สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว
อุตสาหกรรมรถยนต์ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จาก
รถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,800 cc และรถบรรทุกปิคอัพน้ำหนักบรรทุก 1 ตัน เนื่องจาก
การล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ของจีนส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ของประเทศคู่ค้าทำให้การส่งออกรถยนต์หดตัว
อุตสาหกรรม Hard Disk Drive ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน เนื่องจากนโยบาย Zero Covid ของจีนส่งผลให้ผู้ผลิตที่นำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบประสบ
ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ผลิตสินค้าได้ลดลง
อุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน จากเม็ดพลาสติก Polyethylene resin (PE) และ Ethylene เป็นหลัก เนื่องจาก
ผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราว เพื่อปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับรองรับการเปลี่ยนวัตถุดิบชนิดใหม่
ส่งผลให้ผลิตได้ลดลง
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรม Hard
Disk Drive และอุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2565
อยู่ที่ร้อยละ 62.4
สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปี 2565
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) Office of Industrial Economics (OIE)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค.
MPI -2.4 -1.2 5.8 18.2 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.0 -2.1
อุตสาหกรรมรถยนต์ -5.2 5.0 7.5 291.9 151.4 92.0 31.5 -9.8 -5.4 6.0 -0.9 9.1 5.1 2.2 3.3 12.8 -9.1
อุตสาหกรรม Hard Disk Drive 7.8 4.7 9.6 21.7 8.9 10.1 -10.9 -1.7 -2.7 -17.0 -12.8 -0.4 -20.0 -11.3 -8.9 -28.1 -29.7
อุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น 9.4 15.7 5.9 3.1 12.1 9.9 12.7 7.4 3.7 -0.9 14.1 3.9 4.0 0.8 -2.2 -2.9 -15.6
อุตสาหกรรมสาคัญที่หดตัว 2564 2565
(การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน, %YOY)
อัตราการใช้กำลังการผลิต เดือน พฤษภาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 62.42
ดาวน์โหลดเอกสาร
\
ข้อมูลเพิ่มเติม : นางสาวอรศุภา เชาวนปรีชา กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0-2430-6806
อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน จากน้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ 95 และเบนซิน 95 เป็นหลัก เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการ
ควบคุมการแพร่ระบาดและเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
มากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันขนส่งและเดินทางมากขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน จากแผงวงจรรวม (Integrated circuit: IC) เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ใน Smartphone Tablet และอุปกรณ์อิเล็กทรินิกส์อัจฉริยะในตลาดโลกมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เป็นการเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า โดยเฉพาะยาเม็ดและยาน้ำ ซึ่งเป็นยาแก้ปวดลดไข้สำหรับใช้
กับผู้ป่วยโควิดเป็นหลัก
สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค.
MPI -2.4 -1.2 5.8 18.2 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.0 -2.1
อุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม -10.6 -18.1 -12.0 6.2 3.7 -1.6 -4.8 -6.1 -2.7 6.0 11.9 6.7 9.3 15.9 18.1 12.5 13.1
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -0.0 16.4 6.7 10.8 34.0 33.8 19.1 10.3 13.5 12.4 21.0 14.3 17.3 5.7 3.2 6.0 7.3
อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ -16.8 -15.4 -15.3 -27.3 -8.1 -7.8 -20.7 -7.6 5.5 12.4 26.0 27.9 13.3 14.2 24.0 23.2 25.7
อุตสาหกรรมสาคัญที่ขยายตัว
(การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน, %YOY)
2564 2565
พฤษภาคม 2565
พฤษภาคม 2563
พฤษภาคม 2564
อัตราการใช้กำลังการผลิต ร้อยละ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2565
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม