดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ส่งผล
กระทบต่อตลาดรถยนต์ทั่วโลก?
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม
ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2564
มีจำนวน 182,359 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564
ร้อยละ 8.47 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 20.21 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์
แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจ ห น่ายรถจักรยานยนต์ ใน เดือน มีนาค ม
ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 169,672 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน
กุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ 30.39 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.63 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250
ซีซี และ 251-399 ซีซี
ก รส่งอ อ ก รถ จัก รย น ย น ต์ ใน เดือ น มีน ค ม
ปี 2564 มีจำนวน 47,707 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2564 ร้อยละ 26.80 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน ร้อยละ 23.42 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์
สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศเบลเยียม สหราชอาณาจักร จีน
และสหรัฐอเมริกา
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ใน
เดือนเมษายน ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2563
เนื่องจาก ฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนเมษายน
ของปี 2563 ลดลงต่ำสุดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อตลาดรถจักรยานยนต์ทั่วโลก?
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.29 โดยเป็นการขยายตัวของการ
ผลิตสินค้ายางแผ่นรมควันและน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.19 ตามการขยายตัวที่ดี
ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.04 ตามความต้องการ
ใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด-19
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.98 โดยเป็นการจำหน่ายสินค้า
น้ำยางข้นเพิ่มขึ้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.89 โดยเป็นการ
ข ย ย ตัว ข อ งอุต ส ห ก ร ร ม ย น ย น ต์ แ ล ต ล ด
Replacement
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 50.76 จากการที่ผู้ผลิต
ในประเทศปรับลดการส่งสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางลง และหัน
ไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 109.17 โดยเป็นการขยายตัว
ของการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามความต้องการใช้
ของจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น ที่ปรับตัวสูงขึ้น
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.55 ตามการ
ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และออสเตรเลีย เป็นต้น
ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 271.57 ตามการ
ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนของตลาดสหรัฐอเมริกา
สหราชอาณาจักร จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ตามลำดับ
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2564
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน
ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
พายุฤดูร้อนทำให้มีฝนตกเร็วกว่าปีก่อน ประเทศไทยจึงเข้า
สู่ฤดูเปิดกรีดยางเร็วกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มปริมาณ
ยางเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตและจำหน่ายยาง
รถยนต์คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีตามแนวโน้มการ
ขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของ
การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือน
ก่อนตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น
ทั่วโลกจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่
การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
อย่างต่อเนื่อง จากการที่ผู้ผลิตถุงมือยางในประเทศปรับลด
การจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางลงและหันไปทำตลาด
ต่างประเทศเองมากขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน
ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
จากเดือนก่อน โดยเฉพาะในตลาดจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น
ซึ่งมีความต้องการใช้ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่น
รมควันจากไทยสูงขึ้นเพื่อการผลิตยางรถยนต์และถุงมือยาง
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวได้ดีในตลาดโลก สำหรับการ
ส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากแนวโน้มการ
ขยายตัวของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะมี
ประเด็น Anti-dumping แต่ไทยก็ถูกเรียกเก็บภาษีเบื้องต้น
ในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ในส่วนของการส่งออก
ถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการ
ใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาด
สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร จีน และ
ญี่ปุ่น
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคม 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่
ระดับ 100.15 หดตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยการผลิตในกลุ่มพลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 14.02 การผลิต
บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 13.51 และท่อและข้อต่อ
พลาสติก หดตัวร้อยละ 8.28
ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น มีน ค ม 2564
ค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 102.02 หดตัวร้อยละ 4.19 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น
บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 18.05 พลาสติกแผ่น หดตัว
ร้อยละ 10.47 และท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 2.91
การส่งออก เดือนมีนาคมปี 2564 มีมูลค่า 417.84
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 13.31 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูง
ที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ
193.65 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917)
ขยายตัวร้อยละ 32.61 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918)
ขยายตัวร้อยละ 22.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
เวียดนาม และจีน
การนำเข้า เดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 457.91
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 10.23 ผลิตภัณฑ์หลัก
ที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ
(HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 36.14 กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบ
ของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 26.61 และกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 16.60
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนเมษายน 2564
คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะยังค งขยายตัว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่
ระบาดระลอกใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะส่งผลต่อการ
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม
พลาสติก
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 105.12
หดตัวร้อยละ 1.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย
การผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 1.02 ซึ่ง
ผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ
19.42 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 1.75
ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ สบู่และเครื่องบำรุงผิว
หดตัวร้อยละ 18.66 และยาสระผม หดตัวร้อยละ 7.83
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมีนาคม2564 อุตสาหกรรม
เคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 103.44 ขยายตัว
ร้อยละ 4.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี
การส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 5.86
หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล และคลอรีน สำหรับกลุ่ม
เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ร้อยละ 8.03
ขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น แป้งฝุ่น และปุ๋ยเคมี
เป็นต้น
การส่งออก เดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 857.94
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.55 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการ
ส่งออก 479.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 35.24
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 378.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 17.02 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อินทรีย์ขยายตัวร้อยละ 41.42 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
ขยายตัวร้อยละ 34.76 และเครื่องสำอางขยายตัวร้อยละ 19.91
การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนามและ
อินโดนีเซีย
การนำเข้า เดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 1,605.74
ล้า น เห รีย ญ ส ห รัฐ ฯ ห รือ ข ย ย ตัว ร้อ ย ล 16.79
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการนำเข้า 1,135.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว
ร้อยละ 25.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน
เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 469.81 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนเมษายน 2564
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ค่อนข้าง
รุนแรง ส่งผลต่อการฟื้นตัวของสินค้าเคมีภัณฑ์บางประเภท
และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือน
มีนาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 120.42 หรือขยายตัวร้อยละ
6.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ
13.24 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน
ได้แก่ Ethylene และ Propylene ขยายตัวร้อยละ 12.64
และ 9.04 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PET resin
ขยายตัวร้อยละ 7.05 และ 6.48
ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ
122.26 ขยายตัวร้อยละ 16.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 16.35 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
โด ย เป็น ปิโต รเค มีขั้น พื้น ฐาน ได้แก่ Ethylene แ ล
Propylene ขยายตัวร้อยละ 13.53 และ 20.28 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PP resin
ขยายตัวร้อยละ 15.29 และ 23.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
การส่งออก การส่งออกเดือนมีนาคม ปี 2564
มีมูลค่า 1,214.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ
48.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการ
ขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น
ร้อยละ 25.02 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE
resin และ PC resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 54.43
การนำเข้า การนำเข้าเดือนมีนาคม ปี 2564
มีมูลค่า 620.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ
25.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว
ร้อยละ 14.92 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่ม
ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Toluene เป็นต้น
และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PS PP
resin เป็นต้น ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทาง
เพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบในช่วง 3 เดือนแรก
ของปี 2564
คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เดือนเมษายน ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรม
จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก
การกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความ
ผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และความกังวลของ
ตลาดโลกกับการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน รวมถึง
การล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปจากการแพร่ระบาดของ
โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจทำให้การผลิตและส่งออกยังคงไม่
เข้าสู่สภาวะปกติ
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม
2564 มีค่า 107.9 ขยายตัวร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรม
ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร ทำ
ให้ผู้ผลิตเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ จากความ
กังวลเรื่องราคาวัตถุดิบและราคาเหล็กที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก
ทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ขยายตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 111.6 ขยายตัวร้อยละ 20.4
ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ขยายตัว
ร้อยละ 87.3 รองลงมา คือ เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้าง
รูปพรรณชนิดรีดเย็นขยายตัวร้อยละ 61.4 และ 27.8
ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมมีค่า 105.0 ขยายตัวร้อยละ 25.2 ผลิตภัณฑ์ที่
การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัว
ร้อยละ 105.0 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่น
เคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 51.6 และ 50.9 ตามลำดับ
การบริโภคในประเทศ ในเดือนมีนาคม 2564
มีปริมาณการบริโภค 1.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 21.5
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว
มีปริมาณการบริโภค 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 33.9 จาก
การบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 49.9 เหล็กลวดขยายตัวร้อยละ 9.9 สำหรับกลุ่ม
เหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 1.1 ล้านตัน ขยายตัว
ร้อยละ 13.2 จากเหล็กแผ่นรีดเย็น ที่ขยายตัวร้อยละ 35.5
รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 31.8 เหล็ก
แผ่นบางรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 22.7 และเหล็กแผ่นเคลือบ
อื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 31.1
การนำเข้า ในเดือนมีนาคม 2564 มีปริมาณ
การนำเข้า 1.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน
มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 17.8 เหล็กทรง
แบนที่การนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ขยายตัว
ร้อยละ 38.7 เหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 33.5
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า
0.3 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 4.8 เหล็กทรงยาวที่การนำเข้า
หดตัว เช่น เหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 41.1 และ
เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 11.6
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน
2564 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ช่วย
สนับสนุนอุตสาหกรรม เช่น นโยบาย Made in Thailand ที่
สนับ ส นุน การจัด ซื้อ จัด จ้างสิน ค้าที่ผ ลิต ใน ป ระเท ศ
อย่างไรก็ตาม จากราคาเหล็กและวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อาจส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทั้งนี้
ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ
สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก นโยบายของจีนที่จะ
ยกเลิกมาตรการการคืนภาษีส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กบาง
รายการในเดือนพฤษภาคม ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อ
ปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ
8.41 20.75 และ 4.05 (%YoY) เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว
ประกอบกับความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมา ได้ส่งผลกระทบต่อ
การส่งออกผ้าผืนของไทยที่ชะลอตัว แม้ว่าการส่งออกเริ่มมี
สัญญาณการฟื้นตัว โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอขยายตัวใน
ประเทศคู่ค้า ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม รวมทั้งกลุ่ม
เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่กลับมาขยายตัวเป็นเดือนแรกในรอบปีในตลาด
หลักอย่างสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยอดจำหน่ายเสื้อผ้าที่เป็น
ทางการและกึ่งทางการปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดจีน ฮ่องกง
สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ที่ขยายตัว ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบ
กับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้า
สำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 6.61 17.44 และ 18.49 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ
ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 7.94 และ
15.09 (%YoY) เนื่องจากความต้องการเพื่อการส่งออก
โดยเฉพาะผ้าผืนลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
ชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การจำหน่าย
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 10.07
18.79 และ 13.74 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิต
สินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
การส่งออก
เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออก
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.43 และ 13.18 (%YoY) จากภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เริ่มคลายตัวจากการได้รับ
วัคซีนโควิด-19 ทำให้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปกลับมา
ขยายตัวในรอบปีในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา จีน
ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และเยอรมนี รวมทั้งกลุ่มเส้นใย
สิ่งทอ ที่ขยายตัวในตลาดหลักอย่างจีน เกาหลีใต้ และ
เวียดนาม ในขณะที่ผ้าผืนชะลอตัวลงเนื่องจากตลาดสำคัญอย่าง
เมียนมาได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง ส่งผล
ให้บริษัทต่างชาติระงับคำสั่งซื้อ และโรงงานสิ่งทอของจีนถูกเผา
ทำลาย หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การ
ส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 25.68 23.33 และ 12.55 ตามลำดับ
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2564
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ยังชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ จากการระบาดของเชื้อ
ไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด และผลกระทบจากความไม่สงบ
ทางการเมืองในเมียนมาที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมผ้าผืน
อย่างไรก็ตาม การส่งออกเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ หลังได้รับวัคซีน และ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศส่งผลในทางบวก
ทำให้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้า
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมีนาคม ปี 2564
มีจำนวน 7.73 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564
ร้อยละ 13.70 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน ร้อยละ 6.80 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมีนาคม
ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.66 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก
เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ 8.44 (%MoM) และเพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.28 (%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเดือนมีนาคม
ปี 2564 มีจำนวน 0.87 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือน
กุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ 36.04 (%MoM) และปรับตัวลดลง
จากเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก ร้อยละ 26.93
(%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อจากหลักหลายตลาด
ได้แก่ ศรีลังกา เวียดนาม ฟิลิปินส์ และบังคลาเทศ ร้อยละ
100 99.94 94.92 และ 44.25 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนเมษายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน คาดว่าปริมาณการผลิตอาจจะเริ่มปรับตัว
ลดลงจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มกลับมา
ระบาดอีกครั้ง และมีแนวโน้มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้
ความมั่นใจในการบริโภคและกำลังซื้อของประชาชนลดลงจาก
แรงงานบางส่วนต้องถูกออกจากงาน และการค้าขายซบเซา
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม
ปี 2564 มีจำนวน 3.94 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2564 ร้อยละ 13.24 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 1.09 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
เดือนมีนาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.66 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ 8.44 (%MoM)
และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.31 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม
ปี 2564 มีจำนวน 0.59 ล้านตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน
กุมภาพันธ์ ปี 2564 ร้อยละ 42.92 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.92 (%YoY) เป็นผลจากการ
ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จากตลาดเมียนมา
และกัมพูชา ร้อยละ 40.26 และ 18.13 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากความมั่นใจในการ
บริโภคและกำลังซื้อที่ลดลง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม