สุริยะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เร่งผลักดันการส่งออกอาหารแปรรูปไทยพร้อมรับมือสถานการณ์ความมั่นคงอาหารโลก ก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 20, 2022 14:22 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สุริยะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เร่งผลักดันการส่งออกอาหารแปรรูปไทย

พร้อมรับมือสถานการณ์ความมั่นคงอาหารโลก ก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ครม. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 มีมติรับทราบความคืบหน้า

และแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570)

ตั้งเป้าส่งออกอาหารแปรรูปของไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2565 มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ

18.4 และลุ้นปี 2565 ทะลุ New High 1.3 ล้านล้านบาท พร้อมพลิกวิกฤตเป็ นโอกาสรับมือสถานการณ์ความมั่นคง

ด้านอาหารโลก ก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่ งออก ผ่าน 4 มาตรการ เพื่อเร่ งสร้ งโอกาสสู่การขยายตัวของ

อุตสาหกรรมในอนาคต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิ ดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน

2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบความคืบหน้าและแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) ที่กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักได้รับ

มอบหมายให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่าง

ต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกอาหารแปรรูปของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 จะมีมูลค่าประมาณ 600,000

ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ส่วนภาพรวมปี 2565 คาดจะถึงจุดสูงสุดเดิมและมีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้าน

บาท ซึ่งเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก และก้าวสู่ 1 ใน 10

ประเทศผู้ส่งออก ผ่านการขับเคลื่อน 4 มาตรการหลักตามแผนปฏิบัติการ เพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของ

อุตสาหกรรมในอนาคต โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

มาตรการที่ 1 การสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) ผ่าน 4 หน่วยงาน

ของกระทรวงอุตสาหกรรม (สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สานักงานอุตสาหกรรม

จังหวัด และสถาบันอาหาร) ในการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ สถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ผ่านการ

อบรมและให้คาปรึกษาด้านการเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากลและมาตรฐานฮาลาล (HALAL)

ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและการนานวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เช่น การยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อ

ขับเคลื่อน SMEs สู่สากล การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล รวม

ทั้งสิ้น 3,218 ราย (4,836 คน) พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า 390 ผลิตภัณฑ์

มาตรการที่ 2 การสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต มีการเชื่อมโยงกลไกและให้บริการด้านการวิจัย

และพัฒนาผ่านเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมี

ผู้ประกอบการได้รับการเสริมสร้างความสามารถในการดา เนินธุรกิจนวัตกรรม 651 ราย สร้างนักวิจัยให้สามาร

ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูง เช่น การวิจัยและพัฒนาสารสกัดที่มีฤทธิ์ต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสาหรับ

ผู้สูงอายุ และจัดให้มีศูนย์บริการด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารให้บริการครบวงจร

นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยจัดทา โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐานกว่า 791 ราย

มาตรการที่ 3 การสร้างโอกาสทางธุรกิจยังคงดาเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับเปลี่ยน

รูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 โดยในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์ จัดงานแสดงสินค้าระดับโลกใน

ไทย จา นวน 2 ครั้ง มีจา นวนผู้เข้าร่วมโครงการที่ลงทะเบียนในแฟลตฟอร์ม ทั้งสิ้น 2,363 ราย 2,088 บริษัท 97

ประเทศ มูลค่าการสั่งซื้อรวมประมาณ 3,122.8069 ล้านบาท ด้านสา นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้การ

ส่งเสริม กิจการอุตสาหกรรมแปรรูปที่เป็น SMEs มูลค่า 322 ล้านบาท และสานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม จัดทา และปรับปรุงฐานข้อมูล SMEs ประเทศไทย และเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบ SMEs Big Data

และมาตรการที่ 4 สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยสานักงานมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้จัดทา มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารจา นวน 14 เรื่อง สา นักงานคณะกรรมการ

อ้อยและน้า ตาลทราย จัดทา โครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการผลิตอ้อยพันธุ์ดีและส่งเสริมอ้อยพันธุ์ใหม่ ขณะที่

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทาโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) โครงการพัฒนาศูนย์

เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ นอกจากนี้ ได้มีการ

ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าประมง การยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรโดยการจดทะเบียน

ตรวจสอบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดทาโครงการเตรียม

ความพร้อม Smart Farmer ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า

จากสถานการณ์วิกฤตอาหารโลก ปี 2565 ที่ผลผลิตลดลงและราคาปรับตัวสูงขึ้น สร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อ

ความมั่นคงอาหารในหลายมิติ ทั้งทางด้านความเพียงพอ การเข้าถึงอาหาร โภชนาการ รวมถึงความปลอดภัยนั้น

ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สา คัญของโลก โดยมีสินค้าหลักที่ส่งออก ได้แก่ ข้าว

(ผลิต 22 ล้านตัน บริโภค 10 ล้านตัน) แป้งมันสาปะหลัง (ผลิต 7 ล้านตัน บริโภค 2 ล้านตัน) โปรตีนจากไก่ และสุกร

ขณะเดียวกันยังเป็นประเทศที่พึ่งพิงการนา เข้าอาหาร เช่น ปลาทะเลแช่แข็ง ข้าวสาลี และข้าวโพด ซึ่งในส่วนของ

สินค้าที่ต้องนา เข้านั้นทางภาครัฐจะมีกลไกในการควบคุม ดูแลไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน และเมื่อพิจารณาในภาพรวม

ด้านอุปทาน (supply) อาหารของไทยแล้ว คาดว่าประเทศไทยจะไม่ประสบปัญหาวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารอย่าง

แน่นอน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ