สถานการณ์ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม ปี 2565 เดือนกรกฎาคม 2565 การส่งออกรวมมีมูลค่า 23,629.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 0.5 (YOY) การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยาน) หดตัวร้อยละ 0.7 (YOY) โดยหดตัวจากคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ด้านการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27) ตะวันออกกลาง (15) อินเดีย ออสเตรเลีย อาเซียน (5) และ CLMV ในขณะที่ประเทศจีนและญี่ปุ่นหดตัวลง
อัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) กรกฎาคม 2565 World +0.5%
EU (27)
+5.0%
CN -21.6%India
JP -5.0% ดาวน์โหลดเอกสาร +26.7% USA +4.2 %
MidEast (15)
+17.2% CLMV +1.8% หมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
Asean AU +11.5% (5)ตะวันออกกลาง (15) ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต โอมาน
+21.8% บาห์เรน เลบานอน จอร์แดน ซีเรีย อิรัก เยเมน อิหร่าน ตุรกี ไซปรัส และอิสราเอล
เดือนกรกฎาคม 2565 การส่งออกรวมมีมูลค่า 23,629.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยการส่งออกในหมวดสินค้าสำคัญ อาทิ สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่า 2,339.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.3 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่า 2,066.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.1 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 17,980.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.1 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 17,503.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.5 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) มีมูลค่า 17,195.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.7 โดยหดตัวจากคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เดือนกรกฎาคม 2565 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 27,289.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยสินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่า 5,705.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 79.0 สินค้าทุนมีมูลค่า 5,475.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.0 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 10,568.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.4 จากแผงวงจรไฟฟ้า เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และปุ๋ย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) อานิสงส์จากการเปิดประเทศ ทำให้การท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในระยะข้างหน้ายังคงมีแนวโน้มปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งมีส่วนที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ประมวลผลโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ช่วยสนับสนุนให้การผลิตช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อไปได้ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือน ก.ค. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 3,343.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสำคัญหดตัวร้อยละ 19.8 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และเยอรมนี เครื่องใช้ไฟฟ้า ในเดือน ก.ค. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 2,364.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย โดยขยายตัวจากเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบเป็นสำคัญ ขยายตัวร้อยละ 25.5 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไต้หวัน อิตาลี สหราชอาณาจักร เม็ดพลาสติก ในเดือน ก.ค. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 869.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปประเทศจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน ก.ค. 2565 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะด้านราคา โดยดัชนีราคาส่งออกเม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 4.2 ส่วนปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติก มีจำนวน 496.4 ล้านกิโลกรัม หดตัวร้อยละ 19.9 ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ในเดือน ก.ค. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 2,929.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 2.9 โดยหดตัวจากส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์เป็นสำคัญ หดตัวร้อยละ 8.5 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือน ก.ค. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 575.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวจากผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 10.3 จากการส่งออกไปประเทศ CLMV จีน เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 9.9 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ในขณะที่ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์หดตัวร้อยละ 6.8 จากการส่งออกไปประเทศจีน บังคลาเทศ เวียดนาม เกาหลีใต้ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในเดือน ก.ค. 2565 มีมูลค่าการส่งออก 602.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ เยอรมนี เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ในขณะที่การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 1,080.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.8
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม