ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4/2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 3/2564 ที่หดตัวร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอบกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาด รวมถึงภาคการส่งออกยังคงเติบโตต่อเนื่องตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัว อุตสาหกรรมสำคัญ ที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 4/2564 อาทิ การกลั่นปิโตรเลียม จากฐานต่ำในปีก่อนที่ไทยพบการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในหลายพื้นที่ รัฐจึงมีมาตรการควบคุมการระบาดมากขึ้น ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง กระทบต่อการใช้น้ำมันสำเร็จรูป แต่ในปีนี้ในเดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยเริ่มกลับมาเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาอีกครั้ง ทำให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากความต้องการใช้ในตลาดโลก ที่สูงขึ้น เพื่อนำไปใช้ร่วมกับกลุ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ยานยนต์ จากผลของเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนให้มีความต้องการรถยนต์มากขึ้น ทำให้การส่งออกขยายตัว เฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากฐานต่ำปีก่อน จากการแพร่การระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง ในปีนี้ผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์โลหะเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2565
เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ซึ่งอาจทำให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอตัวลง และแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับลดลง ซึ่งจะมีผลต่อโอกาสในการแข่งขันของผู้ผลิตไทย
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 5.0 และ 7.0 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและตลาดส่งออกโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G Data Center และ IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 450,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษยังคงได้รับอานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สำหรับการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ
ปูนซีเมนต์ ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ โดยมีโครงการสาธารณูปโภค ขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลและธนาคาร แห่งประเทศไทยทยอยออกมาเพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภคในภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แล้ว
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และยุโรป ทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มกลับมาจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคในประเทศและการเปิดประเทศ แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่กลับประเทศในช่วงโควิดและยังไม่กลับเข้าสู่ระบบ
ยา การผลิตยาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดยาในประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ในตลาดมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการใช้ยาจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.00 เนื่องจากไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ปรับสูงขึ้น
อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอนที่เกิดขึ้นในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึงการปรับตัวเพิ่มราคาของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหาร ซึ่งมีผลต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรมและส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2564
GDP GDP ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.9 (%YoY) ขยายตัวร้อยละ 3.8 (%YoY) ที่มา : ส!นักงานสภาพัฒนาการ"ศรษฐกิจ"ละสังคม"หyงชาติ
ที่มา : ส!นักงานสภาพัฒนาการ"ศรษฐกิจ"ละสังคม"หyงชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดย
ของปี 2564 ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ
ก่อนหน้า และช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยขยายตัว0.2 และปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ตามความต้องการสินค้าและบริการทั้งในประเทศและของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 4.2
ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นในตลาดคู่ค้าของไทยจากสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว และการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่การผลิตโรงงานอุตสาหกรรมสถานประกอบการต่าง ๆ ยังคงดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.9 และขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่หดตัวร้อยละ 0.4
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ขยายตัวร้อยละ 4.9 (%YoY)ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.71 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (90.93) ร้อยละ 10.76 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (95.99) ร้อยละ 4.9 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 102.36 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (92.5) ร้อยละ 10.7 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (97.40) ร้อยละ 5.1 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 154.22 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (150.81) ร้อยละ 2.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (127.32) ร้อยละ 21.1 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตยานยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ต่อพ่วง และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 65.43 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 59.34) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ของปี 2563 (ร้อยละ 63.71) อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตยานยนต์ และการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 84.77 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่ผ่านมา (78.23) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ของปี 2563 (86.40) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 95.83 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (92.90) ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 เป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีทิศทางดีขึ้นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลดลง รวมทั้ง ผู้ได้รับวัคซีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแบบ test and go เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รวมทั้งอุปสงค์ทั้งภายในและต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่องในสินค้าคงทน อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรกลโลหะการ เป็นต้น แม้ว่าในช่วงเดือนธันวาคมเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 (สายพันธุ์โอไมครอน) เป็นระลอกที่ 5 ในต่างประเทศ (แอฟริกา) และเริ่มกระจายวงกว้างในหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา อยyงไรก็ดียังมีปัจจัย"สี่ยงที่ผ-ญประกอบการมีความกังวล อาทิ"ชyน ปัญหาตญนทุนประกอบการที่ส-งขึนจากราคาพลังงาน )น!มัน) ราคาวัตถุดิบ ราคาคyขนสyงที่"พิ่มส-งขึน ปัญหาการขาด"คลน ขาด"คลนต-ญคอน"ทรน"นอร์"ละอัตราการระวาง"รือขนสyงสินคญาทางทะ"ลที่ยังคงอย-yระดับส-งตyอ"นื่องมาตัง"ตyตญนปี 2564 ปัญหาขาด"คลนชิป"ซมิคอนดัก"ตอร์ที่กระทบหyวงโซyอุปทานทั่วโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์"ละอุตสาหกรรมไฟฟญาอิ"ล็กทรอนิกส์ "ป็นตญน
การค้าต่างประเทศของไทย "การค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยหนุนของเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง อีกทั้งอานิสงส์จากเทศกาลหยุดยาวช่วงปลายปี เป็นปัจจัยให้การส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อรองรับการผลิตป้อนตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะถัดไป
การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 142,339.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 71,317.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 71,022.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เกินดุล 294.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 71,317.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 6,298.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 5,156.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.4 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 56,878.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.3 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,982.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 93.8
สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 7,687.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.8) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 5,868.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.9) เม็ดพลาสติก (มูลค่าการส่งออก 2,905.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 33.0) เคมีภัณฑ์ (มูลค่าการส่งออก 2,676.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 50.8) และแผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่าการส่งออก 2,318.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.7) เป็นต้น
ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 การส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลักของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด โดยอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวมากที่สุด รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน มีเพียงญี่ปุ่น ที่หดตัวลงเล็กน้อย ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทั้ง 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) รวมคิดเป็นร้อยละ 69.8 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 30.2 ของการส่งออกทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้ ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็น ร้อยละ 24.9, 15.7, 12.5, 8.8 และ 7.9 ตามลำดับ
อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ประเทศคู่ค้าหลักของไทยขยายตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวมากที่สุดร้อยละ 29.3 ถัดมา สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 24.3 สหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 20.8 และจีนขยายตัวร้อยละ 17.9 ลำดับถัดมา มีเพียงญี่ปุ่น ที่หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่านำเข้า 71,022.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 12,543.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 100.0 สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 17,163.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.3 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 29,233.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.8 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 8,583.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.8 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,460.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.6 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 39.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 69.6
ตลาดนำเข้าสินค้า
ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ตลาดนำเข้าสำคัญของไทยขยายตัวทุกตลาด โดยจีนขยายตัวมากที่สุด ลำดับถัดมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และอาเซียน (9 ประเทศ) ทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 66.4 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจาก จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 25.2, 16.9, 12.5, 6.6 และ 5.4 ตามลำดับ
อัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในตลาดหลักขยายตัวทุกตลาด โดยจีนขยายตัวมากที่สุดร้อยละ 47.7 ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 34.2 สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 29.1 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 21.1 และอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 20.7
12 เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 4 ปี 2564
"เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง ภายหลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการฉีดวัคซีนครอบคลุมภาคประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจหลายประเภทดำเนินการได้ใกล้เคียงภาวะปกติ รวมทั้งภาคการผลิต การค้า และอัตราการว่างงานที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น" หมายเหตุ: a ตัวเลขไตรมาสที่ 3 ปี 2564, b ตัวเลขประมาณการณ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ภาวะเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากการผลิต การส่งออก และการนำเข้าของประเทศเศรษฐกิจหลักขยายตัวในทิศทางเดียวกัน สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้า อานิสงส์จากนโยบาย
เปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เป็นปัจจัยหนุนให้แรงงานทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการทยอยฟื้นตัว ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการคลายความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นผลให้ อุปสงค์การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว ประกอบกับอุปทานการผลิตตึงตัวเนื่องจากกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรดำเนินการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเหตุให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดชะลอตัวลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบ ไตรมาส 4 ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 78.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 44.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ NYMEX ช่วงเดือนธันวาคมส่งมอบเฉลี่ยอยู่ที่ 71.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง อาทิ การกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาจทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวตามไปด้วย รวมถึงความกังวลต่อความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกดดันให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในระยะข้างหน้าเติบโตได้ในกรอบที่จำกัด ทั้งนี้ ปัจจัยบวกจากอุปสงค์ภายในประเทศและประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทยอยดำเนินการต่อเนื่องและการฉีดวัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้กิจกรรมทางธุรกิจและภาคการผลิตมีโอกาสเติบโตต่อไปได้ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 4/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2565
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีปริมาณ 4.2 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.4 (%YoY) แต่หดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.6 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภคเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 41.6 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 27.6 และ 10.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การบริโภคเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 5.8 จากการบริโภคเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 20.6 และที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 0.4
การนำเข้าไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 3.4 ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 57.0 (%YoY) แต่หดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.3 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 48.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 123.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 116.6 และท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 71.8 การนำเข้าเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 59.7 ผลิตภัณฑ์ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า ที่การนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวแห่งประเทศไทย ร้อยละ 125.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน เกาหลีใต้ และการผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ชนิด HDG ขยายตัวมีค่า 94.7 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.6 (%YoY) ร้อยละ 99.5 และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon steel แต่หดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.5 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับ ขยายตัวร้อยละ 92.5 ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 9.5 แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ร้อยละ 52.3 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่น คาดการณ์ว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 21.5 และ 18.7 ตามลำดับ แต่การผลิตโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 0.3 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนมากที่สุด คือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 19.6 อุตสาหกรรมของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงจากรองลงมา คือ เหล็กลวด และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 11.8 และ 6.1 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศซึ่งตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตเหล็กข้ออ้อย และเหล็กเส้นกลม อาจทำให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอตัวลง และแนวโน้มราคาขยายตัวร้อยละ 6.6 และ 3.7 ตามลำดับ เหล็กในตลาดโลกที่ปรับลดลง ซึ่งจะมีผลต่อโอกาสในการแข่งขันของผู้ผลิตไทย
อุตสาหกรรมไฟฟ้า การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต พัดลม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า สายเคเบิ้ลและมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ดัชนีผลผลิตของเครื่องใช้ไฟฟ้า แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังคงมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 3.0 และ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคได้รับวัคซีนป้องกัน โควิด-19 เพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดจึงคลี่คลายขึ้นตามลำดับ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายและการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศ ส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น การกลายพันธุ์ของโควิด-19
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 98.2 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.5 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 4.0 (%YoY) เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 และความต้องการจากตลาดหลักของโลก โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.73, 26.63, 11.26, 11.08, 9.82 และ 4.2 ตามลำดับ การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2564 สินค้า ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ได้แก่ พัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 5,354.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่แล้วร้อยละ 18.4 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.8 (%YoY) โดยสินค้าหลัก ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.2 ในขณะที่ เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ และตู้เย็นปรับตัวลดลงร้อยละ 18.5, 8.3 และ 1.6 ตามลำดับ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2564 มีมูลค่า การส่งออก 7,237.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.2 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9 (%YoY) โดย หม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.1 และ 23.7 ตามลำดับ ในขณะที่ เตารีดไฟฟ้า ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.9, 16.6, 2.2 และ 1.75 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเข้าสู่สภาวะฟื้นตัวในระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC) และSemiconductor devices transistor และมีมลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเอเชีย การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 100.5 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.6 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.3 (%YoY) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC) และSemiconductor devices transistor โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5, 15.3 และ 15.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer, HDD และวงจรพิมพ์ (PCBA) โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 21.3, 12.9 และ 0.5 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทำให้ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Smartphone Tablet และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 12,258.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.7 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.3 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรพิมพ์ เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ วงจรรวม (IC) และ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.1, 54.1, 46.4, 42.8 และ 23.9 ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องพิมพ์ เครื่อง ทำสำเนา และส่วนประกอบ และ เครื่องฉาย ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.0 และ 19.1 ตามลำดับ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่าการส่งออก 11,364.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 11.7 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.2 (%YoY) จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และเอเชีย โดยแผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์ กึ่งตัวนำ ทรานชิสเตอร์ และไดโอดอื่น ๆ และวงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6, 7.2 และ 4.2 ตามลำดับ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออก ขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 5.0 และ 7.0 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและตลาดส่งออกโลกและประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และ IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการวัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทุกประเทศเริ่มนำมาใช้ อย่างไรก็ดี การจำหน่ายในประเทศมีการชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 450,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50 การผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 473,759 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 28.97 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 1.95 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 34 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 63 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 3 การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 227,188 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 45.43 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.73 (%YoY) การส่งออกรถยนต์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 281,713 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 38.10 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.41 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 31 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 60 และรถ PPV ร้อยละ 9 มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 2,420.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 2.44 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.95 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอินโดนีเซียมูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 2,665.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 6.70 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.50 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกาอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ตลาดส่งออกและตลาดในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัว จากความชัดเจนของมาตรการวัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มนำมาใช้ แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20 การผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 501,160 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 82.78 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 0.03 (%YoY) การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 404,276 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 22.54 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 9.20 (%YoY) การส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 245,626 คัน (เป็นการส่งออก CBU 104,957 คัน และ CKD 140,669 ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 5.32 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.48 (%YoY) มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 248.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 13.42 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.37 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกามูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 250.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 5.98 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.64 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเคมีภัณฑ์บางประเภทขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 94.40 ขยายตัวร้อยละ 11.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่ขยายตัว เช่น ปุ๋ย แป้งฝุ่น ยาสระผมแต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) หดตัวร้อยละ 3.28 ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 93.65 ขยายตัวร้อยละ 5.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) หดตัวร้อยละ 4.03 การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 2,770.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.45 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลัก ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ 4.89 การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่ารวม 5,009.28 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 38.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลัก ที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) หดตัวตัวร้อยละ 9.54 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนพลังงานที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นมาก ตามทิศทางการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีปริมาณการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ตามความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากนัก ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 93.05 ขยายตัวร้อยละ 0.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่ขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ แผ่นฟิล์มพลาสติก และกระสอบพลาสติก และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ 1.37 ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 94.69 ขยายตัวร้อยละ 0.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้า ที่ขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ แผ่นฟิล์มพลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ 5.08 มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 1,125.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และ แถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) ขยายตัวร้อยละ 0.41 มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า1,308.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) หดตัวร้อยละ 5.64 แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 การกลับมาฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลาสติก เริ่มกลับมาดีขึ้น อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกมีต้นทุนที่สูงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.69 และ 11.12 (%YoY) จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มีการฉีดวัคซีนในหลายประเทศ ประกอบกับหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการ ล็อกดาวน์ ส่งผลให้การผลิตและการส่งออกปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ปรับขยายตัวดีขึ้น ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 112.69 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.69 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP resin ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 112.10 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.12 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin และ PE resin การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 3,680.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 56.37 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของ กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 155.47 เช่น Ethylene, Toluene และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.49 เช่น PP resin และ PE resin เป็นต้น การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 2,045.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 50.98 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 36.26 เช่น Toluene และ Propylene เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.02 เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2565
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2565 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวตามจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศที่กลับมา หลังจากหยุดชะงักจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความต้องการสินค้า หรือการดำเนินการในหลายภาคส่วนเพิ่มขึ้นในตลาดคู่ค้าต่างประเทศ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยลบ คือ การขาดแคลนถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าในจีนและสหภาพยุโรป ส่งผลต่อการปรับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นและทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งต้องปรับเพิ่มราคาสินค้า ที่อาจทำให้อุปสงค์ชะลอตัวได้ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
*อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) พบว่า ขยายตัวในกลุ่มกระดาษแข็ง กระดาษพิมพ์เขียน และกล่องกระดาษ ในขณะที่การผลิตในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษคราฟต์ และกระดาษลูกฟูก ปรับลดลง สำหรับการส่งออกและนำเข้ามีมลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) แต่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ)
การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YOY) การผลิตลดลงในกลุ่มเยื่อกระดาษ (-13.15%, -1.40%) กระดาษคราฟต์ (-4.05%, -6.08%) กระดาษลูกฟูก (-4.83%, -0.64%) ในขณะที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มกระดาษแข็ง (+0.69%, +14.32%) กระดาษพิมพ์เขียน (+11.81%, +3.41%) และกล่องกระดาษ (+5.83%, +1.57%) ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีการผลิตเพิ่มขึ้นและลดลงจากการใช้ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์กระดาษยังมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 การส่งออก เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการส่งออกรวม 620.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-4.37%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ (-20.69%) โดยมีประเทศจีน เป็นประเทศคู่ค้าหลัก กลุ่มสิ่งพิมพ์ (-5.73%) มีฮ่องกง สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้าหลัก ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ รวมถึงหีบ กล่อง ซอง เพิ่มขึ้น (+4.18%) จากการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม ที่เพิ่มขึ้นถึง (+21.04%) และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกรวม (+18.33%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ (+188.91%) ซึ่งกว่าร้อยละ 90.00 ส่งออกไปยังประเทศจีน เช่นเดียวกับกลุ่มสิ่งพิมพ์ ส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (+0.19%) ในขณะที่กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษปรับลดลง (-3.67%) การนำเข้า
เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 853.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการนำเข้าลดลง (-4.02%) ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ร้อยละ (-2.35%) และ (-9.18%) ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ นำเข้าเพิ่มขึ้น (+7.18%) และ (+9.56%) ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) นำเข้าเพิ่มขึ้น (21.59%) เนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมากและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กระดาษ เนื่องจากมีการซื้อขายผ่านออนไลน์มากขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมกระดาษทั้งห่วงโซ่การผลิตที่จะขยายตัวตามไปด้วยแนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2565
แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สำหรับการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมเซรามิก
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจ และการชะลอตัวของตลาดในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนการส่งออกขยายตัว ตามความต้องการของตลาดหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน 2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด
กระทรวงพาณิชย์ แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในประเทศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ รวมทั้งการผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น สำหรับการนำเข้าคาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ตามห้องปฏิบัติการและผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน และวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 28.97 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 2.73 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.99 (%YoY) สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.05 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 11.62 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.89 รองรับการขยายตัวของตลาดส่งออก หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 36.35 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 2.37 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.39 (%YoY) ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.73 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 4.90 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.96 จากภาวะเศรษฐกิจและการชะลอตัวของตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การส่งออก ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่า 25.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 1.36 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.14 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 70.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 9.79 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 15.80 โดยตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซรามิก
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท ผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ไว้ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม (ไม่รวมค่าขนส่ง) ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 รวมทั้งขอความอนุเคราะห์ให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 15.59 บาท ต่อกิโลกรัม ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565 ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและการขนส่งให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซรามิก ที่ส่วนใหญ่ใช้ก๊าซ LPG ในกระบวนการผลิต และใช้น้ำมันดีเซลกับ ก๊าซ NGV ในการขนส่งสินค้า
24 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลงจากผู้บริโภคยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ส่วนมลค่าการนำเข้าเริ่มมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 9.66 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 3.24 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 5.74 (%YoY) การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 9.13 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 0.11 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 1.83 (%YoY) ซึ่งมาจากผู้บริโภคยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่าจากการส่งออก 38.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.50 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 28.29 โดยลดลงจากตลาดฟิลิปปินส์ เมียนมา และกัมพูชา ร้อยละ 38.08 36.70 และ 12.87 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัส โควิด-19 ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 15.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ร้อยละ 10.10 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.06 โดยเพิ่มขึ้นจากเนเธอร์แลนด์ และ สปป.ลาว ร้อยละ 8.51 และ 2.63 ตามลำดับ แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ โดยมีโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยทยอยออกมาเพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภค ในภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แล้ว นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผ่อนคลายมาตรการ LTV-loan to value ชั่วคราวโดยจากเดิมที่มีเกณฑ์กำหนดเพดานปล่อยกู้ได้ 70-95% จากราคาซื้อขายในสัญญาเป็น 100% ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2564 -วันที่ 31 ธันวาคม 2565 2) เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมจาก 2% เหลือ 0.01% ค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม-31 ธันวาคม 2565 ครอบคลุมที่อยู่อาศัยประเภทบ้านมือสอง/ปรับปรุงโครงสร้างหนี้นอกจากบ้านใหม่เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก 1 ปี
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขยายตัวตลอดห่วงโซ่อุปทานเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปัจจัยหลักจากอุปสงค์ ของตลาดส่งออกและตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับเทศกาลช่วงปีใหม่ ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเส้นใยสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับได้รับแรงส่งจากตลาดส่งออกสำคัญฟื้นตัว ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย การผลิตและจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ดัชนีผลผลิตขยายตัว ร้อยละ 6.34 (%YoY) จากลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยธรรมชาติ ปัจจัยหลักเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับได้รับแรงส่งจากตลาดส่งออกสำคัญฟื้นตัว เช่น ญี่ปุ่น จีน บังกลาเทศ และเวียดนาม สำหรับผ้าผืน ดัชนีผลผลิตชะลอตัว ร้อยละ 10.19 (%YoY) จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) ในขณะที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดัชนีผลผลิตขยายตัว ร้อยละ 14.11 (%YoY) จากการส่งออกเสื้อผ้ากีฬา และเสื้อผ้าเด็กสำเร็จรูป ขยายตัวในตลาดสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม จีน เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2564 พบว่า ดัชนีผลผลิตขยายตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเส้นใย สิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ขยายตัว ร้อยละ 7.01 24.20 และ 14.73 (%QoQ) ตามความต้องการฉลองช่วงปีใหม่ และการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ขยายตัว ร้อยละ 6.56 8.59 และ 1.71 (%YoY) จากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกกลับมาขยายตัวในตลาด สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศเริ่มกลับมาเพื่อเตรียมตัวเฉลิมฉลองรับเทศกาลช่วงปีใหม่ และการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ การส่งออก-นำเข้า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมเริ่มฟื้นตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมีมูลค่า 1,753.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.48 (%YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,140.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 18.21 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 612.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.16 เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดฯ ประกอบกับประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น ในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2564 (%QoQ) พบว่า การส่งออกขยายตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน
การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,271.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 13.56 (%YoY) ในกลุ่มด้ายและเส้นใย และผ้าผืน ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปชะลอตัวจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และยุโรป ทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มกลับมาจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคในประเทศและการเปิดประเทศ แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่กลับประเทศในช่วงโควิดและยังไม่กลับเข้าสู่ระบบ
26 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาส 4 ปี 2564 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทางด้านการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ (ล้านชิ้น)การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 4 ปี 2564 มีจำนวน 3.16 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.58 และ 21.07 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ เป็นผลจากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2564 มีจำนวน 0.31 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90 และ 3.33 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับจากการที่ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ โรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลดีต่อกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 4 ปี 2564 มีมูลค่ารวม 1,098.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52 และ 17.19 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 330.53 42.77 และ 725.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วนปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.83 และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.30 ทั้งนี้ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปรับเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยมีสาเหตุจาก อุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวแนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565
คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2565 คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดการณ์ได้ว่าจะขยายตัวจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
อุตสาหกรรมยา
ปริมาณการผลิตยาไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก และเป็นปริมาณการผลิตสูงที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และการขยายตัวที่ดีของตลาดส่งออก โดยเฉพาะในตลาดมาเลเซียและกัมพูชา การผลิตยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีปริมาณ 16,267.66 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.56 โดยเป็นการขยายตัวของการผลิตยาทุกชนิด ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ยาฉีด ยาครีม และยาผง ซึ่งปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 28.26 20.99 18.89 6.04 45.60 และ 39.65 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อที่ปรับเพิ่มขึ้น จากตลาดทั้งในและต่างประเทศ การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 11,945.72 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.24 โดยเป็นการขยายตัวของการจำหน่ายยาทุกชนิด ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ยาฉีด ยาครีม และยาผง ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.71 6.68 9.83 0.44 20.25 และ 7.01 ตามลำดับ ในภาพรวมตลาดยา ในประเทศมีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ทำให้ประชาชนตื่นตัวและซื้อยาบางชนิดเพื่อกักตุนไว้ใช้มากขึ้น การส่งออกยาไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 117.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 13.32 ซึ่งส่วนมากเป็นการขยายตัวของตลาดในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 426.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.61 ซึ่งส่วนมากเป็นการนำเข้าจากยุโรปและอินเดียเป็นหลักแนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565
การผลิตยาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดยาในประเทศ สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ในตลาดมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการใช้ยาจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ขยายตัวจากการส่งออกไปยังตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางปรับตัวลงเล็กน้อย ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศสำหรับสินค้ายางรถยนต์ และตลาดต่างประเทศสำหรับสินค้าถุงมือยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 0.52 ล้านตัน 15.04 ล้านเส้น และ 8,268.81 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีการขยายตัวที่ดี ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ 0.11 และ 0.09 ตามลำดับ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงาน ประกอบกับการชะลอตัวของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีจำนวน 0.13 ล้านตัน 11.27 ล้านเส้น และ 502.51 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์ มีปริมาณลดลงร้อยละ 2.04 และ 0.31 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ลดลง ในขณะที่ การจำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.86 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 1,519.78 1,706.72 และ 526.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.35 และ 15.09 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออก ถุงมือยางลดลงร้อยละ 41.72 "นวโนญมอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.00 เนื่องจากไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ปรับสูงขึ้นอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก และการผลิตรองเท้า มีการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วโลกได้เร่งการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ภาครัฐมีมาตรการเปิดประเทศขยายพื้นที่ท่องเที่ยว ขยายเวลาดื่ม กิน จึงทำให้ผู้บริโภคคลายความกังวลและมีการใช้จ่ายซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าการผลิตไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.49 การผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.30 และกระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.32 จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น การส่งออก-นำเข้า การส่งออก ไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.69 62.12 และ 29.30 ตามลำดับ รองเท้ามีมูลค่าส่งออก 62.60 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เมียนมา และ ฝรั่งเศส เนื่องจากสถานการณ์ในหลายประเทศ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลงและหลายประเทศได้เร่งการฉีดวัคซีนส่งผลให้ประชาชนมั่นใจมีการเดินทางท่องเที่ยวและใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
การนำเข้า ไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนังดิบและหนังฟอกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.91 กระเป๋าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.48 ผลจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มกำลังซื้อของภาครัฐ สำหรับรองเท้ามีมูลค่าลดลงร้อยละ 5.54 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศที่ลดลง แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า การผลิตกระเป๋าเดินทางและรองเท้าดีขึ้นเล็กน้อย และการระบาดในหลายประเทศ สามารถจัดการปัญหาและลดความรุนแรงของการระบาด จึงผ่อนคลายการล็อคดาวน์ มีการเปิดพื้นที่ขยายเวลากินเที่ยวดื่ม อีกทั้งมีการเร่งและกระตุ้นการฉีดวัคซีนเข็ม 3 จึงช่วยเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนให้กลับมาได้ส่วนหนึ่ง
30 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น(ไม่รวมทอง) จากการที่ทุกประเทศได้เร่งการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดให้ประชาชน ทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น(การเสียชีวิตลดลง) ภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมและเยียวยาประชาชนต่อเนื่องรวมถึงการเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ การผลิตการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.99 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ เพชร และ เครื่องประดับแท้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 และ 31.60 เพื่อรองรับเทศกาลช่วงปลายปีที่ การจำหน่าย การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) ลดลงร้อยละ 9.12 ลดลงในผลิตภัณฑ์ เพชร เครื่องประดับแท้ และ เครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 18.30 8.44 และ 13.46 การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 4 ปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) มีมูลค่ารวม 1,878 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.66 จากมูลค่าการส่งออก เพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.33 56.50 23.87 และ 23.70 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และ ออสเตรเลีย แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 2,845.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.70 โดยมีมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.26 แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2565 การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 1 ปี 2565 คาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสถานการณ์ทางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการกลายพันธุ์แม้จะมีการกระจายตัวที่รวดเร็วแต่ความรุนแรงมีแนวโน้มลดลง การเสียชีวิตลดลง เนื่องจากประชาชนได้รับวัคซีนเข็ม 1-3 ทั่วถึง และสถานการณ์ในต่างประเทศก็มีแนวโน้มการระบาดและการเสียชีวิตที่ลดลง จึงน่าจะเป็นผลดีและทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ลง เพื่อเตรียมรองรับการเปิดประเทศ อุตสาหกรรมอาหาร ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ และความต้องการสินค้าบางรายการอย่างเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าอาหารที่ขยายตัว เช่น น้ำมันปาล์มดิบ น้ำตาลทรายดิบ ผักผลไม้แช่แข็ง ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ เนื้อไก่สุกปรุงรส ปลาแช่แข็ง แป้งมันสำปะหลัง สำหรับมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ. ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 102.6 ขยายตัวร้อยละ 6.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าอาหาร ที่ขยายตัว เช่น น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 34.6 จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตปาล์มที่ออกสู่ตลาดโลกลดลง ทำให้ไทยมีคำสั่งซื้อและส่งออกน้ำมันปาล์มได้มากขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มมากขึ้นตามการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รองลงมาคือ น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 14.6 จากน้ำตาลทรายดิบ เนื่องจากผลผลิตอ้อยเริ่มเปิดหีบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 64 ซึ่งเร็วกว่าปีการผลิต ที่ผ่านมา ประกอบกับผลผลิตปี 64/65 มีปริมาณเพิ่มขึ้น มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 11.5 จากแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ได้นำเข้า แป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทนแป้งข้าวโพด ปศุสัตว์ ขยายตัว ร้อยละ 10.2 จากเนื้อไก่สุกปรุงรส เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาด ในและต่างประเทศ ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และอียู ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้การนำเข้าลดลง ผักผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากผักผลไม้แช่แข็ง และผลไม้กระป๋องอื่น ๆ เนื่องจากความต้องการบริโภคในตลาดต่างประเทศ โดยตลาดส่งออก ที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น อเมริกา ประกอบกับการผลิตสำรองเป็นสินค้าคงคลัง และประมง ขยายตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งตลาดในและต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ อเมริกา จีน ญี่ปุ่น
การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีปริมาณ 71,152.85 พันตัน ขยายตัวร้อยละ 9.3 (%YoY) เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องปรุงอาหารประจำโต๊ะและเครื่องประกอบอาหาร ขยายตัวร้อยละ 20.3 จากเครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร รองลงมาคือ มะกะโรนี เส้นก๋วยเตี๋ยวฯ ขยายตัวร้อยละ 11.6 จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 11.3 จากน้ำมันปาล์มดิบ มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 9.8 จากแป้งมันสำปะหลัง
การส่งออกไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 8,181.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.7 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าสำคัญ เช่น ข้าวเนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลักได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ผลิตเอทานอล และแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผลไม้ สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับโลก น้ำตาลทราย จากตลาดส่งออกสำคัญคือ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม
การนำเข้าไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 4,508.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.8 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน จากการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมัน เพื่อรองรับอุตสาหกรรม น้ำมันพืช รองลงมาคือ นมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น นมผง ครีม ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนม และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่เกิดขึ้นในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึงการปรับตัวเพิ่มราคาของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหาร ซึ่งมีต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรมและกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม