ก.อุตฯ เผยผลิตภาพอุตฯไทยยังแข็งแกร่ง ฝ่าผลกระทบแรงจากโควิด-19
พร้อมเดินหน้ายกระดับผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
ก.อุตฯ เผยผลศึกษาผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมปี 2564 ยังแกร่งฝ่าโควิด-19 จากคุณภาพปัจจัยทุนและการบริหารจัดการ พร้อมเดินหน้าปี 2565 เสริมความเข้มแข็งภาคอุตสาหกรรมไทย ยกระดับผลิตภาพการผลิต จัดการฐานข้อมูล Big Data เศรษฐกิจอุตสาหกรรม หวังเพิ่มศักยภาพและการแข่งขัน ย้าผนึกกาลังทุกภาคส่วน สร้างประสิทธิภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมเดิมและเชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อเป้าหมายพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงที่ผ่านมาสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพการผลิตอย่างใกล้ชิด โดยจากการสารวจข้อมูลประจาปี 2564 ได้นาแบบแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการโรงงานรายปี (ร.ง.9) มาวิเคราะห์ความสามารถในการผลิตและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการภาคอุตสาหกรรม พบว่า ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความแข็งแกร่งจากคุณภาพปัจจัยทุนและการบริหารจัดการที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 0.34 และ 1.70 ต่อปี ตามลาดับ สะท้อนถึงคุณภาพปัจจัยทุนและการบริหารจัดการที่เป็นภูมิคุ้มกันหลักให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ที่ยากจะควบคุมของผลกระทบห่วงโซ่การผลิตโลกที่หยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การที่จะรักษาความสามารถในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมทั้งจากภาวะเศรษฐกิจโลก โรคระบาด หรือสงครามระหว่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ จาเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งในด้านประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมี 5 กลไกสาคัญที่ต้องทาควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง คือ 1. การพัฒนาทักษะแรงงาน 2. การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/ กึ่งอัตโนมัติ 3. การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการเงิน 4. การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบรับจ้างออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ODM) และการออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของผู้ประกอบการ (OBM) ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น และ 5. การลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การจัดการ และการสร้างนวัตกรรมในสินค้า มีการจดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตรต่าง ๆ ที่จะนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงมากให้กับสินค้าและเศรษฐกิจของประเทศ
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สาหรับในปี 2565
สศอ.ได้วางแผนรองรับและจัดทา โครงการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมผลิตภาพการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการ
แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยดาเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตร
อุตสาหกรรม โครงการสร้างนักพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ควบคู่กับการพัฒนาระบบการ
จัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อยกระดับข้อมูลสารสนเทศด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้ทันต่อ
สถานการณ์ สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการนา ข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะ
ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
?ปัจจัยสาคัญที่ประเทศไทยต้องดาเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องคือการเพิ่มศักยภาพของ
ภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการผลิต
และการปรับปรุงการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีต่า ไปสู่การใช้เทคโนโลยีสูง รวมทั้งพัฒนา
ขีดความสามารถของกาลังแรงงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ควบคู่กับการลงทุน
ทรัพยากรทุนและบุคลากร ซึ่งจา เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการ
พัฒนาอุตสาหกรรมเดิมและเชื่อมโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อเป้าหมายพัฒนา
ภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป? นายทองชัย กล่าว
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม