สศอ. เผยผลประชุมและกิจกรรมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
สอดคล้องแนวคิด OPEN. CONNECT. BALANCE.
สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลสรุปการประชุมและกิจกรรมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ชี้จาเป็นต้องร่วมกันสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลเศรษฐกิจผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่คานึงต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล (OPEN. CONNECT. BALANCE.)"
นายทองชัย ชวลิตพิเชษฐ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2565 ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2 หรือ SOM2 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ดาเนินภารกิจร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและกิจกรรมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล (OPEN. CONNECT. BALANCE.)" มุ่งสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศไทยและกลุ่มสมาชิคเอเปคเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล การยกระดับทักษะทรัพยากรมนุษย์ และเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมที่คานึงถึงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้ผลสรุปสาคัญ ดังนี้
1) ความร่วมมือด้านการแบ่งปันข้อมูลเศรษฐกิจผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data โดย สศอ. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนา Online Webinar ?Pathway towards Economic Data Governance in APEC? เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และการระดมความคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะในการจัดทากรอบความร่วมมือและมาตรฐานด้านการจัดการข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อนาไปสู่การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือด้านการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องดาเนินการด้วยระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค ทั้งนี้ จาเป็นต้องยกระดับทักษะแรงงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านเครือข่ายโครงการความร่วมมือเสริมสร้างสมรรถนะในรูปแบบกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและช่างเทคนิค รวมถึงการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็น โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและการบริหารจัดการ โดยมุ่งหวังให้ภูมิภาคเอเปคมีแนวทางร่วมกันในการกาหนดกรอบนโยบาย วิธีการ ตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ และการรายงานสภาวะเศรษฐกิจให้เป็นไปในรูปแบบและทิศทางเดียวกัน
2) ความร่วมมือด้านการยกระดับทักษะภาคอุตสาหกรรม โดย สศอ. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายด้านการเสริมสร้างสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ (Capacity Building Network: CBN) ภายใต้คณะทางานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (APEC Human Resources Development Working
Group: HRDWG) ครัง้ ที่ 47 ระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา เพื่อเป็นเวทีใน
การแลกเปลี่ยนนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ภาคอุตสาหกรรม แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือผ่านการดาเนินโครงการของสมาชิก
เอเปค โดยมุ่งยกระดับทักษะบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิด Shaping Smart
Citizen with Digitalization and Eco friendly Awareness เพื่อรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 รวมถึง
การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมและการจ้างงานที่คานึงถึง
ประเด็นด้านสงิ่ แวดล้อม และการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ทั้งนี้ ได้เชิญผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ
ได้แก่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO)
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ศูนย์ระหว่างประเทศด้านเทคนิคและ
อาชีวศึกษาและการฝึกอบรมของ UNESCO รวมถึงผู้บริหารสถาบันการศึกษาชั้นนาของไทย มาร่วม
แลกเปลี่ยนทัศนะ ประสบการณ์ และแนวทางการแก้ไขที่สามารถเสริมสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เพื่อตอบสนองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งการเตรียมการในการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
3) ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย สศอ. และสมาคมอุตสาหกรรมยาน
ยนต์ไทย ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มการหารือสาขายานยนต์ภายใต้การประชุมเอเปค ครัง้ ที่
35 (APEC Automotive Dialogue) ในวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาว
เวอร์ โดยในการประชุมวันแรกประกอบด้วย การนาเสนอเป้าหมายหลักของไทยในการเป็นเจ้าภาพเอเปค
?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-
เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy การนาเสนอสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ของสมาชิกเอเปค ได้แก่
ข้อมูลการผลิต-การจาหน่ายของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมยาน
ยนต์ล่าสุดของภาครัฐ เป็นต้น รวมถึง การจัดเสวนาในเรื่อง ?บทบาทของอุตสาหกรรมยานยนต์ในการลด
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน? โดยเชิญผู้เข้าร่วมเสวนาจากภาครัฐและเอกชนของออสเตรเลีย ญี่ปุ่
น และ
ไทย (โดยผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย) มาแลกเปลี่ยน
ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์
(ECO System) ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่ความยัง่ ยืน ได้แก่ ระบบรับรองมาตรฐาน การ
พัฒนาห่วงโซ่อุปทานและทักษะฝีมือแรงงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้ และการบริหาร
จัดการรถยนต์และแบตเตอรี่ใช้แล้วที่หมดอายุ เป็นต้น
สาหรับการจัดงานในวันที่สองนั้น สศอ. ได้จัดให้มีการเยี่ยมชมโรงงาน (Site Visit) ผลิต
แบตเตอรี่ของบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จา กัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
ในระดับ Cell แห่งแรกในประเทศไทยและอาเซียน และการเที่ยวชมสถานที่ (Sightseeing) วัดอรุณ
ราชวรารามและวิถีชีวิตความเป็นอยู่บริเวณสองฝั่ง
แม่น้าเจ้าพระยา โดยในการเดินทางนาคณะผู้แทน
สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคไปชมโรงงานแบตเตอรี่ ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา และการล่องแม่น้าเจ้าพระยา
นั้น จะใช้รถโดยสารไฟฟ้าและเรือโดยสารไฟฟ้าซึ่งผลิตโดยบริษัท พลังงานบริสุทธิ จากัด (มหาชน)
ผู้ผลิตสัญชาติไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย
?ในโอกาสนี้ สศอ. ขอขอบคุณสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค สานักเลขาธิการเอเปค หน่วยงาน
ของไทยและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้การ
ประชุมและกิจกรรมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมประสบความสาเร็จและผ่านพ้นไปได้ด้วยดี และยัง
เป็นการร่วมสร้างความเชื่อมัน่ ของไทยต่อสมาชิกเอเปคในการส่งเสริมและฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวทาง
OPEN. CONNECT. BALANCE. อีกด้วย โดยผลสรุปที่ได้จากการจัดประชุมและกิจกรรมความร่วมมือ
ด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะนาเสนอกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อไปสู่การปฏิบัติให้เกิด
เป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป? นายทองชัย กล่าว
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม