สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตรถยนต์ที่ลดลงจากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน บางรายการจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตชิปและชิ้นส่วนรถยนต์บางโรง ต้องปิดโรงงานชั่วคราว
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนพฤษภาคม การผลิตขยายตัวร้อยละ 25.7 เดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 18.3 และเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 3.9
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 9.7
เดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 2.1 และเดือนกรกฎาคม หดตัวร้อยละ 8.1
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนสิงหาคม 2564 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ รถยนต์และชิ้นส่วน หดตัวร้อยละ 9.77 จากปัญหาการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนชุดสายไฟ เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วนจากต่างประเทศประสบปัญหาด้านการขนส่ง ทำให้การผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 6.77 จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงกว่าปีก่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างชะลอตัวลงกระทบต่อการใช้น้ำมันเพื่อการผลิต การขนส่งและการเดินทาง
รถจักรยานยนต์ หดตัวร้อยละ 45.51 จากการหดตัวของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงกว่าปีก่อน ทำให้มีมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น กระทบต่อความต้องการใช้ รวมถึงกำลังซื้อและรายได้ที่น้อยลง เช่นเดียวกับการส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักก็ประสบปัญหาการแพร่ระบาดเช่นเดียวกัน
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.45 ตามการเติบโตของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกอย่างต่อเนื่อง จากการใช้เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสมัยใหม่ตั้งแต่เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์การแพทย์ และอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.06 จากยางแท่งและยางแผ่นเป็นหลัก จากความต้องการของลูกค้าต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะจากลูกค้าจีน รวมถึงความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม 2564
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนสิงหาคม 2564 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 1,666.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยางหรือพลาสติก เครื่องจักร
ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 9,820.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 66.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้า
และผลิตภัณฑ์ ประเภทเหล็ก, เหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้า เป็นต้น
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนสิงหาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 255 โรงงาน เพิ่มขึ้น จากเดือนกรกฎาคม 2564 ร้อยละ 13.33 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.19
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่ารวม 12,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2564 ร้อยละ 29.14 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.9 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนสิงหาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 33 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 22 โรงงาน"
"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการสร้าง ประกอบ ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนต์ จำนวนเงินทุน 1,880 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยาง ที่มิใช่ยางล้อ จากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ จำนวนเงินทุน 1,414 ล้านบาท ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม 2564
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ) จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนสิงหาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 43 ราย ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2564 ร้อยละ 18.87 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.44 (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่ารวม 887 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2564 ร้อยละ 52.39 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.68 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนสิงหาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน จากพลาสติก จำนวน 5 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 3 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนสิงหาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม การทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน จากพลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 126 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์ซึ่งมิใช่ภาชนะบรรจุจากเยื่อกระดาษ หรือกระดาษแข็ง มูลค่าเงินลงทุน 125 ล้านบาท" ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม 2564
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนสิงหาคม 2564 1.อุตสาหกรรมอาหาร
ล้านเหรียญ
การผลิต เดือนสิงหาคม 2564 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 2.4 เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้โรงงานบางแห่งต้องปิดชั่วคราว หรือปิดไลน์ผลิตบางส่วน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตหดตัว มีดังนี้ 1) ปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ 11.1 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่ปรุงสุก ปรับตัวลดลง ร้อยละ 47.1 และเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.1 2) ประมง หดตัวร้อยละ 10.7 จากสินค้าสำคัญคือ ปลาทูน่ากระป๋อง ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.7 และ 3) น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 5.4 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.5 และน้ำมันปาล์มดิบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8
อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าบางรายการ เช่น 1) น้ำตาล ขยายตัว ร้อยละ 47.1 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เนื่องจากมีการละลายน้ำตาลทรายดิบเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลทรายอย่างต่อเนื่อง 2) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 21.7 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ได้นำเข้าแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทน ในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดยังคงอยู่ในระดับที่สูง
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนสิงหาคม 2564 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ 8.7 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว มีดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ปรับตัวลดลงร้อยละ 47.7 จากสินค้าอาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง 2) น้ำมันปาล์ม ปรับตัวลดลงร้อยละ 22.1 จากสินค้าน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 3) ปศุสัตว์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.5 จากสินค้าเนื้อไก่ปรุงสุกและเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น 4) ผลิตภัณฑ์นม ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.3 จากสินค้านมระเหยน้ำและนมพร้อมดื่ม และ 5) เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.1 จากสินค้าสำคัญคือ เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร
ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 2,896.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ผัก ผลไม้ สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับโลก โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น จีน อเมริกา ญี่ปุ่น 2) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน 3) ข้าว เนื่องจากราคาข้าวปรับลดลงมา อยู่ในระดับที่แข่งขันกับอินเดียและเวียดนามได้มากขึ้น โดยตลาดส่งออก ที่ขยายตัวได้ดี เช่น จีน ทวีปแอฟริกา 4) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนตัวและเทรนด์การเลี้ยงสัตว์เหมือนสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในตลาดอเมริกา และออสเตรเลีย และ 5) น้ำตาล เนื่องจากบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับนำอ้อยไปผลิตเอทานอลมากขึ้น ส่งผลให้ไทยส่งออกน้ำตาลได้เพิ่มขึ้น คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนกันยายน 2564 ในภาพรวมจะหดตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในโรงงาน ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่สามารถ กลับเข้ามาทำงานในภาคการผลิตได้ ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคของประเทศคู่ค้า และการอ่อนค่าของเงินบาท
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมไฟฟ้า 160 ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า
2,800 140 2,600 2,400 120 2,200 2,000 100 1,800 1,600 80 1,400 1,200 60 1,000 40 800 600 20 200 00มูลค่าการส่งออกดัชนีผลผลิตที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 82.5 โดยสินค้า ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน พัดลมตามบ้าน เตาไมโครเวฟ สายเคเบิ้ล และเครื่องปรับอากาศ โดยลดลงร้อยละ 33.4, 23.3, 21.5, 13.9, 11.7, 9.5, 8.4 และ 3.6 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศลดลงและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5, 14.2, 13.9 และ 12.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,093.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 94.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 ในตลาดเม็กซิโก ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พัดลม มีมูลค่า 37.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 ในตลาดโปแลนด์ อินเดีย และจีน หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 194.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ในตลาดสิงคโปร์ เวียดนาม และเยอรมัน เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 165.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในตลาดอาเซียน เม็กซิโก และเยอรมัน เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 16.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 จากตลาดฝรั่งเศส เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 105.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.5 ในตลาดยุโรป มาเลเซีย และเวียดนาม และ แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 194.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.1 ในตลาดยุโรป และจีน "คาดการณ์การผลิตเดือนกันยายน 2564 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.0 - 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มมากขึ้น"
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์120 4,000 100 3,500 3,000 80 2,500 60 2,000 40 1,500
1,000 20 500 00มูลค่าการส่งออกดัชนีผลผลิตที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิต อยู่ที่ 95.0 โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistor, PWB, PCBA และ IC โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5, 21.5, 18.9 และ 8.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer โดยลดลงร้อยละ 15.5 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,363 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD มีมูลค่า 1,046.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ในตลาดเกาหลีใต้ ไอร์แลนด์ และเม็กซิโก แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 649.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ในตลาดเบลเยียม เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 11.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ในตลาดเวียดนาม สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ และวงจรพิมพ์ มีมูลค่า 123.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้
"คาดการณ์การผลิตเดือนกันยายน 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 5.0 - 10.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้กลุ่มสินค้าเซมิคอนดักเตอร์เป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายโครงข่าย 5G ซึ่งทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ"
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 104,144 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 15.44 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.18 (%YoY) จากการปรับลดลงของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ เนื่องจาก การผลิตรถยนต์บางรุ่นชะลอตัวจากการ ขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์จากการระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตชิปและชิ้นส่วนรถยนต์ต้องปิดโรงงานชั่วคราว
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 42,176 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 19.58 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 38.77 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์ PPV และ SUV โดยเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 15 เดือน เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 ส่งผลให้มีข้อจำกัดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งกำลังซื้อของประชาชนลดลง และรถยนต์บางรุ่นผลิตไม่พอกับความต้องการ จากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 59,571 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 15.61 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.78 (%YoY) เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวมากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในตลาดตะวันกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและใต้ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย และโอเชียเนีย เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศคู่ค้าลดลง
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในเดือนกันยายน ปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปี 2563 เนื่องจาก ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากอุทกภัย และปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนที่ต้องเฝ้าระวัง" อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 80,474 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 3.84 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.62 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 104,424 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 9.69 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.19 (%YoY)จากการลดลงของ ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 36,779 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 7.68 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.00 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป มีการเพิ่มขึ้นในประเทศจีน เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปี 2563 เนื่องจาก ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากอุทกภัย และปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ ที่ต้องเฝ้าระวัง"
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.04 จากการขยายตัวของการผลิตยางแผ่นรมควันและยางแท่ง ตามการขยายตัวของตลาดส่งออก
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 3.80 เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศชะลอตัวลง ประกอบกับการส่งออกมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงมาก ทำให้ผู้ผลิตบางรายปรับลดการผลิตเพื่อการส่งออกลง
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 ตามการขยายตัวของความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ของตลาดทั่วโลก การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.92 จากการจำหน่ายยางแท่งและน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ -6.11 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.11 ตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวสูงขึ้น การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 98.76 จากการขยายตัวของการส่งออกยางแผ่นรมควันและยางแท่งไปยังจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตามลำดับ และการขยายตัวของการส่งออกน้ำยางข้นไปยังจีน และมาเลเซีย ตามลำดับ
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94 ตามการขยายตัวของตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.64 ตามการชะลอตัวของตลาดสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และจีน ตามลำดับ คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวตามความต้องการใช้ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ฝนที่ตกชุกตลอดช่วงเดือนกันยายนยังเป็นปัจจัยกดดันให้มีปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามแนวโน้มการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการปิดโรงงาน จนเกิดการขาดแคลนชิป ในส่วนของการผลิต ถุงมือยางคาดว่าจะยังคงมีการขยายตัวที่ดี เนื่องจากทั่วโลกยังคงมีความต้องการใช้ทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามความต้องการใช้ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักในสินค้ายางแผ่นรมควันและยางแท่ง เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว มีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดส่งออกลำดับรอง โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในขณะที่คาดว่าจะยังคงมีมูลค่าการส่งออกลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องจากฐานตัวเลขตั้งแต่
ช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ค่อนข้างสูง ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่าในภาพรวมจะมีมูลค่าสูงขึ้น ตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการสyงสินคญา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต เดือนสิงหาคม 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 90.5 หดตัวร้อยละ 5.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 17.99 ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัว ร้อยละ 15.58
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนสิงหาคม 2564 ค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 88.25 หดตัวร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น ถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 18.32 ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัว ร้อยละ 15.18
การส่งออก เดือนสิงหาคมปี 2564 มีมูลค่า 360.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 10.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 101.53 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 53.99 และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก (HS 3926) ขยายตัวร้อยละ 18.03 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และเวียดนาม ปริมาณ"ละมลคาการสงออก-น!"ขญา
ที่มา : ส!นักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 475.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 31.85 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัว ร้อยละ 73.35 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 57.97 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกันยายน 2564 คาดการณ์ว่าการส่งออกยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด ในประเทศที่เป็นตลาดหลักของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน เนื่องจากเริ่มมีการฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 และอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว 6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ดัชนีผลผลิต เดือนสิงหาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 92.11 หดตัวร้อยละ 19.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิต หดตัว ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 45.29 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 23.98 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุดได้แก่ น้ำยาปรับผ้านุ่มหดตัวร้อยละ 40.31 สีน้ำพลาสติก หดตัวร้อยละ 33.47 และสีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 31.40 ดัชนีการส่งสินค้า เดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 90.46 หดตัวร้อยละ 23.22 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 28.26 ผลิตภัณฑ์ที่หดตัว คือ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 43.54 น้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 41.29 และผงซักฟอก หดตัวร้อยละ26.63 แต่กลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 1.46 ขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์ คลอรีน ขยายตัวร้อยละ 26.46 และโซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 15.83 เป็นต้น การส่งออก เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออกรวม 861.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า การส่งออก 522.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 339.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.42 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 61.95 ปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 43.33 และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 38.04 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และอินโดนีเซีย การนำเข้า เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,906.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 73.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,310.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 88.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 596.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 46.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกันยายน 2564 คาดการณ์ว่า การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามต้องติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศคู่ค้าของไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนสิงหาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 118.71 ขยายตัวร้อยละ 6.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene และ Toluene ขยายตัวร้อยละ 11.27 และ 6.16 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และ ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PET resin ขยายตัวร้อยละ 5.74 และ 4.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการสyงสินคญาดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 115.48 ขยายตัวร้อยละ 6.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.21 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene ขยายตัว ร้อยละ 12.32 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และ ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PP resin ขยายตัว ร้อยละ 10.71 และ 9.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การสงออกการส่งออกเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีมูลค่า 1,253.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 61.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว ร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัว ในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Styrene เป็นต้น ร้อยละ 79.96 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PS resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 57.50
การนำเข้า การนำเข้าเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีมูลค่า 568.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 79.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัว ร้อยละ 9.10 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Styrene เป็นต้น ร้อยละ 138.69 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PS resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 70.13 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกันยายน ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม 2564 มีค่า 97.3 ขยายตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวทั้งสองกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 85.3 ขยายตัวร้อยละ 6.4 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 36.8 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น และเหล็กเส้นข้ออ้อย ขยายตัวร้อยละ 36.8 และ 28.7 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 114.3 ขยายตัวร้อยละ 49.4 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่น รีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 110.7 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 90.6 และ 88.5 ตามลำดับ การบริโภคในประเทศ ในเดือนสิงหาคม 2564 มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 35.4 จากการบริโภคเหล็กแผ่นบางรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 117.2 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 104.9 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 33.4 ขณะที่ผลิตภัณฑ์นกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณ การบริโภค 0.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 23.6 จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 40.1 ในขณะที่การบริโภคเหล็กลวดขยายตัวร้อยละ 8.5 การนำเข้า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีปริมาณ การนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 35.8 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 34 เหล็กทรงยาวที่การนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กเส้น ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 407.4 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) เหล็กเส้น ชนิด Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 194.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) และเหล็กลวด ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 191.0 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ มาเลเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น) สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 36.2 เหล็กทรงแบนที่การนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon steel P&O ขยายตัวร้อยละ 494.4 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 310.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 203.7 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน) "แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกันยายน 2564 คาดการณ์ว่า การผลิตขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กและวัตถุดิบที่สูงส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ นโยบายการลดกำลังการผลิตเหล็กของจีน และสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งประเด็นดังกล่าว จะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 3.41 8.44 และ 1.63 (%YoY) เพื่อรองรับการส่งออก ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ประกอบกับฐานที่ต่ำ ในปีก่อน อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับปี 2562 (ก่อนการระบาดโควิด-19) การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังคงหดตัว ร้อยละ 18.90 36.97 และ 32.68 ทั้งจากกำลังซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ชะลอตัวกว่าก่อนโควิด-19 ระบาด การจำหน่ายในประเทศ เส้นใยสิ่งทอ เป็นกลุ่มเดียวที่ยังขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 0.15 เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับ ความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัวในตลาด เช่น ปากีสถาน จีน สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ในขณะที่ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัว ร้อยละ 4.01 และ 16.61 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว และมาตรการ ล็อกดาวน์ในประเทศ การส่งออก กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฟื้นตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมูลค่าการส่งออกโดยกลุ่มเส้นใย สิ่งทอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.52 ในตลาดปากีสถาน จีน สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย กลุ่มผ้าผืนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.21 ในตลาดเวียดนาม บังกลาเทศ กัมพูชา จีน และอินโดนีเซีย และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.36 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร เนื่องจากสถานการณ์การระบาดคลี่คลายในประเทศคู่ค้าสำคัญหลังอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูง ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น การส่งออกจึงเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564
คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องด้วยฐานที่ต่ำ ในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มน่าจะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศลดลง จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของคลัสเตอร์โรงงาน กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มีการปรับโยกไลน์การผลิตและขอเลื่อนการส่งมอบบางส่วน รวมถึงบางรายโยกการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน จึงอาจจะกระทบต่อภาพรวมการผลิตและการส่งออกเล็กน้อย ในขณะที่คำสั่งซื้อล่วงหน้ามีไม่เยอะเนื่องจากความไม่มั่นใจต่อเวลา ในการรับมอบสินค้า ด้วยยอดการฉีดวัคซีนน้อย แต่ตัวเลขการติดเชื้อยังสูง แม้ประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป ฟื้นตัว และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 7.00 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 2.85 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.80 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 3.67 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.38 (%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 0.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 26.81 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 68.42 (%YoY) เป็นผลจากการปรับเพิ่ม คำสั่งซื้อจากตลาดบังคลาเทศ และเวียดนาม โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 215.50 และ 4.79 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนกันยายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าอาจจะลดลง จากกำลังซื้อของประชาชน ยังได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ประกอบกับประเทศไทย มีภาวะฝนตกชุกและเริ่มมีภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 3.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.57 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.66 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 3.67 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.39 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 มีจำนวน 0.31 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2564 ร้อยละ 3.23 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.25 (%YoY) เป็นผลจากการ ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อจากตลาดฟิลิปปินส์ และ สปป.ลาว โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.36 และ 4.72 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าอาจจะปรับตัวลดลงอีก จากกำลังซื้อภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรจากภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเริ่มมีภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม