ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 19, 2022 15:22 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัว

ร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์ของฐานต่ำในปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง

รวมถึงในปีนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศยังคงทยอยปรับตัวดีขึ้น ตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ที่คลี่คลายจนเกือบเป็นปกติ

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนพฤษภาคม 2565 การผลิตหดตัว

ร้อยละ 2.0 เดือนมิถุนายน หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 6.4

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2565 ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 7.6

เดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 0.3 และเดือนกรกฎาคม หดตัวร้อยละ 2.2

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนสิงหาคม 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 63.37 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากฐานต่ำ

ในปีก่อนเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แรงงานติดเชื้อจำนวนมาก โรงงานผลิตชิ้นส่วนหลายโรงงานต้องปิด

ชั่วคราวและมีการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่

? การกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 17.6 ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ

หลังการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการขยายตัวของการท่องเที่ยวในประเทศ ผู้คนเดินทางและ

ขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ต่างจากปีก่อนที่มีการแพร่ระบาดค่อนข้างรุนแรง

? เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 54.62 เนื่องจากฐานต่ำในปีก่อนจากการแพร่ระบาด

ของโควิด-19 ทำให้แรงงานติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่ และในปีนี้มีการผลิตเพื่อรองรับ

ตลาดส่งออกที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมถึงมีการเร่งผลิตเพื่อส่งมอบสำหรับรองรับงานแสดงสินค้า

ที่จัดขึ้นในเดือนกันยายน 2565

? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 15.61 ขยายตัวตามตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลก

โดยในปัจจุบันชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นชิ้นส่วนสำคัญสำหรับใช้ในการผลิตสินค้าในหลายอุตสาหกรรม

? รถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 131.01 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาด

ส่งออก จากฐานต่ำหลังการระบาดรุนแรงในปีก่อน ส่งผลให้ในปีก่อนมีการขาดแคลนชิ้นส่วน เนื่องจากแรงงาน

ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ทำให้การผลิตรถจักรยานยนต์ทำได้ไม่เต็มที่

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนสิงหาคม 2565

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนสิงหาคม 2565

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่า 1,591.5

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากเครื่องสูบลม เครื่องสูบ

ของเหลว เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก ขณะที่เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและ

ส่วนประกอบ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ ยังคง

ขยายตัวได้

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่า 10,343.2

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19

จากอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์

กึ่งตัวนำ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนสิงหาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 172 โรงงาน เพิ่มขึ้นจาก

เดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 30.3 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.55

(%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่ารวม 9,094

ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2565 ร้อยละ 2.98 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 27.04 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนสิงหาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 33 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 24 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2565 คือ อุตสาหกรรมการผลิตวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับ

ใช้ในการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค จำนวนเงินทุน 2,876 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

โรงงานห้องเย็น จำนวนเงินทุน 671 ล้านบาท

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนสิงหาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 137 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน

กรกฎาคม 2565 ร้อยละ 28.04 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 218.6

(%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่ารวม 1,223 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม

2565 ร้อยละ 70.59 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.84 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนสิงหาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 54 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการดูดทรายจำนวน 15 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนสิงหาคม 2565 คือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน มูลค่าเงินลงทุน 326 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำอุปกรณ์

ติดตั้ง หรือเต้าเสียบหลอดไฟฟ้า สวิตซ์ไฟฟ้า ตัวต่อตัวนำ มูลค่าเงินลงทุน 106 ล้านบาท?

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนสิงหาคม 2565

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัช นีผ ล ผ ลิต อุต ส ห ก ร ร ม อ ห ร

เดือนสิงหาคม 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว

มีดังนี้ 1) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 69.4 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาล

ทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 184.9 เนื่องจากความต้องการบริโภค

ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว

ต่อเนื่อง 2) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 36.2 จากสินค้าสำคัญคือ

เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 35.0 เนื่องจากมีการ

ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการ

ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงหลังจากที่จีนปลดล็อก

มาตรการระงับการนำเข้าไก่แช่แข็งจากโรงงานไทย จึงสามารถ

ส่งออกไปจีนได้มากขึ้น และการที่ไทยมีการหาตลาดใหม่ส่งออก

ไปยังซาอุดีอาระเบียเพิ่มในช่วงที่ถูกจีนระงับการนำเข้า 3) อาหาร

สัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์

เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 22.0 เนื่องจากความนิยมในการ

เลี้ยงสัตว์ทั่วโลกที่ยังคงขยายตัว ส่งผลให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงมีการ

เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา ญี่ปุ่น

4) ประมง ขยายตัวร้อยละ 11.8 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาแช่แข็ง

ขยายตัวร้อยละ 22.7 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาด

ในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการหดตัว

เช่น มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 8.3 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมัน

สำปะหลัง หดตัวร้อยละ 9.6 เนื่องจาก เป็นช่วงป ลายฤดู

การเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย รวมถึงเป็นช่วง

การปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักรสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง

ผักแล ผล ไม้แป รรูป หด ตัวร้อย ละ 4.9 จากสิน ค้าส คัญ

3 อันดับแรก ได้แก่ สับ ปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 56.6

ข้าวโพดหวานกระป๋อง หดตัวร้อยละ 19.3 และผลไม้กระป๋องอื่น ๆ

หดตัวร้อยละ 7.4

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนสิงหาคม 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 1.4

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว เช่น 1) อาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง

ขยายตัวร้อยละ 115.4 2) ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 114.5

3) เครื่องดื่มรสน้ำผลไม้ ขยายตัวร้อยละ 85.5 4) เนื้อไก่สุกปรุงรส ขยายตัว

ร้อยละ 55.8

ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนสิงหาคม 2565

ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากสินค้าดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีน ซึ่งเป็นตลาดหลัก

ได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล อาหารสัตว์ และแป้งมัน

สำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 2) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ

ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น 3) น้ำตาลทรายและ

กากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย

มาเลเซีย

คาดการณ์แนวโน้ม ในภาพรวมเดือนกันยายน 2565 ในภาพรวมมีแนวโน้ม

ขยายตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการ

ของรัฐ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่ทยอย

เข้ามาส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคง

ต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินโลก จากการปรับอัตราดอกเบี้ย

ตามภาวะเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ

ราคาพลังงาน และค่าขนส่ง สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากความ

ผันผวนของเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

94.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อหุงข้าว กระติกน้ำ

ร้อน พัดลมตามบ้าน เตาไมโครเวฟ สายเคเบิ้ล เครื่องซักผ้า

คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น สายไฟฟ้า และ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 14.3, 13.7, 11.4, 9.8, 9.4, 5.7, 3.5, 3.5, 2.5 และ 1.8

ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า และ

เครื่องปรับอากาศ โดยลดลงร้อยละ 25.6 และ 10.6 ตามลำดับ

เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจาก

ต่างประเทศลดลง

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,742.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสตรง มีมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 193.9 ในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่น สายไฟฟ้า

ชุดสายไฟ มีมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8

ในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง

ได้แก่ ตู้เย็น ลดลงร้อยละ 3.8 ในตลาดยุโรป และญี่ปุ่น และ

เครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 4.5 ในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่น

?คาดการณ์การผลิตเดือนกันยายน 2565 อุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.0-10.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจ

ในประเทศขยายตัวจากการเปิดประเทศ และความต้องการสินค้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดโลกยังคงเพิ่มขึ้น? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

93.0 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ป รับตัวลด ลง ได้แก่ PWB แล

Integrated circuits โดยลดลงร้อยละ 6.6 และ 5.5 ตามลำดับ

เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศลดลงและคำสั่งซื้อจาก

ต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA

และ Semiconductor devices Transistors โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ

29.5 และ 12.4 ตามลำดับเนื่องจากความต้องการสินค้า

ของตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,566.1

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD

มีมูลค่า 558.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 ในตลาด

ยุโรปและจีน และไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และ

ส่วนประกอบ มีมูลค่า 87.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9

ในตลาดยุโรปและจีน

?คาดการณ์การผลิตเดือนกันยายน 2565 อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ

ร้อยละ 0.2-3.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น

ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัว?

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ส.ค.

64

ก.ย.

64

ต.ค.

64

พ.ย.

64

ธ.ค.

64

ม.ค.

65

ก.พ.

65

ม. ค.

65

เม.ย.

65

พ.ค.

65

ม. ย.

65

ก.ค.

65

ส.ค.

65

คนั ข้อมลู รายเดอื นอุตสาหกรรมรถยนต์

ปริมาณการจำหน่าย

ปริมาณการส่งออก

ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2565 มีจำนวน

171,731 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ 20.13

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 64.90

(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ

1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจาก

ฐานการผลิตรถยนต์เดือนเดียวกันของปีก่อนต่ำจากการล็อกดาวน์

ของการระบาดของโควิด-19

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนสิงหาคม ปี 2565

มีจำนวน 68,208 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ

6.52 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 61.72

(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์

กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV

เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเยียวยาผู้ได้รับ

ผลกระทบจากโควิด-19 การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด

ของโควิด-19 ทำให้มีนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงการประกันรายได้เกษตรกร

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2565 มีจำนวน

73,325 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ 11.75

(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.09

(%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย

ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกากลางและใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน

กันยายน ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนปี 2564

เนื่องจาก ฐานการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน ปี 2564 ต่ำ

จากการล็อกดาวน์ของการระบาดของโควิด-19? ? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ส.ค.

64

ก.ย.

64

ต.ค.

64

พ.ย.

64

ธ.ค.

64

ม.ค.

65

ก.พ.

65

ม.ค.

65

เม.ย.

65

พ.ค.

65

ม.ย.

65

ก.ค.

65

ส.ค.

65

คนั

ขอ้ มูลรายเดอื นอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์

ปรมิ ณการจำหน่าย

ปรมิ ณการส่งออก

ปรมิ ณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2565

มีจ น วน 1 8 9 ,7 0 7 คัน เพิ่ม ขึ้น จ ก เดือ น ก รก ฎ ค ม

ปี 2565 ร้อยละ 23.85 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 135.74 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิต

รถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต เนื่องจาก

ฐานการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนเดียวกันของปีก่อนต่ำจากการ

ล็อกดาวน์ของการระบาดของโควิด-19

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนสิงหาคม

ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 171,835 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

กรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ 28.41 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจาก

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 64.56 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้น

ของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125

ซีซี, 126-250 ซีซี และ 251-399 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนสิงหาคม ปี 2565

มีจำนวน 33,307 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ

56.67 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

9 .4 4 (% YoY) โด ย ก ร ส่ง อ อ ก มีก ร ล ด ล ง ใน ต ล ด

สหราชอาณาจักร ไต้หวัน และแคนนาดา

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนกันยายน ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน

ปี 2564 เนื่องจาก ฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน

ปี 2564 ต่ำ จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19?

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 จากการขยายตัวของการผลิต

ยางแท่งเป็นหลัก

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 จากการเพิ่มขึ้น

ของการผลิต ยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ

รถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 27.61 ตามการชะลอตัวของ

ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)

ลดลงร้อยละ 15.63 เป็นผลจากความต้องการทั้งยางแผ่น

ยางแท่ง และน้ำยางข้นที่ลดลง

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.70 ตามการขยายตัว

ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 25.47 จากความต้องการใช้

ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยาง

ข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.82 เป็นผลจากการลดลงของการ

ส่งออกยางแผ่นไปตลาดจีนและน้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 จากการ

ขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดเกาหลีใต้ มาเลเซีย และ

เวียดนาม

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 46.73 สาเหตุหลัก

จากราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2565

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการใช้

ยางแผ่นและน้ำยางข้นทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

ประกอบกับฝนที่ตกชุกในพื้นที่กรีดยางทำให้มีแนวโน้มปริมาณ

ยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตยางรถยนต์คาดว่า

จะขยายตัวจากความต้องการของตลาดที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะขยายตัวตาม

การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ในส่วนของการ

ผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวตาม

ความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง

อย่างต่อเนื่อง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงเนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาด

ส่งออกสำคัญของทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น มีแนวโน้ม

ชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย สำหรับการส่งออก

ยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการ

ขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปยังตลาดรอง อาทิ มาเลเซีย

เวียดนาม เยอรมนี และซาอุดีอาระเบีย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่า

ลดลงอย่างต่อเนื่องจากฐานตัวเลขการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมา

ที่อยู่ในระดับสูงและราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงอย่างมาก

จากในช่วงที่ผ่านมา

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนสิงหาคมปี 2565 ดัชนีผลผลิต

ขยายตัวร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี

ผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ขยายตัว

ร้อยละ 17.31 เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัว

ร้อยละ 9.33 และแผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 3.74 เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนสิงหาคม 2565 ดัชนีการส่งสินค้า

ขยายตัวร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์

ที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัว

ร้อยละ 18.82 ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 16.16 และแผ่นฟิล์มพลาสติก

ขยายตัวร้อยละ 10.02 เป็นต้น

การส่งออก เดือนสิงหาคมปี 2565 มีมูลค่า 407.98

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายร้อยละ 13.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น กลุ่ม

ผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 82.71

ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) ขยายตัว

ร้อยละ 21.04 และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924)

ขยายตัวร้อยละ 18.92 การนำเข้า เดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่า 482.43

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 1.46 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้า

ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ

42.24 ผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ

24.51 และผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ

22.92

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกันยายน2565

สถานการณ์ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ ช่วยกระตุ้น

การท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติมากขึ้น ส่งผลต่ออุตสาหกรรม

พลาสติกที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มการผลิตขยายตัวเพิ่ม อย่างไรก็ตาม

ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลกระทบต่อการนำเข้า ส่วนการส่งออก

มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนสิงหาคม ปี 2565 อยู่ที่ระดับ

93.54 ขยายตัวร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายขยายตัวร้อยละ 4.3

ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ สีน้ำพลาสติก ขยายตัว

ร้อยละ 41.40 สีอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 30.11 และสบู่

และเครื่องบำรุงผิว ขยายตัวร้อยละ 28.07 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ในส่วนกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ

3.18 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ

10.58 คลอรีน หดตัวร้อยละ 5.09 และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 3.09

ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น สิง ห ค ม 2565

อยู่ที่ระดับ 93.43 ขยายตัวร้อยละ 4.49 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัว

ร้อยละ 7.76 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว ได้แก่ แป้งฝุ่น

ขยายตัวร้อยละ 30.87 สบู่และเครื่องบำรุงผิว ขยายตัว

ร้อยละ 27.37 และผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 20.96

โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณ ฑ์พื้นฐาน หดตัว

ร้อยละ 7.00 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ คลอรีน

หดตัวร้อยละ 13.67 โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 11.03 และ

กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 3.32

การส่งออก เดือนสิงหาคม 2565 มูลค่าการส่งออก

852.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.14 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า

การส่งออก 488.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.4 สำหรับ

กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 363.36 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์

อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 24.26 สารลดแรงตึงผิว ขยายตัวร้อยละ

15.89 และเครื่องสำอาง ขยายตัวร้อยละ 12.10

การนำเข้า เดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า

2,049.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 7.53

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

มีมูลค่าการนำเข้า 1,332.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อ ย ล 1.71 เมื่อ เทีย บ กับ ช่วงเดีย ว กัน ข อ งปีก่อ น

ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 717.07 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกันยายน 2565

การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวส่งผลดีต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

ภายในประเทศ ขณะที่ภาคการผลิตมีทิศทางที่ดีขึ้นสอดคล้องกับ

ดัชนีฯ คำสั่งซื้อสินค้าและยอดขายในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก

เดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามราคาพลังงานโลก

ที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

อย่างต่อเนื่อง ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 108.49 หรือหดตัวร้อยละ

8.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลง

ร้อยละ 2.90 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Toluene หดตัวร้อยละ 19.26 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS

resin และ PP resin หดตัวร้อยละ 7.91 และ 3.04 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 102.92 หดตัว

ร้อยละ 9.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัว

เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 15.15 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS

resin แ ล PE resin ห ด ตัว ร้อ ย ล 15.73 แ ล 5.22

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนสิงห คม ปี 2565 มีมูลค่า

1,022.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 18.44

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 3.46

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PS resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Vinyl Chloride เป็นต้น การนำเข้า เดือนสิงหาคม ปี 2565 มีมูลค่า

548.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 3.46

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 6.63

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย

เช่น PP resin และ PVC resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่ม

ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Vinyl Chloride เป็นต้น

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกันยายน ปี 2565

คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออก

โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ

Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคา

น้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการหยุดการผลิตในหลาย

ประเทศ จากสงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ ความขัดแย้ง

ของจีน-ไต้หวัน การประท้วงหยุดงานในเกาหลีและการ

ก่อการร้ายในตะวันออกกลาง ประกอบกับประเทศกลุ่ม

โอเปกยังไม่พิจารณาปรับขึ้นปริมาณการผลิต อีกทั้งประเทศ

รัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงานโลกรายสำคัญ ได้หยุดส่งก๊าซ

ธรรมชาติให้ประเทศในยุโรป นอกจากนี้การประกาศขึ้น

อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ เพื่อชะลอเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ทำให้

ค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้น และส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ

ทั่วโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลง และทำให้กำลังซื้อชะลอตัว

ที่ทำให้ความต้องการใช้ลดลง 8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม 2565

มีค่า 86.6 หดตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนก่อสร้าง

ในประเทศยังคงชะลอตัว ประกอบกับมีการนำเข้าเหล็กจาก

ต่างประเทศซี่งมีราคาต่ำลง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก

พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาว

และเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนี

ผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 78.59 หดตัวร้อยละ 0.1

ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัว

ร้อยละ 58.3 รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิด

รีดร้อน และ ลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 38.5 และ 24.8

ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรม 89.1 หดตัวร้อยละ 21.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิต

หดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 37.1

รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อน

ชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 23.4 และ 15.4 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนสิงหาคม 2565

มีปริมาณ การบริโภค 1.3 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 7.0

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก

ทรงแบนมีปริมาณ 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 11.9 จากการ

บริโภคเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 21.9 รองลงมาคือ

เหล็กแผ่นบางรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัว

ร้อยละ 12.6 และ 7.3 ตามลำดับ ในขณะที่การบริโภคเหล็ก

ทรงยาวมีปริมาณการบริโภค 0.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน

ขยายตัวร้อยละ 13.6

การนำเข้า ในเดือนสิงหาคม 2565 มีปริมาณการ

นำเข้า 0.9 ล้าน ตัน หดตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงยาว

มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 3.2 จากการ

นำเข้าเหล็กลวด ชนิด Alloy steel หดตัวร้อยละ 65.6

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)

รองลงมาคือ เหล็กเส้น ชนิด Alloy steel หดตัวร้อยละ 7.0

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) และ

ลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 6.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน

ญี่ปุ่น และเวียดนาม) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณ

การนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 8.9 จากการนำเข้าเหล็ก

แผ่นเคลือบสังกะสี โดยวิธีทางไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 55.5

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน)

รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Alloy steel หดตัว

ร้อยละ 41.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน และ

เกาหลีใต้) และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon steel

หดตัวร้อยละ 18.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน

และเวียดนาม)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกันยายน

2565 คาดการณ์ว่า ดัชนีการผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของภาวะ

เศรษฐกิจและการลงทุนก่อสร้าง รวมถึงราคาเหล็กต่างประเทศ

มีแนวโน้มลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทาง

ราคา ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์

เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ และการ

ดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต

ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผล

ต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย? 9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

การผลิตเดือนสิงหาคม 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวร้อยละ 0.74

ในกลุ่มเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ และผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ

22.75 ในกลุ่มผ้าทอใยสังเคราะห์ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ขยายตัวร้อยละ 14.60 ในกลุ่มเสื้อผ้าชุดชั้นในสตรีและเด็กหญิง

ปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัว ดีขึ้น จากการ

ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการ

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการกระตุ้นการท่องเที่ยวของไทย

รวมทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอยู่ในทิศทาง

ฟื้นตัวต่อเนื่องทั้งภาคการผลิต และการบริโภค ส่งผลให้ความต้องการ

สินค้ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มมากขึ้น

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ

16.62 6.84 และ 16.57 (%YoY) ปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์

ทางเศรษฐกิจภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวกลับมา

เป็นปกติ ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในการกระตุ้นการ

ท่องเที่ยวของไทย

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใยขยายตัวร้อยละ 23.24 (%YoY) ในตลาด

สำคัญ ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้

กลุ่มผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ 10.27 (%YoY) ในตลาดสำคัญ

ได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินเดีย และอิตาลี สำหรับเสื้อผ้า

สำเร็จรูป การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 69.82 (%YoY) ในตลาด

สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อิตาลี กัมพูชา และบังกลาเทศ

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ขยายตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ

ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 6.73 15.71

และ 9.72 (%YoY) ในตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2565

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

คาดว่า มีแนวโน้มขยายตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รวมทั้ง

ความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักที่มีอย่างต่อเนื่อง

โดยรวมน่าจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความผันผวนของเศรษฐกิจ

และการเงินโลก จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์

ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การดำเนินนโยบายปรับขึ้น

อัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เงินเฟ้อ รวมทั้งราคาพลังงาน

และวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและวัสดุที่ใช้

ในการผลิตปรับตัวสูงตาม ซึ่งกระทบต่อต้นทุนภาคการผลิต

ของอุตสาหกรรม

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนสิงหาคม ปี 2565

มีจำนวน 6.77 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565

ร้อยละ 3.32 (% MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 3.93 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

สิงหาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.22 ล้านตัน

ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ 0.78 (%MoM)

แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.35

(%YoY) จากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ

ที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการ

เปิดประเทศของรัฐบาลและการผ่อนคลายจากสถานการณ์

โรคไวรัสโควิด-19

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนสิงหาคม

ปี 2565 มีจำนวน 0.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม

ปี 2565 ร้อยละ 83.23 (%MoM) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.58 (%YoY) โดยเป็นการ

ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อจากตลาดบังกลาเทศ และเมียนมา ร้อยละ

49.95 และ 7.15 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนกันยายน 2565 คาดว่าจะขยายตัว

ได้อีกเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนสิงหาคม

ปี 2565 มีจำนวน 3.47 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม

ปี 2565 ร้อยละ 6.27 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 1.36 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนสิงหาคม ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.22

ล้านตัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ 0.78

(%MoM) จากภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วม แต่เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว ร้อยละ 0.31 (%YoY)

ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการเปิดประเทศและ

ประชาชนสามารถทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น

จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคไวรัส

โควิด-19 ของรัฐบาล

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

สิงหาคม ปี 2565 มีจำนวน 0.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

กรกฎาคม ปี 2565 ร้อยละ 43.53 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 7.95 (%YoY) จากการ

ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดเวียดนาม ร้อยละ 17.05

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน ปี 2565 คาดว่า

สามารถขยายตัวได้อีกตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเพื่อ

รองรับตลาดส่งออก

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ