ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 21, 2021 14:11 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

Indicators 2562 2563 2563 2564

%YoY Year Year เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.

MPI -3.4 -9.3 -19.1 -24.1 -17.9 -13.6 -9.3 -2.6 -1.3 -0.6 -2.8 -2.0 -1.4 5.9 18.5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)

ขยายตัวร้อยละ 18.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบในเดือนเมษายน 2563

ที่ต่ำ ซึ่งเป็นเดือนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดในระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวได้ดี

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมกราคม การผลิตหดตัวร้อยละ

2.0 เดือนกุมภาพันธ์หดตัวร้อยละ 1.4 และเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 5.9

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 6.9 เดือนกุมภาพันธ์

หดตัวร้อยละ 3.1 และเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 10.2

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 288.06 จากการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตค่ายต่าง ๆ

หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปีก่อน

? การผลิตเบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ

แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่ ประชาชนสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาและสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กลับไปบริโภคที่บ้านได้

? เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.38 จากฐานต่ำในปีก่อนจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ

หลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ช่องทางการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าถูกปิด ส่วนปีนี้มีการพัฒนาสินค้า

สอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายทำให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออก

ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์ประเทศคู่ค้าคลี่คลายและสามารถทำการส่งออกได้ตามปกติ

? เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.23 จากฐานต่ำ ตามความต้องการใช้ที่หดตัวและลูกค้า

ชะลอคำสั่งซื้อจากการล็อกดาวน์ประเทศหลังการแพร่ระบาดในปีก่อน และมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราว

ในปีก่อน รวมถึงในปีนี้การผลิตเพิ่มขึ้นตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.74 จากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศและต่างประเทศในปีก่อน

ทำให้ลูกค้าหลักชะลอคำสั่งซื้อ และมีผู้ผลิตหยุดซ่อมบำรุงในปีก่อน

Indicators 2563 2564

%MoM เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.

MPI -25.0 2.9 4.1 4.6 5.2 3.8 0.3 1.6 -0.7 6.9 -3.1 10.2 -16.1

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนเมษายน 2564

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนเมษายน 2564

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 1,678.3

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากเครื่องสูบลม เครื่องสูบ

ของเหลว เครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักร

ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 8,831.4

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากเหล็ก เหล็กกล้าและ

ผลิตภัณฑ์ ประเภทเหล็ก ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ทำด้วยเหล็ก เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะ ประเภททองแดงและอลูมิเนียม

เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 232 โรงงาน เพิ่มขึ้น

จากเดือนมีนาคม 2564 ร้อยละ 8.41 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.75 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่ารวม

11,712 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2564 ร้อยละ 14.25 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 8.1 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 34 โรงงาน และอุตสาหกรรมการขุด

หรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 24 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2564 คือ อุตสาหกรรมการสี ฝัด หรือขัดข้าว จำนวน

เงินทุน 1,174 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม การทำหม้อเก็บพลังงานไฟฟ้าหรือหม้อกำเนิดพลังงานไฟฟ้า

ชนิดน้ำหรือชนิดแห้ง และรวมถึงชิ้นส่วน จำนวนเงินทุน 1,062 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนเมษายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย ลดลงจากเดือนมีนาคม

2564 ร้อยละ 40.91 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.83 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่ารวม 942 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม

2564 ร้อยละ 42.6 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.27 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 5 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการเก็บรักษาหรือลำเลียงพืช

เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืช ในไซโล จำนวน 2 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนเมษายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การทำขนมปังกรอบ หรือขนมอบแห้ง มูลค่าเงินลงทุน 185 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องมือ

เครื่องใช้ เครื่องเรือน พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 154 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนเมษายน 2564

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต ดัชนีผลผลิตเดือนเมษายน 2564

ขยายตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 0.9 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อ

อย่างต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคในประเทศและต่างประเทศ

จากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มี

ดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ (1) อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัว

ร้อยละ 8.8 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป

(2) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมัน

ปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (3) ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัว

ร้อยละ 4.5 จากสินค้าสำคัญคือ ผักผลไม้แช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง

และข้าวโพดหวานกระป๋อง (4) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.0 จาก

สินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่สดแช่แข็งและแช่เย็น และ (5) มันสำปะหลัง

ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนเมษายน 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 1.3 โดย

กลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว มีดังนี้ (1) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโม่-สี ธัญพืช

ขยายตัวร้อยละ 34.1 จากสินค้าสำคัญคือ นมถั่วเหลือง (2) ผลิตภัณฑ์นม

ขยายตัวร้อยละ 18.3 จากสินค้าสำคัญคือ นมพร้อมดื่มและนมระเหยน้ำ

(3) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่สดแช่แข็ง

และแช่เย็น และ (4) เครื่องปรุงอาหารประจำโต๊ะและเครื่องประกอบอาหาร

ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากสินค้าสำคัญคือ เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร

ต ล ด ส่ง อ อ ก ภ พ ร ว ม ก ร ส่ง อ อ ก สิน ค้า อ ห ร

เดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 2,949.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจาก

ช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 1.3 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่

1) ข้าว เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้

ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ประกอบกับผลผลิตหลักที่ไทยส่งออก

ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาบริโภคข้าวนุ่มมากขึ้น

2) น้ำตาล เนื่องจากราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีทิศทางลดลง

จากอุปทานที่เพียงพอของบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่

ประกอบกับอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่ก็หันมาดำเนิน

นโยบายผลิตน้ำตาลเองในประเทศมากขึ้น และ 3) อาหารทะเลกระป๋อง

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศดีขึ้น จึงลดการสำรอง

สินค้าดังกล่าวลดลง

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

เดือนพฤษภาคม 2564 ในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งตลาดในและ

ต่างประเทศที่กลับมาฟื้นตัว ประกอบกับวัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิต

ทางการเกษตรที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น มันสำปะหลัง

สับปะรด ปาล์มน้ำมัน มีปริมาณเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออก

มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก

ประเทศคู่ค้ามีคำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อสำรองอาหารในช่วงที่โควิด-19

มีการแพร่ระบาดในปีที่ผ่านมา

0

50

100

150

200

250

300

350

ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นเมษายน 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแชเ ย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

ล้านเหรียญ

สหรฐั ฯ

มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นเมษายน 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.9 เมื่อ

เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 109.1 สินค้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า

เตาไมโครเวฟ สายเคเบิ้ลเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้า

และคอมเพรสเซอร์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.3, 102.1, 70.9, 69.3, 66.4,

65.4, 28.3, 23.8 และ 12.0 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ

และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัว

ลดลง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน และสายไฟฟ้า โดยลดลงร้อยละ

36.4, 4.6 และ 3.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจากในประเทศ

และต่างประเทศลดลง

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,306.7 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อหุงข้าว เตาย่างและเตาอบย่าง มีมูลค่า

37.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.3 จากตลาดจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน

เครื่องซักผ้า มีมูลค่า 97.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.7 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา อาเซียน และจีน ตู้เย็น มีมูลค่า 161.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.4 ในตลาด ยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา เครื่องปรับอากาศ

มีมูลค่า 542.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.3 ในยุโรป อาเซียน และ

สหรัฐอเมริกา และสายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มีมูลค่า 76.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และยุโรป ในขณะที่สินค้า

ที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ โซล่าร์เซลล์ มีมูลค่า 21.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 75.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา และอาเซียน เคเบิลใยนำแสง มีมูลค่า 1.3

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.5 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน และแผง

สวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 169.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 7.3 ในตลาด ญี่ปุ่น ยุโรปและจีน

?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะ

ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว เช่น ตลาดสหภาพยุโรป และจีน

ทำให้มีความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง

ฤดูกาลทำให้มีความต้องการสิน ค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น พัดลม และ

เครื่องปรับอากาศ?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

4,000

0

20

40

60

80

100

120

เม.ย.-63

พ.ค.-63

มิ.ย.-63

ก.ค.-63

ส.ค.-63

ก.ย.-63

ต.ค.-63

พ.ย.-63

ธ.ค.-63

ม.ค.-64

ก.พ.-64

มี.ค.-64

เม.ย.-64

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

มลู ค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 94.1

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, PWB, HDD, IC,

PCBA และ Semiconductor devices Transistors โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ

41.5, 17.8, 17.5, 12.2, 7.6 และ 3.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่าย

ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,270.1

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD มีมูลค่า 557.9 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.1 ในตลาดจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ไดโอด

ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ มีมูลค่า 200.9 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 ในตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา และ อาเซียน

วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 125.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ

มีมูลค่า 231.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ในตลาดอาเซียน จีน

และสหรัฐอเมริกา และวงจรรวม มีมูลค่า 622.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 4.9 ในตลาดอาเซียน จีน และสหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 20.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการตลาดโลก

เพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มสินค้าเซมิคอนดักเตอร์, HDD รวมทั้งการขยาย

โครงข่ายและพัฒนาอุปกรณ์เครือข่าย 5G ซึ่งทำให้เกิดความต้องการ

อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ?

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

0

20

40

60

80

100

120

140

160

เม.ย.-63

พ.ค.-63

มิ.ย.-63

ก.ค.-63

ส.ค.-63

ก.ย.-63

ต.ค.-63

พ.ย.-63

ธ.ค.-63

ม.ค.-64

ก.พ.-64

มี.ค.-64

เม.ย.-64

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า

มลู ค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

24,711

56,035

71,704

89,336

117,253

150,345

149,360

172,455

143,073

148,118

155,200

162,515

104,355

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

เม.ย. 63 พ.ค. 63 มิ.ย. 63 ก.ค. 63 ส.ค. 63 ก.ย. 63 ต.ค. 63 พ.ย. 63 ธ.ค. 63 ม.ค. 64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64

คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์

ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม

ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ก ร ผ ลิต ร ถ ย น ต์ ใน เดือ น เม ษ ย น ปี 2 5 6 4

มีจำนวน 104,355 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ

35.79 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

322.30 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ

1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจากในช่วง

เดียวกันของปีที่ผ่านมามีการล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของเชื้อ

ไวรัสโควิด-19 ในระลอกแรก ประกอบกับมีการหยุดการผลิต

ชั่วคราวของโรงงานผลิตรถยนต์ส่งผลให้ฐานปีที่ผ่านมาต่ำ

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายน

ปี 2564 มีจำนวน 58,132 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ

21.76 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 93.07

(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์

กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และ

SUV เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำจากการล็อกดาวน์ และการหยุด

การผลิตชั่วคราวของโรงงานผลิตรถยนต์

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2564 มีจำนวน

52,880 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ 49.40

(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 160.16

(%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นในตลาดทุกตลาด เนื่องจาก

ฐานปีที่ผ่านมาต่ำจากการล็อกดาวน์ ประกอบกับกิจกรรมทาง

เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวมากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ

การส่งออกรถยนต์ทุกประเภท

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือน

พฤษภาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม

ปี 2563 เนื่องจากฐานการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนพฤษภาคม

ของปี 2563 ลดลงต่ำจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ทั่วโลก?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

63,517

66,669

75,819

119,008

137,847

174,645

166,636

175,569

159,099

165,874 168,127

182,359

131,427

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

เม.ย. 63 พ.ค. 63 มิ.ย. 63 ก.ค. 63 ส.ค.63 ก.ย.63 ต.ค.63 พ.ย.63 ธ.ค.63 ม.ค.64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64

คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์

ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก

ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม

ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2564

มีจำนวน 131,427 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ

27.93 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

106.92 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ

อเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำห น่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน

ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 133,850 คัน ลดลงจากเดือน

มีนาคม ปี 2564 ร้อยละ 21.11 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 69.70 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด

จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250

ซีซี และ 251-399 ซีซี

ก รส่งอ อก รถ จัก รยาน ยน ต์ ใน เดือน เม ษ ย น

ปี 25 64 มีจำน วน 3 0,581 คัน ล ด ล งจากเดือน มีน ค ม

ปี 2564 ร้อยละ 35.90 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 120.24 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์

สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศเบลเยียม จีน และสหราชอาณาจักร

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม

ปี 2563 เนื่องจากฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนพฤษภาคม

ของปี 2563 ลดลงต่ำจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้

ส่งผลกระทบต่อตลาดรถจักรยานยนต์ทั่วโลก?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.80 จากการขยายตัวของ

การผลิตสินค้ายางทุกชนิด ทั้งยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.19 เนื่องจากตลาดทั้ง

ในและต่างประเทศยังขยายตัวได้ดี ประกอบกับฐานตัวเลข

ของปีก่อนค่อนข้างต่ำ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 9.16 เนื่องจากฐานตัวเลข

ของปีก่อนค่อนข้างสูง

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.17 โดยเป็นการจำหน่ายสินค้า

น้ำยางข้นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางเพิ่มขึ้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.73 ตามการขยายตัว

ที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ และตลาด Replacement

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 61.37 เนื่องจากผู้ผลิตใน

ประเทศหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น และลดการ

จำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางลง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.24 จากการขยายตัวของ

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.44 ตามการ

ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เวียดนาม

อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ตามลำดับ

ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 147.26 ตามการ

ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา เยอรมนี บราซิล ญี่ปุ่น และ

เนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2564

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จากเดือนก่อน เนื่องจากพายุฤดูร้อนทำให้ประเทศไทย

มีฝนตกเร็วกว่าปีที่ผ่านมา จึงเข้าสู่ฤดูเปิดกรีดยางเร็วขึ้น

และมีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดมากขึ้น สำหรับ

การผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะมีการขยายตัว

ที่ดีตามแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นของตลาดทั้งในและ

ต่างประเทศ ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะมีการ

ขยายตัวที่ดีเช่นกัน เนื่องจากทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มความ

ต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการ

ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่การจำหน่าย

ถุงมือยางในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการที่

ผู้ผลิตถุงมือยางในประเทศปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้า

คนกลางลงและหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จากเดือนก่อน โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย

ซึ่งมีความต้องการใช้ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น

จากไทยสูงขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์

และถุงมือยางซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวที่ดีใน

ตลาดโลก สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่า

สูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา

ถึงแม้จะมีประเด็น Anti-dumping เนื่องจากไทยถูกเรียกเก็บ

ภาษีเบื้องต้นในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่น รวมถึงการขยายตัว

ที่ดีในตลาดประเทศสมาชิกอาเซียน ในส่วนของการส่งออก

ถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการ

ใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะใน

ตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนเดือนเมษายน 2564 ค่าดัชนี

ผลผลิต อยู่ที่ระดับ 89.0 หดตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยการผลิตที่หดตัวอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กระสอบ

พลาสติก หดตัวร้อยละ 24.51 ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ

15.17 และการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 10.80

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2564 ค่าดัชนี

การส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 93.19 หดตัวร้อยละ 2.69 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น กระสอบพลาสติก

22.70 การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 17.77 และ

ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 10.25

การส่งออก เดือนเมษายนปี 2564 มีมูลค่า 368.59

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 22.09 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูง

ที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ

97.24 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ

74.21 และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก (HS 3926)

ขยายตัวร้อยละ 45.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม

และจีน

การนำเข้า เดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 440.18

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 2.13 ผลิตภัณฑ์หลักที่

ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ

(HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 39.65 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น

(HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 15.33 และ กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น

แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919)

ขยายตัวร้อยละ 10.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤษภาคม 2564

คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะขยายตัว อย่างไรก็ตามยังมี

ปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

ที่ผันผวน ทำให้กระทบกับต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลกระทบต่อราคาและ

การส่งออกของอุตสาหกรรมพลาสติก

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า

60

70

80

90

100

110

มี.ค.-63

เม.ย.-63

พ.ค.-63

มิ.ย.-63

ก.ค.-63

ส.ค.-63

ก.ย.-63

ต.ค.-63

พ.ย.-63

ธ.ค.-63

ม.ค.-64

ก.พ.-64

มี.ค.-64

เม.ย.-64

ดัชนผี ลผลิต ดัชนกี รส่งสินคา

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ระดับ 99.28

หดตัวร้อยละ 5.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย

การผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 8.15 ซึ่ง

ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่เอทานอล ขยายตัว

ร้อยละ 27.35 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ

9.35 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ น้ำยาล้างจาน

หดตัวร้อยละ 30.72 และสบู่และเครื่องบำรุงผิว หดตัวร้อยละ

27.57

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2564 อุตสาหกรรม

เคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 96.30 หดตัว

ร้อยละ 0.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี

การส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 6.26

ขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล และกรดเกลือ สำหรับ

กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าหดตัว ร้อยละ 1.94

หดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่และ

เครื่องบำรุงผิว เป็นต้น

การส่งออก เดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 806.88

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 31.31 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการ

ส่งออก 507.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 58.73 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์

ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 299.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 1.53 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก

ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 96.09 เคมีภัณฑ์

เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 30.67 และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัว

ร้อยละ 28.59 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน

อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย

การนำเข้า เดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 1,656.02

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 23.10 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการ

น เข้า 1,157.70 ล้าน เห รียญ สห รัฐฯ ห รือ ขย ย ตัว

ร้อยละ 38.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน

เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 498.31 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนพฤษภาคม 2564

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เคมีภัณฑ์

บางประเภทมีการหดตัวเนื่องจากการชะลอการซื้อของ

ผู้บริโภค ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกนี้ อาจส่งผลต่อ

การฟื้นตัวของสินค้าเคมีภัณฑ์บางประเภท รวมถึงส่งผล

กระทบต่อการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์อีกด้วย

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือน

เมษายน ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 114.28 หรือขยายตัวร้อยละ

4.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ

4.79 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน

ได้แก่ Toluene และ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 32.55 และ

5.33 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PS resin

ขยายตัวร้อยละ 8.50 และ 7.95

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 110.36 ขยายตัว

ร้อยละ 5.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัว

ร้อยละ 10.55 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene และ Benzene ขยายตัวร้อยละ

16.34 และ 12.29 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PS resin ขยายตัว

ร้อยละ 7.80 และ 1.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนเมษายน ปี 2564 มีมูลค่า

1,169.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 56.6 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวชะลอลงร้อยละ

3.69 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่ม

ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น ร้อยละ 157.1

และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PC

resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 40.60

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนเมษายน ปี 2564 มีมูลค่า 551.56

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 29.17 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวร้อยละ 11.12 เมื่อ

เทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน

เช่น Xylene และ Propylene เป็นต้น ร้อยละ 46.05 และ

ขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PS resin และ PP

resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 25.76 ส่วนหนึ่งมาจากระดับ

ราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เดือนพฤษภาคม ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรม

จะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการ

กลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณ ฑ์ อย่างไรก็ดี

ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของ

เศรษฐกิจหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และความกังวลของ

ตลาดโลกกับการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน และการล็อก

ดาวน์ในสหภาพยุโรปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจทำให้การผลิตและส่งออกยังคงไม่

เข้าสู่สภาวะปกติ

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน

2564 มีค่า 103.7 ขยายตัวร้อยละ 29.2 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของ

ผู้ใช้ จากความกังวลเรื่องราคาวัตถุดิบและราคาเหล็กที่สูงขึ้น

อย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมขยายตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม

เหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 98.8 ขยายตัว

ร้อยละ 14.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ลวดเหล็ก

แรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 39.9 รองลงมา คือ ลวดเหล็ก และ

เหล็กเส้นข้ออ้อย ขยายตัวร้อยละ 22.2 และ 21.4 ตามลำดับ

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

มีค่า 115.4 ขยายตัวร้อยละ 71.1 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิต

ขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 124.4

รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่น

รีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 107.5 และ 92.3 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนเมษายน 2564

มีปริมาณการบริโภค 1.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 18.7

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว

มีปริมาณการบริโภค 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 4.7 จาก

การบริโภคเหล็กลวด ที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 และเหล็กเส้น

และเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 6.7 สำหรับกลุ่ม

เหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน ขยายตัว

ร้อยละ 27.4 จากการบริโภคเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ขยายตัว

ร้อยละ 83.7 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ

60.9 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 40.9

การนำเข้า ในเดือนเมษายน 2564 มีปริมาณ

การนำเข้า 1.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า

0.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากการนำเข้าเหล็กเส้นชนิด

carbon steel ที่ขยายตัวร้อยละ 43.8 (นำเข้าจากญี่ปุ่น

เกาหลีและจีน) และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ชนิด

carbon steel ที่ขยายตัวร้อยละ 41.5 (นำเข้าจากจีน และ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน

มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 15.1 เหล็กทรง

แบนที่การนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด

alloy steel ขยายตัวร้อยละ 98.5 และชนิด carbon steel

ขยายตัวร้อยละ 40.6 (นำเข้าจากญี่ปุ่นมากที่สุด)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม

2564 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ช่วย

สนับสนุนอุตสาหกรรม เช่น นโยบาย Made in Thailand

ที่สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตในประเทศ อย่างไร

ก็ตาม จากราคาเหล็กและวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจ

ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ประเด็น

สำคัญที่ควรติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก

ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ นโยบายการช่วยเห ลือ

ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งประเด็น

ดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์

เหล็กในประเทศ?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 21.55 และ

24.15 (%YoY) ปัจจัยหลักเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับ

ผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรก

ที่มีการควบคุมการระบาดโดยการล็อกดาวน์ในไทยและประเทศ

คู่ค้า รวมทั้งการปิดโรงงานในบางส่วนเนื่องจากความต้องการ

บริโภคชะลอตัว ประกอบกับได้รับแรงส่งจากการส่งออก

ที่ประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และ

เบลเยียม สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 16.70

จากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของ

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด แม้การส่งออก

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในตลาดสำคัญ

อย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฮ่องกง และจีน

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน กลับมาขยายตัว ร้อยละ

47.58 และ 35.21 (%YoY) จากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับ

ผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรก

ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัว

ในขณะที่การจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

จากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของ

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุดที่ยังทวีความ

รุนแรง

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เริ่มฟื้น

ตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 74.39 45.28 และ 32.92 (%YoY) เนื่องจากฐาน

ที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของ

เชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศชะลอคำสั่งซื้อ และ

มาตรการการควบคุมการขนส่งของไทยและประเทศคู่ค้า ซึ่ง

ปัจจุบันประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัวจากการระบาดทำให้

การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเฉพาะตลาด

สำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และเบลเยียม

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2564

คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องด้วยฐาน

ที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มี

อย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

น่าจะยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศลดลง จากการระบาด

ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด แม้ว่าความต้องการ

เครื่องนุ่งห่มจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้า

สำคัญที่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มสินค้า

เสื้อผ้าที่เป็นทางการและกึ่งทางการ อาทิ ชุดเดรส และกางเกง

ยีนส์

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2564

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2564

มีจำนวน 7.55 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ

6.27 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 4.57 (%YoY) เนื่องจากในเดือนก่อนมีการผลิต

เพิ่มขึ้นมากและในเดือนเมษายนมีวันหยุดตามเทศกาล

ยาวหลายวัน

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

เมษายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.43 ล้านตัน

ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ 14.39 (%MoM) แต่

เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.34 (%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน

ปี 2564 มีจำนวน 0.85 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือน

มีนาคม ปี 2564 ร้อยละ 1.49 (%MoM) และปรับตัวลดลงจาก

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.21 (%YoY) เป็นผลจาก

การปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดหลักหลายตลาด ได้แก่

ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ สปป.ลาว และกัมพูชา ร้อยละ

95.71 53.21 32.49 และ 7.52 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

ในภาพรวมเดือนพฤษภาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าการลดลงของปริมาณการผลิต

จะเห็นเด่นชัดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่กลับมาอีกครั้ง อีกทั้งการระบาดมีแนวโน้มขยายวงกว้าง

ขึ้นเรื่อย ๆ และขยายวงเข้าไปในโครงการงานก่อสร้าง

หลายแห่ง

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน

ปี 2564 มีจำนวน 3.89 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม

ปี 2564 ร้อยละ 8.57 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 10.24 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

เดือนเมษายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.43 ล้านตัน

ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2564 ร้อยละ 14.39 (%MoM) แต่

เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.34 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน

ปี 2564 มีจำนวน 0.47 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนมีนาคม

ปี 2564 ร้อยละ 21.25 (%MoM) แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.37 (%YoY) เป็นผลจากการปรับ

เพิ่มคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จากตลาดกัมพูชา และ

สปป.ลาว ร้อยละ 132.21 และ 7.92 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากความมั่นใจในการ

บริโภคและกำลังซื้อที่ลดลง ประกอบกับมีการแพร่ระบาดของเชื้อ

ไวรัสโควิด-19 เข้าไปในโครงการก่อสร้างหลายโครงการโดยเฉพาะ

โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้การก่อสร้าง

ชะงักไปจนอาจมีผลต่อการส่งมอบงาน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ