2
สารบัญ
หน้า
บทสรุปผู้บริหาร 3
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3/2564 5
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 3/2564
และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2564 14
2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16
2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17
2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18
2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19
2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20
2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21
2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22
2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23
2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24
2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25
2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26
2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27
2.14 อุตสาหกรรมยา 28
2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29
2.16 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 30
2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31
2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32
3
บทสรุปผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 3/2564
ร้อยละ 0.8 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 2/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.7 เป็นผลมาจากการระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้างกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน
อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 3/2564 อาทิ การกลั่นปิโตรเลียม เนื่องจากปีนี้มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ของโรงกลั่นบางราย ประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลงจากการระบาด ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมัน
เชื้อเพลิงสำเร็จรูปยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อน Hard Disk Drive จากการระบาดระลอกล่าสุด ที่รุนแรงและกระจาย
ไปมากกว่าระลอกที่ผ่านมา และยังมีการระบาดที่เป็นคลัสเตอร์ของโรงงานของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ เนื่องจาก
ผลกระทบจากการระบาดที่รุนแรงกว่าปีก่อนมาก ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต สำหรับ
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในไตรมาสที่ 3/2564 อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มสินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ออกมาที่มีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
เป็นส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาก ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีการขยายตัวที่ดี ทำให้
มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 4/2564
การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงจึงเป็นโอกาสในการแข่งขัน
ของผู้ผลิตในประเทศ
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังคงมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
10.32 และ 3.73 ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาด
จึงคลี่คลายขึ้นตามลำดับ รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วมส่งผลให้กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ายังมีความต้องการ
จากผู้บริโภคในประเทศ นอกจากนี้จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายในตลาดส่งออกหลักของไทย ส่งผลบวก
ต่อการขยายตัวของการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบ
ต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น ปัญหาความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน
รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 390,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิต
เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 420,000 คัน โดย
แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
ตามการบริโภคในประเทศ ซึ่งได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ ส่วนการส่งออกจะขยายตัว
ต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ
? ปูนซีเมนต์ การผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะเริ่มสามารถขยายตัวได้จากปัจจัยบวกหลายประการ อาทิ
หลังหมดฤดูฝนและภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ลดลง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องทำการซ่อมแซมบ้านเรือน
ที่เสียหาย และโครงการก่อสร้างภาครัฐสามารถดำเนินการต่อได้
4
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอจะขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับ
คำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มการชะลอตัวลดลง จาก
นโยบายการเปิดประเทศซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศให้ดีขึ้น ประกอบกับประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง จีน
สหรัฐอเมริกา และยุโรป ฟื้นตัว ทั้งนี้ต้องติดตามผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานในจีน ส่งผลให้วัตถุดิบ
อย่างเส้นด้ายและเส้นใยโพลิเอสเตอร์ปรับราคาขึ้น และเริ่มขาดแคลน กระทบต่อการผลิตเสื้อผ้า ทำให้ผู้ประกอบการ
เลื่อนการผลิต ในขณะที่คำสั่งซื้อล่วงหน้ายังมีไม่มาก เนื่องจากความไม่มั่นใจต่อเวลาในการรับมอบสินค้า
? ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือน
ทำด้วยไม้ในประเทศคาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวจากแนวโน้มการระบาดในประเทศที่เริ่มชะลอตัว
ยา การผลิตยาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.31
ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดยาในประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 3.34 โดยเฉพาะ
ในตลาดเวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ และลาว ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการใช้ยาจากไทยลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส
ก่อน
ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.31 ตามแนวโน้ม
การขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.17 เนื่องจากมีประเทศ
คู่แข่งทางการค้าเพิ่มขึ้น และไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ยางแปรรูปขั้นปฐมของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น
? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาท
อ่อนค่า การคลายมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
5
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3/2564
6
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2564
GDP
หดตัวร้อยละ 0.3 (%YoY)
ผ ล ต ภ ณ ฑ ม ว ล ร ว ม ใ น ป ร เ ท ศ ห รือ GDP
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 หดตัวร้อยละ 0.3 โดย
ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 7.6
แต่ทั้งนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อนที่หดตัวร้อยละ 6.4
GDP ภาคอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 1.4 (%YoY)
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564
หดตัวร้อยละ 1.4 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา
ที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 จากการลดลงของอุปสงค์
ภายในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศ
ยัง คง ขยา ยต วไ ด้จา ก อ ตส ห กร ร มย น ย น ต์
อิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น แต่ทั้งนี้
ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว
ร้อยละ 5.3
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผ ล ผ ล ต ม ว ล ร ว ม ข อ ง ภ ค อ ต ส ห ก ร ร ม
ใ น ไ ต ร ม ส ท 3 ของ ป 2564 ป ร บ ต ว ลง
อย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสก่อนหน้าและกลับมา
หดตัวครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 โดย
ปรับตัวลดลงตามอุปสงค์ภายในประเทศจากการ
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่การผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ
ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศยังคงขยายตัว
ต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม ไทยควรดำเนินการตามมาตรการ
ควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัดตามพื้นที่
ติดชายแดน รวมทั้งการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม
และทั่วถึง
7
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 0.8
(%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้า
หดตัวร้อยละ 2.0
(%YoY)
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 90.43 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (96.73)
ร้อยละ 6.5 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563
(91.13) ร้อยละ 0.8
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ลดลงจากไตรมาส ที่ผ่าน มา ได้แก่ การผลิต
เครื่องปรับอากาศ การผลิตยานยนต์ และการผลิต
น้ำตาล เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563
ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิต
จักรยานยนต์ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่
ระดับ 91.91 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.9)
ร้อยละ 6 . 1 แ ล ล ด ล ง จ ก ไ ต ร ม ส เ ดีย ว กัน
ของปี 2563 (93.76) ร้อยละ 2.0
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจาก
ไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ
การผลิตยานยนต์ และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ การผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิต
จักรยานยนต์ และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าว
มอลต์ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
8
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2
(%YoY)
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ร้อยละ 59.31
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
อยู่ที่ระดับ 152.08 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(141.13) ร้อยละ 7.8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (119.56) ร้อยละ 27.2
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิต
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตยานยนต์
และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่
การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อ
พ่วง และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.31 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา
(ร้อยละ 62.73) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (ร้อยละ 60.41)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการ
ผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการ
ผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่
การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
จักรยานยนต์ และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าว
มอลต์ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
9
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาส 3 อยู่ที่ระดับ 78.23
ราคาค่าขนสงที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ประกอบการส่งออก
บางรายประสบปัญหาที่ต้องแบกรับอัตราการระวางเรือ
ขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทรงตัวในระดับสูงมาตั้งแต่
ต้นปี 2564 ส่งผลต่อต้นทุนขนส่งที่เพิ่มขึ้น และปัญหา
การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบห่วงโซ่
อุปทานทั่วโลกในอุตสหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรม
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมมีค่า 78.23 ลดลงจากไตรมาส
ที่ผ่านมา (82.43) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี
2563 (83.90) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า
3 เดือน อยู่ที่ระดับ 91.07 ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2563 (93.60)
ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการลดลงของความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 ยังเป็นผล
จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องและ
รุนแรงขึ้นในไทย ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2564
มาจนถึงช่วงปลายไตรมาส 3 ที่ยังไม่คลี่คลายและ
กระจายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐต้อง
ยกระดับมาตรการควบคุมโรครวมทั้งขยายพื้นที่ควบคุม
สูงสุดและเข้มงวดจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัดและ
บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ตลอดดือนสิงหาคม
มีจำนวนผู้ติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่ผ่านมา เฉลี่ยประมาณ 15,000-18,000 คนต่อวัน จาก
มาตรการล็อกดาวน์ที่กล่าวมา ส่งผลต่อกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจภายในประเทศลดลง มีการทำงานจากที่บ้าน
(Work from Home) ส่วนการกระจายวัคซีนไปยัง
ประชาชนและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมยังไม่เป็นไป
ตามเป้าหมาย และการแพร่ระบาดในภาคอุตสาหกรรม
ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลต่อกำลังการผลิตและการส่งมอบ
สินค้าล่าช้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก
นอกจากนี้ผู้ประกอบการในประเทศยังประสบปัญหา
ต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
10
การค้าต่างประเทศของไทย
?มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งหลายประเทศเริ่มผ่อนคลาย
มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และทยอยเปิดประเทศมากขึ้นตามความเชื่อมั่นจากการเร่ง
กระจายวัคซีนให้เข้าถึงภาคประชาชนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 135,748.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 67,663.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 68,085.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ขาดดุล 422.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 67,663.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า
เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 6,670.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.3 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
มีมูลค่าการส่งออก 4,734.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.0 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก
53,485.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.1 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,773.2 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 89.5
สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก
6,505.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก
5,700.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.7) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าการส่งออก 3,474.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 8.2) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 2,999.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 50.8) และ
เคมีภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 2,702.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 51.7) เป็นต้น
11
ตลาดส่งออกสินค้า
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 การส่งออกสินค้าไปยังตลาด
คู่ค้าหลักของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดทั้งอาเซียน
(9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27
ประเทศ) ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทั้ง 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน (9
ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27
ประเทศ) รวมคิดเป็นร้อยละ 70.6 และการส่งออกไปยัง
ตลาดอื่น ๆ คิดเป็น ร้อยละ 29.4 ของการส่งออกทั้งหมด
มีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27
ประเทศ) คิดเป็น ร้อยละ 23.1, 15.9, 14.8, 9.2 และ 7.6 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ประเทศคู่ค้าหลักของ
ไทยขยายตัวทุกตลาด โดยจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 32.2 ลำดับถัดมา คือ สหรัฐอเมริกา
ขยายตัวร้อยละ 19.6 อาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 18.32 สหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 16.4
และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 15.4
โครงสร้างการนำเข้าสินค้า
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่านำเข้า 68,085.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า
เชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 10,479.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 65.3 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า
16,896.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.7 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 29,481.6
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 53.6 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 7,573.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 19.2 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,555.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 42.8 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 98.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว
ร้อยละ 72.6
12
ตลาดนำเข้าสินค้า
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ตลาดนำเข้าสำคัญของไทย
ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ในทิศทางเดียวกับการส่งออก อาทิ จีน
อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และ
สหรัฐอเมริกา ทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ
67.0 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 33.0 ของการ
นำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา
คิดเป็นร้อยละ 25.3, 16.1, 13.6, 6.9 และ 5.1 ตามลำดับ
? อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในตลาดหลักขยายตัวใน
ทิศทางเดียวกับการส่งออก โดยเฉพาะญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 60.3 จีน ขยายตัวร้อยละ 38.9 สหภาพยุโรป
(27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 25.3 สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 19.7 และอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัว
ร้อยละ 15.8
13
เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 3 ปี 2564
?ภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากหลายประเทศคลายล็อกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด
กอปรกับไปกับปัจจัยหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ รวมทั้ง การเร่งกระจายฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง?
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564
(%YoY)
GDP Inflation MPI Export Import Unemp.
Rate
Policy
Rate
สหรัฐฯ ? 4.7 ? 5.3 ? 6.2 ? 23.4 ? 19.3 At 5.2 At 0.00-0.25
จีน ? 4.9 ? 1.0 ? 4.9 ? 23.9 ? 26.5 At 3.9 At 4.35
ญี่ปุ่น ? 7.6a ? 0.7 ? 5.7 ? 20.4 ? 31.8 At 2.8 At -0.10
เกาหลีใต้ ? 4.0 ? 2.6 ? 5.0 ? 26.5 ? 37.5 At 2.8 At 0.75
สิงคโปร์ ? 6.5 ? 2.5 ? 7.2 ? 19.3 ? 23.0 At 2.4 At 0.67
ไทย ? 0.3 ? 0.7 ? 0.7 ? 15.3 ? 41.0 At 1.9a At 0.50
ที่มา: ceicdata, https://www.nesdc.go.th, https://www.trademap.org, http://tradereport.moc.go.th
หมายเหตุ: a ตัวเลขไตรมาสที่ 2 ปี 2564
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากการผลิตและปริมาณการค้าของกลุ่มประเทศ
เศรษฐกิจหลักขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ในระดับทรงตัวเป็นผลจากตลาดแรงงานยังไม่สามารถฟื้นตัว
ได้เต็มศักยภาพ สำหรับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายประเทศทรงตัวอยู่ใน
ระดับต่ำ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.00-0.25% อันเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับ
ผู้ประกอบการ เอื้อให้ภาคธุรกิจและการลงทุนภายในประเทศดำเนินในระยะต่อไปได้
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปทานตึงตัวจากกำลังการผลิตลดลง
โดยช่วงที่ผ่านมาสมาชิกบางส่วนของกลุ่มโอเปกพลัสเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่อุปสงค์การใช้น้ำมัน
เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบ ไตรมาส 3 ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 71.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ด้านราคา
น้ำมันดิบ NYMEX ช่วงเดือนกันยายนส่งมอบ เฉลี่ยอยู่ที่ 71.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง อาทิ ความไม่แน่นอนจากการกลายพันธุ์ของเชื้อ
ไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นอีกครั้ง ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ตลอดจน ภาคการ
ผลิตและส่งออกประสบปัญหาต้นทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ความล่าช้าในการขนส่ง และค่าระวางเรือที่ปรับ
สูงขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายการเปิดประเทศตามสถานการณ์แพร่ระบาดที่คลี่คลายลงและการเร่งฉีดวัคซีน
อย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยบวกให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยเฉพาะภาคผลิตเพื่อส่งออก
ยังคงเติบโตตามเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลักที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
14
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 3/2564
และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2564
15
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า
แห่งประเทศไทย
การผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
มีค่า 95.9 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.5 (%YoY)
แต่หดตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 12.5 (%QoQ) เนื่องจากราคา
เหล็กในตลาดโลกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน
ขยายตัวร้อยละ 45.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็ก
แผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 106.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก
และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 94.6 และ 79.8
ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 11.3
เนื่องจากความต้องการชะลอตัวจากการควบคุมและป้องกันการแพร่
ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว
ข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 32.9 และ ลวดเหล็กแรงดึงสูง หดตัวร้อยละ
10.1
การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564
มีปริมาณ 4.4 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 7.2 (%YoY) แต่หดตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 15.5
(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภค
รีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 87.0 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน
ขยายตัวร้อยละ 59.8 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ
31.3 อย่างไรก็ตาม การบริโภคเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 20.4 จาก
และเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 10.3
การนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 3.5 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 88.8 (%YoY) และ ขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.3
(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า
เหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 77.0 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัว
มาก คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 549.5
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน) รองลงมา คือ
ลวด ประเภท Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 140.0 สำหรับการ
นำเข้าเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 92.6 ผลิตภัณฑ์
ที่การนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท
Carbon steel P&O ขยายตัวร้อยละ 576.1 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบาง
รีดร้อน ประเภท Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 261.1 และเหล็ก
แผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 214.5
ของปี 2564
คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ประกอบ
กับราคาเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงจึงเป็นโอกาสในการ
แข่งขันของผู้ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของอุตสาหกรรม
ต่อเนื่องในประเทศอาจทำให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอตัวลง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จากการผลิต
16
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบัน
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 3 ปี 2564 ดัชนีผลผลิต
อยู่ที่ 91.3 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 18.9 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.3 (%YoY)
เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19 และความต้องการจากตลาดหลักของโลก โดย
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า และคอมเพรสเซอร์
เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.5 และ 7.1 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 3 ปี 2564
สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กระติกน้ำร้อน และ มอเตอร์
ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.7 และ 3.33 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564
มีมูลค่า 4671.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 3.7 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.3 (%YoY) โดย
สินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม
คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.5 55.2
และ 25.9 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 3 ปี 2564 มี
มูลค่าการส่งออก 6,710.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย
ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.3 (%QoQ) แต่
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.0
(%YoY) โดย สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และพัดลม
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 30.6 และ 23.1 ตามลำดับ
ในขณะที่ เตาอบไมโครเวฟ สายเคเบิล ตู้เย็น เครื่องซักผ้า
ป ร บ ต วล ด ล ง ร้อย ล 39.4 16.6, 0.6 แล 0.3
ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 4
ของปี 2564
คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังคงมีการ
ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 10.32 และ 3.73
ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19
เพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดจึงคลี่คลายขึ้น
ตามลำดับ รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วม ส่งผลให้กลุ่ม
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ายังมีความต้องการจากผู้บริโภค
ในประเทศ และจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่ม
คลี่คลายในตลาดส่งออกหลักของไทย ส่งผลบวกต่อการ
ขยายตัวของการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผล
ลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น ปัญหาความตึงเครียด
ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน
88.5
111.0
79.0 90.2 94.4
112.0 112.6
91.3
0
20
40
60
80
100
120
140
Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564 Q2-2564 Q3-2564
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ดัชนผี ลผลิต
1038.0
834.1 588.5
1554.4
964.4 1092.1 833.2
1137.0 1405.2 1587.1
1343.5 1223.8
2893.8
2394.6
1967.2
3442.9
3039.7
2239.7
764.0
1252.8 965.3 1233.7 1224.7
406.2
9.1 29.0 22.2 25.3 11.0 8.8
450.1 629.0 444.2 468.1 513.3 498.9
178.6 261.3 274.6 190.0 237.2 131.6
509.6
883.3 922.1
735.4 783.0 623.5
0.0
1000.0
2000.0
3000.0
4000.0
Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564 Q2-2564 Q3-64
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (พัน
เครื่อง)
เครื??องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครือ?? งซักผ้า
เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น กระติกนํ??ร้อน หม้อหุงข้าว
3,698.5 4,221.8 4,446.2 4,503.3 4,671.7
6,159.3 6,586.1 6,868.3 6,710.8
-1,000
1,000
3,000
5,000
7,000
Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564 Q2-2564 Q3-2564
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจาก
เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
ตู้เย็น สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า และพัดลม และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
17
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบัน
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีดัชนี
ผลผลิตอยู่ที่ 96.0 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.0 (%QoQ) แต่
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 (%YoY) โดย
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ (PCBA),
แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC) และ Semiconductor devices transistor
โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 11.4 25.3 และ 20.3 ตามลำดับ ในขณะ
ที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer และ HDD โดยปรับตัว
ลดลงร้อยละ 12.2 และ 10.6 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
การผลิต อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังจำเป็นต่อการพัฒนา
ระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้าง
พื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3
ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 10,907.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.5 (%QoQ) และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 22.9 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดย
สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไดโอด
ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ วงจร
พิมพ์ และ วงจรรวม (IC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 16.8
และ 15.6 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3
ปี 2564 มีมูลค่าการส่งออก 10,740.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.2 (%QoQ) และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 25.2 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จาก
การส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
จีน และเอเชีย โดย ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ
และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ (PCBA) และ วงจรรวม (IC)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 21.4 และ 16.4 ตามลำดับ ในขณะที่
เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 13.8
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 4
ของปี 2564
คาดว่าดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง เนื่องจากการขาดแคลน
ของวัตถุดิบในการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์
จึงทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำลังการผลิต แต่
มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการ
ขยายตัวของตลาดโลกและตลาดผู้บริโภคหลักของอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว เช่น ประเทศจีน
สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยน่าจะ
มีการผลิตและการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
ในระยะยาวตามการขยายตัวของตลาดโลก อย่างไรก็ตาม
มีประเด็นที่ต้องจับตา ได้แก่ สถานการณ์ขาดแคลนชิป
ทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิต
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ และอาจส่งผลต่อ
การผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศใน
ระยะสั้นได้
97.1 91.8 83.9 92.8 100.2 98.6 99.0 96.0
0
20
40
60
80
100
120
Q4-2562 Q1-2563 Q2-2563 Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564 Q2-2564 Q3-2564
ดัชนผี ลผลิต
ดัชนผี ลผลิต
8,877.6
9,945.5 10,012.8
10,535.6
10,907.3
8,575.9
9,867.4 9,917.8 10,018.6
10,740.3
5,000
6,000
7,000
8,000
9,000
10,000
11,000
Q3-2563 Q4-2563 Q1-2564 Q2-2564 Q3-2564
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนา
ระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center, IoT และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้มีการผลิตและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD และวงจรรวม (IC) มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเอเชีย
18
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 390,000 คัน
โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อ
ส่งออกร้อยละ 45-50
การผลิตรถยนต์
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 367,345 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ3.02 (%QoQ)
แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 3.11
(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง
ร้อยละ 38 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 59
และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 3
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 158,740 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 9.72 (%QoQ) และ
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.99
(%YoY)
การส่งออกรถยนต์
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 203,992 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 5.29 (%QoQ)
แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
19.36 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็นการส่งออก
รถยนต์นั่ง ร้อยละ 34 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 58
และรถ PPV ร้อยละ 8
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 2,481.07 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 2.94
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 31.51 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และแอฟริกาใต้
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 2,856.42
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564
ร้อยละ 1.44 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 47.42 (%YoY) โดยตลาดนำเข้า
ที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่
ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
356,255
464,687 465,833
378,768 367,345
206,125
257,381
170,907 188,463 175,832 158,740
214,385
258,108
215,381 203,992
3Q 2563 4Q 2563 1Q 2564 2Q 2564 3Q 2564
การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)
การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
1,886.65
2,468.57
1,937.61 2,711.20 2,556.20 2,481.07
2,625.70
2,913.16 2,898.30 2,856.42
3Q 2563 4Q 2563 1Q 2564 2Q 2564 3Q 2564
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานปีที่ผ่านมาต่ำจากการหยุดการผลิต
ชั่วคราว จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก สำหรับตลาดส่งออกมีการขยายตัวเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการวัคซีน
โควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทุกประเทศเริ่มทยอยนำมาใช้ อย่างไรก็ดี การจำหน่ายในประเทศมีการชะลอตัว เนื่องจากกำลังซื้อภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัว
19
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ประมาณการในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า
420,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85
และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
การผลิตรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 274,181 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 43.92 (%QoQ)
และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 23.54
(%YoY)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 329,926 คัน ลดลง
จากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 24.47 (%QoQ) และ
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 20.29
(%YoY)
การส่งออกรถจักรยานยนต์
ในไ ตรม สที่ 3 ปี 2564 มีจ นวน 233,226 คัน
(เป็นการส่งออก CBU 100,938 คัน และ CKD 132,288
ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 19.82
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 48.83 (%YoY)
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 219.10 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 1.73
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 51.88 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา บราซิล และ
ญี่ปุ่น
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 266.70 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 1.22
(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 96.80 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น
จีน และสหรัฐอเมริกา
431,500
501,304 516,360 488,908
274,181
413,888
370,229
435,443 436,836 329,926
156,703
214,561
269,472
194,643
233,226
3Q 2563 4Q 2563 1Q 2564 2Q 2564 3Q 2564
การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)
การผลิต การจำหน่าย การส่งออก
144.26
227.21
295.65
222.96 219.10
135.52
189.05
265.88
263.49 266.70
3Q 2563 4Q 2563 1Q 2564 2Q 2564 3Q 2564
มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของตลาดในประเทศ อย่างไรก็ดี ตลาดส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการ
ฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการวัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศษฐกิจที่ทุกประเทศเริ่มทยอยนำมาใช้
20
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศและต่างประเทศเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น และสถานการณ์หลังจาก
เปิดประเทศส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ เช่น โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์การค้าต่าง ๆ จะเริ่มกลับมา
ฟื้นตัวอีกครั้ง ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์มีการฟื้นตัวตามความต้องการของผู้บริโภค
การตลาดและการจำหน่าย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 97.41 หดตัว
ร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ดัชนีผลผลิตที่หดตัว เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม สีน้ำพลาสติก และ
สบู่และเครื่องบำรุงผิว และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
(%QoQ) หดตัวร้อยละ 1.89
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 97.28
หดตัวร้อยละ 8.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ยาสระผม
และผงซักฟอก และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ)
หดตัวร้อยละ 7.34
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า
2,641.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.18
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดย
ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์
และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ
3.62 การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น
อินเดีย และอินโดนีเซีย
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่ารวม
5,094.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 51.36 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลัก
ที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ 9.13
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเคมีภัณฑ์บางประเภทหดตัว
การจำหน่ายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์ลดลง เมื่อเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า
21
อุตสาหกรรมพลาสติก
การผลิต และการตลาด
ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 91.60
หดตัวร้อยละ 1.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่
ถุงพลาสติก และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ)
หดตัวร้อยละ 2.55
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ
89.55 หดตัวร้อยละ 5.05 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว
มากที่สุด ได้แก่ ถุงพลาสติก และเมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน (%QoQ) หดตัวร้อยละ 3.91
มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า
1,130.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.18
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายสูงสุด ได้แก่
กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) และเมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวตัวร้อยละ 1.62
มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า
1,391.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.33
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายสูงสุด ได้แก่
กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) และเมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ 1.50
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 จะต้องติดตามสถานการณ์หลังจากการเปิดประเทศ มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ
จากภาครัฐ และการกลับมาฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
พลาสติกเริ่มกลับมาดีขึ้น อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบ
ที่ใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกมีต้นทุนที่สูงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีปริมาณการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ขยายตัวตามความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ภาครัฐมีมาตรการล็อกดาวน์
ภายในประเทศ ส่งผลให้การผลิตของผลิตภัณฑ์พลาสติกบางประเภทหดตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
22
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 118.26 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.69 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี
ผลผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP resin
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 116.28 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.62 โดยสินค้าที่ส่งผลให้
ดัชนีส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin และ
PE resin
การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 3,741.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
54.83 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของกลุ่ม
ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.91 เช่น Ethylene, Toluene และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.91 เช่น PP resin
และ PE resin เป็นต้น
การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 1,727.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
73.53 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น
ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 136.46 เช่น Toluene และ Propylene เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้นร้อยละ
62.83 เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2564
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2564 คาดว่า ในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวได้จากเศรษฐกิจหลายประเทศ
เริ่มกลับมา หลังจากหยุดชะงักหลังจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการสินค้า หรือการดำเนินการในหลายภาคส่วนเพิ่มขึ้น
ในตลาดคู่ค้าต่างประเทศ แต่มีปัจจัยลบ คือ การขาดแคลนถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าในจีนและสหภาพยุโรป ส่งผลต่อการปรับราคา
น้ำมันเพิ่มขึ้นและทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นได้
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.69
และ 7.62 (%YoY) จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่มีการฉีดวัคซีนในหลายประเทศ ประกอบกับหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์ ส่งผลให้การผลิต และการส่งออกปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ปรับขยายตัวดีขึ้น
23
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
?
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) การผลิต
ลดลงในทุกสินค้า ได้แก่ เยื่อกระดาษ (-5.07%) กระดาษคราฟต์
(-2.29%) กระดาษลูกฟูก (-4.25%) กระดาษพิมพ์เขียน (-10.11%)
ยกเว้นกระดาษแข็ง (+5.11%) และเมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) การ
ผลิตเพิ่มขึ้นทั้งเยื่อกระดาษ (+11.95%) กระดาษแข็ง (+13.77%)
กระดาษคราฟต์ (+1.42%) กระดาษลูกฟูก (+1.11%) กระดาษพิมพ์
เขียน (+12.36%) ยกเว้นกล่องกระดาษที่ชะลอตัวเล็กน้อย
(-1.58%) ส่วนหนึ่งมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม
บรรจุภัณฑ์กระดาษยังมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันจากการระบาดขอเชื้อไวรัส
โควิด-19
การส่งออก
เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564
เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการส่งออกรวม 649.04
ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+4.94%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ (+31.51%)
โดยมีประเทศจีน เป็นประเทศคู่ค้าหลัก กลุ่มสิ่งพิมพ์ (+1.53%) มี
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้าหลัก และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY)
มูลค่าการส่งออกรวม (+35.82%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษที่ส่งออก
เพิ่มสูง (+317.28%) ซึ่งกว่าร้อยละ 94.08 ส่งออกไปยังประเทศจีน
ส่วนกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (+1.48%) ส่งออกไปยังจีน
และเวียดนามเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มสิ่งพิมพ์ ส่งออกลดลงเล็กน้อย
(-0.47%) มีสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศคู่ค้าหลัก
การนำเข้า
เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 3 ปี 2564
มีมูลค่าการนำเข้ารวม 889.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกลุ่มเยื่อกระดาษนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) ร้อยละ (+19.80%)
และ (+242.75%) ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ร้อยละ
(-4.48%) และ (-36.75%) ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) นำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษในประเทศเพิ่ม
สูงขึ้นมากและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กระดาษ เนื่องจากวิถีการดำรงชีวิตปรับเปลี่ยนไป มีการซื้อขายออนไลน์มากขึ้น ตลอดจน
การระบาดของโรคโควิด 19
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ปี 2564
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ
ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สำหรับการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่ม
เยื่อกระดาษ
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) พบว่า การผลิตเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์
ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ และกระดาษลูกฟูก ซึ่งล้วนแล้วแต่นำมาผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ สำหรับการส่งออกและ
นำเข้ามีมูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)
24
อุตสาหกรรมเซรามิก
การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน
และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน
2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด
กระทรวงพาณิชย์
การผลิต ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต
29.79 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 19.26
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.17 (%YoY)
สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.84 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาส
เดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 8.51 เป็นผลจากการยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงของ
ตลาดในประเทศ
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณ
การจำหน่าย 35.51 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ
16.37 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.36
(%YoY) ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.69 ล้านชิ้น
ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 18.48 และลดลงจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.20 จากภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัว
ของตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อสถานการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการปิดกิจการ ห้างร้านต่าง ๆ
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
การส่งออก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
มีมูลค่า 24.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564
ร้อยละ 7.46 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 64.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 1.07 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.60 โดยตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่
ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 4 ของปี 2564 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ตามความ
ต้องการของตลาดภายในประเทศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดหลังผ่านวิกฤตน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ของประเทศ รวมทั้งการประกาศเปิดประประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยงต่างชาติตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
กลับมาดำเนินการได้มากขึ้น และการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น หลังสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเริ่มคลี่คลาย
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประกาศกำหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะของหินอุตสาหกรรมชนิดหินดินดานและ
หินอุตสาหกรรมชนิดหินไรโอไลต์เพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก เนื่องจากหินอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการนำไปใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรม
เซรามิก ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงกว่าการใช้ประโยชน์เป็นหินอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างสมดุลและยั่งยืน
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ลดลง
จากภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัวของตลาดในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนการส่งออก
ขยายตัวตามความต้องการของตลาดหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
25
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ
การผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะเริ่มสามารถขยายตัวได้จากปัจจัยบวกหลายประการ เช่น หลังหมดฤดูฝนและภาวะน้ำท่วมในพื้นที่
ต่าง ๆ ลดลง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องทำการซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย และโครงการก่อสร้างภาครัฐสามารถดำเนินการ
ต่อได้ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผ่อนคลายมาตรการ LTV-loan to value ชั่วคราวโดยจากเดิมที่มีเกณฑ์กำหนด
เพดานปล่อยกู้ได้ 70-95% จากราคาซื้อขายในสัญญาเป็น 100% ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2564 -วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งจะกระตุ้น
ความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นได้บางส่วน
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย โดยผ่าน
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายน 2564 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพเข้ามาลงทุนรวม 3 ส่วน ซึ่งรวม
ภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย โดยมุ่งหวังการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564
มีจำนวน 10.20 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2564
ร้อยละ 12.94 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ร้อยละ 7.20 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 9.26 ล้านตัน ลดลงจาก ไตรมาส
ที่ 2 ปี 2564 ร้อยละ 12.27 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ร้อยละ 7.54 (%YoY)
การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่าจากการส่งออก 48.89 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.25 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่ 2 ปี 2564 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ
7.67 โดยลดลงจากตลาดเมียนมา และกัมพูชา ร้อยละ
41.10 และ 26.72 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดค่อนข้างมาก
ปริมาณอุตสาหกรรการผลิต....ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560......เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559เป็นผลจาก.
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่าย
ปรับตัวลดลงจากภาวะน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่และเป็นช่วงฤดูฝน ส่วนมูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาด
ส่งออกหลักยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
26
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิตและจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ดัชนีผลผลิตขยายตัว ร้อยละ 9.43 (%YoY) ปัจจัยหลักเนื่องจาก
ฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับ
ได้รับแรงส่งจากตลาดคู่ค้าสำคัญฟื้นตัว ในขณะที่ผ้าผืนและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 15.31 และ 2.20 (%YoY) จากการบริโภคในประเทศ
ชะลอตัว แม้การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ในตลาดสำคัญอย่างจีน
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 2
ปี 2564 พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ชะลอตัว ร้อยละ 5.55 (%QoQ) โดยเฉพาะ
กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ ในขณะที่ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัว ร้อยละ 12.50 และ
9.01 (%QoQ) ผลกระทบจากการระบาดระลอกล่าสุด
การจำหน่ายในประเทศของ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ขยายตัว
ร้อยละ 8.24 6.50 และ 5.50 (%YoY) จากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์ระบาด ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัวในตลาด
จีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมเริ่มฟื้นตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมี
มูลค่า 1,611.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.10 (%YoY) หากพิจารณากลุ่ม
สินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,055.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 20.05
กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 555.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 6.75 เนื่องจาก
ฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดฯ แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาด
คลี่คลายในประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวหลังอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูง ทำให้การ
ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น การส่งออกจึงเพิ่มขึ้นในตลาดสำคัญ
อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพยุโรป และจีน
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,257.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัว ร้อยละ 26.61 (%YoY) ในกลุ่มด้ายและเส้นใย และผ้าผืน ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำ
ในปีก่อน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชะลอตัวจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และมาตรการกาศยกระดับ
การล็อกดาวน์
แนวโน้มไตรมาสที่ 4 ปี 2564
ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอจะขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน
ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มการชะลอตัวลดลง จากนโยบายการเปิดประเทศซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศให้ดีขึ้น ประกอบกับประเทศคู่ค้า
สำคัญอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป ฟื้นตัว ทั้งนี้ต้องติดตามผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานในจีน ส่งผลให้วัตถุดิบอย่างเส้นด้ายและเส้นใย
โพลิเอสเตอร์ปรับราคาขึ้น และเริ่มขาดแคลน กระทบต่อการผลิตเสื้อผ้า ชุดยูนิฟอร์ม ทำให้ผู้ประกอบการเลื่อนการผลิต ในขณะที่คำสั่งซื้อล่วงหน้ายังมี
ไม่มาก เนื่องจากความไม่มั่นใจต่อเวลาในการรับมอบสินค้า
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกลุ่มสิ่งทอขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากฐานที่ต่ำในปีก่อน และตลาดสำคัญ
ฟื้นตัว เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป ในขณะที่กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม การผลิตชะลอตัวจากกำลังซื้อในประเทศ แม้การตลาดส่งออกฟื้นตัว
27
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้
ในประเทศ (ล้านชิ้น)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 3 ปี 2564 มีจำนวน 2.42
ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.59 แต่เมื่อเปรียบเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 0.41 จากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ
การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 3 ปี 2564
มีจำนวน 0.29 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 9.38 และ 12.12 จาก
ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เป็น
ผลจากมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศเกิดการชะลอตัว
? การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 3 ปี 2564 มีมูลค่ารวม
1,092.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 และ 30.10
จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และ
ผล ต ภัณฑ์แผ่นไม้ม มูลค่า 305.16 42.27 แล 745.37
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.56 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.26 และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์
แผ่นไม้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.23 ทั้งนี้ในภาพรวมมูลค่าการ
ส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปรับเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สาเหตุ
จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศ
ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทย
แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการผลิตเพื่อ
ตอบสนองความต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดการณ์
ได้ว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวจากแนวโน้มการระบาดในประเทศที่เริ่มชะลอตัว
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนมีมติเห็นชอบ โครงการธนาคาร
สีเขียว (Green Bank) เพื่อส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจและใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ พร้อมทั้งเร่งดำเนินการส่งเสริมให้
เกษตรกรและประชาชนปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนที่ดินตนเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทรัพย์สิน สร้างหลักประกันให้กับครอบครัว
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้อีกด้วย
2.41 2.61 2.75 2.51 2.42
0.33 0.30 0.35 0.32 0.29
0
1
2
3
4
Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021 Q2 2021 Q3 2021
การผลิต การจำหน่ายในประเทศ
839.95 937.28 994.26 1,062.77 1,092.80
0
200
400
600
800
1,000
1,200
1,400
Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021 Q2 2021 Q3 2021
เครอ?? งเรือนและชน?? ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม
ไมแ ละผลิตภัณฑ์แผ่นไม มูลค่ารวม
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาส 3 ปี 2564 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก
การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ มีปริมาณ
ลดลง ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของ
ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทย
28
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีปริมาณ 13,372.97 ตัน
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.83 โดยเป็นการ
ชะลอตัวของการผลิตยาเม็ดและยาผง ซึ่งปรับตัวลดลงร้อยละ
6.14 และ 56.51 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 11,060.86 ตัน
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.22 โดยเป็นการ
ขยายตัวของการจำหน่ายยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ยาครีม และ
ยาผง ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.15 10.69 34.45 21.62 และ
34.33 ตามลำดับ ในภาพรวมตลาดยาในประเทศมีการขยายตัว
ที่ดี เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชน
ตื่นตัวและซื้อยาบางชนิดเพื่อกักตุนไว้ใช้มากขึ้น
การส่งออกยา ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 96.40 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.31 โดย
เป็นการหดตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ และลาว
ในส่วนของการนำเข้ายามีมูลค่า 589.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.41 โดยเป็นการ
นำเข้ายาจากอินเดีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
เพิ่มขึ้น ซึ่งการนำเข้ายาจากอินเดียในไตรมาสนี้ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
กว่าร้อยละ 132 จึงเป็นที่น่าจับตามอง เนื่องจากอาจส่งผล
กระทบต่อผู้ประกอบการไทยในระยะต่อไปได้
แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
การผลิตยาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.31 ตามแนวโน้ม
การขยายตัวที่ดีของตลาดยาในประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 3.34 โดยเฉพาะในตลาดเวียดนาม เมียนมา
ฟิลิปปินส์ และลาว ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการใช้ยาจากไทยลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา
รัฐบาลไทยได้ลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้า และสัญญาการจัดซื้อวัคซีน กับบริษัท
AstraZeneca จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาชีววัตถุชั้นนำของโลก โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ผู้ผลิตยาชีววัตถุรายใหญ่
ของไทยได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากแอสตร้าเซนเนก้า และสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าว
ออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ตามกำหนด ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แห่งแรกของภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรรวมถึงการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมการผลิตยาของไทย ซึ่งจะเป็น
ส่วนสำคัญในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจรของอาเซียนต่อไป
0
5,000
10,000
15,000
Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021 Q2 2021 Q3 2021
การผลิต การจำหน่ายในประเทศ
0
200
400
600
800
Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021 Q2 2021 Q3 2021
การส่งออก การนำเขา
ปริมาณการผลิตยาไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่มี
ปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส ตามความต้องการใช้ยาที่ปรับตัวสูงขึ้น
ในส่วนของการส่งออกชะลอตัวลงจากการหดตัวของตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและเมียนมาเป็นหลัก
29
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 0.50 ล้านตัน 14.54 ล้านเส้น
และ 7,771.03 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มีปริมาณ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.70 และ 1.53 ตามลำดับ เนื่องจากตลาด
ต่างประเทศมีการขยายตัวที่ดี ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่
การผลิตถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ 1.36 จากการระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงงาน ประกอบกับการชะลอตัวของ
ตลาดส่งออก
การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีจำนวน 0.12 ล้านตัน 10.60 ล้านเส้น
และ 781.23 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์
มีปริมาณลดลงร้อยละ 4.42 และ 1.88 ตามลำดับ ตามความ
ต้องการใช้ของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ลดลง ในขณะที่
การจำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.88 เนื่องจาก
มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีมูลค่า 1,341.84 1,645.89 และ 664.80
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 99.49 และ 5.84 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออก
ถุงมือยางลดลงร้อยละ 1.95
แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.31 ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วน
ของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.17 เนื่องจากมีประเทศคู่แข่งทางการค้าเพิ่มขึ้น และไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคา
ได้ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ยางแปรรูปขั้นปฐมของตลาดทั้งใน
และต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น
6,000
8,000
10,000
0
5
10
15
20
Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021 Q2 2021 Q3 2021
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม (ลา นตัน) ยางรถยนต์ (ลา นเสน้ )
ถุงมือยาง (ลา นชน?? )
1.13
31.75
47.06
81.79
25.70
0.00
20.00
40.00
60.00
80.00
100.00
0
500
1,000
1,500
2,000
Q3 2020 Q4 2020 Q1 2021 Q2 2021 Q3 2021
ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต์
ถุงมือยาง อัตราการขยายตวั (YOY)
ปริมาณการผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวที่ดีของตลาดต่างประเทศ การผลิต
ถุงมือยางชะลอตัวลงจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงงาน ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดส่งออก สำหรับการผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐมขยายตัวจากการส่งออกไปยังตลาดจีนเป็นหลัก
30
อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
การผลิต การส่งออก การนำเข้า
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
* รวมถึงกระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก
การผลิต ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.16 การผลิต รองเท้ามีดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.77 และ กระเป๋าเดินทางลดลงร้อยละ 44.26 จากการ จำหน่ายในประเทศที่ลดลง การส่งออก-นำเข้า การส่งออก ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ หนังและผลิตภัณฑ์หนัง ฟอกและหนังอัด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และ รองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.63 43.49 และ 5.93 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์ในหลายประเทศ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลงและ หลายประเทศได้เร่งการฉีดวัคซีนส่งผลให้ประชาชน มั่นใจมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก ฮ่องกง และจีน การนำเข้า ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนังดิบและหนัง ฟอกมีมูลค่า 272.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.80 กระเป๋ามีมูลค่า 89.90 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.89 และ รองเท้ามีมูลค่า 104.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.17 ตามลำดับ แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 4 ปี 2564 เทียบกับปีก่อน คาดว่าการฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีแนวโน้มดีขึ้น ตอบรับการส่งออกที่เริ่มขยายตัว สำหรับการผลิตกระเป๋าและรองเท้า ยังมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศลดลง หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า การผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้าดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์การส่งออก คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปีก่อนเนื่องจากฐานต่ำ และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่หลายประเทศสามารถจัดการปัญหา การระบาด โดยการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ ส่งผลให้เศรษฐกิจยังสามารถขับเคลื่อนได้บ้าง อีกทั้งมีการเร่งฉีดวัคซีน จึงส่งผลต่อความ เชื่อมั่น 82.20 80.46 110.06 124.21 116.63 78.55 85.97 47.22 44.99 43.78 59.85 62.79 75.00 68.94 62.11 40.00 60.00 80.00 100.00 120.00 140.00 160.00 Q3/2563 Q4/2563 Q1/2564 Q2/2564 Q3/2564 ดัชนีผลผลิต การฟอกและตกแต่งหนงั ฟอก การผลิตกระเป๋ เดนิ ทาง* การผลติ รองเท้า 0.00 50.00 100.00 150.00 200.00 250.00 300.00 Q3/2563 Q4/2563 Q1/2564 Q2/2564 Q3/2564 มูลค่าการส่งออก การนำเข้า การส่งออก เครอ?? งใชส้ หรับเดินทาง การนำเขา กระเป๋ การส่งออก รองเทา และชน?? ส่วน การนำเขา รองเทา การส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด การนำเขา หนังดิบและหนังฟอก ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก และการผลิตรองเท้า มีการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วโลกได้เร่งการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน จึงทำให้ผู้บริโภคคลายความกังวลและมีการใช้จ่าย จึงส่งผลต่อภาพรวม ทางเศรษฐกิจ 31 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์ การผลิต การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.94 เนื่องจากการผลิต เพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ การจำหน่าย ก ร จ ห น ย อ ญ ม ณ แ ล เ ค ร อ ง ป ร ดับ ในไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ(%YOY) ลดลงร้อยละ 4.45 ลดลงที่หมวดเครื่องประดับเพชร พลอยและโลหะมีค่า ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ สร้อย และจี้ ลดลงร้อยละ 20.49 และ 8.99 เนื่องจาก สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมี ความรุนแรง ส่งผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภค การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) มีมูลค่ารวม 1,527 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.40 จากมูลค่าการส่งออก เพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.21 84.21 30.01 และ 38.04 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออก สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง กัมพูชาและ อินเดีย แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและ เครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 2,703 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 55.24 จากมูลค่า การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่ลดลงร้อยละ 76.08 76.29 77.95 82.71 80.20 85.32 78.22 79.64 70.92 70.22 74.75 40.00 60.00 80.00 100.00 120.00 Q3/63 Q4/63 Q1/64 Q2/64 Q3/64 ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า 1,136 1,507 1,357 1,399 1,527 6,053 2,082 1,806 2,690 2,703 - 2,000 4,000 6,000 8,000 Q3/63 Q4/63 Q1/64 Q2/64 Q3/64 มูลค่าการส่งออก (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไม่รวมทองคำรวมทองคำ ไตรมาส 3 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น(ไม่รวมทอง) จากการที่ทุกประเทศได้เร่งการฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสโควิดให้ประชาชนทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนในประเทศภาครัฐมีมาตรการ ส่งเสริมและเยียวยาประชาชนต่อเนื่อง ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปรับตัวดีขึ้น แม้มีการระบาดรอบใหม่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2564 การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 4 ปี 2564 คาดว่ายังมีทิศทางที่ปรับตัวลงลดอีก เนื่องจาก สถานการณ์ทางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตามแนวทางการการเร่งฉีดวัคซีน มีแนวโน้มที่จะเพิ่มเข็มที่ 3 เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และรองรับมาตรการที่รัฐบาลประกาศเปิดประเทศในเดือน พฤศจิกายน ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น 32 อุตสาหกรรมอาหาร แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562 ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ. ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 91.3 หดตัวร้อยละ 1.0 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าอาหาร ที่ปรับตัวลดลง เช่น ปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ 5.1 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่สุก ปรุงรส หดตัวร้อยละ 26.1 และเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น หดตัวร้อยละ 8.2 รองมาคือ ประมง หดตัวร้อยละ 7.5 จากสินค้าสำคัญคือ ทูน่ากระป๋อง หดตัว ร้อยละ 21.5 เนื่องจากมีการระบาดของโควิด-19 กับกลุ่มแรงงานในโรงงาน อาหาร ส่งผลให้โรงงานบางแห่งต้องปิดชั่วคราว หรือปิดไลน์ผลิตบางส่วน น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 4.7 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หดตัว ร้อยละ 12.2 เนื่องจากวัตถุดิบปริมาณผลผลิตปาล์มลดลง และผักผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 2.2 จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้กระป๋องอื่นๆ หดตัวร้อยละ 41.4 และข้าวโพดหวานกระป๋อง หดตัวร้อยละ 32.5 การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีปริมาณ 56,070.37 พันตัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภคในประเทศลดลง ได้แก่ ผักผลไม้ แปรรูป ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.1 จากผลไม้กระป๋องอื่นๆ ข้าวโพดกระป๋อง และผักผลไม้แช่แข็ง รองลงมาคือ น้ำมันปาล์ม ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.1 จากน้ำมัน ปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำมันปาล์มดิบ ปศุสัตว์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.8 จากเนื้อไก่ สุกปรุงรส และเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น และประมง ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.6 จากทูน่ากระป๋อง การส งออก ไต รม ส ที่ 3 ปี 2564 มีม ล ค 8,4 3 4 . 6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน จากสินค้าสำคัญ เช่น ไขมันและน้ำมันจากพืช และสัตว์ เนื่องจากการที่อินเดียลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์ม เพื่อลด ภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคจากราคาน้ำมันปาล์มภายในประเทศ ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาเลเซียและอินโดนีเซียซึ่งเป็น ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน ในภาคการผลิต รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นที่ ต้องการในตลาดสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และเอทานอล ผัก ผลไม้ สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพเป็นที่ ยอมรับในมาตรฐานระดับโลก อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากตลาดอาหาร สัตว์เลี้ยงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามความนิยมในการเลี้ยงสัตว์ ทั่วโลก ประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาท และข้าว เนื่องจาก ราคาข้าวปรับลดลงมาอยู่ในระดับที่แข่งขันกับอินเดียและเวียดนาม การนำเข ไตรมาสท 3 ป 2564 มีม ลค 4,210.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.2 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้ากากพืชน้ำมัน เพื่อรองรับอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ รองลงมาคือ เมล็ดพืชน้ำมัน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมน้ำมัน พืช และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 คาดว่า ดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและ การค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีปัจจัยบวก จากเงินบาทอ่อนค่า การคลายมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ รวมถึง การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เพื่อ กระตุ้นการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการ ส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของโควิดรอบใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการผลิตและทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการระบาดของ โควิด-19 กับกลุ่มแรงงานในโรงงานอาหาร ส่งผลให้โรงงานบางแห่งต้องปิดชั่วคราว หรือปิดไลน์ผลิตบางส่วน โดยดัชนีผลผลิตสินค้าอาหารที่หดตัว ได้แก่ เนื้อไก่สุกปรุงรส เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ทูน่ากระป๋อง น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ผลไม้กระป๋องอื่นๆ และข้าวโพดกระป๋อง สำหรับมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และข้าว 0 20 40 60 80 100 120 140 0 10,000 20,000 30,000 40,000 50,000 60,000 70,000 ดัช นีผลผ ลิต จำหน่าย ส่งออก แล นำเข้า อุตส ห กรรม อาห ร ไตรมาส 3 ปี 2564 ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นำเข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) จำหน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI) ปริมาณจำหน่าย (พันตัน) มูลค่าส่งออก/นำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ดัชนีผลผลิต (MPI) 33 รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์ ? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2564 ? อุตสาหกรรมรายสาขา กว. 0-2430-6806 ? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กร. 1 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมไฟฟ้า กร. 1 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กร. 1 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ กร. 1 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กร. 1 กร. 1 0-2430-6804 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมพลาสติก กร. 1 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กร. 1 0-2430-6804 ? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมเซรามิก กร .2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมยา กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กร. 2 0-2430-6805 ? อุตสาหกรรมอาหาร กร. 2 0-2430-6805 กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม