ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งยังคงได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ต่ำ ซึ่งยังเป็นเดือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวได้ดี
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมีนาคม การผลิตขยายตัวร้อยละ 5.9 เดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 18.0 และเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 25.7
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมีนาคม เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 10.2 เดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 16.5 และเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 9.7
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.06 จากผลของฐานต่ำในปีก่อนจากมาตรการล็อกดาวน์หลายประเทศทั่วโลก ส่วนปีนี้ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เศรษฐกิจฟื้นตัว ได้ดีขึ้น ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.32 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ขยายตัว และความต้องการสินค้าเพื่อการทำงานแบบ work from home มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มของการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น
เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.93 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนการเร่งก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐ ประกอบกับฐานต่ำ ในปีก่อน รวมถึงราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงทำให้ผู้บริโภคเหล็กบางส่วนเพิ่มคำสั่งซื้อเพื่อกักตุนสินค้า
เครื่องประดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 178.89 เนื่องจากปีก่อนเป็นช่วงเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ยอดการผลิตและจำหน่ายยังอยู่ในระดับต่ำ ต่างจากปีนี้ที่การผลิตเป็นไปตามปกติ รวมถึงการเพิ่ม ช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ ทำให้การจำหน่ายเติบโตได้มากขึ้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.19 ผลจากการแพร่ระบาดและมาตรการล็อกดาวน์ในปีก่อน ทำให้ความต้องการสินค้าหดตัว แต่ในปีนี้ยางรถยนต์ขยายตัวได้ตามยอดการผลิตรถยนต์ที่เติบโตได้ดีขึ้น รวมถึงมีการ ลดราคาและทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมิถุนายน 2564 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า 1,518.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ ตลับลูกปืน เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เป็นต้น การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า 9,674.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 69.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเหล็ก ผลิตภัณฑ์ กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็ก เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เม็ดพลาสติก ทองแดงและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 2226 โรงงาน เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 1.35 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.8 (%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่ารวม 48,039 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 23.59 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 396.51 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2564 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 28 โรงงาน และอุตสาหกรรมการขุด
หรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 16 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2564 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้า จากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 33,501 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์การแพทย์ จำนวนเงินทุน 3,362 ล้านบาท
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 64 ราย ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 5.88 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.95 (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่ารวม 2,884 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 25.63 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.32 (%YoY) "อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2564 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 7 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 6 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมิถุนายน 2564 คือ อุตสาหกรรม การบรรจุสินค้าทั่วไป มูลค่าเงินลงทุน 1,080 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์แก้ว มูลค่าเงินลงทุน 419 ล้านบาท"
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมิถุนายน 2564 1.อุตสาหกรรมอาหาร
การผลิต เดือนมิถุนายน 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น (%YoY) ร้อยละ 3.1 เนื่องจากสินค้าบางรายการมีคำสั่งซื้อ อย่างต่อเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ 1) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 34.0 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 27.6 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 3) น้ำมันพืช ขยายตัวร้อยละ 23.9 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันถั่วเหลือง 4) ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัว 8.6 จากสินค้าสำคัญคือ สับปะรดกระป๋อง และ 5) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่สุกปรุงรส
อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าบางรายการ เช่น 1) สินค้าสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ปรับตัวลดร้อยละ 17.9 เนื่องจากมีการชะลอคำสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้าโดยมีสาเหตุมาจากปัญหา ค่าระวางเรือที่ยังคงสูงอยู่ ประกอบกับปัจจัยฐานสูงในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโควิดรอบแรกที่สินค้าสัตว์น้ำบรรจุกระป๋องเป็นที่ต้องการทั่วโลก และ 2) น้ำมันปาล์ม ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบปาล์มน้ำมันลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนมิถุนายน 2564 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ 0.9 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ประมง ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.9 จากสินค้าคือ เนื้อปลาบด 2) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโม่-สีธัญพืช ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.3 จากสินค้าสำคัญคือ นมถั่วเหลือง 3) ผักและผลไม้แปรรูป ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.8 จากสินค้าสำคัญคือ สับปะรดกระป๋อง และ 4) น้ำตาล ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.2 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า 2,951.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 32.8 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ 1) ผัก ผลไม้ สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับโลก โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย อเมริกา 2) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นที่ต้องการในตลาดสำคัญอย่างจีนและไต้หวัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเอทานอล อาหาร และอาหารสัตว์ 3) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตขึ้นทั่วโลก ประกอบกับการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ทำให้สัตว์เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต จึงเป็นโอกาสที่ไทยอาจก้าวสู่ผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 3 ของโลก โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น อิตาลี อเมริกา และ 4) น้ำตาล เนื่องจากความต้องการบริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ประกอบกับการส่งออกน้ำตาลขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฎาคม 2564 ในภาพรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งในด้านส่งออกและตลาดในประเทศ เนื่องจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการคนละครึ่งเฟส 3
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า160 2,800 140 2,400 120
2,000
100
1,600 80 1,200 60 40 800 20 400 00มูลค่าการส่งออกดัชนีผลผลิตที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 108.1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อหุงข้าว คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟฟ้ากระติกน้ำร้อน สายเคเบิ้ล เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า และพัดลมตามบ้าน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.9, 57.5, 46.7, 29.0, 26.9, 20.0, 15.4, 12.2, 12.1, 6.1 และ 0.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,432.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 93.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.3 ในตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 162.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.1 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และเม็กซิโก หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 226.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และอาเซียน เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 20.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 จากตลาดสิงคโปร์ อาเซียน และสหรัฐอเมริกา ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 239.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 จากตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และอาเซียน และ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 88.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ในตลาดยุโรป เม็กซิโก และอาเซียน "คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศที่สามารถกรองฝุ่นละออง PM 2.5 และป้องกันเชื้อโรค อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำให้ความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น"
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 104.4 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น PCBA, PWB, IC, Semiconductor devices Transistors และ HDD โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.6, 37.6, 23.6, 15.6 และ 7.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,867.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 145.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.2 ในตลาดเกาหลีใต้ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา HDD มีมูลค่า 1,297.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน และยุโรป แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 770.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 ในตลาดเม็กซิโก ยุโรป และอาเซียน และอุปกรณ์ กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 251.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในตลาดอินโดนีเซีย อินเดีย และแคนาดา
"คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มสินค้าเซมิคอนดักเตอร์, HDD รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาอุปกรณ์เครือข่าย 5G ซึ่งทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์200,000 180,000 172,455 162,515 160,000 150,345 148,118 140,000 149,360
143,073 134,245 155,200 120,000 100,000 117,253
104,355 80,000 71,704 89,336 60,000 40,000 20,000
0มิ.ย. 63ก.ค. 63ส.ค. 63ก.ย. 63ต.ค. 63พ.ย. 63ธ.ค. 63ม.ค. 64ก.พ. 64มี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64
ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 134,245 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 4.23 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 87.22
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำ
จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระลอกแรก
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 61,758 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 10.38 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.07 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และ SUV เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำ
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 83,022 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 4.46 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 65.88 (%YoY) เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำ ประกอบกับกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว "คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2563 เนื่องจาก ฐานการผลิตรถยนต์ในช่วงเดือนกรกฎาคม ของปี 2563 ลดลงต่ำจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการฟื้นตัวของตลาดคู่ค้าในต่างประเทศ"
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 173,721 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.46 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 129.13 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 161,105 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 13.55 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.86 (%YoY)จากการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250
ซีซี และ 251-399 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 52,139 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 39.06 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 99.40 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และ สหราชอาณาจักร "คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2563 เนื่องจากฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี 2563 ลดลงต่ำจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการฟื้นตัวของตลาดคู่ค้าในต่างประเทศ" 4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.32 จากการขยายตัวของการผลิตสินค้ายางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.07 ตามการขยายตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับปีก่อนมีฐานตัวเลขอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 14.06 เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตบางแห่งหยุดทำการผลิตชั่วคราวจากการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ของพนักงาน การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.18 จากการจำหน่ายยางแท่งและน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.33 ตามการขยายตัว ที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ประกอบกับปีก่อน มีฐานตัวเลขอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.04 ตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นการซื้อเพื่อกักตุนของประชาชน เนื่องจากมีความกังวลในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 111.78 จากการขยายตัวของการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.37 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้
ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.41 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2564
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งปริมาณฝนที่มากขึ้นจะส่งผลให้มีปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะมีการขยายตัว ที่ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงงาน ทำให้มีการปิดโรงงานบางแห่งเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมอุตสาหกรรมถุงมือยางยังขยายตัวได้ เนื่องจากทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มความต้องการใช้ ทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากความต้องการใช้ที่สูงขึ้นเช่นกัน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักในสินค้ายางแผ่นรมควันและยางแท่ง และมาเลเซียซึ่งเป็นตลาดหลัก ในสินค้าน้ำยางข้น สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่า จะมีมูลค่าสูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่องของตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่า จะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้น ของตลาดโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหราอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการสyงสินคญา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 97.18 ขยายตัวร้อยละ 7.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตที่ขยายตัวอยู่ในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 30.17 แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 26.89 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 17.44
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน 2564 ค่าดัชนี การส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 94.29 ขยายตัวร้อยละ 0.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 38.18 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 10.16 และแผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 10.13 การส่งออก เดือนมิถุนายนปี 2564 มีมูลค่า 376.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 21.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 106.81 กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 57.71 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) ขยายตัวร้อยละ 44.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน ปริมาณ"ละมลคาการสงออก-น!"ขญา
ที่มา : ส!นักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า 471.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 27.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 85.86 กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 42 และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) ขยายตัวร้อยละ 41.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกรกฎาคม 2564 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ จะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมพลาสติก 6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน ปี 2564 หดตัวร้อยละ 1.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 5.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 25.51 สบู่และเครื่องบำรุงผิว หดตัวร้อยละ 17.71 และน้ำยาล้างจาน หดตัวร้อยละ 14.34 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 13.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด ได้แก่ คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 48.57
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน 2564 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 111.27 ขยายตัวร้อยละ 12.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 109.88 ขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 60.67 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ร้อยละ 111.61 ขยายในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 32.58 และสีอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 27.38 เป็นต้น
การส่งออก เดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าการส่งออกรวม 886.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 36.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 525.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 51.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 361.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.27 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น ปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 65.16 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 57.29 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 52.90 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น และอินเดีย
การนำเข้า เดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่า การนำเข้ารวม 1,839.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 65.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,189.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 74.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 650.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 50.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกรกฎาคม 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ภายในประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว และราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนวัตถุดิบ ทำให้สินค้ามีราคาต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมิถุนายน ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 116.88 หรือขยายตัวร้อยละ 7.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 4.60 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene และ Benzene ขยายตัวร้อยละ 16.19 และ 8.51 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมี ขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 11.89 และ 7.62 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการสyงสินคญาดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 116.07 ขยายตัวร้อยละ 4.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene และ Propylene ขยายตัวร้อยละ 22.83 และ 19.07 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS และ EPS resin ขยายตัวร้อยละ 26.05 และ 3.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การสงออกการส่งออกเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีมูลค่า 1,175.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 47.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 3.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Vinyl Chloride และ Ethylene เป็นต้น ร้อยละ 38.89 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PET resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 49.56
การนำเข้า การนำเข้าเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีมูลค่า 621.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 100.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 6.55 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวใน กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Styrene เป็นต้น ร้อยละ 147.60 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PET resin และ PP resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 93.90 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกรกฎาคม ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น ในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและส่งออก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2564 มีค่า 107.9 ขยายตัวร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 107.9 ขยายตัวร้อยละ 22.4 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 50.8 รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน และลวดเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 36.5 และ 29.0 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 116.7 ขยายตัว ร้อยละ 56.5 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 140.4 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 123.7 และ เหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 97.3
การบริโภคในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2564 มีปริมาณการบริโภค 1.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 42.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว มีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 38.3 จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน
ที่ขยายตัวร้อยละ 77.2 และเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 15.1 สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 1.1 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 44.7 จากการบริโภคแผ่นบางรีดเย็น ที่ขยายตัวร้อยละ 104.2 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 54.0 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 36.1
การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน 2564 มีปริมาณ การนำเข้า 1.1 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 55.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 22.1 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ชนิด alloy steel ที่ขยายตัว ร้อยละ 135.3 รองลงมา คือ เหล็กแท่ง ชนิด carbon steel ขยายตัวร้อยละ 104.8 และเหล็กเพลาขาว ขยายตัวร้อยละ 60.7 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 65.1 เหล็กทรงแบนที่การนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน ชนิด alloy steel ขยายตัวร้อยละ 174.6 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Stainless steelขยายตัวร้อยละ 171.0
"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2564 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กและวัตถุดิบ ที่สูงส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 35.31 และ 33.73 (%YoY) ปัจจัยหลักเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรก ที่มีการควบคุมการระบาดในไทยและประเทศคู่ค้า รวมทั้งการปิดกิจการชั่วคราวในบางส่วนเนื่องจากความต้องการบริโภคชะลอตัว ประกอบกับได้รับแรงส่งจากการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว อย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเวียดนาม สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงชะลอตัวต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 11.15 จากกำลังซื้อ ของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว จากผลกระทบของการระบาด ระลอกล่าสุด แม้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 4 ในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 36.12 19.10 และ 7.87 (%YoY) จากฐานที่ต่ำในปีก่อน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดรอบแรก ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัว ในหลายประเทศที่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลายตัว การส่งออก
กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฟื้นตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 54.73 39.64 และ 13.28 (%YoY) ตามลำดับ เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศชะลอคำสั่งซื้อ ประกอบกับปัญหาการขนส่งเนื่องจากมาตรการควบคุม การระบาดของไทยและประเทศคู่ค้า แต่ด้วยในเดือนมิถุนายน ประเทศคู่ค้าสำคัญการระบาดเริ่มคลี่คลาย ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวส่งผลให้การส่งออกขยายตัว โดยเฉพาะตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเวียดนาม คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2564
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องด้วยฐาน ที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มี อย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มน่าจะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศลดลง จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น และได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของคลัสเตอร์โรงงานกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มและโซ่อุปทาน ที่มีการปรับโยกไลน์การผลิต และขอเลื่อนการส่งมอบบางส่วน แต่มีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับตลาดรวม จึงอาจจะกระทบต่อภาพรวมการผลิตและการส่งออกเล็กน้อย ในขณะที่ความต้องการเครื่องนุ่งห่มในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญที่เศรษฐกิจฟื้นตัว เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปบางส่วน 10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 7.38 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.15 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.43 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.60 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.59 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.19 (%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 0.78 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 42.74 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.38 (%YoY) เป็นผลจากการลดลงค่อนข้างมากในตลาดฟิลิปปินส์ กัมพูชา และตลาดส่งออกนอกอาเซียน
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนกรกฎาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปรับตัวลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงเข้าไปในไซต์งานก่อสร้างหลายแห่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนรัฐบาลต้องใช้มาตรการกึ่งล็อกดาวน์ให้หยุดการก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยง การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 3.90 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.58 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.48 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)เดือนมิถุนายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.59 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.56 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.86 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 มีจำนวน 0.39 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ร้อยละ 20.19 (%MoM) แต่ยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.82 (%YoY) เป็นผลจากการได้รับคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากตลาดเวียดนาม
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าอาจจะเริ่มปรับตัวลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปในไซต์งานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ใช้ปูนซีเมนต์ที่สำคัญของประเทศในขณะนี้
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม