ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 18, 2021 13:25 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

Indicators 2562 2563 2563 2564

%YoY Year Year ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

MPI -3.4 -9.3 -2.6 -1.3 -0.6 -2.8 -2.0 -1.4 5.9 18.0 25.7 18.3 3.9 -4.7 -1.3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว

ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตรถยนต์ที่ยังคงลดลงจากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน

บางรายการจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้ม

ที่ดีขึ้น

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมิถุนายน การผลิตขยายตัวร้อยละ

18.3 เดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 3.9 และเดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 4.7

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 2.1 เดือนกรกฎาคม

หดตัวร้อยละ 8.1 และเดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 3.5

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2564 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 18.9 จากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการระบาด

ในโรงงาน รวมถึงต้องกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ทำให้ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต

? รถยนต์และชิ้นส่วน หดตัวร้อยละ 5.43 จากปัญหาขาดแคลนชิปและผลกระทบจากการระบาด

ทำให้โรงงานประกอบรถยนต์และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์บางโรงต้องปิดชั่วคราวหรือหยุดผลิตเป็นบางช่วงเวลา

? การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 5.56 จากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางราย รวมถึง

ความต้องการใช้ในประเทศชะลอตัวจากการระบาด

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.12 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก

ที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกในปีก่อน ทำให้สินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ที่ออกมามีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้น

? เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.61 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคง

เติบโต และผลจากฐานต่ำในปีก่อนหลังผ่านช่วงล็อกดาวน์ที่ความต้องการใช้ยังหดตัวในช่วงแรก นอกจากนั้นยังมี

การผลิตเพื่อรอจำหน่าย เนื่องจากราคาเหล็กยังคงมีแนวโน้มทรงตัวสูง

Indicators 2563 2564

%MoM ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

MPI 3.8 0.3 1.6 -0.7 6.9 -3.1 10.2 -16.5 9.7 -2.1 -8.1 --3.5 7.5

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนกันยายน 2564

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกันยายน 2564

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 1,467.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องยนต์

เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องสูบลม เครื่องสูบ

ของเหลว เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ

เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 9,033.2

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 43.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้า

และผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 280 โรงงาน เพิ่มขึ้น

จากเดือนสิงหาคม 2564 ร้อยละ 9.8 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.41 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่ารวม

16,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2564 ร้อยละ 35.09 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 8.34 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 38 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 21 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยาง

ที่มิใช่ยางล้อ จากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ จำนวนเงินทุน 7,400 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

การทำปุ๋ย หรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวนเงินทุน 962 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกันยายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 45 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน

สิงหาคม 2564 ร้อยละ 4.65 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.76 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่ารวม 6,082 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม

2564 ร้อยละ 585.07 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 252.89 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 7 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 2 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกันยายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การสร้าง ประกอบ ดัดแปลง ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศยาน มูลค่าเงินลงทุน 2,900 ล้านบาท

รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยางที่มิใช่ยางล้อ จากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มูลค่าเงินลงทุน

905 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกันยายน 2564

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร

เดือนกันยายน 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 3.6 เนื่องจากการ

ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับสถานการณ์ระบาดของ

โควิด-19 ในกลุ่มแรงงานอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มดีขึ้นจาก

จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิต

ขยายตัว มีดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ขยายตัวร้อยละ 71.3

จากสินค้าสำคัญคือ บุหรี่ ขยายตัวร้อยละ 71.3 เนื่องจากการเร่ง

ผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เข้ามามากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับ

โครงสร้างภาษียาสูบใหม่ ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 62.6 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาล

ทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 80.6 และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

ขยายตัวร้อยละ 60.7 เนื่องจากโรงงานเร่งผลิตให้ทันการส่งมอบ

ตามสัญญาซื้อขายที่ทำไว้ล่วงหน้า หลังจากที่มีโรงงานน้ำตาล

บางแห่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา 3) ปศุสัตว์

ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และ

เนื้อสัตว์ปีก ขยายตัวร้อยละ 15.9 ได้แก่ ไส้กรอก เบคอน และ

แฮม เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ มีแนวโน้มดีขึ้น

ทำให้สินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาด และอาหารสัตว์

สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์

เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 1.6 เนื่องจากตลาดอาหารสัตว์

เลี้ยงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามความนิยมในการเลี้ยงสัตว์

ทั่วโลก และอาหารไก่สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 10.6 เนื่องจาก

การขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมแปรรูปไก่และโรงเชือด

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ทำให้ต้องขยายเวลาเลี้ยงไก่

ส่งผลให้ความต้องการใช้อาหารไก่สำเร็จรูปเพิ่มสูงขึ้น และ

5) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากสินค้าสำคัญคือ

แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 0.8 เนื่องจากความต้องการ

บริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาด

ส่งออกหลัก ได้นำเข้าแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทน

ในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดยังคงอยู่ในระดับที่สูง

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนกันยายน 2564 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ

5.5 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว มีดังนี้ 1) ผักและผลไม้แปรรูป ปรับตัว

ลดลงร้อยละ 33.1 จากสินค้าสำคัญคือ ข้าวโพดหวานกระป๋อง และผัก

ผลไม้ แช่แข็ง 2) น้ำมันปาล์ม ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.7 จากสินค้า

สำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 3) ผลิตภัณฑ์อาหาร

อื่นๆ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.1 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารชุดสำเร็จรูป

พร้อมปรุง และ 4) น้ำมันพืช ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.6 จากสินค้าสำคัญ

คือ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์

ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนกันยายน

2564 มีมูลค่า 2,651.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน 2) ผลไม้กระป๋องและ

แปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับโลก โดย

ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และ 3) อาหารสัตว์เลี้ยง

เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนตัวและเทรนด์การเลี้ยงสัตว์เหมือนสมาชิก

ในครอบครัว ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวได้ดี โดยตลาดส่งออก

ที่สำคัญคือ อเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

เดือนตุลาคม 2564 ในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่ม

แรงงานอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มดีขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง

ประกอบกับการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับมูลค่าการส่งออก

มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคของประเทศคู่ค้า และ

การอ่อนค่าของเงินบาท

0

50

100

150

200

250

300

350

ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นกนั ยายน 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เนื??อไก่แช่แข็งและแช่เย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

ลา นเหรยี ญ

สหรฐั ฯ มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นกนั ยายน 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

0

20

40

60

80

100

120

140

Sep-63

Oct-63

Nov-63

Dec-63

Jan-64

Feb-64

Mar-64

Apr-64

May-64

Jun-64

Jul-64

Aug-64

Sep-64

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า

มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบ

กับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 94.8 โดยสินค้า

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมเพ รสเซอร์ มอเตอร์ไฟ ฟ้า สายไฟ ฟ้า

เครื่องปรับอากาศ สายเคเบิ้ล และพัดลมตามบ้าน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3,

19.9, 19.5, 18.2, 8.1 และ 1.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ

และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่

หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน ตู้เย็น และ

เตาไมโครเวฟ โดยลดลงร้อยละ 48.8, 36.7, 31.2, 28.1, 19.6 และ 8.5

ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจาก

ต่างประเทศลดลง

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,430.6 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มีมูลค่า 194.8

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 148.9 ในตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา และ

ยุโรป หม้อหุงข้าว เตาย่างและเตาอบย่าง มีมูลค่า 65.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.0 ในตลาดยุโรป และสหรัฐอเมริกา มอเตอร์ไฟฟ้า มีมูลค่า

72.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 ในตลาดยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น

เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 18.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5

ในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่า 417.3 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 จากตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอาเซียน

ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เครื่องซักผ้า มีมูลค่า 80.1 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.5 ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ตู้เย็น

มีมูลค่า 156.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.0 ในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่น

และ พัด ล ม มีมูล ค่า 6 .8 ล้าน เห รียญ สห รัฐฯ ล ด ล งร้อ ยล 6.4

ในตลาดจีน อาเซียน และสหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2564 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่า

จะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-8.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19

รวมทั้งความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น

จากผลกระทบของสถานการณ์น้ำท่วม?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.3

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 99.2

โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และPrinter โดยลดลงร้อยละ 19.4

และ 12.3 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศ

และต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB,

Semiconductor devices transistor, PCBA และ IC โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ

28.6, 21.3, 17.1 และ 9.6 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ

และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,948.7

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD มีมูลค่า 801.8 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.8 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป อุปกรณ์

กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 177.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 23.5 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอาเซียน วงจรรวม มีมูลค่า 744.1

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

และวงจรพิมพ์ มีมูลค่า 131.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น

?คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-10.0 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์

ในการผลิตสินค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้า

IoT เช่น สินค้าอัจฉริยะในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรม

ยานยนต์ เป็นต้น?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ก.ย.

6 3

ต.ค.

6 3

พ.ย.

6 3

ธ.ค.

6 3

ม.ค.

6 4

ก.พ.

6 4

มี.ค.

6 4

เม.ย.

6 4

พ.ค.

6 4

มิ.ย.

6 4

ก.ค.

6 4

ส.ค.

6 4

ก.ย.

6 4

คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์

ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก

ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2564 มีจำนวน

140,038 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2564 ร้อยละ 34.47

(%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.43 (%YoY)

จากการปรับลดลงของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และ

อนุพันธ์

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี 2564

มีจำนวน 56,871 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2564 ร้อยละ 34.84

(%MoM) เนื่องจากมีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน

2564 ส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ประกอบกับโรงงาน

ผลิตรถยนต์ได้รับชิปและชิ้นส่วนรถยนต์มากขึ้น และสถาบันการเงิน

เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม การจำหน่าย

รถยนต์ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.12 (%YoY) จากการ

ปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์

กระบะ 1 ตัน รถยนต์ PPV และ SUV

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2564 มีจำนวน

73,831 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2564 ร้อยละ 23.94

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.47

(%YoY) เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว

มากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในตลาดโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง

แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลางและใต้ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกลดลง

ในตลาดเอเชีย และอเมริกาเหนือ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ

โควิด-19 ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศคู่ค้าลดลง

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในเดือน

ตุลาคม ปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2563 เนื่องจาก

ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 เริ่มผ่อนคลาย?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ก.ย.63 ต.ค.63 พ.ย.63 ธ.ค.63 ม.ค.64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย.

64

พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64

คัน ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต

ปริมาณการจา หน่าย ปริมาณการส่งออก

ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2564

มีจำนวน 110,017 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2564

ร้อยละ 36.71 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 37.01 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์

แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน

ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 109,879 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

สิงหาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.22 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.66 (%YoY) จากการลดลงของ

ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี,

126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2564

มีจำนวน 24,319 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2564 ร้อยละ

33.88 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

14.71 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป

มีการลดลงในประเทศจีน สหราชอาณาจักร และเมียนมา

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนตุลาคม ปี 2564 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2563

เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.95 จากการขยายตัวของการผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามการขยายตัวของตลาดส่งออก

ย งรถ ย น ต์ ล ด ล ง ร้อ ย ล 3.05 เนื่อ ง จ ก

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศชะลอตัวลงต่อเนื่อง

จากเดือนก่อน

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 1.30 ตามการชะลอตัวของ

ตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ

จีน

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำย งข้น ) ล ด ล งร้อยละ 10.28 จ ก ก รจ ห น่า ย

ยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้นที่ลดลง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.74 ตามการชะลอตัวของ

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.88 ตามความต้องการใช้

ที่ปรับตัวสูงขึ้น

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.64 จากการขยายตัวของ

การส่งออกยางแผ่นรมควันและยางแท่งไปยังจีน สหรัฐอเมริกา

และญี่ปุ่น และการขยายตัวของการส่งออกน้ำยางข้นไปยังจีน

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.32 ตามการ

ขยายตัวที่ดีของตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.07 ตามการชะลอตัว

ของตลาดสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และจีน

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2564

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้ม

ความต้องการใช้ของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ฝนที่ตกชุกตลอดช่วงเดือนตุลาคมและ

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรีดยางหลายแห่งยังเป็นปัจจัย

กดดันให้มีปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิต

และจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจาก

เดือนก่อนตามแนวโน้มการชะลอตัวของอุตสาหกรรม

ยานยนต์ ถึงแม้สถานการณ์การขาดแคลนชิปจะเริ่ม

คลี่คลายลง ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะยังคง

ขยายตัวได้ แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจาก

ช่วงที่ผ่านมาจีนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง

ทางการแพทย์ในประเทศ ทำให้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่

อีกแห่งหนึ่งของโลก ประกอบกับจีนมีความสามารถในการ

แข่งขันด้านราคาสูง ทำให้ผู้ประกอบการไทยเริ่มได้รับคำสั่ง

ซื้อลดลง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เนื่องจาก

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศต่าง ๆ

ดังกล่าว มีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี สำหรับการส่งออก

ยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้น จากแน วโน้ม

การขยายตัวที่ดีของตลาดส่งออกลำดับรอง โดยเฉพาะ

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง

คาดว่าในภาพรวมจะมีมูลค่าลดลง เนื่องจากฐานตัวเลข

ของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับไทยมีคู่แข่งทางการค้า

เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับตัวด้านการปรับลดต้นทุน

การผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกได้

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนกันยายน 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่

ระดับ 94.12 ขยายตัวร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น

แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 33.30 และบรรจุภัณฑ์พลาสติก

อื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 14.63

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกันยายน 2564 ค่าดัชนีการส่งสินค้า

อยู่ที่ระดับ 89.91 หดตัวร้อยละ 4.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะ

อาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 19.45 ถุงพลาสติก หดตัว

ร้อยละ 13.58 และกระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 8.72

การส่งออก เดือนกันยายนปี 2564 มีมูลค่า 385.57

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 12.39 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น

กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 80.21

กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 41.91

และกลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 26.09

และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาด

หลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และฟิลิปินส์

การนำเข้า เดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 453.77

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 19.13 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว

เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ

63.61 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ

32.08 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัว

ร้อยละ 41.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนตุลาคม 2564 คาดการณ์

การส่งออกยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามสถานการณ์

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังภาครัฐมีการผ่อนคลาย

มาตรการล็อกดาวน์ อีกทั้งยังต้องติดตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลก

ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งน้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของเม็ดพลาสติก

ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมพลาสติก

มีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนกันยายน ปี 2564 อยู่ที่ระดับ

96.75 หดตัวร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน หดตัวร้อยละ 9.46 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่

เอทานอล หดตัวร้อยละ 57.52 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย

หดตัวร้อยละ 4.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุดได้แก่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม

หดตัวร้อยละ 15.22 แป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 12.79 สบู่และ

เครื่องบำรุงผิว หดตัวร้อยละ 10.17

ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น กัน ย ย น 2564

อยู่ที่ระดับ 98.70 หดตัวร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์

พื้น ฐาน ห ดตัวร้อยละ 2.06 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณ ฑ์

เอทานอล หดตัวร้อยละ 35.84 สำหรับกลุ่มเคมีภัณ ฑ์

ขั้นปลาย ห ดตัวร้อยละ 4.18 ผลิตภัณ ฑ์ที่หดตัว คือ

แป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 16.58 น้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ

15.18 และสบู่และเครื่องบำรุงผิว หดตัวร้อยละ 13.12

การส่งออก เดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการส่งออก

รวม 929.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.73 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า

การส่งออก 575.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 46.27 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์

ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 354.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 9.62 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น

ปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 118.74 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ

67.81 และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 31.58 การส่งออก

ขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และอินโดนีเซีย

การน เข้า เดือ น กัน ย ย น 2564 มีมูล ค่า

การนำเข้ารวม 1,629.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อ ย ล 35.98 เมื่อ เทีย บ กับ ช่วงเดียวกัน ข องปีก่อ น

โดยกลุ่มเคมีภัณ ฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,080.77

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 43.10 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่า

การนำเข้า 549.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.85

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนตุลาคม 2564

คาดการณ์ว่า การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามความต้องการ

ของคู่ค้าหลัก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

โควิด-19 เริ่มผ่อนคลายและมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อลดลง รวมถึง

ภาครัฐของแต่ละประเทศ มีมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ เพื่อ

กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือน

กันยายน ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 115.03 หรือขยายตัวร้อยละ

3.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลง

ร้อยละ 3.10 เมื่อเทียบกับช่วงก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene และ Ethylene ขยายตัวร้อยละ

14.19 และ 8.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ

ปิโตรเคมี ขั้นปลาย ได้แก่ ABS และ PP resin ขยายตัว

ร้อยละ 10.73 และ 9.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ

118.12 ขยายตัวร้อยละ 8.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 2.28 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene ขยายตัว

ร้อยละ 16.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ

ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PS resin ขยายตัวร้อยละ

10.84 และ 3.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนกันยายน ปี 2564 มีมูลค่า

1,273.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 50.64 เมื่อ

เทีย บ กับ ช่ว ง เดีย ว กัน ข อ ง ปีก่อ น แ ล ข ย ย ตัว

ร้อยละ 1.59 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวใน

กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Toluene

เป็นต้น ร้อยละ 102.11 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PS resin และ PP resin เป็นต้น ขยายตัว

ร้อยละ 40.79

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนกันยายน ปี 2564 มีมูลค่า

533.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 49.47 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 6.26 เมื่อ

เทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน

เช่น Styrene เป็นต้น ร้อยละ 89.70 และขยายตัวในกลุ่ม

ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PS resin เป็นต้น

ขยายตัวร้อยละ 43.11 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมี

ทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนตุลาคม ปี 2564

คาดว่า ภ พรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้น

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิต

เพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับ

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและส่งออก

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายน

2564 มีค่า 101.7 ขยายตัวร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า ทำให้ผู้ผลิตเร่งผลิต

ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ นอกจากนั้นมีการผลิต

เพื่อรอจำหน่ายเนื่องจากราคาเหล็กยังคงมีแนวโน้มทรงตัวสูง

เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตเหล็กทรงแบน

ขยายตัวแต่เหล็กทรงยาวหดตัว โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 119.1 ขยายตัว

ร้อยละ 43.5 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่น

รีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 107.7 รองลงมาคือ เหล็กแผ่น

เคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 76.1 และเหล็กแผ่นรีดร้อน

ชนิดม้วน ขยายตัวร้อยละ 13.5 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม

เหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 86.4 หดตัว

ร้อยละ 2.9 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กเส้นกลม

หดตัวร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

ชนิดรีดเย็น และเหล็กเส้นข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 18.9 และ

9.7 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนกันยายน 2564

มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 20.0

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเหล็กทรงแบน

มีปริมาณการบริโภค 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 41.1

จากการบริโภคเหล็กแผ่นบางรีดเย็นที่ขยายตัวร้อยละ 73.9

รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 65.7

และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 47.1 สำหรับ

เหล็กทรงยาวมีปริมาณการบริโภค 0.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ

11.9 จ กการบ ริโภ ค เห ล็กล วด ห ด ตัวร้อย ละ 16.9

เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัว ร้อยละ 15.8

การนำเข้า ในเดือนกันยายน 2564 มีปริมาณ

การนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 39.2 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า

0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 28.9 จากการนำเข้าเหล็กเส้น

ชนิด carbon steel ขยายตัวร้อยละ 862.5 (ประเทศหลัก

ที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ

เหล็กเส้น ชนิด alloy steel ขยายตัวร้อยละ 247.6 (ประเทศ

หลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน และญี่ปุ่น) และเหล็กท่อไร้ตะเข็บ

ขยายตัวร้อยละ 75.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน)

สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.8

ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 42.1 เหล็กทรงแบนที่การนำเข้า

ขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon steel

P&O ขยายตัวร้อยละ 523.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน

ชนิด alloy steel ขยายตัวร้อยละ 305.3 (ประเทศหลักที่ไทย

นำเข้า คือ จีน และญี่ปุ่น) และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น ชนิด

alloy steel ขยายตัวร้อยละ 166.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า

คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2564

คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น

ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ เพราะจะส่งผลต่อปริมาณการ

ผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 0.41 และ 6.31

ตามลำดับ เพื่อรองรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากการฟื้นตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป

และจีน ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อน ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูป

หดตัว ร้อยละ 3.41 เนื่องจากการบริโภคในประเทศชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปี 2562 ก่อนการระบาดของ

โควิด-19 พบว่า การผลิตยังไม่ฟื้นตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดย

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังคงหดตัวต่อเนื่อง

ร้อยละ 15.76 27.22 และ 21.36 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 9.31 และ

7.39 เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับความต้องการ

วัตถุดิบเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัวในตลาดสำคัญ ในขณะที่

เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัว ร้อยละ 3.52 เนื่องจากกำลังซื้อของ

ผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฟื้นตัว

ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมูลค่าการส่งออกกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ

เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.49 ในตลาดปากีสถาน จีน และอินโดนีเซีย

กลุ่มผ้าผืนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.97 ในตลาดเวียดนาม บังกลาเทศ

กัมพูชา จีน และอินโดนีเซีย และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 26.23 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม ฮ่องกง

เยอรมนี และสหราชอาณาจักร เนื่องจากสถานการณ์การ

ระบาดในประเทศคู่ค้าสำคัญคลี่คลาย หลังอัตราการฉีดวัคซีน

อยู่ในระดับสูง ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่

ภาวะปกติมากขึ้น การส่งออกจึงเพิ่มขึ้น

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2564

คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่อง

ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

ที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุป ทาน ในขณ ที่การผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มน่าจะชะลอตัวตามกำลังซื้อ

ในประเทศลดลงจากการระบาดของโควิด-19 และได้รับ

ผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานในจีน ส่งผลให้

วัตถุดิบอย่างเส้นด้ายและเส้นใยปรับราคาขึ้น และเริ่ม

ขาดแคลน กระทบต่อการผลิตเสื้อผ้า ชุดยูนิฟอร์ม ทำให้

ผู้ประกอบการเลื่อนการผลิต ในขณะที่คำสั่งซื้อล่วงหน้ายังมี

จำกัด เนื่องจากความไม่มั่นใจต่อเวลาในการรับมอบสินค้า

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป

ทยอยฟื้นตัว และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 2564

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกันยายน

ปี 2564 มีจำนวน 6.63 ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม

ปี 2564 ร้อยละ 5.97 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 2.31 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

กันยายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.02 ล้านตัน

ลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2564 ร้อยละ 5.98 (%MoM)

และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.63

(%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกันยายน

ปี 2564 มีจำนวน 0.65 ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม

ปี 2564 ร้อยละ 12.89 (%MoM) และลดลงจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.29 (%YoY) เป็นผลจากการ

ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดบังคลาเทศ กัมพูชา และเมียนมา

โดยลดลง ร้อยละ 31.51 19.93 และ 18.85 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนตุลาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าอาจจะปรับตัวลดลง

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน

ปี 2564 มีจำนวน 3.27 ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม

ปี 2564 ร้อยละ 7.14 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 4.41 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนกันยายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.02 ล้านตัน

ลดลงจากเดือนสิงหาคมปี 2564 ร้อยละ 5.99 (%MoM) และ

ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.67 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน

ปี 2564 มีจำนวน 0.30 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคม

ปี 2564 ร้อยละ 3.46 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 3.22 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อ

จากตลาดกัมพูชา และเมียนมา โดยลดลง ร้อยละ 23.92 และ

18.82 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะยังปรับตัวลดลงเนื่องจากเกิดภาวะ

น้ำท่วมในบางพื้นที่ แม้ว่าการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค

ภาครัฐจะได้รับงบประมาณใหม่แล้ว แต่ภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้น

เป็นอุปสรรคในการเดินหน้าก่อสร้าง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ