สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนเมษายน ปี 2565
อัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) เมษายน 2565
World +6.91 %
หมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน
CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตะวันออกกลาง (15) ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต โอมาน บาห์เรน เลบานอน จอร์แดน ซีเรีย อิรัก เยเมน อิหร่าน ตุรกี ไซปรัส และอิสราเอล
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ประมวลผลโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
สำนักงำนเศรษฐกิจอุตสำหกรรม Office of Industrial
เดือนเมษายน 2565 การส่งออกรวมมีมูลค่า 23,521.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YOY) ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 6.91 (YOY) สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 4.98 (YOY) ซึ่งขยายตัวจากอัญมณีและเครื่องประดับ ประเภทเพชรและพลอย เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ โดยตลาดคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่ขยายตัวขึ้นทั้งสหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง (15) อินเดีย ญี่ปุ่น อาเซียน (5) และ CLMV ในขณะที่จีน สหภาพยุโรป (27) และออสเตรเลียหดตัวลง
USA +11.8 %
MidEast (15)
+17.0 %
EU (27) -3.0 %
India +26.2 %
CN -10.9 %
JP +2.5 %
CLMV +5.4 %
AU -7.0%
Asean (5) +22.2 %
เดือนเมษายน 2565 การส่งออกรวมมีมูลค่า 23,521.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YOY) โดยการส่งออกในหมวดสินค้าสำคัญพบว่า สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่า 2,508.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.01 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่า 1,935.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.79 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 17,962.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.27 ด้านสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 17,507.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.91 สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 4.98 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ ประเภทเพชรและพลอย เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
เดือนเมษายน 2565 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 25,429.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YOY) โดยสินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า 5,773.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 99.31 สินค้าทุนมีมูลค่า 5,762.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.86 ขยายตัวจากเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 9,679.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.06 จากแผงวงจรไฟฟ้า ปุ๋ย ทองแดง และอลูมิเนียม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YOY) โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 อีกทั้ง ภาพรวม MPI 4 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.37 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก ตลอดจนการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ในเดือน เม.ย. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 648.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 48.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกอัญมณีประเภทเพชรไปยังประเทศอินเดีย เบลเยียม สหรัฐอเมริกาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม อัญมนีประเภทพลอย ไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา อินเดีย เยอรมนี และเบลเยียม ในขณะที่การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 1,103.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 69.5 จากการส่งออกทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปไปยังประเทศสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และฮ่องกง เป็นต้น
ในเดือน เม.ย. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 955.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปยังประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่นทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน เม.ย. 2565 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะด้านราคา โดยดัชนีราคาส่งออกเม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 7.6 ส่วนปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติก มีจำนวน 520.6 ล้านกิโลกรัม หดตัวร้อยละ 7.4
ในเดือน เม.ย. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 2,938.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ หดตัวร้อยละ 25.1 จากการส่งออกไปประเทศจีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น
ในเดือน เม.ย. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 2,,579.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 9.5 จากการส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรถปิคอัพ รถบัส รถบรรทุก หดตัวร้อยละ 28.6 จากการส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ กัมพูชา
ในเดือน เม.ย. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 2,265.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยหดตัวจากเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 8.1 จากการส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 21.2 จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง และเวียดนาม
ในเดือน เม.ย. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 545.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยสินค้าต้นน้ำอย่างด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากการส่งออกไปประเทศโคลัมเบีย บังคลาเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย สินค้ากลางน้ำอย่างผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 9.3 จากการส่งออกไปประเทศกัมพูชา เมียนมา จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และสินค้าปลายน้ำอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 0.9 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
เม็ดพลาสติก
อัญมณีและเครื่องประดับ(ไม่รวมทองคำแท่ง)
ข้อมูลเพิ่มเติม : อัมพร สุวรรณรัตน์ และ ชุติมา ชุติเนตร กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0-2430-6806 ต่อ 680610-611
อุตสาหกรรม
สำนักงำนเศรษฐกิจอุตสำหกรรม Office of Industrial EconomicsOffice of Industrial Economics
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม