สศอ. ย้ำอุตฯ พันธุ์ไทยต้องไปโลด เร่งหารือผู้เกี่ยวข้อง เตรียมวางมาตรการกระตุ้นครั้งใหญ่ หวังผลปฏิบัติได้จริง พร้อมเป็นฐานหนุนดัชนีอุตฯ ขยายตัวแกร่ง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมไทยถือว่ามีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยสามารถอธิบายได้จากการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนแรกของปี 2551 ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัวได้ถึงร้อยละ 12.07 ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (IC และ Hard Disk Drive) เป็นแรงสนับสนุนหลัก
“เป้าหมายต่อไปจำเป็นต้องสนับสนุนและพัฒนาให้อุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ ขยายตัว เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ประกอบการไทยโดยแท้จริงตามแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ยังมีความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบในตลาดโลกอยู่และยังพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมของไทยได้อีกมาก ซึ่งสศอ.จะได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบข้อมูลในเชิงลึกทุกมิติ และเตรียมมาตรการสนับสนุน และเร่งผลักดันให้เกิดผลการพัฒนาในทางปฏิบัติโดยเร็ว” ดร. อรรชกา กล่าว
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 184.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 จาก 164.53 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 186.91 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.81 จาก 167.17 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 179.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.96 จาก 157.43 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 212.53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 จาก 191.95
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 118.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 จาก 115.36 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 160.80 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.35 จากระดับ 144.41 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 173.43 ลดลงร้อยละ 4.96 จาก 182.48 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.15 สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตยังเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมที่ยังมีทิศทางการขยายตัวที่ติดลบประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น
โดยอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง ในเดือนมกราคม ปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตหดตัวลง สอดคล้องกับการส่งออกที่หดตัวลงเช่นกันร้อยละ 21.26
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.54 โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ ในส่วนของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.13 อย่างไรก็ดีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุอื่นยังคงมีตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวดี อาทิ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากโลหะขยายตัวร้อยละ 50.48 แต่ก็ยังมีมูลค่าการส่งออกที่น้อยอยู่
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ภาวะการผลิตในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดร้อยละ 13.57 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 4.96 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) มี เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ร้อยละ 157.95 เนื่องจากมีปริมาณความต้องการจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดเดิมเพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงปีที่แล้วมีการชะลอการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นเดิม เพื่อเตรียมการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรป
อุตสาหกรรมการเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ ภาวะการผลิตในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.91 เนื่องจากผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวในภาวะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งการนำเข้าวัตถุดิบด้ายและเส้นใยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 43.2
อย่างไรก็ตามในภาพรวมของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของไทยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังขยายตัวร้อยละ 9.8 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่สหรัฐอเมริกา อาเซียน อียู และญี่ปุ่น ร้อยละ 2.1,16.0 ,15.8 และ 47.4 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการขยายตัวในตลาดสหรัฐอเมริกาค่อนข้างน้อย เนื่องจากปัญญาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญญาซัพไพร์ม ส่วนการขยายตัวที่สูงลิ่วในตลาดญี่ปุ่นเป็นผลมาจากการทำ FTA
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่มีทิศทางการปรับตัวลดลงแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมมากนัก เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึก และชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อให้มีขีดความสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมไทยถือว่ามีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยสามารถอธิบายได้จากการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนแรกของปี 2551 ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัวได้ถึงร้อยละ 12.07 ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (IC และ Hard Disk Drive) เป็นแรงสนับสนุนหลัก
“เป้าหมายต่อไปจำเป็นต้องสนับสนุนและพัฒนาให้อุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ ขยายตัว เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ประกอบการไทยโดยแท้จริงตามแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ยังมีความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบในตลาดโลกอยู่และยังพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมของไทยได้อีกมาก ซึ่งสศอ.จะได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบข้อมูลในเชิงลึกทุกมิติ และเตรียมมาตรการสนับสนุน และเร่งผลักดันให้เกิดผลการพัฒนาในทางปฏิบัติโดยเร็ว” ดร. อรรชกา กล่าว
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 184.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 จาก 164.53 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 186.91 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.81 จาก 167.17 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 179.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.96 จาก 157.43 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 212.53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 จาก 191.95
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 118.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 จาก 115.36 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 160.80 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.35 จากระดับ 144.41 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 173.43 ลดลงร้อยละ 4.96 จาก 182.48 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.15 สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตยังเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมที่ยังมีทิศทางการขยายตัวที่ติดลบประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น
โดยอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง ในเดือนมกราคม ปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตหดตัวลง สอดคล้องกับการส่งออกที่หดตัวลงเช่นกันร้อยละ 21.26
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.54 โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ ในส่วนของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.13 อย่างไรก็ดีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุอื่นยังคงมีตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวดี อาทิ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากโลหะขยายตัวร้อยละ 50.48 แต่ก็ยังมีมูลค่าการส่งออกที่น้อยอยู่
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ภาวะการผลิตในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดร้อยละ 13.57 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 4.96 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) มี เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ร้อยละ 157.95 เนื่องจากมีปริมาณความต้องการจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดเดิมเพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงปีที่แล้วมีการชะลอการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นเดิม เพื่อเตรียมการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรป
อุตสาหกรรมการเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ ภาวะการผลิตในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.91 เนื่องจากผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวในภาวะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งการนำเข้าวัตถุดิบด้ายและเส้นใยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 43.2
อย่างไรก็ตามในภาพรวมของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของไทยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังขยายตัวร้อยละ 9.8 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่สหรัฐอเมริกา อาเซียน อียู และญี่ปุ่น ร้อยละ 2.1,16.0 ,15.8 และ 47.4 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการขยายตัวในตลาดสหรัฐอเมริกาค่อนข้างน้อย เนื่องจากปัญญาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญญาซัพไพร์ม ส่วนการขยายตัวที่สูงลิ่วในตลาดญี่ปุ่นเป็นผลมาจากการทำ FTA
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมที่มีทิศทางการปรับตัวลดลงแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมมากนัก เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึก และชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อให้มีขีดความสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-