สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2564
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 25.8
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ อาทิ
อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมการ
ผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 65.4
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายสาขาสาคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสาคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต
เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 151.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นจากทุกสินค้า โดยเฉพาะรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และ
เครื่องยนต์ดีเซล เนื่องจากฐานต่ำของปีก่อนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพิ่งเริ่มผ่อน
คลายมาตรการล็อกดาวน์
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 90.2 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานต่าในปีก่อนจากการระบาดของโควิด-19 และปีนี้ผู้ผลิตได้
ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองและจูงใจผู้บริโภค รวมถึงตลาดส่งออกหลัก เช่น ออสเตรเลีย
สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีคาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 35.4 เมื่อเทียบ
กับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นไปตามทิศทางของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่
เพิ่มขึ้นตลอดในช่วงนี้ ตามปัจจัยบวกในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและมีความต้องการ
ใช้หลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น
สาหรับสาขาอุตสาหกรรมการผลิตสาคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี อุตสาหกรรมการผลิต
เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 41.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน จากการชะลอการผลิตหลังวัตถุดิบนาเข้า (แม่ปุ๋ยยูเรียและโพแทสเซียม) มีราคาสูงขึ้นตามความ
ต้องการใช้จานวนมากของประเทศจีนและอินเดีย ในขณะที่เกษตรกรมีความต้องการใช้ปุ๋ยมากกว่าปี
ก่อนจากปริมาณน้าเพื่อการเพาะปลูกมีเพียงพอที่จะสามารถปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรังได้
อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสาเร็จรูป ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อน จากเกือบทุกรายการสินค้า (ยกเว้นเสื้อผ้าชั้นนอกของสตรีและเด็กหญิง) โดยลดลงทั้งตลาดใน
ประเทศ (-15.27%) และตลาดส่งออก (-15.94%) ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและประเทศคู่ค้า
หลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น จากสถานการณ์โควิด-19
อุตสาหกรรมการผลิตน้าตาล ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน จากปัญหาภัยแล้งในปี 2563 ทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบน้อยกว่าปีก่อน ส่งผลให้มีปริมาณการ
ผลิตน้าตาลลดลง และสถานการณ์การระบาดเชื้อโควิด-19 ระลอก 3 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้ความต้องการน้าตาลภายในประเทศลดลง รวมถึงการขนส่งที่ล่าช้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม