อก. เผย MPI ไตรมาสแรกปี 65 ขยายตัวร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
คาดศก.ภาคอุตฯ มีแนวโน้มสดใส สอดรับการส่งออกโตสุดในรอบ 30 ปี
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมีนาคม 2565 ปรับตัวลง
เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ MPI ไตรมาสแรกปี 2565 ขยายตัว
เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.41 ด้านสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมี
แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น การส่งออกรวมเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 19.54 สูงสุดในรอบ 30 ปี สอดรับ
ตลาดภายในประเทศฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิ ดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
(MPI) เดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 109.32 ปรับตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 7.49 ส่งผลให้ MPI ไตรมาสแรก
ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ทั้งนี้สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(สศอ.) ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสัญญาณการส่งออกรวม
เดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 19.54 สูงสุดในรอบ 30 ปี และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคา
อาวุธ รถถังและอากาศยาน) เดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.26 ซึ่งมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 20,705 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ประกอบกับการนาเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสาเร็จรูป (ไม่รวมทองคา ) เดือนมีนาคมที่
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.66 และ 11.52 ตามลา ดับ เพื่อจัดเตรียมการผลิตต่อไป
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่าการเปิ ด
ประเทศและการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ รวมถึงนโยบายการเปิดประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ทา ให้อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้ นตัว สะท้อนได้จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ
อุตสาหกรรมน้า มันปิ โตรเลียม รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทา ให้สินค้าไทย
สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ในขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลให้ต้นทุน
การผลิตปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ด้านภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผล
กระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสานักงานนโยบาย
และยุทธศาสตร์การค้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือน
กุมภาพันธ์ขยายตัวที่ร้อยละ 8.0
ขณะเดียวกันสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย สศอ.
ได้ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry
Economics : EWS-IE) ในการคา นวณ สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวใน 1-2
เดือนข้างหน้า อุปสงค์ในประเทศและการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทยอยฟื้นตัวจาก
การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาด ทาให้มีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังต้องจับตาดูสถานการณ์ของรัสเซียและยูเครน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและเป็น
ตัวเร่งให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น
สาหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนมีนาคม 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ได้แก่
น้าตาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 61.25 เนื่องจากผลผลิตอ้อยที่มีปริมาณ
มากกว่าปีก่อน รวมถึงการปิดหีบช้ากว่าปีก่อน
น้ามันปิ โตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 17.51 จากผลิตภัณฑ์น้า มันดีเซล
หมุนเร็ว น้า มันเครื่องบิน และน้า มันเบนซิน 95 เป็นหลัก เนื่องจากจา นวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหลังการผ่อน
คลายมาตรการเข้าประเทศ รวมถึงมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่กระตุ้นให้เกิดการเดินทาง
ท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น
ยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 1.86 จากผลิตภัณฑ์รถบรรทุกปิ คอัพ
รถยนต์นั่งขนาดกลาง เครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก โดยขยายตัวตามการฟื้ นตัวของเศรษฐกิจในประเทศหลัง
รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว รวมถึงราคาพืชผล
เกษตรสา คัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น
ปุ๋ยเคมี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 26.17 เนื่องจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่
เพาะปลูกหลังราคาพืชผลเกษตรสา คัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ข้าว น้า มันปาล์ม ฯลฯ
เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 9.33 เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการ
แพร่ระบาดและอนุญาตให้มีการจา หน่ายในร้านอาหารและสถานบริการมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการได้สั่งซื้อเพื่อ
เก็บสต๊อกก่อนที่ผู้ผลิตจะปรับขึ้นราคา
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายเดือน)
Index 2564 2565
มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรม 109.45 91.27 100.17 98.12 89.98 86.70 94.72 97.51 100.75 102.26 104.46 101.70 109.32
อัตราการ
เปลี่ยนแปลง
(MOM) % 10.25 -16.60 9.75 -2.05 -8.30 -3.65 9.25 2.94 3.33 1.50 2.15 -2.64 7.49
อัตราการ
เปลี่ยนแปลง
(YOY) % 5.76 18.22 26.03 18.64 3.75 -4.95 0.35 2.74 4.59 6.66 2.02 2.45 -0.12
อัตราการใช้
กาลังการ
ผลิต 69.68 59.30 64.91 63.75 58.10 56.28 61.14 63.12 65.17 65.24 65.69 64.58 68.77
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สา นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2565
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายไตรมาส)
Index 2564 2565
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
103.70 96.52 90.46 100.17 105.16
อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน %
8.35 -6.92 -6.28 10.73 4.98
อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน %
0.70 20.96 -0.34 4.67 1.41
อัตราการใช้กาลังการผลิต
66.32 62.65 58.51 64.51 66.35
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สา นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2565
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม