สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปี 2564
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 58.63 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง ยานรบหุ้มเกราะ และอากาศยาน) ขยายตัวร้อยละ 63.03 สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง ด้านตลาดส่งออกขยายตัวในตลาดหลักทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27) จีน ญี่ปุ่น อาเซียน (5) และ CLMV
เดือนพฤษภาคม 2564 การส่งออกรวมมีมูลค่า 23,057.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 41.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าสำคัญ อาทิ สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าส่งออก 2,604.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.55 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าส่งออก 1,614.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.49 ด้านสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออก 17,943.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 47.95 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่าส่งออก 17,298.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 58.63 ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง
สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปี 2564
World
58.6 3 %
USA
+56.5856.58%
Asean
(55)
65.80 %
EU
EU(2727)
65.6265.62%
Japan
30.5830.58%
CLMV
63.1063.10%
China
19.3019.30%
หมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน
CLMV
ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
การขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) พฤษภาคม 2564
เดือนพฤษภาคม 2564 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 22,261.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 63.54 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า 3,546.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 203.30 สินค้าทุนมีมูลค่า 5,254.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 35.93 โดยสินค้าทุนที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 9,506.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 60.72 จากการนำเข้าเหล็ก ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็ก และเคมีภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 25.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออกและนำเข้าที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการผลิตในอนาคตที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นตามลำดับ
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ในเดือน พ.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 3,553.3 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 35.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์
และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ 48.7 จากการส่งออกไปประเทศ
สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน และอาเซียน (5) แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัว
ร้อยละ 29.8 จากการส่งออกไปฮ่องกง อาเซียน (5) สหรัฐอเมริกา
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ในเดือน พ.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 2,332.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 60.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการส่งออกขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและ
ส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 86.3 จากการส่งออกไปประเทศ
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ตู้เย็นตู้แช่แข็งและ
ส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 54.6 จากการส่งออกไปประเทศญึ่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา ASEAN(5) อินเดีย
เม็ดพลาสติก
ในเดือน พ.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 941.9 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 61.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
จากการส่งออกไปประเทศเวียดนาม อาเซียน (5) ญี่ปุ่น และอินเดีย
ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน พ.ค. 2564 เป็นการปรับ
เพิ่มขึ้นด้านราคาโดยดัชนีราคาส่งออกเม็ดพลาสติกขยายตัวร้อยละ
11.5 ส่วนปริมาณการส่งออก
เม็ดพลาสติกมีปริมาณ 560.9 ล้านกิโลกรัม หดตัวร้อยละ 3.3
ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
ในเดือน พ.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 3,193.1 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 143.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อน ตามการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ
170.3 โดยเฉพาะรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 166.0 จากการส่งออกไป
ประเทศออสเตรเลีย เวียดนาม ASEAN(5)
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ในเดือน พ.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 514.2 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เป็นการขยายตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยสินค้าต้นน้ำอย่างด้ายและ
เส้นใยประดิษฐ์ขยายตัวร้อยละ 118.7 จากการส่งออกไปจีน
เกาหลีใต้ เวียดนาม สินค้ากลางน้ำอย่างผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 48.8
จากการส่งออกไปกลุ่มCLMV และสินค้าปลายน้ำเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ขยายตัวร้อยละ 31.0 จากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำแท่ง)
ในเดือน พ.ค. 2564 มีมูลค่าการส่งออก 446.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 113.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
จากการส่งออกอัญมณีประเภทเพชรและเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง
ไปประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย การส่งออกอัญมณีและ
เครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 1,091.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว
ร้อยละ 23.8 จากทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปมูลค่า 645.0 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 47.3 ไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรเลีย
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม