1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
Indicators 2563 2564 2564 2565
%YoY Year Year ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
MPI -9.5 5.9 -1.2 5.8 18.2 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)
ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัวใน
หลายสินค้า
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนพฤศจิกายน 2564 การผลิต
ขยายตัว ร้อยละ 4.6 เดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 6.7 และเดือนมกราคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.0
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม 2564 และเดือนมกราคม 2565 ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ขยายตัวร้อยละ
3.3 เดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 1.5 และเดือนมกราคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.1
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 15.88 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด
หลังประชาชนได้รับวัคซีนครอบคลุม ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจต่าง ๆ ใกล้ระดับปกติมากขึ้น รวมถึงการเปิดรับ
นักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้การบริโภคน้ำมันสูงกว่าปีก่อน
? การผลิตเบียร์ ขยายตัวร้อยละ 40.94 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดจนกลับมา
ใช้ชีวิตได้เกือบเป็นปกติ ทำให้การบริโภคค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงตัวแทนจำหน่ายเร่งสำรองสินค้าไว้จำหน่าย
ในช่วงสงกรานต์ ก่อนจะปรับราคาเบียร์สูงขึ้นตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ
? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 6.18 ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง
? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 2.22 ขยายตัว หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและกลับมา
ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกับระดับปกติ มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ ของรัฐ และ
สินค้าเกษตรหลายรายการให้ผลผลิตดีและมีราคาสูง
? เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 23.26 จากการขยายตัวของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก
ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา โดยเป็นสินค้าชุดกีฬา เสื้อยืด และชุดชั้นใน
เป็นต้น
Indicators 2564 2565
%MoM ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
MPI -3.0 10.3 -16.6 9.7 -2.0 -8.3 -3.6 9.3 2.9 3.3 1.5 2.1 -2.4
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนกุมภาพันธ์ 2565
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 164 โรงงาน เพิ่มขึ้น
จากเดือนมกราคม 2565 ร้อยละ 1.23 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.34
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่ารวม
5,188 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2565 ร้อยละ 27.85 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 63.72 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คือ อุตสาหกรรมการ
ขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 16 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต
ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 14 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะ
ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวนเงินทุน 390 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย
หรือดิน จำนวนเงินทุน 377 ล้านบาท
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 65 ราย ลดลงจากเดือน
มกราคม 2565 ร้อยละ 12.16 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่ารวม 9,463 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน
มกราคม 2565 ร้อยละ 141.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 382.78 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คือ
อุตสาหกรรมการทำน้ำแข็ง หรือ ตัด ซอย บด หรือย่อยน้ำแข็ง จำนวน 4 โรงงาน และอุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์
คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 4 โรงงานเท่ากัน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คือ อุตสาหกรรม
โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า มูลค่าเงินลงทุน 7,045 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง
เหล็ก หรือเหล็กกล้า มูลค่าเงินลงทุน 1,040 ล้านบาท?
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกุมภาพันธ์ 2565
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต เดือน กุมภ พันธ์ 2565 ขยายตัว
(%YoY) ร้อยละ 2.9 เนื่องจากความต้องการสินค้าบางรายการอย่าง
ต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้
1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 18.5 จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมัน
ปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตปาล์มเข้าสู่โรงงานมากกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมีความต้องการบริโภคใน
ประเทศจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและผู้บริโภครายย่อย
อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีมาตรการจำกัดการส่งออก
น้ำมันปาล์มในช่วงปลายเดือน ม.ค. 65 เพื่อควบคุมราคาน้ำมันปาล์ม
ในประเทศ จากราคาน้ำมันพืชทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่มาเลเซีย
ยังขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งผลให้ไทยมีคำสั่งซื้อ
และส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น 2) ประมง ขยายตัวร้อยละ 6.0
จากปลาหมึกแช่แข็ง เนื้อปลาบด และปลาแช่แข็ง เนื่องจาก
ความต้องการบริโภคในตลาดต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ
ญี่ปุ่น จีน อเมริกา 3) ผักผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 12.7
จากสับปะรดกระป๋องและผลไม้กระป๋องอื่นๆ เนื่องจากความต้องการ
บริโภคในตลาดต่างประเทศ 4) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 10.1
จากแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาด
ใน แ ล ต่าง ป ระ เท ศ โด ย เฉ พ จีน ยังต้อ งก ร น เข้า
แป้งมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนแป้งข้าวโพดในช่วงที่มี
ราคาสูง 5) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากเนื้อไก่สุกปรุงรส
เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในและต่างประเทศ
ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น
และสหภาพยุโรป ได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ร้านอาหารต้อง
ปิดให้บริการ รองลงมาคือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น เนื่องจากเป็น
สินค้าทดแทนเนื้อหมู ประกอบกับราคาขายปลีกเนื้อแดงยังคงอยู่ใน
ระดับสูง แม้ว่าราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงเดือนก่อนหน้า
ก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีเบคอนและแฮมที่มีการขยายตัว เนื่องจาก
สำรองเป็นสินค้าคงคลัง
อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการหดตัว เช่น
น้ำตาล หดตัวร้อยละ 0.5 จากน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทราย
บริสุทธิ์ เนื่องจากโรงงานเน้นผลิตน้ำตาลทรายดิบมากกว่าจากการที่
ปริมาณผลผลิตอ้อยปี 64/65 เพิ่มมากขึ้น และอาหารสัตว์สำเร็จรูป
หดตัวร้อยละ 3.6 จากอาหารสุกรสำเร็จรูป เนื่องจากปริมาณผลผลิต
สุกรที่ลดลงจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า
อาหารในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 3.5 โดย
กลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น 1) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หดตัวร้อยละ
55.4 2) น้ำตาลทรายขาว หดตัวร้อยละ 24.0 3) ปลาซาร์ดีนกระป๋อง
หดตัวร้อยละ 19.7 และ 4) ไส้กรอก หดร้อยละ 17.9
ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนกุมภาพันธ์
2565 มีมูลค่า 2,598.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.7
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ปศุสัตว์ จาก
ไก่แปรรูป โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ
เนเธอร์แลนด์ 2) ข้าวและธัญพืช จากข้าว โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ
อเมริกา จีน อิรัก และ 3) อาหารทะเล จากอาหารทะเลแช่เย็นและ
แช่แข็ง โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น จีน และอเมริกา และอาหาร
ทะเลกระป๋อง โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย
คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร
เดือนมีนาคม 2565 ในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจาก ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหาร (ด้านพลังงาน) ยังคง
อยู่ในระดับสูง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบความขัดแย้งของรัสเซียและ
ยูเครน ประกอบกับผู้บริโภคในประเทศมีการชะลอการใช้จ่าย สำหรับมูลค่า
การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก และการอ่อนค่า
ของเงินบาท
0
50
100
150
200
250
300
350
ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นกุมภาพนั ธ 2565
อุตสาหกรรมอาหาร เนื??อไก่แช่แข็งและแช่เย็น
ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล
0
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
ล้านเหรียญ
สหรฐั ฯ
มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นกุมภาพนั ธ 2565
อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น
ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีดัชนี
ผลผลิตอยู่ที่ระดับ 105.1 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า
เครื่องปรับอากาศ และเตาอบไมโครเวฟ โดยลดลงร้อยละ 35.6, 23.1, 14.4,
5.7 และ 5.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อน มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลมตามบ้าน คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น โดย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9, 28.2, 16.4, 14.5, 13.0 และ 8.9 ตามลำดับ เนื่องจากมี
การจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า* การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า
คาดการณ์ว่ามีมูลค่า 2,342.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ใน
ระหว่างการปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ
2017 เป็นฉบับ 2022
?คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2565 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่า
จะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-5.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์
โควิด-19?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิต
อยู่ที่ระดับ 97.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อนโดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ IC, PWB, Semiconductor
devices Transistors และ PCBA โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3, 12.2, 10.5
และ 8.4 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและ
ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ
Printer โดยลดลงร้อยละ 14.8 และ 6.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่าย
ในประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์* การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
คาดการณ์ว่ามีมูลค่า 3,532.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
* หมายเหตุ ตัวเลขประมาณการ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์อยู่ในระหว่าง
การปรับปรุงระบบรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ
2022
?คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2565 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-6.0 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ใน
การผลิตอุปกรณ์ IoT และสินค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ?
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
155,200
162,515
104,355
140,168
134,2451 23,163
104,144
140,038
154,038
165,353
154,368
151,747
155,660
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 ธ.ค. 64 ม.ค. 65 ก.พ. 65
คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก ปริมาณการผลติ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 มีจำนวน
155,660 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2565 ร้อยละ 2.58
(%MoM) และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
0.30 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และ
อนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2565 มีจำนวน 74,489 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2565
ร้อยละ 7.25 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 26.34 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง
รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ PPV และ SUV
เนื่องจาก รัฐบาลให้มีการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น และมี
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565
มีจำนวน 79,451 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2565 ร้อยละ
13.77 (%MoM) แต่ลด ลงเล็กน้อยจากเดือน เดียวกัน ของ
ปีก่อน ร้อยละ 0.02 (%YoY) เนื่องจากการผลิตรถยนต์นั่ง
ชะลอตัวบางรุ่นเพราะขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน โดยเป็นการลดลง
ในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย และอเมริกากลางและใต้
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
ในเดือนมีนาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2564
เนื่องจาก แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม
ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย
กับยูเครนต่อราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจโลก?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
168,127
182,359
131,427
183,760 173,721
83,690
80,474
110,017
144,844
188,493
167,823 169,171
141,596
0
20, 000
40, 000
60, 000
80, 000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64 ธ.ค. 64 ม.ค. 65 ก.พ. 65
คนั ข้อมลู รายเดือนอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์
ปรมิ ณการจำหน่าย ปรมิ ณการส่งออก ปรมิ ณการผลิต
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565
มีจำนวน 141,596 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2565 ร้อยละ
16.30 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
15.78 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์
แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 149,124 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน
มกราคม ปี 2565 ร้อยละ 2.78 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.60 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250
ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565
มีจำนวน 35,660 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2565 ร้อยละ
18.26 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
5.22 (%YoY)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนมีนาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2564
เนื่องจาก แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคง
ต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับ
ยูเครนต่อราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจโลก?
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 15.29 จากการชะลอตัวของการผลิต
น้ำยางข้นและยางแผ่น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 จากการเพิ่มขึ้นของ
การผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ
รถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38 ตามการขยายตัวที่ดี
ของตลาดในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 14.14 จากความต้องการน้ำยางข้น
และยางแผ่นที่ลดลง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 ตามการขยายตัว
ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.36 ตามความต้องการ
ใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 จากการขยายตัวของ
การส่งออกยางแท่งไปตลาดจีนและเกาหลีใต้
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.56 จากการ
ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 78.68 จากการชะลอตัว
ของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2565
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มความต้องการใช้
ของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดจีนที่มีแนวโน้มปรับตัว
สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะ
ขยายตัวจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ความต้องการของตลาด
ในประเทศและต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การ
จำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ในส่วน
ของการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัว
จากเดือนก่อนจากแนวโน้มความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อ
ป้องกันโรคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญ อย่างจีน มาเลเซีย และ
สหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะมี
มูลค่าเพิ่ม ขึ้น จากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาด
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง
คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงต่อเนื่อง จากฐานตัวเลขการส่งออก
เมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูงและแนวโน้มความต้องการของ
ตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2564
เป็นต้นมา
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัช นีผ ล ผ ลิต เ ดือ น กุม ภ พัน ธ์ปี 2565
ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น
กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 22.40
กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 11.44 และแผ่นฟิล์ม
พลาสติก ขยายตัวร้อยละ 3.27
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ดัชนีการส่งสินค้า
ขยายตัวร้อยละ 3.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
ขยายตัวร้อยละ 14.85 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 10.12
และแผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 6.64
การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ปี 2565 มีมูลค่า 387.52
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 8.89 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น
กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็น
แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 19.80 กลุ่มผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 16.57 และ
กลุ่มผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) ขยายตัว
ร้อยละ 11.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก
ขยายตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และ
อินโดนีเซีย
การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่า 410.16
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 4.20 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น
กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็น
แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 15.98 กลุ่มผลิตภัณฑ์
แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS
3919) หดตัวร้อยละ 8.66 และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ทำด้วย
พลาสติก (HS 3926) หดตัวร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาห กรรมพลาสติก เดือนมีนาคม 2565
สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน
ส่งผลกระทบให้น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการเริ่มชะลอการนำเข้า
เพื่อดูทิศทางด้านราคา
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 อยู่ที่ระดับ
85.26 หดตัวร้อยละ 4.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่
เอทานอล หดตัวร้อยละ 23.05 คลอรีน หดตัวร้อยละ 2.98
และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 2.92 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์
ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 8.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สีน้ำมัน หดตัว
ร้อยละ 23.71 แป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 21.64 และปุ๋ยเคมี หดตัว
ร้อยละ 19.47
ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น กุม ภ พัน ธ์ 2565
อยู่ที่ระดับ 80.03 หดตัวร้อยละ 9.83 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์
พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 1.92 โดยหดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์
โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 3.27 เอทานอล หดตัวร้อยละ 2.50
และคลอรีน หดตัวร้อยละ 1.48 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 10.31 ผลิตภัณฑ์ที่หดตัว คือ ปุ๋ยเคมี
ห ด ตัว ร้อ ย ล 35.69 แ ป้งฝุ่น ห ด ตัว ร้อ ย ล 24.26
และสีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 21.30
การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2565 มูลค่าการส่งออก
รวม 921.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.31 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า
การส่งออก 573.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.79
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์
ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 347.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 13.60 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น
ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 48.85 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ
33.68 และเคมีอินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 31.29 การส่งออกขยายตัว
ในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม
การนำเข้า เดือ น กุม ภ พัน ธ์ 2565 มีมูล ค่า
การนำเข้ารวม 1,625.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว
ร้อยละ 15.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม
เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,137.27 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 21.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 1,625.18
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.52 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมีนาคม 2565
สถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน ส่งผลต่อการนำเข้า
ของผลิตภัณ ฑ์เคมีภัณ ฑ์ที่สำคัญ คือ ปุ๋ยเคมี เนื่องจาก
ประเทศไทยได้นำเข้าแม่ปุ๋ยจากรัสเซียซึ่งเป็นต้นทางผลิตแม่ปุ๋ย
ที่สำคัญ ปัจจุบันราคาปุ๋ยมีการปรับตัวสูงขึ้นตามการผันผวน
ของสถานการณ์โลกและสงคราม
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 109.51 หรือขยายตัว
ร้อยละ 2.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 8.68 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 5.89 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE
resin และ PP resin ขยายตัวร้อยละ 3.69 และ 2.56 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 113.06 ขยายตัว
ร้อยละ 8.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัว
ลดลงร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 8.48 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS
resin และ PET resin ขยายตัวร้อยละ 17.71 และ 16.94
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 มี
มูลค่า 1,145.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ
13.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวลงร้อยละ
2.22 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่ม
ปิโ ต ร เ ค มีขั้น พื้น ฐ น เ ช่น Vinyl Chloride แ ล
Terephthalic Acid เป็นต้น ร้อยละ 9.36 และขยายตัวใน
กลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PC resin เป็นต้น
ขยายตัวร้อยละ 14.43
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์*
การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 มีมูลค่า
510.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 5.42
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวลงร้อยละ
20.81 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Styrene เป็นต้น และ
หดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PVC resin และ PP
resin เป็นต้น หดตัวร้อยละ 9.98 จากการชะลอการนำเข้า
Ethylene และ Propylene เพื่อดูทิศทางตลาดโลก
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนมีนาคม ปี 2565
คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการนำเข้าและ
ส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ
Propylene จากระดับราคาที่ผันผวนตามราคาน้ำมันดิบ
ที่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน
ที่ยืดเยื้อ ประกอบกับประเทศกลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณา
ปรับขึ้นปริมาณการผลิต ทั้งที่หลายประเทศได้คว่ำบาตร
การค้าประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงานโลกรายสำคัญ แต่
มีการขายท กำไรของผู้ลงทุน ท ให้ราค ป รับ ตัว
อย่างผันผวน
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์
2565 มีค่า 95.9 หดตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ส่งผลต่อกำลังการซื้อ
ของผู้บริโภคที่ลดน้อยลง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก
คือ ผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า
ดัชนีผลผลิตหดตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม
เหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 96.2 หดตัว
ร้อยละ 2.2 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็ก
โครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 13.8 รองลงมา
คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง หดตัวร้อยละ 11.4 และเหล็กลวด
หดตัวร้อยละ 9.2 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 98.9 หดตัวร้อยละ 11.1
ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัว
ร้อยละ 16.9 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัว
ร้อยละ 12.5 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 9.9
การบริโภคในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565
มีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 25.8
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการบริโภค
ในกลุ่มเหล็กทรงยาว 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 24.3
จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัว
ร้อยละ 33.9 และเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 4.7 สำหรับเหล็ก
ทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ
26.7 จากการบริโภคเหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและ
ไม่เป็นม้วน ที่หดตัวร้อยละ 32.3 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบาง
รีดเย็น หดตัวร้อยละ 22.1 และเหล็กแผ่นเคลือบ หดตัว
ร้อยละ 13.6
การนำเข้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีปริมาณ
การนำเข้า 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณ
การนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อย 8.1 จากการนำเข้าเหล็ก
โครงสร้างรีดร้อน ชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 90.1
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น) รองลงมาคือ
เหล็กลวด ชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 42.2 (ประเทศ
หลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และ
อินโดนีเซีย) และเหล็กท่อไร้ตะเข็บ หดตัวร้อยละ 37.4
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน
มีปริมาณการนำเข้า 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 29.3 จากการ
นำเข้าเหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน
ประเภท Carbon steel P&O หดตัวร้อยละ 55.1 (ประเทศ
หลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีและใต้หวัน) รองลงมา คือ
เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ประเภท
Carbon steel หดตัวร้อยละ 52.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า
คือ ญี่ปุ่น และเกาหลี)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม
2565 คาดการณ์ว่า ดัชนีการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญ
ที่ควรติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย
และยูเครน ที่ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าเหล็กของรัสเซีย
และยูเครนลดลง ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
และการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม
เหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออก เหล็ก
รายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์
เหล็กในประเทศไทย?
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 5.12 15.26 และ 14.94 (%YoY) จากกลุ่มสินค้าสำคัญ เช่น
เส้นใยโพลีเอสเตอร์ ผ้าทอใยสังเคราะห์ รวมทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป
กลุ่มต่างๆ อาทิ เสื้อผ้ากีฬา เสื้อผ้าเด็กสำเร็จรูป และชุดชั้นใน
ปัจจัยหลักเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตลอด 12 เดือน
จากตลาดสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ประกอบกับการบริโภคในประเทศเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นจากการ
ผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของภาครัฐ
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 17.53 8.23 และ 8.23 (%YoY) ตามความต้องการ
ส่งออกที่ขยายตัวในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ
สหภาพยุโรป ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน
โควิด-19 ของภาครัฐทำให้การบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การส่งออก
กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นเดือนที่ 12 จากประเทศคู่ค้าสำคัญ
ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และกลุ่ม
เสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.42 32.97 และ 7.85
(%YoY)
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใย และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 20.97 และ
3.46 (%YoY) ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้าเพิ่มขึ้น
สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป การนำเข้าปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 9 ร้อยละ 6.68 (%YoY) ด้วยผู้บริโภคในประเทศจาก
กลุ่มนักท่องเที่ยวยังไม่กลับมา
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2565
คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ขยายตัวต่อเนื่อง จากตลาดต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอด
ห่วงโซ่อุปทาน ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน
โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบอย่างต้นทุน
การขนส่งที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาสินค้า วัสดุ และวัตถุดิบที่ใช้ใน
การผลิตปรับตัวสูงตาม กระทบต่อต้นทุนการผลิตของ
อุตสาหกรรม
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2565
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2565 มีจำนวน 6.86 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมกราคม
ปี 2565 ร้อยละ 6.12 (% MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.86 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน
กุมภาพันธ์ ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.35 ล้านตัน
ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2565 ร้อยละ 2.83 (%MoM)
และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.77
(%YoY)
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2565 มีจำนวน 0.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม
ปี 2565 ร้อยละ 87.57 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อนกลับปรับตัวลดลง ร้อยละ 38.23 (%YoY)
เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจในตลาด
ส่งออก
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์
ในภาพรวมเดือนมีนาคม 2565 คาดว่าจะชะลอตัว เนื่องจาก
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน)
ยังมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ประกอบกับผลพวงจาก
สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่มีความตึงเครียดมากขึ้น ทำให้ราคา
พลังงานที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผล
ให้ความมั่นใจของผู้บริโภคลดลง
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ใน เดือน
กุมภาพันธ์ ปี 2565 มีจำนวน 3.58 ล้านตัน ลดลงจากเดือน
มกราคม ปี 2565 ร้อยละ 2.60 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.26 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.35
ล้านตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2565 ร้อยละ 2.83
(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
0.77 (%YoY)
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน
กุมภาพันธ์ ปี 2565 มีจำนวน 0.30 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน
มกราคม ปี 2565 ร้อยละ 0.29 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน กลับปรับตัวลดลง ร้อยละ 28.65
(%YoY) เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัส
โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจใน
ตลาดส่งออก
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2565 คาดว่าจะชะลอตัว
จากความกังวลในการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของไวรัสโควิด-19
สายพันธุ์ใหม่ (โอไมครอน) และราคาพลังงานที่สูงขึ้น เป็นเหตุ
ให้ดัชนีราคาปูนซีเมนต์มีการปรับตัวสูงขึ้นและกระทบต่อ
กำลังซื้อของผู้บริโภค
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม