สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 และไตรมาส 3/2564

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 18, 2021 13:27 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายสาขาสาคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 หดตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสาคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตยานยนต์

และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ดังนี้

อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง หดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปยังโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

และ Printer ทาให้ต้องมีการกักตัวแรงงานที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนสาหรับ

การผลิต ทาให้ไม่สามารถผลิตได้เต็มกาลัง ปริมาณการผลิตจึงชะลอตัวลง

อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์หดตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหา

การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) และการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต

อุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งทาให้โรงงาน

บางส่วนหยุดพักการผลิตหรือปิดตัวชั่วคราว

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายมีการหยุดซ่อมบารุงโรงกลั่น รวมถึงผลกระทบ

จากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลทาให้ความต้องการใช้น้ามันเชื้อเพลิงสาเร็จรูปในประเทศชะลอตัวลง

และอยู่ในระดับต่ากว่าปีก่อน

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 1.3

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ อาทิ

อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก

การกลั่นปิโตรเลียม อัตราการใช้กาลังการผลิตในเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 62.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3/2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบ

กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กาลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 59.3

สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 และไตรมาส 3/2564

สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสาคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน

อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจากการใช้

ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เป็นส่วนประกอบในสินค้าสมัยใหม่ เช่น เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า

คอมพิวเตอร์รถยนต์ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคงเติบโต

โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลจากฐานต่าในปีก่อน รวมถึงคาสั่งซื้อเริ่ม

กลับมาหลังจากที่ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ผู้ผลิตได้ปรับแผนการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการผลิตที่ลดลงในช่วงเดือน

ที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงประเทศคู่ค้า

บางส่วนผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ลง ทาให้สามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มขึ้น

อัตราการใช้กาลังการผลิตเดือนกันยายน 2564

อยู่ที่ระดับร้อยละ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาส 3/2564 หดตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขา

อุตสาหกรรมการผลิตสาคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตจักรยานยนต์ ดังนี้

สาหรับอุตสาหกรรมการผลิตสาคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ทาให้มีการล็อกดาวน์

ในประเทศอย่างเข้มงวดในช่วงไตรมาส 3 ประกอบกับผู้ประกอบการบางรายมีการหยุดซ่อมบารุงโรง

กลั่น ส่งผลทาให้ความต้องการใช้น้ามันเชื้อเพลิงสาเร็จรูปในประเทศชะลอตัวลง

อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง หดตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและ

กระจายไปยังแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และ Printer จึงส่งผลกระทบ

ทาให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลงกว่าช่วงปกติ

อุตสาหกรรมการผลิตจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ 39.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงส่งผลกระทบทาให้ความต้องการซื้อในประเทศและการส่งออก

ปรับตัวลดลง

อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ

ในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้น แม้ว่าในปีนี้จะประสบปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์

ทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ ประเภทก็ตาม

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ

ปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศ

เริ่มคลี่คลายลง ส่งผลทาให้มีความต้องการสินค้าจากผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น ขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

เริ่มคลี่คลายลง ทาให้กาลังซื้อและความต้องการบริโภคสินค้าเริ่มกลับมาเป็นปกติ

การผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3/2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตจักรยานยนต์

อัตราการใช้กาลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 59.3

อัตราการใช้กาลังการผลิตไตรมาส 3/2564

อยู่ที่ระดับร้อยละ

ข้อมูลเพิ่มเติม : นเรศ กิจจาพัฒนพันธ์ กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0 2430 6806

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ