สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 20, 2021 15:42 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ไปยังประเทศคู่ค้าหลักในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2564

ขยายตัวในทุกประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27) จีน ญี่ปุ่น อาเซียน (5) และ CLMV

การนำเข้ามีมูลค่ารวม 23,511.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 14.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเชื้อเพลิง

หดตัวร้อยละ 9.50 สินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 16.81 โดยสินค้าทุนประเภท

เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่ง

สำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 26.45 ตามการนำเข้าเหล็กและ

ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2563 การนำเข้ามีมูลค่า 63,632.37ล้าน

เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.37

เดือนมีนาคม 2564 การส่งออกรวมมีมูลค่า 24,222.46 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้า

สำคัญ อาทิ สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าส่งออก 2,083.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 11.49 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าส่งออก 1,695.64 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.90 ด้านสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออก 19,692.95

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.46 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า

ส่งออก 19,460.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.17 และสินค้า

อุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำอาวุธ รถถัง และอากาศยาน) มีมูลค่าส่งออก 19,394.65

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.77 ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัว เช่น รถยนต์และ

ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

ภาพรวมไตรมาสที่ 1 ปี 2564 การส่งออกรวมมีมูลค่า 64,148.03 ล้าน

เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.27 และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวม

ทองคำ) มีมูลค่า 51,413.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.41

สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมและไตรมาสที่1 ปี2564

เดือนมีนาคม 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 15.17 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำอาวุธ รถถัง และอากาศยาน) ขยายตัวร้อยละ

25.77 โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้

การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าหลักขยายตัวทุกตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27) ญี่ปุ่น จีน อาเซียน และ CLMV

ภาพรวมไตรมาสที่1 ปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 9.41 โดยเฉพาะ

การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าหลักขยายตัวทุกตลาด

หมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน

CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม

World +15.17%

USA +8.24%

Asean (5)

+4.73%

EU(27)

+33.67%

Japan +3.12%

CLMV +10.53%

China +30.43%

อัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) มีนาคม 2564

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ในเดือน มี.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 2,693.7 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการส่งออกขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและ

ส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.2 จากการส่งออกไปประเทศ

สหรัฐอเมริกา เวียดนาม อินเดีย ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

ขยายตัวร้อยละ 25.6 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

ภาพรวมการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2564

ขยายตัวร้อยละ 14.8 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

เวียดนาม และอินเดีย

ในเดือน มี.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 3,686.6 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัว อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ

18.9 จากการส่งออกไปฮ่องกง สิงคโปร์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์

และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ 4.3 จากการส่งออกไปประเทศ

เนเธอร์แลนด์ จีน และสิงคโปร์

ภาพรวมการส่งออกเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่1 ปี 2564

ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากการส่งออกไปประเทศจีนและเนเธอร์แลนด์

ในเดือน มี.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 3,936.2 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ตามการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ

43.1 โดยเฉพาะรถปิคอัพ รถบัสและรถบรรทุก ขยายตัวร้อยละ

120.1 จากการส่งออกไปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และมาเลเซีย

ภาพรวมการส่งออกยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบใน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากการส่งออกไปยัง

ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

ในเดือน มี.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 588.4 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขยายตัวในสินค้าต้นน้ำและปลายน้ำ

โดยด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ขยายตัวร้อยละ 13.8 จากการส่งออกไป

จีน เกาหลีใต้ เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 13.2 จากการส่งออก

ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกงและสหราชอาณาจักร

ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 1 ปี

2564 หดตัวร้อยละ 5.2 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา จีน

ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย

ในเดือน มี.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 1,013.7 ล้าน

เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 52.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน จากการส่งออกไปประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย

เวียดนาม ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน

มี.ค. 2564 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณ โดยดัชนี

ราคาส่งออกเม็ดพลาสติกขยายตัวร้อยละ 9.9 และการส่งออกเม็ด

พลาสติกมีปริมาณ 670.4 ล้านกิโลกรัม ขยายตัวร้อยละ 25.7

ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาสที่ 1 ปี 2564

ขยายตัวร้อยละ 31.8 และการส่งออกในรูปปริมาณมีปริมาณ

1,723.7 ล้านกิโลกรัม ขยายตัวร้อยละ 12.4

ในเดือน มี.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 539.3 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.3 จากการส่งออกเครื่องประดับแท้ทำ

ด้วยทอง อัญมณีประเภทเพชรที่ขยายตัวร้อยละ 37.2 และ 45.7 ไปยัง

ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย การส่งออกอัญมณีและ

เครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 772.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 54.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากทองคำที่ยัง

ไม่ได้ขึ้นรูปซึ่งมีมูลค่า 232.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 81.5

ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำแท่ง)

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 หดตัวร้อยละ 13.2 จากการส่งออกอัญมณี

ประเภทพลอยและเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองจากการส่งไปศรีลังกา

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ

เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำแท่ง)

ข้อมูลเพิ่มเติม : : อัมพร สุวรรณรัตน์ และ ชุติมา ชุติเนตร กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4332

อุตสาหกรรม

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ