1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
Indicators 2563 2564 2563 2564
%YoY Year Year ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
MPI -9.3 5.9 -2.8 -2.0 -1.4 5.9 18.0 25.7 18.3 3.9 -4.7 0.3 3.0 4.9 6.8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัว
ร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มขยายตัวในหลายสินค้า
หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกันยายน การผลิตขยายตัวร้อยละ
0.3 เดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 3.0 และเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 4.9
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกันยายน เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 9.2 เดือนตุลาคม
ขยายตัวร้อยละ 3.0 และเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 3.4
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 9.15 ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นหลัก ด้วยผลของเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
หนุนให้กลุ่มประเทศคู่ค้ามีความต้องการรถยนต์มากขึ้น
? การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.54 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและ
การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว หลังประชาชนได้รับวัคซีนในอัตราสูง ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น
ความต้องการน้ำมันขนส่งและเดินทางจึงเพิ่มสูงตาม
? น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 31.52 จากการเปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อนและมีจำนวนโรงงานที่เริ่มเปิดหีบ
มากกว่าปีก่อน รวมถึงสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้
มีมากกว่า
? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 14.24 ตามความต้องการใช้ในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง
เพื่อนำไปใช้ในกลุ่มสินค้าในชีวิตประจำวันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
? ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 16.08 ตามการขยายตัวของตลาดส่งออก
ที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวและมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น รวมถึงขยายตัวตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรม
ต่อเนื่อง
Indicators 2563 2564
%MoM ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
MPI -0.7 6.9 -3.1 10.2 -16.5 9.7 -2.1 -8.1 --3.5 9.2 3.0 3.4 1.1
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนธันวาคม 2564
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนธันวาคม 2564
? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่า 1,591.3
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องกังหันไอพ่นและ
ส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือ
พลาสติก เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่า 9,214.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเคมีภัณฑ์ประเภท
เคมีภัณฑ์อินทรีย์และเม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 195 โรงงาน ลดลง
จากเดือนพฤศจิกายน 2564 ร้อยละ 6.7 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.0
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่ารวม
11,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2564 ร้อยละ 13.61 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือน
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.61 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำ
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผสม
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกัน หรือการผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่น จำนวน 14 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำพริกป่น พริกไทยป่น
หรือเครื่องแกง จำนวนเงินทุน 1,541 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน
ความร้อน จำนวนเงินทุน 1,300 ล้านบาท
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนธันวาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 65 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน
พฤศจิกายน 2564 ร้อยละ 14.04 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.56
(%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่ารวม 2,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน
พฤศจิกายน 2564 ร้อยละ 8.01 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 144.94
(%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 7 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ
หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ จำนวน 5 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนธันวาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม
ผลิต ประกอบ หรือซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ ตู้เย็นหรือเครื่องประกอบตู้เย็น มูลค่าเงินลงทุน 747 ล้านบาท รองลงมา
คือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่าเงินลงทุน 522
ล้านบาท?
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนธันวาคม 2564
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต เดือนธันวาคม 2564 ขยายตัว (%YoY)
ร้อยละ 11.7 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้
1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 37.0 จากน้ำมันปาล์มดิบ และ
น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งเป็น
ผู้ผลิตรายใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้
ปริมาณผลผลิตปาล์มที่ออกสู่ตลาดโลกลดลง ทำให้ประเทศไทย
มีคำสั่งซื้อและส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น ประกอบกับ
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มมากขึ้นตามการทยอย
ฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 31.5
จากน้ำตาลทรายดิบ เนื่องจากเริ่มเปิดหีบเร็วกว่าปีที่ผ่านมา
ประกอบกับผลผลิตปี 2564/2565 มีปริมาณเพิ่มเมื่อเทียบกับ
ปีก่อน 3) ผักผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 14.4 จากสินค้าสำคัญ
คือ ข้าวโพดหวานกระป๋อง เนื่องจากความต้องการบริโภคของ
ตลาดในประเทศ สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากการผลิตสำรอง
เป็นสินค้าคงคลัง และผักผลไม้แช่แข็ง เนื่องจากความต้องการ
บริโภคในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับการผลิตสำรองเป็นสินค้า
คงคลัง 4) ประมง ขยายตัวร้อยละ 12.4 จาก ปลาแช่แข็ง และกุ้ง
แช่แข็ง เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งตลาดในและต่างประเทศ
ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน เกิดการระบาดของโควิด-19
รอบ 2 ส่งผลให้มีการชะลอคำสั่งซื้อ 5) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ
10.7 จากสินค้าไส้กรอก เบคอน เนื่องจากมีการผ่อนคลาย
มาตรการต่าง ๆ ทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาด และ
เนื้อไก่สุกปรุงรส เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในและ
ต่างประเทศ ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออก
ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และ 6) ) มันสำปะหลัง
ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากความ
ต้องการบริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่ง
เป็นตลาดส่งออกหลัก ได้นำเข้าแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็น
สินค้าทดแทน ในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดยังคงอยู่ในระดับที่สูง
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า
อาหารในประเทศเดือนธันวาคม 2564 หดตัวเล็กน้อย (%YoY) ร้อยละ
1.0 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว มีดังนี้ 1) ผักผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ
3.2 จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ 2) ปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ
2.9 จากสินค้าสำคัญคือเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น 3) น้ำมันพืช หดตัว
ร้อยละ 2.4 จากสินค้าสำคัญ คือ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ และ
4) ผลิตภัณฑ์นม หดตัวร้อยละ 0.6 จากสินค้าสำคัญคือนมพร้อมดื่ม
ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนธันวาคม
2564 มีมูลค่า 2,813.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.4
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าวและธัญพืช
จากสินค้าสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาด
หลักได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล และแป้งมันสำปะหลัง
เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 2) ผักผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้สด
แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพ
เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับโลก โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีคือ
จีนและอเมริกา และ 3) น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ
น้ำตาลทราย โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือน
มกราคม 2565 ในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการระบาดของโควิด-19
เป็นวงกว้างทำให้มีข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้แม้ว่า
การผลิตในช่วงเดือน ม.ค. 65 จะได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มราคาวัตถุดิบ
ในการผลิตสินค้าอาหาร ซึ่งมีต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับมีการ
ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน แต่คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะทยอย
คลี่คลายอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาท
0
50
100
150
200
250
300
350
ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นธนั วาคม 2564
อุตสาหกรรมอาหาร เนื??อไก่แช่แข็งและแช่เย็น
ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล
0
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
ล้านเหรียญ
สหรฐั ฯ
มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นธนั วาคม 2564
อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น
ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
สายเคเบิ้ล พัดล มตามบ้าน มอเตอร์ไฟ ฟ้า หม้อแป ลงไฟ ฟ้า และ
เครื่องปรับอากาศ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.4, 34.7, 28.5, 23.7 และ 4.2
ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า
เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์ และหม้อหุงข้าว โดยลดลงร้อยละ
34.3, 23.5, 22.1, 19.4, 6.8 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการ
สินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,579.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 129.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.2 ในตลาดเมียนมา และ ญี่ปุ่น
หม้อหุงข้าวมีมูลค่า 57.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.8 ในตลาด
สหรัฐอเมริกา และแคนนาดา พัดลมมีมูลค่า 42.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 38.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน เตาอบไมโครเวฟมีมูลค่า 112.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 จากตลาดสหรัฐอเมริกา และ จีน
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีมูลค่า 579.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 25.8 จากตลาดสหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย คอมเพรสเซอร์มีมูลค่า
80.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากตลาดญี่ปุ่น และ อินเดีย
ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบมีมูลค่า 207.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.2 จากตลาด สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เวียดนาม และหม้อแปลงไฟฟ้า
มีมูลค่า 207.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากตลาด ญี่ปุ่น และ
สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เครื่องตัดต่อและป้องกัน
วงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.4 ในตลาดจีน
และ สหรัฐอเมริกา และเครื่องซักผ้ามีมูลค่า 117.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 8.5 ในตลาดเวียดนาม และออสเตรเลีย
?คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2565 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่า
จะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB, Semiconductor devices Transistors, IC, PCBA
และ HDD โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4, 17.2, 12.3, 1.1 และ 0.3 ตามลำดับ
เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer โดยลดลงร้อยละ 14.1
เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,224.8 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย
สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD มีมูลค่า 1,494.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9 ในตลาด สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และ จีน อุปกรณ์กึ่งตัวนำ
ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 248.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
16.9 ในตลาด สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และ ญี่ปุ่น แผงวงจรไฟฟ้ามีมูลค่า 766.6
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ในตลาดสิงคโปร์ และ จีน และวงจร
พิมพ์มีมูลค่า 139.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในตลาด
สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และ จีน
?คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2565 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.0-6.0 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์
ในการผลิตสินค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ?
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
143,073
148,118 155,200
162,515
104,355
140,168
134,245
123,163
104,144
140,038
154,038
165,353
154,368
0
20, 000
40, 000
60, 000
80, 000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ธ.ค. 63 ม.ค. 64 ก.พ. 64 ม. ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 ม. ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 ธ.ค. 64
คนั ข้อมลู รายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์
ปรมิ ณการจ ำหน่าย ปรมิ ณการส่งออก ปรมิ ณการผลติ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ก รผ ลิต ร ถ ย น ต์ ใน เดือ น ธัน ว ค ม ปี 2 5 6 4
มีจำนวน 154,368 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2564
ร้อยละ 6.64 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 7.89 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน
และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนธันวาคม
ปี 2564 มีจำนวน 86,145 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน
ปี 2564 ร้อยละ 20.12 (%MoM) เนื่องจากรัฐบาลได้ผ่อนคลายการ
ล็อกดาวน์และมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
ทำให้ประชาชนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงการจัดงาน
มหกรรมยานยนต์ที่มียอดจอง 31,583 คัน มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 17.24 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง
และรถยนต์กระบะ 1 ตัน
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2564 มีจำนวน
101,307 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ร้อยละ 2.51
(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 47.93
(%YoY) เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว
มากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ได้แก่ เอเชีย โอเชียเนีย
ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและใต้
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
ในเดือนมกราคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม
ปี 2564 เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดส่งออกและตลาด
ในประเทศ?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
159,099
165,874
168,127
182,359
131,427
183,760
173,721
83,690 80,474
110,017
144,844
188,493
167,823
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ธ.ค.63 ม.ค.64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 ธ.ค. 64
คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์
ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2564
มีจำนวน 167,823 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2564
ร้อยละ 10.97 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 5.48 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์
แบบอเนกประสงค์
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม
ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 145,343 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน
พฤศจิกายน ปี 2564 ร้อยละ 0.48 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.36 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250
ซีซี และ 251-399 ซีซี
ก รส่งออก รถ จัก รยาน ยน ต์ ใน เดือน ธัน วาค ม
ปี 2564 มีจำนวน 36,078 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน
ปี 2564 ร้อยละ 4.78 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 9.13 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์
สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนมกราคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2564
เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดส่งออกและตลาดในประเทศ?
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.99 ตามความต้องการใช้ของ
ตลาดต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 ตามการขยายตัว
ของตลาดส่งออก
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20 ตามการขยายตัวที่ดี
ของตลาดในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 6.05 ตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.02 ตามการชะลอตัวของ
ตลาด Replacement
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88 ตามความต้องการ
ใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.65 จากการขยายตัวของ
การส่งออกยางแท่งไปยังจีนและสหรัฐอเมริกา และการขยายตัว
ของการส่งออกน้ำยางข้นไปยังจีน
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.28 ตามการ
ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 46.91 ตามการชะลอตัว
ของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2565
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มความต้องการใช้
ของตลาดจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ในส่วนของการผลิตยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวจาก
เดือนก่อนตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวลง
เล็กน้อยต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับการผลิตถุงมือยางคาดว่า
จะขยายตัวดีขึ้น ตามคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น
ต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดจีน
สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางในประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว มีแนวโน้มการขยายตัว
ที่ดี สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นจาก
แนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ในส่วนของการ
ส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ตามแนวโน้มการชะลอของตลาดส่งออกที่เริ่มส่งสัญญานตั้งแต่
เดือนสิงหาคม 2564 เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาจีนมีการพัฒนา
อุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศ ทำให้
กลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่อีกแห่ง
ของโลก โดยประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
หลังจากนี้ คือ จีนมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสูงกว่าไทย
ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้มียอดคำสั่งซื้อ
ที่สม่ำเสมอและรักษาส่วนแบ่งในตลาดให้ได้มากที่สุด
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนธันวาคม 2564 หดตัวร้อยละ 0.10
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัว
ในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว
และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 12.70 กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อ
พลาสติก หดตัวร้อยละ 10.93 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น
หดตัวร้อยละ 8.60
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนธันวาคม 2564 ค่าดัชนีการส่งสินค้า
หดตัวร้อยละ 1.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัว
ร้อยละ 22.58 กลุ่มผลิตภัณฑ์กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 9.54 และ
กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 8.89
การส่งออก เดือนธันวาคมปี 2564 มีมูลค่า 378.65
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 9.01 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น
กลุ่มผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) ขยายตัว
ร้อยละ 16.96 กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัว
ร้อยละ 16.43 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924)
ขยายตัวร้อยละ 15.66 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม
และอินโดนีเซีย
การนำเข้า เดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่า 446.69
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 4.34 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้า
ขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัว
ร้อยละ 49.18 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้นและผนัง (HS 3918)
ขยายตัวร้อยละ 23.42 และกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS
3917) ขยายตัวร้อยละ 16.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมกราคม 2565
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการผ่อนคลาย
มาตรการเพิ่มมากขึ้น ประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 และ 4
เพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นต่อวัคซีนดีขึ้น เศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศ
เริ่มฟื้นตัว ทำให้การส่งออกของไทยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไร
ก็ต ม ทิศ ท งราค น้ำมัน ดิบ มีแ น วโน้ม ป รับ ตัวสูงขึ้น
ตามทิศทางการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก การส่งออกสินค้า
ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีต้นทุน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนธันวาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 86.14
ขยายตัวร้อยละ 9.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย
กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายขยายตัวร้อยละ 14.47 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่
ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 282.93 ยาสระผม ขยายตัวร้อยละ
19.52 และแป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 12.99 สำหรับกลุ่ม
เคมีภัณ ฑ์ขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 0.62 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่
กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 8.24 และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 4.66
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ระดับ
89.48 ขยายตัวร้อยละ 0.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
ขยายตัวร้อยละ 3.37 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว คือยาสระผม
ขยายตัวร้อยละ 36.29 สบู่และเครื่องบำรุงผิว ขยายตัวร้อยละ
8.06 และแป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 2.63 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์
พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 7.27 โดยหดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์
เอทานอล ร้อยละ 19.67 คลอรีน ห ดตัวร้อยละ 3.42
กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 1.59
การส่งออก เดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออก
รวม 963.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.90 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า
การส่งออก 604.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 42.37
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 359.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 13.20 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 48.72 เคมีภัณฑ์อินทรีย์
ขยายตัวร้อยละ 42.29 และปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 27.59
การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดียและ
เวียดนาม
การนำเข้า เดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้า
รวม 1,763.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 38.63
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการนำเข้า 1,339.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว
ร้อยละ 49.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน
เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 423.90 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมกราคม 2565
คาดการณ์ว่าการส่งออกเคมีภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤติโควิด-19 ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้ม
อ่อนค่าเป็นปัจจัยในการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันด้านราคา
ให้กับสินค้าไทย ส่งผลให้เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มขยายตัว
เพิ่มมากขึ้น
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เดือนธันวาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 113.17 หรือขยายตัว
ร้อยละ 4.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.17 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้น ฐาน ได้แก่ Propylene ขยายตัวร้อยละ 10.15
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย
ได้แก่ ABS resin และ PP resin ขยายตัวร้อยละ 19.15 และ
6.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ109.91 ขยายตัว
ร้อยละ 7.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene และ Propylene ขยายตัว
ร้อย ละ 21.81 และ 21.47 เมื่อเทียบ กับ ช่วงเดีย วกัน
ของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin และ PE
resin ขย ย ตัวร้อย ล 6.38 แล 5.41 เมื่อเทีย บ กับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนธันวาคม ปี 2564 มีมูลค่า
1,221.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 29.48
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 0.36
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นการขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้น พื้น ฐาน เช่น Propylene แล Terephthalic Acid
เป็นต้น ร้อยละ 49.24 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย
เช่น PP resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 24.66
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า เดือนธันวาคม ปี 2564 มีมูลค่า
614.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 25.80
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.63 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน เช่น Vinyl Chloride เป็นต้น ร้อยละ 53.22
และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ
PP resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 18.54 จากระดับราคา
ที่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนมกราคม ปี 2565
คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้น เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น
ในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับราคา
น้ำมันดิบในตลาดโลก จากการขาดแคลนพลังงานในการผลิต
ไฟฟ้าในจีนและสหภาพยุโรปที่ต้องลดการใช้ถ่านหินและใช้
น้ำมันดิบทดแทน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์
ไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ตามไปด้วย
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2564
มีค่า 82.7 หดตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากชะลอการส่งมอบสินค้าตามความ
ต้องการของลูกค้า เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่าดัชนี
ผลผลิตหดตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก
ทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 82.6 หดตัวร้อยละ
11.1 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กลวด หดตัว
ร้อยละ 36.1 รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิด
รีดเย็น หดตัวร้อยละ 33.1 และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 10.2
ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 86.8 หดตัวร้อยละ 8.7 ผลิตภัณฑ์
ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัว
ร้อยละ 23.2 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัว
ร้อยละ 7.4 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม หดตัวร้อยละ 5.0
การบริโภคในประเทศ ในเดือนธันวาคม 2564
มีปริมาณ การบริโภค 1.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 3.3
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเหล็กทรงยาว
มีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 4.5 จากการ
บริโภคลวดเหล็ก ที่หดตัวร้อยละ 22.1 ขณะที่การบริโภค
เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 1.6
สำหรับเหล็กทรงแบนมีปริมาณการบริโภค 0.9 ล้านตัน
หดตัวร้อยละ 2.6 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม
หดตัวร้อยละ 49.2 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน หดตัว
ร้อยละ 47.6 และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น หดตัวร้อยละ 10.7
การนำเข้า ในเดือนธันวาคม 2564 มีปริมาณ
การนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาว
มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 18.0
จากการนำเข้าท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 159.8
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น
ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 74.2 (ประเทศหลัก
ที่ไทยนำเข้า คือ จีน และญี่ปุ่น) สำหรับเหล็กทรงแบน
มีปริมาณนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.6 เหล็กทรงแบน
ที่การนำเข้าหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน ชนิด Carbon
steel หดตัวร้อยละ 55.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าหลัก คือ
อินโดนีเซีย จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) รองลงมาคือ เหล็ก
แผ่นบางรีดเย็น ชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 22.2
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ
จีน) และเหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด Carbon steel P&O
หดตัวร้อยละ 16.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม
2565 คาดการณ์ว่า การผลิตใกล้เคียงกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการโครงการก่อสร้าง
พื้นฐานของภาครัฐและการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น ราคาสินค้าเหล็ก
ต่างประเทศ เพราะจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภค
ผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกลุ่มเส้นใยและผ้าผืน ขยายตัวต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 9 ขยายตัว ร้อยละ 14.74 และ 8.57 ปัจจัยหลัก
เพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องในตลาดหลัก อย่างจีน
ญี่ปุ่นและบังกลาเทศ ในขณะที่กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
เป็นเดือนที่ 3 โดยขยายตัวร้อยละ 15.63 รองรับการฟื้นตัว
ในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ฮ่องกง และ
สหราชอาณาจักร โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออก
สัดส่วน 1 ใน 3 ของการส่งออกจากเสื้อผ้ากีฬาสำหรับเด็กโต
ด้วยสหรัฐอเมริกาลดการนำเข้าสินค้าจากจีนลงจากผลพวงของ
สงครามการค้า ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อน จากการบริโภค
ในประเทศชะลอตัวจากการระบาดของโควิด-19
การจำหน่ายในประเทศ
กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 5.99 11.81 และ 5.16 เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน
ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกที่ขยายตัว
ในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ฮ่องกง
และสหราชอาณาจักร ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภค
ในประเทศเริ่มกลับมาเพื่อเตรียมตัวเฉลิมฉลองรับเทศกาลช่วงปีใหม่
และการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การส่งออก
กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นเดือนที่ 9 เนื่องจากประเทศคู่ค้า
สำคัญฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอเพิ่มขึ้นในตลาด
ญี่ปุ่น จีน บังกลาเทศ เวียดนาม และอินโดนีเซีย กลุ่มผ้าผืน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.76 ในตลาดบังกลาเทศ กัมพูชา จีน และญี่ปุ่น
และกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.69 ในตลาด
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2565
คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ประกอบกับ
การผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ น่าจะกระตุ้นความต้องการ
สินค้าเพื่อฉลองเทศกาลช่วงปีใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบ
อย่างค่าระวางเรือที่ยังคงแพง และผลกระทบจากปัญหาการ
ขาดแคลนแรงงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของ
อุตสาหกรรม
15
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2564
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนธันวาคม ปี 2564
มีจำนวน 6.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2564
ร้อยละ 8.10 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.47 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน
ธันวาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.16 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ร้อยละ 5.01
(%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
1.13 (%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนธันวาคม
ปี 2564 มีจำนวน 0.88 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน
ปี 2564 ร้อยละ 17.55 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 22.29 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลด
คำสั่งซื้อจากตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมา
ร้อยละ 98.61 95.12 และ 29.61 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนมกราคม ปี 2565 คาดว่าจะเริ่ม
ปรับตัวได้ดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเดินหน้า
ก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่หลังปีงบประมาณใหม่
ของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตาปัจจัยลบจากการระบาด
ของไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) ที่อาจเข้ามาเป็น
ตัวแปรกระทบต่อการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและตลาด
ส่งออก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม
ปี 2564 มีจ น วน 3.37 ล้าน ตัน เพิ่มขึ้นจ ก เดือน
พฤศจิกายนปี 2564 ร้อยละ 4.98 (%MoM) แต่ลดลงจาก
เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.9 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ในเดือนธันวาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.14 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ร้อยละ 5.04
(%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.72
(%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน
ธันวาคม ปี 2564 มีจำนวน 0.25 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจาก
เดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ร้อยละ 4.35 (%MoM) และลดลง
จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.01 (%YoY) เป็นผล
จากการปรับลดคำสั่งซื้อจากประเทศเมียนมา และกัมพูชา
ร้อยละ 29.75 และ 5.40 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2565 คาดว่า
จะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในปี 2565 ของภาครัฐ และการผ่อนคลายมาตรการ LTV
ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกอบกับการจัด
โปรโมชั่นของผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ทั้งนี้
ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด
สายพันธุ์ใหม่
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม