อก. เผย MPI 6 เดือนแรกปี 65 ขยายตัวร้อยละ 0.48
อานิสงส์เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว หนุนอุตฯ น้ามันปิโตรเลียมและอุตฯ สิ่งทอ ฟื้นต่อเนื่อง
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ครึ่งปีแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอบรับสถานการณ์การผลิตกลับมาฟื้นตัวหลังรัฐบาลเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว พร้อมผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 หนุนกาลังการบริโภคประชาชน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนจากอุตสาหกรรมน้ามันปิโตรเลียมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 รวมทั้งได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทอ่อน ส่งผลให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ด้านสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยประมาณการ MPI ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 และ GDP ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.0 - 3.0
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มีคาสั่งซื้อและเพิ่มกาลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร ของโลก คาดว่าในปีนี้การส่งออกอาหารแปรรูปจะสร้างมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท และจะเป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สาหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ใน 6 เดือนแรก ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.48 ขณะที่เดือนมิถุนายน 2565 อยู่ในระดับทรงตัว และอัตราการใช้กาลังการผลิต 6 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 63.81 ทั้งนี้ คาดว่าดัชนี MPI ในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็น ค่อยไป
นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ระดับ 98.05 และอัตราการใช้กาลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 62.41 โดย สศอ. ได้ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ? 2.5 และ GDP ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.0 - 3.0 จากการบริโภคในประเทศส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบประกอบกับประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจาวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น การดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ามันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี อาทิ ยานยนต์ เครื่องประดับ อัญมณี รองเท้า กระเป๋า และเบียร์ รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการ
ส่งออกทาให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น สาหรับสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดย สศอ. ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry Economics : EWS-IE) ในการคานวณ พบว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยใน 1-2 เดือนข้างหน้า ปัจจัยภายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้นตัว ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและปลดล็อกมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศเริ่มส่งผลกระทบ ประเทศคู่ค้าเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้คาสั่งซื้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ ต้องจับตาดูสถานการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงยืดเยื้อ สภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและปัญหาการขาดแคลนอุปทานที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศกาลังพัฒนาในเอเชียหลายประเทศ อาทิ ศรีลังกา เมียนมาร์ และลาว อาจจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนของไทย สาหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนมิถุนายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ น้ามันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.53 จากผลิตภัณฑ์น้ามันดีเซลหมุนเร็ว น้ามันเครื่องบิน น้ามันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นหลัก หลังการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เครื่องปรับอากาศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.26 จากการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ประกอบกับภูมิอากาศแปรปรวนและมีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายประเทศส่งผลให้มีคาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.25 จากผลิตภัณฑ์รถบรรทุกปิคอัพ เป็นหลัก เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด โรคโควิด-19 รวมถึงเร่งผลิตเพื่อส่งมอบตามคาสั่งซื้อ เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.03 โดยได้เร่งผลิตเพื่อรองรับ ความต้องการของตัวแทนจาหน่ายและร้านค้าสาหรับเก็บเป็นสต๊อกก่อนที่ผู้ผลิตจะปรับราคาจาหน่ายสินค้า ปุ๋ยเคมี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.95 โดยได้รับคาสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง หลังปริมาณฝนมากเพียงพอสาหรับการเพาะปลูก รวมถึงราคาพืชผลเกษตรที่สาคัญอยู่ในระดับสูง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายเดือน)
Index
2564
2565
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค. มิ.ย.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
98.12
89.98
86.70
94.72
97.51
100.75
102.26
104.46
101.70
109.93
91.24
98.19 98.05
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %
-2.05
-8.30
-3.65
9.25
2.94
3.33
1.50
2.15
-2.64
8.09
-17.00
7.61 -0.15
อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %
18.64
3.75
-4.95
0.35
2.74
4.59
6.66
2.02
2.45
0.44
-0.03
-1.98 -0.08
อัตราการใช้กาลังการผลิต
63.75
58.10
56.28
61.14
63.12
65.17
65.24
65.69
64.58
69.33
58.54
62.30 62.41
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายไตรมาส)
Index
2564
2565 Q1 Q2 Q3
Q4
Q1 Q2
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 103.70 96.52 90.46
100.17
105.36 95.83
อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน % 8.35 -6.92 -6.28
10.73
5.18 -9.05
อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน % 0.70 20.96 -0.34
4.67
1.60 -0.72
อัตราการใช้กาลังการผลิต 66.32 62.65 58.51
64.51
66.53 61.08
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม