1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
Indicators 2563 2564 2564 2565
%YoY Year Year ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
MPI -9.5 5.9 -2.4 -1.2 5.8 18.2 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัว
ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัวในหลายสินค้า
หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนตุลาคม 2564 การผลิตขยายตัว
ร้อยละ 2.7 เดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 4.6 และเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 6.7
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงฃ05ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 2.9 เดือน
พฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 3.3 และเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 1.5
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมกราคม 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 9.21 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด
การเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้มากขึ้น
? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 16.76 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าในตลาดโลก
ที่เติบโตสูง
? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 5.10 จากสภาพเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการเปิดประเทศ
และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด หลังการเร่งฉีดวัคซีนในทุกจังหวัด
? ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ ขยายตัวร้อยละ 9.35 จากการผลิตยางแท่งที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะลูกค้าหลักจากจีน อเมริกา และญี่ปุ่น ที่มีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง
? เบียร์ ขยายตัวร้อยละ 24.74 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และการเปิด
ประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น
Indicators 2564 2565
%MoM ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
MPI 6.8 -3.0 10.3 -16.6 9.7 -2.0 -8.3 -3.6 9.3 2.9 3.3 1.5 2.1
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนมกราคม 2565
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 162 โรงงาน ลดลง
จากเดือนธันวาคม 2564 ร้อยละ 16.92 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.98
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2565 มีมูลค่ารวม 7,191
ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2564 ร้อยละ 38.51 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 65.79 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2565 คือ อุตสาหกรรมการทำ
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 16 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุด
หรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 15 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2565 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะ
ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวนเงินทุน 1,222 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย
หรือดิน จำนวนเงินทุน 660 ล้านบาท
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมกราคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 74 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน
ธันวาคม 2564 ร้อยละ 13.85 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.45 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมกราคม 2565 มีมูลค่ารวม 3,915 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม
2564 ร้อยละ 45.16 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 70.11 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2565 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 12 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 6 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมกราคม 2565 คือ อุตสาหกรรม
ผลิตเครื่องมือหรือเครื่องใช้เกี่ยวกับนัยน์ตาหรือการวัดสายตา เลนส์ มูลค่าเงินลงทุน 828 ล้านบาท รองลงมาคือ
อุตสาหกรรมการอบใบยาสูบให้แห้ง หรือการรูดก้านใบยาสูบ มูลค่าเงินลงทุน 709 ล้านบาท?
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมกราคม 2565
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต เดือนมกราคม 2565 ขยายตัว (%YoY)
ร้อยละ 3.5 เนื่องจากความต้องการสินค้าบางรายการอย่างต่อเนื่อง
โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม
ขยายตัวร้อยละ 24.4 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจาก
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในประเทศเพิ่มมากขึ้นตามการทยอย
ฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับอินโดนีเซียและ
มาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ยังคงขาดแคลนแรงงานในภาคการ
ผลิตจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตปาล์มที่ออกสู่
ตลาดโลกลดลง ทำให้ประเทศไทยมีคำสั่งซื้อและส่งออกน้ำมันปาล์ม
ดิบได้มากขึ้น 2) ประมง ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากเนื้อปลาบด
กุ้งแช่แข็ง และปลาแช่แข็ง เนื่องจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวรวมถึง
มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และอานิสงค์จากเนื้อหมูมีราคาสูง
ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าสัตว์น้ำมีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับ
ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และคิวเรือคลี่คลายกว่าปีที่ผ่านมา
3) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมัน
สำปะหลัง เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในและ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักมีความต้องการ
นำเข้าแป้งมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทน
แป้งข้าวโพดในช่วงที่มีราคาสูง 4) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 7.5
จากสินค้าไส้กรอก เบคอน เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ
ทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ และเนื้อไก่
สุกปรุงรส เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในและ
ต่างประเทศ ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก
ได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผล
ให้ร้านอาหารต้องปิดให้บริการ 5) ผักผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ
1.0 จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ เนื่องจากความต้องการ
บริโภคในตลาดต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น
อเมริกา และ 6) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากสินค้าสำคัญคือ
น้ำตาลทรายดิบ เนื่องจากปีนี้ผลผลิตอ้อยมีปริมาณมากกว่า
ปีการผลิตที่ผ่านมา
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์*
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า
อาหารในประเทศเดือนมกราคม 2565 หดตัวเล็กน้อย (%YoY) ร้อยละ
2.3 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น 1) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หดตัว
ร้อยละ 54.6 2) ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ หดร้อยละ 22.9 3) สับปะรด
กระป๋อง หดร้อยละ 14.8 4) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หดตัวร้อยละ 13.5
5) น้ำตาลทรายดิบ หดตัวร้อยละ 11.0
ตลาดส่งออก* ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนมกราคม
2565 มีมูลค่า 2,335.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.6
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าวและธัญพืช
จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าว เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผล
ให้ผู้นำเข้าในแถบแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง มีความต้องการ
บริโภคข้าวและกำลังซื้อมากขึ้น และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีน
ซึ่งเป็นตลาดหลักได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล และแป้งมัน
สำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 2) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ
ไก่แปรรูป โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ
เนเธอร์แลนด์ และ 3) อาหารทะเล จากสินค้าสำคัญคือ อาหารทะเล
แช่เย็นและแช่แข็ง โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น จีน และอเมริกา
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ใน
ระหว่างการปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ
2017 เป็นฉบับ 2022
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร
เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในภาพรวมจะใกล้เคียงกับดัชนีผลผลิตในช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน เนื่องจากการระบาดของโอมิครอน ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย
ประกอบกับการผลิตในช่วงเดือน ก.พ. 65 ยังคงได้รับผลกระทบจากการ
ปรับตัวเพิ่มราคาของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหาร ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งมี
ต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรม สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
0
50
100
150
200
250
300
350
ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นมกราคม 2565
อุตสาหกรรมอาหาร เนื??อไก่แช่แข็งและแช่เย็น
ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล
0
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
ล้านเหรียญ
สหรฐั ฯ
มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นมกราคม 2565
อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น
ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีดัชนี
ผลผลิตอยู่ที่ระดับ 102.6 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า สายเคเบิ้ล
เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว และตู้เย็น โดยลดลงร้อยละ 26.6, 17.1, 9.1,
3.8, 2.2 และ 0.3 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและ
คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระติก
น้ำร้อน พัดลมตามบ้าน มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และ
เตาอบไมโครเวฟ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3, 25.4, 22.6, 21.4, 12.2 และ 1.3
ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
เพิ่มขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า* คาดการณ์ว่ามีมูลค่า 2,329.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เช่น หม้อหุงข้าวมีมูลค่า 51.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
65.5 คอมเพรสเซอร์มีมูลค่า 84.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6
มอเตอร์ไฟฟ้ามีมูลค่า 70.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 พัดลม
มีมูลค่า 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และตู้เย็นมีมูลค่า 162.6
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ซึ่งขยายตัวในตลาด สหรัฐอเมริกา
อาเซียน และยุโรป
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ใน
ระหว่างการปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ
2017 เป็นฉบับ 2022
?คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-5.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์
โควิด-19?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
0
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
4,000
4,500
0
50
100
150
ม.ค.-64
ก.พ.-64
มี.ค.-64
เม.ย.-64
พ.ค.-64
มิ.ย.-64
ก.ค.-64
ส.ค.-64
ก.ย.-64
ต.ค.-64
พ.ย.-64
ธ.ค.-64
ม.ค.-65
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดัชนีผลผลิต
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิต
อยู่ที่ระดับ 96.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB, IC, PCBA และ
Semiconductor devices Transistors โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7, 17.4,
7.8 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศ
และต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ
Printer โดยลดลงร้อยละ 20.2 และ 2.0 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่าย
ในประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์* คาดการณ์ว่ามีมูลค่า 3,503.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 183.5
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 วงจรรวมมีมูลค่า 686.8 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และวงจรพิมพ์มีมูลค่า 134.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ซึ่งขยายตัวในตลาดจีน อาเซียน สหรัฐอเมริกา และ ยุโรป
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ในระหว่าง
การปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ
2022
?คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.0-8.0 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ใน
การผลิตอุปกรณ์ IoT และสินค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ?
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
148,118
155,200 162,515
104,355
140,168
134,245
123,163 104,144
140,038
154,038
165,353
154,368
151,747
0
20, 000
40, 000
60, 000
80, 000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ม.ค. 64 ก.พ. 64 ม. ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 ม. ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 ธ.ค. 64 ม.ค. 65
คนั ข้อมลู รายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์
ปรมิ ณการจ ำหน่าย ปรมิ ณการส่งออก ปรมิ ณการผลติ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2565 มีจำนวน
151,747 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 1.70
(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.45
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์
และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมกราคม ปี 2565
มีจำนวน 69,455 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 19.37
(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.81
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์
กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และ SUV
เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเยียวยาผู้ได้รับ
ผลกระทบจากโควิด-19 รวมทั้งมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์
และมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ
การส่งออก รถ ยน ต์ ใน เดือนม กราค ม ปี 256 5
มีจำนวน 69,833 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ
31.07 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
5.80 (%YoY) เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์
จากทั่วโลก โดยเป็นการลดลงในตลาดเอเชีย ตะวันออกกลาง
แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2564 เนื่องจาก แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์สงคราม
ระหว่างรัสเซียกับยูเครนต่อราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจโลก?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
165,874
168,127 182,359
131,427
183,760
173,721
83,690
80,474
110,017
144,844
188,493
167,823
169,171
0
20, 000
40, 000
60, 000
80, 000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ม.ค.64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 ธ.ค. 64 ม.ค. 65
คนั ข้อมลู รายเดือนอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์
ปริมาณการจำ หน่าย ปริมาณการส่งออก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2565
มีจำนวน 169,171 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม ปี 2564
ร้อยละ 0.80 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 1.99 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์
แบบอเนกประสงค์
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2565
มียอดจำหน่ายจำนวน 145,095 คัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือน
ธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 0.17 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.97 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250
ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2565
มีจำนวน 43,626 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ
20.92 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
69.70 (%YoY)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2564 เนื่องจาก แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดส่งออกและตลาด
ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์
สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนต่อราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจโลก?
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27 ตามอุปสงค์ความต้องการของ
ตลาดต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.35 จากความต้องการ
ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสารในประเทศที่ลดลง
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.70 ตามการขยายตัวที่ดี
ของตลาดในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 2.31 ตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.03 ตามการชะลอตัวของ
ตลาด Replacement
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.48 ตามความต้องการ
ใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคที่สูงขึ้น
การส่งออก*
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ประมาณการว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.51
จากการขยายตัวของการส่งออกยางแท่งไปตลาดจีน
เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา และการขยายตัวของการส่งออก
ยางแผ่น ไปตลาดจีน
ยางรถยนต์ ประมาณการว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ
12.15 จากการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาและ
เนเธอร์แลนด์
ถุงมือยาง ประมาณการว่าจะมีมูลค่าลดลงร้อยละ
36.63 จากการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์*
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2565
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวจากเดือนก่อนตามความ
ต้องการในตลาดจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการผลิตยางรถยนต์คาดว่าจะกลับมา
ขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
ต่างประเทศเป็นหลัก ขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ
คาดว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของตลาด
Replacement ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง
ในประเทศคาดว่าจะขยายตัวจากเดือนก่อน สาเหตุจากความ
ต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคที่สูงขึ้นมา
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ
ในตลาดจีน และสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกยางรถยนต์
คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาด
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง
คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงต่อเนื่องตามแนวโน้มความต้องการของ
ตลาดโลกที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวง
พาณิชย์อยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบรายงานตัวเลข
พิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ 2022
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม 2565 หดตัวร้อยละ 1.96
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย
กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ
17.11 กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 16.12
และเครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 5.52
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2565 ค่าดัชนีการส่งสินค้า
หดตัวร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 19.06
กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 17.62 กลุ่มผลิตภัณฑ์
ถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 3.44
การส่งออ ก เดือน ม กราค ม ปี มีมูล ค่า 353.03
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 1.83 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น
กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) ขยายตัว
ร้อยละ 13.51 กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และ
แถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ
25.83 และกลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ
9.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวใน
ตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และอินโดนีเซีย
การนำเข้า เดือนมกราคม 2565 มีมูลค่า 502.54
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 15.23 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว
เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ
48.11 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ
29.13 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัว
ร้อยละ 22.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกุมภาพันธ์ 2565
สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวี
ความรุนแรงขึ้นและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ
มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับ
น้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ใน
การผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม ปี 2565 อยู่ที่ระดับ
85.60 หดตัวร้อยละ 3.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นต้นหดตัวร้อยละ 5.81 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่
เอทานอล หดตัวร้อยละ 20.38 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
หดตัวร้อยละ 6.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ
35.24 น้ำ ย ป รับ ผ้า นุ่ม ห ด ตัว ร้อ ย ล 23.86 แ ล
สีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 12.46
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ระดับ
80.31 หดตัวร้อยละ 9.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ
13.76 ผลิตภัณฑ์ที่หดตัว คือ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 44.58
สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 24.75 และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัว
ร้อยละ 22.02 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ
4.41 โดยขยายตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ
5.57 กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 4.11
การส่งออก เดือนมกราคม 2565 มูลค่าการส่งออกรวม
858.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า
การส่งออก 534.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.46
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 324.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 5.09 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 40.88 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
ขยายตัวร้อยละ 28.26 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ
22.84 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น
เวียดนามและอินเดีย
การนำเข้า เดือนมกราคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า
รวม 1,724.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 31.42
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการนำเข้า 1,279.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว
ร้อยละ 40.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน
เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 445.35 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.95เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกุมภาพันธ์ 2565
คาดการณ์ว่าการส่งออกเคมีภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤติโควิด-19 อย่างไรก็ตามเคมีภัณฑ์
ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าต่าง ๆ มีต้นทุนวัตถุดิบ
ที่เพิ่มขึ้น การลงทุนของภาคเอกชนลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการ
คาดการณ์ว่ามีส่วนต่างกำไรน้อยลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น
ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและเลือกใช้จ่าย
เฉพาะที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 119.49 หรือขยายตัว
ร้อยละ 3.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 7.70 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PET
resin และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 8.17 และ 6.46 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 113.43 ขยายตัว
ร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 18.12 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS
resin และ PP resin ขยายตัวร้อยละ 18.28 และ 13.02
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก* เดือนมกราคม ปี 2565 มีมูลค่า
1,225.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 38.43 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.35
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้น พื้น ฐ น เช่น Propylene แ ล Terephthalic Acid
เป็นต้น ร้อยละ 40.42 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย
เช่น PP resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 25.02
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์*
การนำเข้า* เดือนมกราคม ปี 2565 มีมูลค่า
681.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 43.13
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ
10.95 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน เช่น Vinyl Chloride เป็นต้น ร้อยละ 58.42
และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ
PP resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 19.42 จากระดับราคา
ที่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวง
พาณิชย์อยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบรายงานตัวเลข
พิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ 2022
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565
คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น
ในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับราคา
น้ำมันดิบในตลาดโลก จากการขาดแคลนพลังงานในการผลิต
ไฟฟ้าในจีนและสหภาพยุโรปที่ต้องลดการใช้ถ่านหินและใช้
น้ำมันดิบทดแทน และสถานการณ์สงครามยูเครน-รัสเซีย
ที่ยืดเยื้อ ทำให้การผลิตและส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม 2565
มีค่า 92.2 หดตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากชะลอการส่งมอบสินค้าตามความ
ต้องการของลูกค้า เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่าดัชนี
ผลผลิตหดตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก
ทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 89.6 หดตัวร้อยละ
12.9 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม
หดตัวร้อยละ 39.2 รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
ชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 20.7 และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 12.0 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์
ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 95.2
หดตัวร้อยละ 19.2 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็ก
แผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 26.4 รองลงมาคือ เหล็ก
แผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 20.6 และเหล็กแผ่นรีดเย็น
หดตัวร้อยละ 10.5
การบริโภคในประเทศ ในเดือนมกราคม 2565
มีปริมาณการบริโภค 1.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 0.6
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากโครงการก่อสร้างของ
ภาครัฐ โดยมีปริมาณการบริโภคในกลุ่มเหล็กทรงยาว 0.5
ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10.4 จากการบริโภค เหล็กเส้นและ
เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 7.1 และเหล็กลวด
ขยายตัวร้อยละ 2.0 สำหรับเหล็กทรงแบนมีปริมาณ
การบริโภค 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 5.0 จากการบริโภค
เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 41.3 รองลงมาคือ
เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 28.6 และเหล็ก
แผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 18.0
การนำเข้า ในเดือนมกราคม 2565 มีปริมาณ
การนำเข้า 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาว
มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 27.5 จาก
การนำเข้าเหล็กโครงสร้างรีดร้อนชนิด carbon steel ขยายตัว
ร้อยละ 212.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน และ
มาเลเซีย) รองลงมาคือ เหล็กลวด ชนิด carbon steel
ขยายตัวร้อยละ 141.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ
มาเลเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย) และเหล็กท่อ
ไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 67.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ
จีน) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.6
ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.3 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นบางรีดร้อน
ชนิด alloy steel หดตัวร้อยละ 47.9 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้า คือ ญี่ปุ่น และเกาหลี) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน
ชนิด carbon steel หดตัวร้อยละ 37.8 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์
2565 คาดการณ์ว่า การผลิตใกล้เคียงกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการโครงการก่อสร้าง
พื้นฐานของภาครัฐและการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม ได้แก่ การดำเนินนโยบาย
ด้านเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต
ผู้บริโภค และผู้ส่งออก เหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผล
ต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย?
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
การผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัวต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 10 ขยายตัวร้อยละ 0.08 และ 1.20 ปัจจัยหลัก
เพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องในตลาดหลัก สำหรับกลุ่ม
เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัว ร้อยละ 4.03 จากภาคการท่องเที่ยวที่ยังคง
ฟื้นตัวช้าบวกกับกระแสการทำงานออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะส่งผล
ต่อกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยการบริโภคเสื้อผ้าในประเทศที่จะ
ยังคงปรับตัวลดลง
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ
6.85 และ 1.24 ตามความต้องการส่งออกที่ขยายตัวในตลาดหลัก
เพื่อเตรียมตัวเฉลิมฉลองรับเทศกาลช่วงปีใหม่และตรุษจีน
ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ สำหรับผ้าผืน
หดตัวร้อยละ 0.89
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์*
การส่งออก*
กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานต่อเนื่อง จากประเทศคู่ค้าสำคัญ
ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
การนำเข้า*
ด้ายและเส้นใย และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 34.51 และ
10.32 จากตลาดจีน ออสเตรเลีย และอินเดีย ส่วนหนึ่งเพื่อ
นำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำ
ในปีก่อน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป การนำเข้าปรับตัวลดลง
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ร้อยละ 16.77 จากตลาดจีน เวียดนาม
กัมพูชา และฮ่องกง ด้วยกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ
ชะลอตัวจากผลกระทบจากโควิด 19
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวง
พาณิชย์อยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบรายงานตัวเลข
พิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ 2022
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2565
คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ขยายตัวต่อเนื่อง จากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง
ตลอดโซ่อุปทาน ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการของ
ภาครัฐ น่าจะกระตุ้นความต้องการสินค้า อย่างไรก็ตาม ยังมี
ปัจจัยลบอย่างค่าระวางเรือที่ยังคงแพง และผลกระทบจาก
ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิต
ของอุตสาหกรรม
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2565
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์*
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2565
มีจำนวน 6.88 ล้านตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2564
ร้อยละ 1.93 (% MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 11.39 (%YoY) เนื่องจากการผลิต
ในเดือนมกราคม 2564 มีฐานค่อนข้างสูง
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน
มกราคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.38 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 1.73 (%MoM)
แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.33 (%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม* ในเดือนมกราคม
ปี 2565 มีจำนวน 1.26 ล้านตัน แม้จะเพิ่มขึ้นจากเดือน
ธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 43.03 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อนกลับปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.90
(%YoY) เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) ในตลาดส่งออกหลักและตลาดอื่น ๆ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะชะลอ
ตัวต่อเนื่องไปอีก เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง
ประกอบกับราคาพลังงานซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิตและราคา
สินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มมีความกังวล
ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจในครัวเรือนของตน
มากขึ้น
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ในระหว่าง
การปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ 2022
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์*
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม
ปี 2565 มีจำนวน 3.60 ล้านตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม
ปี 2564 ร้อยละ 2.56 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 6.26 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ในเดือนมกราคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.38 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 1.73 (%MoM) แต่
ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.36 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)* ในเดือน
มกราคม ปี 2565 มีจำนวน 0.48 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน
ธันวาคม ปี 2564 ร้อยละ 86.31 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน กลับปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.90
(%YoY) เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) ในตลาดส่งออก
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 คาดว่าจะชะลอตัว
ต่อเนื่องไปอีก จากความกังวลในการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของ
ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) การปรับขึ้นราคาตาม
ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นของปูนซีเมนต์และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง
ส่งผลต่อความมั่นใจในการขยายการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ
ของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
ของประชาชน ความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค
ภาครัฐ
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ในระหว่าง
การปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ 2022
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม