สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 19, 2021 13:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 4.2         เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตจักรยานยนต์ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 57.4
และแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 หดตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน                 สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์                    ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตจักรยานยนต์ ดังนี้ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์หดตัวร้อยละ 9.8เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการระบาดโควิด-19 ในคลัสเตอร์โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วน                          จากต่างประเทศประสบปัญหาด้านการขนส่ง ทำให้ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามเป้าหมายอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 6.8เมื่อเทียบกับ                   เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงกว่าปีก่อนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำมันชะลอตัวลง เช่น การผลิต การขนส่ง และการเดินทาง ส่งผลกระทบทำให้การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศลดลงอุตสาหกรรมการผลิตจักรยานยนต์ หดตัวร้อยละ 45.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของตลาดในประเทศลดลง เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนมีรายได้และกำลังซื้อลดลง รวมถึงประเทศคู่ค้า                ในกลุ่มอาเซียนชะลอการนำเข้าจักรยานยนต์ ทำให้ส่งออกได้น้อยลง

สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน

อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 12.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจากการใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เป็นส่วนประกอบในสินค้าสมัยใหม่ เช่น เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์รถยนต์ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

          อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.1เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน                 ของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศเริ่มคลี่คลายลง ทำให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ ส่งผลทำให้ความต้องการ                     ใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานขยายตัวร้อยละ 11.9เมื่อเทียบกับ                 เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลของฐานต่ำจากสถานการณ์โควิด-19 ในปีก่อนที่มี                   ความต้องการใช้เหล็กอย่างจำกัด ในขณะที่ปีนี้อุตสาหกรรมเหล็กมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ผู้ผลิต               ในอุตสาหกรรมปลายน้ำโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ