1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
Indicators 2563 2564 2564 2565
%YoY Year Year ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.
MPI -9.5 5.9 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.03 -2.0 -0.2 6.4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)
ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์ของฐานต่ำในปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดค่อนข้าง
รุนแรง รวมถึงในปีนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศยังคงทยอยปรับตัวดีขึ้น
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนเมษายน 2565 การผลิตหดตัว
เล็กน้อยร้อยละ 0.03 เดือนพฤษภาคม หดตัวร้อยละ 2.0 และเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 0.2
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน 2565 ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 17.0 เดือน
พฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 7.6 และเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 0.3
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 23.44 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมถึงผลจาก
ฐานต่ำในปีก่อนที่โควิดกลับมาระบาดรุนแรง
? การกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 12.66 ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ กิจกรรม
การขนส่งเดินทางกลับสู่ภาวะปกติหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
รวมถึงฐานต่ำในปีก่อนที่การระบาดรุนแรงจนภาครัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์บางพื้นที่ ทำให้ความต้องการใช้
น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง
? ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 23.19 จากความต้องการใช้ที่เติบโตขึ้น โรงงานสามารถทำการ
ผลิตและส่งมอบได้ตามปกติ ในขณะที่ปีก่อนมีระบาดรุนแรงในประเทศ พบการระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างและ
ในกลุ่มแรงงานในโรงงาน ทำให้การผลิตและการส่งสินค้าไม่สามารถดำเนินการได้เป็นปกติ
? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 10.39 ตามความต้องการของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลก
? เครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 23.4 ผลจากฐานต่ำในปีก่อน ที่มีการการระบาด
ในวงกว้างส่งผลให้มีพนักงานติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่ รวมถึงในปีนี้มีการเร่งผลิตรองรับ
การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น
ในหลายประเทศ
Indicators 2564 2565
%MoM ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.
MPI -8.3 -3.6 9.3 2.9 3.3 1.5 2.1 -2.6 8.1 -17.0 7.6 -0.3 -2.3
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนกรกฎาคม 2565
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกรกฎาคม 2565
? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกรกฎาคม 2565 มีมูลค่า 1,393.3
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในตลาดจีนและญี่ปุ่นเป็นหลัก
จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรสิ่งทอ
เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว และฐานหุ่น แบบหล่อ
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกรกฎาคม 2565 มีมูลค่า 10,568.2
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18
จากอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์
กึ่งตัวนำ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เหล็ก ประเภทเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม และเหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้า
เจืออื่น ๆ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกรกฎาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 132 โรงงาน ลดลงจาก
เดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 25.0 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.33
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกรกฎาคม 2565 มีมูลค่ารวม
9,373 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 3.95 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 2.89 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกรกฎาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม
การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 13 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 12 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2565 คือ อุตสาหกรรมการทำเบียร์ จำนวนเงินทุน
3,500 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์ยางที่มิใช่ยางล้อ จำนวนเงินทุน 1,033 ล้านบาท
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกรกฎาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 107 ราย ลดลงจากเดือน
มิถุนายน 2565 ร้อยละ 23.02 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 101.89 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกรกฎาคม 2565 มีมูลค่ารวม 4,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน
มิถุนายน 2565 ร้อยละ 71.45 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 123.1 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกรกฎาคม 2565 คือ
อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 18 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทราย
จำนวน 11 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกรกฎาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม
การเก็บรักษาหรือลำเลียงพืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืช ในไซโล มูลค่าเงินลงทุน 2,042 ล้านบาท รองลงมาคือ
อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์โลหะด้วยวิธีปั๊มหรือกระแทก มูลค่าเงินลงทุน 605 ล้านบาท?
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกรกฎาคม 2565
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัช นีผ ล ผ ลิต อุต ส ห ก ร ร ม อ ห ร
เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว
มีดังนี้ 1) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 31.8 จากสินค้าสำคัญคือ
น้ำตาลท ราย ขาวบ ริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 44.8 เนื่องจาก
ความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจ 2) อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 18.2 จากสินค้า
สำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 34.8 เนื่องจาก
ความนิยมในการเลี้ยงสัตว์ทั่วโลกที่ยังคงขยายตัวอยู่ ส่งผลให้ตลาด
อาหารสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 3) ปศุสัตว์ ขยายตัว
ร้อยละ 18.2 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัว
ร้อยละ 17.0 เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้สินค้า
ดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการที่
จีนปลดล็อคมาตรการระงับการนำเข้าไก่แช่แข็งจากโรงงานไทย
ส่งผลให้มีโรงงานไทยสามารถส่งออกไปจีนได้มากขึ้น 4) ประมง
ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาแช่แข็ง ขยายตัว
ร้อยละ 4.9 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดในประเทศและ
ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 5) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากสินค้า
สำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 0.9 เนื่องจากความ
ต้องการบริโภคของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน
ซึ่งเป็นตลาดหลัก เพื่อใช้ทดแทนในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดยังคง
มีราคาสูง
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า
อาหารในประเทศเดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 3.4
โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว เช่น 1) ผลไม้กระป๋องอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ
149.0 2) อาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง ขยายตัวร้อยละ 111.3 3) เนื้อไก่สุก
ปรุงรส ขยายตัวร้อยละ 31.3 4) น้ำอัดลม ขยายตัวร้อยละ 21.6
ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนกรกฎาคม 2565
ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 36.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
จากสินค้าดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลัก
ได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล อาหารสัตว์ และแป้งมัน
สำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 2) ผักผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ
ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง เนื่องจากสถานการณ์การขนส่งดีขึ้น โดย
ตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี เช่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย 3) ไขมันและน้ำมัน
จากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากการที่รัฐอนุมัติ
วงเงินผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อปรับสมดุลให้กับผลผลิตในประเทศ
4) น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย โดย
ตลาดหลัก คือ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย
คาดการณ์แนวโน้ม ในภาพรวมเดือนสิงหาคม 2565 มีแนวโน้มขยายตัว
มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐและ
การที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนรวมถึงเข็มกระตุ้นแล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจ
มีแนวโน้มฟื้นตัว อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่ทยอยเข้ามาส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยว
มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์
ทางเศรษฐกิจและการเงินโลก จากการปรับอัตราดอกเบี้ยตามภาวะเงินเฟ้อของ
ประเทศต่าง ๆ สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากสถานการณ์
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
98.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล
เครื่องซักผ้า และเตาไมโครเวฟ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9, 1.6 และ
0.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
มอเตอร์ไฟฟ้า และพัดลมตามบ้าน โดยลดลงร้อยละ 17.2 , 15.2,
13.7 และ 3.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศ
และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,364.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม
มีมูลค่า 46.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 ในตลาด
สหรัฐอเมริกาและจีน หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า
292.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 ในตลาดยุโรป
สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
มีมูลค่า 558.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 ในตลาด
ยุโรป และไต้หวัน ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่
เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 155.8 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.4 ในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา และ
เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 99.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 14.9 ในตลาดสหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้
?คาดการณ์การผลิตเดือนสิงหาคม 2565 อุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ
1.0-3.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจ
ในประเทศขยายตัวจากการเปิดประเทศ และความต้องการสินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดโลกยังคงเพิ่มขึ้น?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
89.6 ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, PWB และ
Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 29.9,
19.7 และ 1.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ
ลดลงและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้า
ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ IC โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เนื่องจากความ
ต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,343.1
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD
มีมูลค่า 661.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39.9 ในตลาด
ฮ่องกง และวงจรพิมพ์ มีมูลค่า 113.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 20.5 ในตลาดเกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้า
ที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และ
ไดโอด มีมูลค่า 243.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
ในตลาดอาเซียนและแคนาดา และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 733.1
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในตลาดสิงคโปร์และจีน
?คาดการณ์การผลิตเดือนสิงหาคม 2565 อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ
ร้อยละ 0.2-3.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัว?
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ก.ค.
64
ส.ค.
64
ก.ย.
64
ต.ค.
64
พ.ย.
64
ธ.ค.
64
ม.ค.
65
ก.พ.
65
ม. ค.
65
เม.ย.
65
พ.ค.
65
ม. ย.
65
ก.ค.
65
คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์
ปรมิ ณการจำหนา ย ปรมิ ณการสง่ ออก
ปรมิ ณการผลติ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 มีจำนวน
142,958 คัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ
0.04 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
16.07 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และ
อนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม
ปี 2565 มีจำนวน 64,033 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2565
ร้อยละ 5.76 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
22.10 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์
กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเยียวยาผู้ได้รับ
ผลกระทบจากโควิด-19 การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด
ของโควิด-19 ทำให้มีนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การประกันรายได้เกษตรกร รวมทั้ง มีการปรับตัวในการดำรงชีวิตเข้าสู่
ภาวะปกติในช่วงก่อนมีการแพร่ระบาดของโควิด-19
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565
มีจำนวน 83,086 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2565
ร้อ ย ล 1 2 .4 5 (%MoM) แ ล เพิ่ม ขึ้น จ ก เดือ น เดีย วกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 17.70 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้น
ในตลาดโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ
และอเมริกากลางและใต้
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน
สิงหาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ปี 2564
เนื่องจากฐานการผลิตรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 ต่ำ จากการ
ล็อกดาวน์ของการระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่รุนแรง?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ก.ค.
64
ส.ค.
64
ก.ย.
64
ต.ค.
64
พ.ย.
64
ธ.ค.
64
ม.ค.
65
ก.พ.
65
ม.ค.
65
เม.ย.
65
พ.ค.
65
ม.ย.
65
ก.ค.
65
คนั ขอ้ มูลรายเดอื นอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์
ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก
ปริมาณการผลติ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565
มีจ น ว น 1 5 3 ,1 7 0 คัน ล ด ล ง จ ก เดือ น มิถุน ย น
ปี 2565 ร้อยละ 2.15 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน ร้อยละ 83.02 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิต
รถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม
ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 133,815 คัน ลดลงจากเดือน
มิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ 23.22 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.73 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของ
ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 111-125 ซีซี และ 126-250
ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565
มีจำนวน 22,031 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ
12.09 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
44.70 (%YoY) โดยการส่งออกมีการลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา
ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนสิงหาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ปี 2564
เนื่องจาก ฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม ปี 2564 ต่ำ
จากการล็อกดาวน์ของการระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่รุนแรง?
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยาง
ข้น) ลดลงร้อยละ 4.12 จากการชะลอตัวของการผลิต
ยางแผ่น และน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 จากการเพิ่มขึ้น
ของการผลิต ยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ
รถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 10.89 ตามการชะลอตัวของ
ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.91 เป็นผลจากความต้องการยางแท่ง และ
น้ำยางข้นที่เพิ่มขึ้น
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 ตามการขยายตัว
ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 19.89 จากความต้องการใช้
ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง
การส่งออก
ยางแปรรูป ขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.02 เป็นผลจากการ
ขยายตัวของ การส่งออกยางแท่งไปสหรัฐอเมริกาและ
น้ำยางข้นไปมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.84 จากการ
ขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ
เกาหลีใต้
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 49.63 สาเหตุจาก
ราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2565
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวจาก
ความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่
การจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะขยายตัวตามการ
เติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ในส่วนของการผลิต
และจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวตามความ
ต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกไปยัง
ตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และมาเลเซีย สำหรับการ
ส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก
แนวโน้มการขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ในส่วนของการส่งออก
ถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่องจากฐานตัวเลข
การส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง และราคาของ
ถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม ปี 2565 ดัชนีผลผลิต
ขยายตัวร้อยละ 0.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี
ผ ล ผ ลิต ขย ย ตัวใน ห ล ย ๆ ผ ลิต ภัณ ฑ์ เช่น เค รื่อ งใช้
ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 16.05
ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 6.36 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
ขยายตัวร้อยละ 2.18
ดัช นีก รส่งสิน ค้า เดือ น ก รก ฎ ค ม ปี2565
ดัชนีการส่งสินค้า หดตัวร้อยละ 1.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 6.99 กระสอบ
พลาสติก หดตัวร้อยละ 19.87 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัว
ร้อยละ 5.03
การส่งออก เดือนกรกฎาคม ปี 2565 มีมูลค่า 383.05
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์
เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 24.40 ผลิตภัณฑ์
ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก (HS 3926) หดตัวร้อยละ 16.12
ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่เป็นแบบ
เซลลูลาร์ (HS 3921) หดตัวร้อยละ 11.77
การนำเข้า เดือนกรกฎาคม ปี 2565 มีมูลค่า 442.43
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ หดตัวร้อยละ 4.14 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว
เช่น ผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) หดตัวร้อยละ 11.18
ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติด
ในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 6.92 และผลิตภัณฑ์ของ
ที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 6.65
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนสิงหาคม ปี 2565
สถานการณ์ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ ช่วยกระตุ้น
การท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติมากขึ้นส่งผลต่ออุตสาหกรรม
พลาสติกที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มการผลิตขยายตัวเพิ่ม อย่างไรก็ตาม
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลกระทบต่อการนำเข้า-ส่งออก
มีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะต่อไป
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 99.68
หดตัวร้อยละ 3.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 5.38 ผลิตภัณฑ์ที่มี
การผลิตหดตัว ได้แก่ สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 22.34 ปุ๋ยเคมี
หดตัวร้อยละ 19.71 และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 14.08
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนกลุ่มเคมีภัณฑ์
พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.84 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว
ได้แก่ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ 27.96
ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น ก ร ก ฎ ค ม 2565
อยู่ที่ระดับ 91.15 หดตัวร้อยละ 11.00 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์
พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 5.25 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิต
หดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 10.68 โซดาไฟ หดตัว
ร้อยละ 10.06 และคลอรีน หดตัวร้อยละ 9.65 ส่วนกลุ่ม
เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 12.48 โดยผลิตภัณฑ์
ที่มีการหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 37.53 สีน้ำมัน
หดตัวร้อยละ 21.08 น้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 14.86
การส่งออก เดือนกรกฎาคม 2565 มูลค่าการส่งออก
887.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการส่งออก 591.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
ร้อยละ 1.89 สำหรับ กลุ่มเคมีภัณ ฑ์ขั้นป ลายมีมูลค่า
การส่งออก 368.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.4
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่า
การส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ
24.26 สารลดแรงตึงผิว ขยายตัวร้อยละ 15.89 และเครื่องสำอาง
ขยายตัวร้อยละ 12.10
การนำเข้า เดือนกรกฎาคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า
2,085.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 22.05
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการนำเข้า 1,302.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว
ร้อ ย ล 11.56 เมื่อ เทีย บ กับ ช่วงเดียวกัน ข องปีก่อ น
ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 782.89 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 44.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนสิงหาคม 2565
ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
ที่เพิ่งฟื้นตัวจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ภาคธุรกิจ
การค้าเพิ่งเริ่มกลับมาดีขึ้น แต่มาเจอปัญหาราคาพลังงานปรับตัว
สูงต้นทุนวัตถุดิบที่แพงขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเริ่มชะลอ
การผลิตเพื่อรอดูสถานการณ์
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 113.25 หรือหดตัวร้อยละ
6.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 15.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene Toluene หดตัวร้อยละ 28.03
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย
ได้แก่ EPS resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 24.42 และ
22.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 100.71 หดตัว
ร้อยละ 11.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ
ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.63 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็น
ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene หดตัวร้อยละ 28.11
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย
ได้แก่ PS resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 21.81 และ
7.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนกรกฏาคม ปี 2565 มีมูลค่า
1,060.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 12.69
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 5.45
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นปลาย เช่น PS resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Vinyl Chloride เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า เดือนกรกฏาคม ปี 2565 มีมูลค่า
604.03 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 3.43
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 3.28
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย
เช่น PP resin และ PVC resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่ม
ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Vinyl Chloride เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนสิงหาคม ปี 2565
คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัว เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออก
โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ
Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคา
น้ำมัน ดิบ ที่เป็น ผ ล ก ระท บ จ ก การห ยุด การผ ลิต
ในหลายประเทศ จากสงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ
ความขัดแย้งของจีน-ไต้หวัน การประท้วงหยุดงานในเกาหลี
และการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง ประกอบกับประเทศ
กลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณาปรับขึ้นปริมาณการผลิต อีกทั้ง
ประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงานโลกรายสำคัญ กำลัง
พิจารณ หยุดส่งก๊าซธรรมชาติให้ประเทศใน ยุโรป
นอกจากนี้การเข้าสู่ฤดูการเดินทางในสหรัฐที่กดดันให้ราคา
น้ำมันเพิ่มขึ้น
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกรกฎาคม
2565 มีค่า 79.6 ห ด ตัว ร้อ ย ล 13.3 เมื่อ เทีย บ กับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กมีแนวโน้มลดลง
ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการนำเข้า เมื่อพิจารณาตาม
ผลิตภัณฑ์หลัก พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็ก
ทรงแบนหดตัว ขณะที่เหล็กทรงยาวขยายตัว โดยผลิตภัณฑ์
ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 75.6
หดตัวร้อยละ 30.2 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็ก
แผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ เหล็ก
แผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 39.1 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก
หดตัวร้อยละ 38.6 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 86.9 ขยายตัวร้อยละ 9.7 โดย
ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย
ขยายตัวร้อยละ 62.5 รองลงมาคือ เหล็กลวด ขยายตัว
ร้อยละ 27.7 และลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 6.4
การบริโภคในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2565
มีปริมาณ การบริโภค 1.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.6
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการบริโภค
เหล็กทรงแบน 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 10.8 จากการ
บริโภคเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 17.1 รองลงมา
คือ เหล็กแผ่นบางรีดเย็น หดตัวร้อยละ 11.1 และ เหล็กแผ่น
บางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน หดตัวร้อยละ 10.8
ในขณะที่การบริโภคเหล็กทรงยาวมีปริมาณการบริโภค 0.5
ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 15.5 จากการบริโภคเหล็กเส้นและ
เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 24.4
การนำเข้า ในเดือนกรกฎาคม 2565 มีปริมาณ
การนำเข้า 1.1 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาว
มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากการ
นำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนชนิด Carbon steel
ขยายตัวร้อยละ 273.7 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน
เกาหลีใต้) รองลงมาคือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ
116.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) และเหล็กลวด ชนิด
Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 36.9 (ประเทศหลักที่ไทย
นำเข้า คือ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน
มีปริมาณการนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากการ
นำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อน ประเภท Alloy steel ขยายตัว
ร้อยละ 774.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน) รองลงมา
คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน
ประเภท Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 137.4 (ประเทศ
หลักที่ไทยนำเข้า คือเกาหลี อินโดนีเซีย และจีน) และเหล็ก
แผ่นบางรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ประเภท Alloy
steel ขยายตัวร้อยละ 38.4 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ
ญี่ปุ่น และจีน)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม
2565 คาดการณ์ว่า ดัชนีการผลิตทรงตัวเท่ากับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจาก ราคาเหล็กมีแนวโน้มต่ำลง ผู้บริโภค
มีตัวเลือกในการซื้อเหล็กจากต่างประเทศที่ราคาถูกกว่าผลิต
ในประเทศ ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญ ที่ควรติดตาม ได้แก่
การส่งออกเหล็กของรัสเซียมายังภูมิภาคตะวันออก ที่คาดว่า
จะส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดเอเซียลดลง และอีกหนึ่งประเด็น
สำคัญคือ การดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็น
ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออก เหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจาก
ส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย?
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
เส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 8.76 (%YoY) จากกลุ่ม
เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 22.77 จากกลุ่ม
ผ้าทอใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ขยายตัวร้อยละ 5.53 จากกลุ่มเสื้อผ้ากีฬา ชุดออกกำลังกาย
สูทหรือชุดยูนิฟอร์มที่ขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยหลักเนื่องจาก
ความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอินเดีย รวมทั้งตลาดในประเทศ
เริ่มขยายตัวจากสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จากการ
เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัว ร้อยละ
7.75 9.60 และ 22.90 (%YoY) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการ
ฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และการผ่อนคลายมาตรการ
การเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวของไทย
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใย และผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ 34.00 และ
6.91 (%YoY) เนื่องจากผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น
เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อของประเทศ
คู่ค้าหลักที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป การนำเข้า
ขยายตัวร้อยละ 49.72 (%YoY) จากตลาดคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ จีน
อิตาลี เวียดนาม บังกลาเทศ และกัมพูชา
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การส่งออก
กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
อินเดีย บังกลาเทศ และเมียนมา โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน
และเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 10.13 10.30 และ 9.85
(%YoY)
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2565
คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยว
หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและการจำกัดการเดินทาง
ระหว่างประเทศ รวมทั้งตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการ
ต่อเนื่อง โดยรวมน่าจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของระบบ
เศรษฐกิจและการเงินโลก จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งความยืดเยื้อของความ
ขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง
สหรัฐฯ-จีน และความตึงเครียดของจีน-ไต้หวัน รวมทั้งการดำเนิน
นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่อง
15
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2565
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565
มีจำนวน 7.31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ปี 2565
ร้อยละ 0.09 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 7.39 (%YoY)
การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน
กรกฎาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.35 ล้านตัน
ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ 2.35 (%MoM)
แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.64
(%YoY) โดยมีปัจจัยหนุนจากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
ของภาครัฐและการเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการ
เปิดประเทศของรัฐบาล
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกรกฎาคม
ปี 2565 มีจำนวน 0.49 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน
ปี 2565 ร้อยละ 41.61 (%MoM) และลดลงเมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.86 (%YoY) โดยเป็นการ
ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ
สปป.ลาว ร้อยละ 53.59 46.43 และ 24.12 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนสิงหาคม ปี 2565 คาดว่า
จะขยายตัวได้อีกเล็กน้อย โดยแม้จะได้รับปัจจัยหนุนจาก
โครงการก่อสร้างภาครัฐและการฟื้นตัวด้านการลงทุน
ในอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน แต่ยังมีปัจจัยลบจากการ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยของภาคการเงินและบางพื้นที่ประสบกับ
ภาวะน้ำท่วม
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ใน เดือน
กรกฎาคม ปี 2565 มีจำนวน 3.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก
เดือนมิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ 0.49 (%MoM) และเพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.37 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.34
ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ 2.35
(%MoM) จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูฝนเต็มตัว
แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว ร้อยละ
10.45 (%YoY) ตามการเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน
กรกฎาคม ปี 2565 มีจำนวน 0.20 ล้านตัน ลดลงจากเดือน
มิถุนายน ปี 2565 ร้อยละ 46.17 (%MoM) และเมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 37.94 (%YoY) จากการ
ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดเวียดนาม สปป.ลาว และ กัมพูชา
ร้อยละ 46.43 23.87 และ 16.35 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนสิงหาคม ปี 2565
คาดว่า สามารถขยายตัวได้อีกเล็กน้อยตามการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจ แต่ในขณ เดียวกันก็มีปัจจัยลบ
จากในบางพื้นที่ที่ประสบกับภาวะน้ำท่วม
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม