สศอ. ชู ‘ไทย’ ฮับอุตฯไบโอรีไฟเนอรี่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รับนโยบาย BCG Model

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 7, 2022 13:00 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สศอ. ชู ?ไทย? ฮับอุตฯไบโอรีไฟเนอรี่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รับนโยบาย BCG Model

สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สอดคล้องกับ BCG Model ของรัฐบาล สร้างโอกาสลงทุนผู้ประกอบการไทย รับความต้องการของตลาดโลกที่มีแนวโน้ม แตะ 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีก 10 ปีข้างหน้า

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ดาเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG Model ที่ภาครัฐให้การส่งเสริมสนับสนุนและมุ่งหน้าขับเคลื่อนเพื่อนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างและรูปแบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตจากภาคการเกษตรเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิต โดยเฉพาะพืชที่มีความสาคัญต่อภาคการเกษตรและความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย เช่น อ้อย มันสาปะหลัง และปาล์มน้ามัน ซึ่งจะต้องสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงของกระบวนการผลิตที่จาเป็นต่อการเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ในระยะยาว เข้าด้วยกันทั้งหมด ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้า กลางน้า และปลายน้า ภายใต้แนวคิดของระบบไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) ร่วมกับการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาดังกล่าวจะสามารถช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปและผลิตผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อันจะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาของสินค้าเกษตรภายในประเทศ เพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร ลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจของสังคมไทย ลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม ของประเทศ

ผลการศึกษาโครงการพบว่าผลิตภัณฑ์ชีวภาพเป้าหมายที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงที่สุดและควรที่จะพัฒนาเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ ได้แก่ 1) กรดอะมิโน ที่ใช้เป็นอาหารเสริมประเภทต่าง ๆ เช่น ทริโอนีน ทริพโทฟาน และไลซีน จากพืชที่ให้แป้งและน้าตาลอย่างอ้อยและมันสาปะหลัง และ 2) น้ามันหล่อลื่นชีวภาพ (Biolubricant) จากพืชที่ให้น้ามันอย่างปาล์มน้ามัน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในระดับรองลงมา ได้แก่ น้ามันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (BioTransformer oil) เมทิลเอสเทอร์ซัลโฟเนต (MES) และผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพอย่าง Bio Hydrogenated Diesel หรือ Green Diesel ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง มีแนวโน้มความต้องการและการเติบโตในตลาดโลกสูง รวมถึงมีราคาต่อหน่วยสูง ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสของภาครัฐและผู้ประกอบการไทยที่จะส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนหรือเอื้อให้เกิดการร่วมทุน เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและ ขยายผลในเชิงพาณิชย์

สาหรับมูลค่าผลิตภัณฑ์ไบโอรีไฟเนอรี่ในตลาดโลก คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9.41 ต่อปี ในช่วงปี 2561 - 2573 โดยในปี 2564 นั้น ผลิตภัณฑ์ไบโอรีไฟเนอรี่มี

มูลค่า 670,840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2573 คาดว่าผลิตภัณฑ์ไบโอรีไฟเนอรี่จะมีมูลค่าสูงถึง 1,734,510

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของมูลค่าตลาดเทคโนโลยีการผลิตสาหรับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่

ที่คาดว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10.43 ต่อปี ในช่วงดังกล่าว

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ